Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์10 สิงหาคม 2554
K-POP เปลี่ยนพฤติกรรมคนญี่ปุ่น แห่ชอปสินค้าเกาหลี             
 


   
search resources

Electric




หลังจากที่เกิดพิบัติภัยสึนามิเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา การฟื้นตัวของกิจการต่างๆ ในญี่ปุ่นยังคงเป็นเรื่องที่วงการตลาดโลกสนใจ โดยเฉพาะกิจการขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งการสำรวจเบื้องต้นพบว่ากิจการด้านอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นเริ่มส่อสัญญาณการฟื้นตัวเร็วที่สุดในด้านผลดำเนินงาน เมื่อเทียบกับบรรดากิจการในธุรกิจอื่นๆ และดีกว่าความคาดหมายแต่แรก

กระนั้นก็ตาม เฉพาะธุรกิจด้านการผลิตและจำหน่ายทีวี กลับพบว่าปริมาณความต้องการจากผู้บริโภคลดลงสวนทางกัน

ตัวอย่างของเรื่องนี้ดูจากนินเทนโด ผู้ผลิตวิดีโอเกมที่มีผลประกอบการแย่ลงจนถึงขนาดกลับมาประสบผลขาดทุนเป็นประวัติการณ์ เมื่อยอดการจำหน่ายเครื่องเล่นเกมแบบพกพา 3DS ลดลง แถมค่าเงินเยนที่สูงขึ้นก็กลับเพิ่มอุปสรรคในการจำหน่าย จนมีการประมาณการใหม่แล้วว่ากำไรรายปีในปีนี้จะต่ำที่สุดในรอบ 27 ปีทีเดียว

ขณะเดียวกัน ทางโซนี่และพานาโซนิค ก็ออกมาแย้มพรายว่ายอดการจำหน่ายทีวีของทั้งสองกิจการจะลดลงไปอีกมาก โดยเฉพาะในสหรัฐและยุโรป หลังจากก่อนหน้านี้ฟิลิปส์ก็ออกมาระบุว่าแนวโน้มธุรกิจลดลง แม้ว่าทุกกิจการจะยังหวังว่าแนวโน้มทางธุรกิจจะดีขึ้นในครึ่งหลังของปีนี้ก็ตาม

ที่จริง ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา กิจการญี่ปุ่นได้สูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดทีวีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยคู่แข่งที่เข้าไปแย่งตลาดเรื่อยๆ คือ ยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ โดยเฉพาะซัมซุงและแอลจี ดิสเพลย์

สถานการณ์ดังกล่าวทำให้พานาโซนิคตัดสินใจปรับกลยุทธ์ใหม่ หนีสภาพการแข่งขันที่ดุเดือดด้วยการหันไปเน้นเทคโนโลยีที่ใส่ใจสภาพแวดล้อมแทน และประกาศขายกิจการบางส่วนของซันโยออกไปให้กับกิจการจีนรายไห่เอ๋อ กรุ๊ป ไปแล้ว

ส่วนทางโซนี่ ซึ่งกาลครั้งหนึ่งเคยเป็นสัญลักษณ์ของกิจการยักษ์ใหญ่ที่เป็นหน้าตาของญี่ปุ่น มีการปรับค่าพยากรณ์ยอดการจำหน่าย LCD TV จาก 27 ล้านเครื่อง เหลือเพียง 22 ล้านเครื่อง และอาจจะมีผลการขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าต่อไป อันเนื่องมาจากสมรรถนะด้านการสร้างสรรค์สินค้าถดถอยลงไป โดยเปรียบเทียบกับกิจการชั้นนำของเกาหลีใต้อย่างซัมซุง และยังมีคู่แข่งขันรายใหม่ที่น่ากลัวอย่างอุปกรณ์แท็บเลตของกิจการแอปเปิลด้วย

ทั้งนี้ ดูได้จากการที่กำไรจากการดำเนินงานของโซนี่ในไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดมิถุนายนที่ผ่านมาลดลงไปถึง 59% ซึ่งไม่ได้แตกต่างมากนักจากกำไรของพานาโซนิคที่ลดลงเหลือ 5,600 ล้านเยนจาก 83,800 ล้านเยน และชาร์ปก็มีกำไรลดลงไปเหลือ 3,500 ล้านเยน จากที่คาดไว้ถึง 8,200 ล้านเยน

การสูญเสียตลาดสินค้าให้กับผู้ประกอบการเกาหลีใต้นี้เกิดขึ้นแม้แต่ในตลาดญี่ปุ่นเอง ที่พบว่าลูกค้าชาวญี่ปุ่นหันไปซื้อสินค้าของซัมซุงและแอลจีเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความนิยมและคลั่งไคล้ดาราเกาหลี หรือ K-POP ทั้งที่ก่อนหน้านี้ คนญี่ปุ่นจะซื้อสินค้าของตนเองก่อนสินค้าชาติอื่นๆ โดยเฉพาะเกาหลี

แต่ด้วยความนิยมชมชื่นนักร้อง ดารา บอยแบนด์เกาหลีใต้ และการที่กิจการเกาหลีใต้ใช้บรรดาดารา นักร้องช่วยเป็นพรีเซนเตอร์ในงานโฆษณาและการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าอย่างต่อเนื่อง ได้ช่วยเป็นแรงกระตุ้นให้ลูกค้าชาวญี่ปุ่นเกิดความต้องการที่จะมีพฤติกรรมเลียนแบบ หรือใช้สินค้าอย่างเดียวกับที่ดาราหรือนักร้องที่ตนชื่นชอบใช้กัน

ปัจจัยดังกล่าวทำให้สมาร์ทโฟน Galaxy S II ของซัมซุงเป็นมือถือที่ขายดีที่สุดในตลาดญี่ปุ่น และมียอดการส่งเข้าไปในตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นถึง 50% ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ โดยลูกค้ากลุ่มหลักๆ ของซัมซุงยังเป็นกลุ่มหนุ่มสาวไปถึงคนทำงานช่วงต้นๆ อายุระหว่าง 20-39 ปี

จากกระแสความนิยม K-POP ทำให้กิจการญี่ปุ่นอย่างพานาโซนิคต้องจับมือกับซัมซุงในการทำการตลาดในญี่ปุ่น เพื่อให้สามารถขยายการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง จนขึ้นมาเป็นผู้จำหน่ายมือถือที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของตลาดญี่ปุ่น ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ผู้ประกอบการเกาหลีใต้ไม่เคยก้าวขึ้นมาเกินตำแหน่งอันดับ 6 มาก่อน

ยิ่งกว่านั้น ทีวีของแอลจีก็เริ่มเข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่นอีกครั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา หลังหายไปจากตลาดกว่า 2 ปีทีเดียว จนมีส่วนแบ่งตลาดเกือบจะครบ 5% ตามเป้าหมายแล้ว

การตลาดในญี่ปุ่นถือว่าเป็นบททดสอบที่สำคัญทั้งกรณีของกิจการญี่ปุ่นและกิจการของเกาหลีใต้ เพราะลูกค้าญี่ปุ่นได้ชื่อว่าให้ความสำคัญกับคุณภาพอย่างมาก จะมาขายของราคาถูกแต่ไม่มีคุณภาพไม่ได้ง่ายๆ การที่ยอดการจำหน่ายสินค้าของกิจการเกาหลีใต้ในตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าตลาดญี่ปุ่นให้การยอมรับสินค้าเกาหลีพอสมควร

นอกจากความยากลำบากในการชนะใจลูกค้าชาวญี่ปุ่นแล้ว ช่องทางการจำหน่ายในตลาดญี่ปุ่นให้สำเร็จก็ยุ่งยากสำหรับกิจการเกาหลี เพราะเป็นกลไกที่สร้างเพื่อเอื้ออำนวยการเติบโตของกิจการญี่ปุ่นมากกว่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us