Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2529
ธนาคารออมสินเมื่อยึดถือคติ "น้ำขึ้นให้รีบตัก"             
 


   
search resources

ธนาคารออมสิน
จันทรแรมศิริโชค จันทรทัต, ม.ร.ว.
Interest Rate




เพียงปีแรกในการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการธนาคารออมสินของ ม.ร.ว. จันทร์แรม ศิริโชค จันทรทัต ดูเหมือนว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันจะสดใสไปหมด

ในขณะที่ช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้เอง กลับเป็นรอบปีที่บรรดานายธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายต่างต้องหน้าดำคร่ำเครียดเร่งแก้ปัญหาที่สั่งสมกันมาตั้งแต่ปี 2528 อย่างหนักหน่วงไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเงินของกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ต่าง ๆ ที่แบงก์ปล่อยเงินกู้ไปให้ แต่มีแนวโน้มว่าเงินที่ปล่อยไปจะไม่ค่อยได้คืน รวมทั้งปัญหาสภาพคล่องส่วนเกินในระบบเงินที่แต่ละแบงก์ต้องแบกรับไว้ เป็นจำนวนเงินรวมไม่ต่ำกว่า 3-5 หมื่นล้านบาท

และก็ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้อีกเช่นกัน ที่ประวัติศาสตร์การเงินของไทยจะต้องจารึกไว้ว่าเพียงระยะเวลาแค่ 9 เดือน ธนาคารพาณิชย์ไทยได้มีการลดอัตราดอกเบี้ยลงมาถึง 4 ครั้งด้วยกัน

การลดอัตราดอกเบี้ย 2 ใน 4 ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบด้านดีมาถึงธนาคารออมสินทั้งสิ้น

การลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งแรกเป็นประกาศจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ธนาคารพาณิชย์ลดอัตราดอกเบี้ยทั้งทางด้านเงินฝากและสินเชื่อ ในวันที่ 2 มกราคม คืออัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์จากเดิมร้อยละ 9 ลดเหลือร้อยละ 8.5 เงินฝากประจำ 1 ปี จากเดิมร้อยละ 13 เหลือร้อยละ 11 อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อทั่วไปจากเดิมร้อยละ 19 เหลือร้อยละ 17 สินเชื่อที่ให้กับภาคเศรษฐกิจที่สำคัญจากเดิมร้อยละ 17.5 เหลือร้อยละ 15 และต่อมาในวันที่ 5 มีนาคม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ลดลงมาเหลือร้อยละ 7.25 เงินฝากประจำ 1 ปีลดลงมาเหลือร้อยละ 9.5 อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อทุกประเภทคงเพดานร้อยละ 15 เท่ากันหมด

ครั้งที่ 3 เป็นผลจากการประชุมสมาคมธนาคารไทยให้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงมาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม โดยให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เหลือร้อยละ 6.25 เงินฝากประจำ 1 ปีเหลือร้อยละ 8

ผลจากการลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ทำให้ยอดจำหน่ายสลากออมสินของธนาคารออมสินพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จากยอดเดิมที่เคยจำหน่ายได้เพียง 279.56 ล้านบาทในเดือนมิถุนายน กลับเพิ่มเป็น 806.76 ล้านบาทในเดือนกรกฎาคม และยิ่งสูงขึ้นไปถึง 1,330 ล้านบาทในเดือนสิงหาคม ส่วนยอดจำหน่ายรวมก็เพิ่มขึ้นจาก 3,200 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2528 เป็น 6,500 ล้านบาท ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2529

และการลดอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายคือวันที่ 8 กันยายน เงินฝากออมทรัพย์เหลือเพียงร้อยละ 5.5 และเงินฝากประจำ 1 ปี เหลือร้อยละ 7.25

ม.ร.ว. จันทร์แรมศิริโชคได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนก่อนหน้าการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายเพียงไม่กี่วันว่า ธนาคารออมสินยืนยันจะไม่ลดอัตราดอกเบี้ยลงมาอีก เพราะถือว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธนาคารออมสินเป็นคนละกลุ่มกับกลุ่มลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นกลุ่มที่มีระดับรองลงมาจากธนาคารพาณิชย์

อัตราดอกเบี้ยของธนาคารออมสินในขณะนั้นจึงกลายเป็นว่า เงินฝากออมทรัพย์สำหรับบุคคลทั่วไปร้อยละ 6.5 สำหรับรัฐวิสาหกิจร้อยละ 5.75 เงินฝากประจำ 1 ปีสำหรับบุคคลทั่วไปร้อยละ 8.5 ส่วนรัฐวิสาหกิจร้อยละ 8 สำหรับอัตราดอกเบี้ยสลากออมสินก็ยังคงให้เท่าเดิมคือร้อยละ 5 เมื่อครบกำหนด 3 ปีซึ่งอัตราทั้งหมดยังสูงกว่าธนาคารพาณิชย์อยู่มาก

ส่วนยอดเงินฝากสลากออมสินเดือนกันยายนยังไม่มีตัวเลขออกมาแต่ก็เชื่อได้ว่ายังคงพุ่งสูงขึ้นเช่นเดิม

"เป็นเรื่องธรรมดาผู้ฝากเงินก็อยากจะได้เงินฝากที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงสุด ในสมัยก่อนที่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนยังให้ดอกเบี้ยสูงอยู่ ก็ไม่มีใครจะมาสนใจเงินฝากในรูปสลากออมสิน แต่พอมาภายหลังนี่อะไรต่าง ๆ มันก็ลดลงมาหมดคนก็มาพบว่าถ้าเผื่อซื้อสลาก 2 แสนบาทจะได้ดอกเบี้ยรวมทั้งรางวัลประมาณ 7.5 เปอร์เซ็นต์ถ้าซื้อ 2 ล้านก็จะได้ 8.43 แล้วยิ่งเราไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝากอีก 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปีมันก็ดีกว่าทุกอย่างยกเว้นลงทุนธุรกิจ ซึ่งเสี่ยง ตกลงพวกที่มีเงินอาศัยดอกเบี้ยและต้องการความมั่นคงทางเศรษฐกิจในการลงทุน เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วก็เห็นว่าถ้ามีเงินก้อนใหญ่มาฝากในรูปสลากออมสินขณะนี้จะได้ผลตอบแทนสูงสุด คนก็เฮโลกันมา" ม.ร.ว. จันทร์แรมศิริโชค ให้ความเห็น "ผู้จัดการ" ถึงทิศทางของสลากออมสินในปัจจุบัน

"แต่ที่ผมดีใจก็คือในขณะที่ยอดฝากสลากของเราขึ้นนั้นยอดเงินฝากทุกประเภทของเราก็ขึ้นด้วยเช่นกัน จากยอดเดิมเมื่อสิ้นเดือนธันวาคมเรามีเงินฝากอยู่ทั้งสิ้น 57,000 ล้านบาทแต่ตัวเลขเมื่อสิ้นเดือนสิงหาคมยอดเงินฝากเราขึ้นไปถึงประมาณ 65,000 ล้านบาทแล้ว" ม.ร.ว. จันทร์แรมศิริโชคกล่าวอย่างอารมณ์ดี เพราะในขณะที่ธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ กำลังมีปัญหากับการปล่อยสินเชื่อไม่ได้ตามเป้าหรือสินเชื่อที่ปล่อยไปกลายเป็นสินเชื่อที่มีปัญหา แต่สำหรับธนาคารออมสินแล้ว เรื่องดังกล่าวไม่ได้สร้างความหนักใจอะไรให้เลย เนื่องจากธนาคารออมสินมีลูกหนี้ชั้นดีอยู่รายหนึ่ง และเป็นลูกหนี้รายใหญ่เสียด้วยนั่นก็คือรัฐบาล

"ตามพระราชบัญญัติงบประมาณปี 2529 รัฐบาลตั้งเป้าว่าจะขอกู้จากเราเป็นเงินถึง 10,000 ล้านบาท แต่พอถึงจริง ๆ เราก็ต้องขอให้รัฐบาลกู้เพิ่มเติมอีก 4,000 ล้านบาท รวมเป็น 14,000 ล้านบาท รวมเป็น 14,000 ล้านบาท มาถึงปีนี้ ตามพระราชบัญญัติงบประมาณปี 2530 ซึ่งกำลังพิจารณาอยู่ขณะนี้รัฐบาลตั้งเป้ากู้เราไว้ 13,000 แต่พอถึงเวลาจริง ๆ เราก็คิดว่าคงจะต้องขอให้กู้เพิ่มขึ้นอีกนั่นแหละ อาจจะเป็นประมาณ 16,000 คงพอไหว"

หากจะพูดถึงเรื่องดวงก็เห็นจะต้องบอกว่าดวงของ ม.ร.ว. จันทร์แรมศิริโชค ผู้นี้คงจะเฮงมากทีเดียว เพราะเพียงเริ่มงานที่ธนาคารนี้ได้ไม่ถึงปี สิ่งแวดล้อมภายนอกต่างๆ ก็ช่วยให้ธนาคารสามารถดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่นและมั่นคง ในขณะที่ธนาคารอื่น ๆ ต่างก็ย่ำแย่ไปตาม ๆ กัน หรือถ้าหากจะพูดถึงเรื่องโชคก็เห็นได้ว่าปี 2529 นี้ในบรรดาธนาคารทั้งหลาย ธนาคารออมสินนับเป็นธนาคารที่โชคดีที่สุด แต่สำหรับตัวของ ม.ร.ว. จันทร์แรมศิริโชคเองแล้วได้บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า

"ถึงแม้เราจะเป็นธนาคารออมสิน แต่เราก็ประกอบธุรกิจธนาคารเช่นเดียวกันและธนาคารก็เหมือนกันหมดคืออยากระดมเงินออม แล้วถ้าคุณดูประวัติของธนาคารพาณิชย์เมื่อสัก 30 ปีที่แล้วนี่ ในต่างจังหวัดแทบจะไม่มีสาขาเลย แต่ออมสินมีสาขาต่างจังหวัดมากกว่า 70 ปีแล้วเพราะฉะนั้นมาร์เก็ตแชร์ออมสินเมื่อก่อนสูงมาก เคยมีประมาณการเอาไว้ว่าเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้วมามาร์เก็ตแชร์ออมสินอาจจะถึง 50 เปอร์เซนต์ก็ได้แต่ปัจจุบันนี้เราเหลือเพียง 8 เปอร์เซนต์กว่า ๆ เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าเรามีเงื่อนไขหลายอย่างที่เสียเปรียบธนาคารพาณิชย์อยู่มากประกอบกับต้นทุนเราก็สูงเพราะเรามีบัญชีลูกค้าที่จะต้องดูแลอยู่ 20 ล้านกว่าบัญชี เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างเราอยู่ในฐานะที่สู้ธนาคารพาณิชย์เขาไม่ได้ แต่มาระยะนี้เกิดฟลุ๊คดอกเบี้ยต่าง ๆ เกิดลดกันลงมา คนก็หันมาสนใจในสลากออมสินกันมากขึ้น เราก็ต้องถือโอกาสว่า น้ำขึ้นให้รีบตัก"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us