Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2529
"นักธุรกิจต้องมี CORPORATIVE มิใช่ CLIMB TO THE MOUNTAIN อย่างเดียว"             
 


   
search resources

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
MBA




นิด้า (สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์) เปิดหลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจ (เอ็มบีเอ.) ตั้งแต่ปี 2509 เป็นแห่งแรกของเมืองไทย ในสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมฉบับแรก ดร. อำนวย วีรวรรณ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพปัจจุบันเป็นคนเสนอ เราเริ่มต้นจากการอิมพอร์ตหลักสูตรและอาจารย์มาทั้งดุ้นในระยะแรก จนสามารถสร้างคณาจารย์ของเราเอง รุ่นแรกคือรุ่น ดร. วีรวัฒน์ กาญจนดุล แห่งเจริญโภคภัณฑ์ในปัจจุบัน

เมื่อสัก 7 - 8 ปีที่ผ่านมา นิด้าประสบปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ เมื่อภาคเอกชนเล็งเห็นความสำคัญของบุคลากรด้านบริหารธุรกิจมากขึ้น อาจารย์เหล่านั้นจึงถูกดึงเข้าสู่ธุรกิจภาคเอกชน ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่

แต่เราก็แก้ปัญหาได้ในเวลาต่อมา การส่งคณาจารย์ไปศึกษายังต่างประเทศของเอ็มบีเอนิด้า ต่อเนื่องตลอดมา แม้ในปัจจุบันมีอาจารย์ประจำถึง 16 คนแล้ว ยังมีอยู่ระหว่างการศึกษาในต่างประเทศอีก 6 - 7 คน

นิด้ามีประสบการณ์ในการสอนวิชาการบริหารธุรกิจในเมืองไทย เราเข้าใจความเป็นมืออาชีพ (PROFESSIONAL) และเถ้าแก่ (ENTREPRENEUR)

มืออาชีพในปูนซีเมนต์ไทยหรือบริษัทเอสโซ่ พวกเขามีลักษณะต่อสู้เพื่อการดำรงอยู่ทางธุรกิจสูงกว่าการบริหารของเถ้าแก่อันเป็นพื้นฐานธุรกิจครอบครัว

พวกเถ้าแก่มีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจประเภทบุกเบิกดีกว่าพวกมืออาชีพ พวกเขาต้องเรียนรู้การทำงานตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงระดับตัดสินใจทุกขั้นตอน โดยมุ่งแสวงหา EQUITY ตลอดเวลา จึงดูเหมือนว่าเขาเป็น RISK TAKER มากกว่ามืออาชีพ

พวกเถ้าแก่มีจุดอ่อนตรงที่ความต่อเนื่องของธุรกิจ การสร้างองค์กรให้มีระบบ เป็นช่วงต่อที่สำคัญซึ่งโรงเรียนสอนวิชาบริหารธุรกิจในบ้านเราจะต้องเสริมตรงจุดนี้

และนี่ก็คือที่มาของโครงการนิด้า - ไอเมท (NIDA - IMET - INSTITUTE FOR MANAGEMENT EDUCATION FOR THAILAND) และบทเรียน 4 ปีในโครงการนี้นิด้าได้รับประสบการณ์อย่างมากในการประสานวิชาการบริหารธุรกิจกับสภาพความเป็นจริงในบ้านเรา ซึ่งพื้นฐานจริง ๆ เริ่มจากการค้าพืชไร่และได้ตกผลึกเป็นประสบการณ์และบทเรียนในการสอนนักศึกษาในหลักสูตรเอ็มบีเอ. ต่อไป

หลักสูตรเอ็มบีเอ. ของนิด้า มุ่งสอนผู้บริหารระดับกลางลงมา โดยมีจุดประสงค์หลัก 3 ประการ หนึ่ง - เราปรารถนาให้พวกเขานำวิชาการบริหารธุรกิจไปปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจให้ดีขึ้น ทั้งในแง่การบริหารองค์กร บริหารการเงิน การบริหารคน การตลาด สอง - INTERNATIONAL PERSPECTIVE เป็นนักธุรกิจที่มีสายตาไกล มองภาพวงจรการดำเนินธุรกิจทุกวันนี้ มิใช่อยู่แค่ต่างจังหวัด กรุงเทพฯ หรือประเทศไทย พูดง่าย ๆ ต้องดูทั้งโลก ปัจจุบันเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงเร็วมาก กระทบถึงกันทั่วโลก และไม่เพียงแต่ด้านเศรษฐกิจเท่านั้น ยังต้องตระหนักถึงทางสังคมและการเมืองด้วย สาม - CORPORATIVE เราไม่สอนให้นักธุรกิจมุ่ง CLIMB TO THE MOUNTAIN อย่างเดียว เมื่อธุรกิจโตขึ้นเราจะต้องตระหนักถึงความเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมด้วย ความร่ำรวยอย่างเดียวแล้วสังคมไม่มีความสุขก็ไม่มีประโยชน์อะไร ผลจากข้อนี้กำลังเป็นที่วิตกวิจารณ์กันมาก ในประเทศผลิตเอ็มบีเอ. ต้นตำรับเอง (สหรัฐอเมริกา) เกิดคำถามกันขึ้นมาว่าการมุ่งความเป็นเลิศในทางธุรกิจ แล้วมองตนเองเป็นศูนย์กลาง พร้อมจะเหยียบคนอื่นสู่ความสำเร็จ ผมเคยไปสัมมนาในเอ็มไอเอ็ม (ASIAN INSTITUTE OF MANAGEMENT) มีการพูดกันว่าพวกจบฮาร์วาร์ดทำงานเป็นทีมไม่เป็น

ผมไม่อยากเห็นบ้านเรากำลังเดินซ้ำรอยเขาเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา

บ้านเรามีความเชื่อกันว่า พวกที่เรียนเอ็มบีเอ. ต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษ ผมว่าสับสนกันพอสมควร ประเด็นนี้ผมมองว่าต้องแยกให้ออก ระหว่างความสามารถในการบริหารธุรกิจกับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งจำเป็นทั้งสองอย่าง แต่ไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกัน ความสามารถทางธุรกิจมิอาจแทนที่ด้วยความรู้ภาษาอังกฤษอย่างแน่นอน การสอนและฝึกฝนให้คนมีสองสิ่งโดยดูเป็นสิ่งเดียวกัน เป็นการมองภาพที่ไม่ชัดเจน ภาระหน้าที่ของโรงเรียนวิชาบริหารธุรกิจ ต้องมุ่งสอนและฝึกฝนให้คนมีความสามารถทางธุรกิจเป็นหลัก และหากคนนั้นมีความสามารถทางธุรกิจโดยมีความรู้ภาษาอังกฤษด้วยจะเป็นสิ่งที่ดี

เช่นเดียวกับการเรียนเอ็มบีเอ. มิใช่ยันต์กันผี มิใช่ FORM REPRESENTATIVE ต้องมุ่ง SUBSTANCE เพราะเอ็มบีเอ. มิใช่เครื่องมือนำไปสู่ความสำเร็จทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว

ทำไมประเทศญี่ปุ่นไม่มีเอ็มบีเอ. และในอดีตความสนใจศึกษาภาษาอังกฤษน้อยกว่าปัจจุบันมาก แต่ก็ประสบความสำเร็จต่อเนื่อง สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศต้นตำรับวิชาเอ็มบีเอ. เองด้วยซ้ำที่มีปัญหาเศรษฐกิจหนักหน่วงกว่า

ประเด็นสุดท้าย ผมใคร่จะเน้นว่านักธุรกิจก็คือคนมีเป้าหมายชีวิตที่แน่นอน หากต้องการเป็นมืออาชีพช่วงชีวิตทางธุรกิจของคุณก็จะสั้น หากต้องการชีวิตทางธุรกิจที่ยืนยาวก็ต้องเป็น ENTREPRENEUR ส่วนผู้ที่ต้องการให้ชนรุ่นหลังจารึกชื่อของคุณอย่างถาวร คุณอาจจะต้องทนความเจ็บปวดสร้างสิ่งที่คนในยุคปัจจุบันไม่เข้าใจ เช่น ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us