เมื่อมองกันดีๆ เราอาจจะเริ่มรู้สึกว่า เศรษฐกิจของโลกโดยเฉพาะโลกอินเทอร์เน็ตกำลังจะเคลื่อนย้ายจากการบริหารจัดการความขาดแคลนไปสู่โลกของการบริหารจัดการความเยอะแยะฟุ่มเฟือยแทน มองง่ายๆ อย่างเช่น การเปิดตัว Google Plus หรือ Google+ เมื่อเปรียบเทียบกับการออกตัว Google Wave เป็นแอพพลิเคชั่นแบบเดียวกันที่ออกมาเมื่อสองปีก่อน แสดงให้เห็นว่า แอพพลิเคชั่นเมื่อไม่ได้รับความนิยมก็ถูกโยนทิ้งไป และหาของใหม่มาแทนแทบจะทันที
ตุลาคม 2009 กูเกิ้ลเปิดตัว Google Wave ซึ่งถือเป็นไฮไลต์หนึ่งของกูเกิ้ล แต่ดูเหมือนตัวแอพพลิเคชั่นจะยังไม่พร้อมร้อยเปอร์เซ็นต์นักสำหรับการออกมาทำตลาด มีการเชิญผู้ใช้งานให้มาทดลองใช้ แต่ยังอยู่ในวงแคบๆ และเป็นไปอย่างเชื่องช้า ในที่สุด เพียงไม่ถึงหนึ่งปี Wave ก็ต้องปิดตัวลง
มิถุนายน 2011 กูเกิ้ลเปิดตัว Google+ ในวันพุธโดยคนที่ เคยใช้งานมาก่อนจะสามารถใช้งานต่อได้เลย ตอนบ่ายของวันพฤหัสบดี การเชิญเพื่อนมาใช้งานเป็นไปอย่างรวดเร็วและบ้าคลั่ง แม้กูเกิ้ลพยายามดึงๆ การชวนไว้แล้วก็ตาม บางคนบอกว่า ในเว็บ Google+ ให้ชวนคนได้ 500 คนต่อหนึ่งครั้ง หลายคนพยายามปั๊มตัวเลขเหล่านั้น
และนี่น่าจะเป็นความฟุ่มเฟือยอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น โดยเป็นความฟุ่มเฟือยที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่เราคิดว่าน่าจะมีข้อจำกัดเยอะ (โดยเฉพาะเรื่องพื้นที่เก็บข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ที่น่าจะมีอย่างจำกัด)
ซึ่งก็เป็นแนวทางของกูเกิ้ลในการพยายามตามไล่ความสำเร็จของเฟซบุ๊กโดยอาศัยปฏิกิริยาแบบเครือข่าย (network effects) รวมถึงความจริงที่ว่ากูเกิ้ลยังอ่อนด้อย บนโลกของโซเชียลมีเดียมากๆ นี่จึงอาจจะเป็นโอกาสที่ทำให้ Google+ สามารถเพิ่มจำนวนสมาชิกที่เหนียวแน่นได้อย่างรวดเร็วในช่วงต้นโดยผ่านการเชิญจากผู้ที่ใช้งานอยู่ แล้วหลังจากนั้นกูเกิ้ลค่อยเปิดอิสระให้สมัครได้เมื่อแอพเริ่มอยู่ตัว
นี่เป็นทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบันแล้ว ว่า เว็บแบบเรียลไทม์ดูจะไปได้ดีกว่าเว็บแบบอื่นๆ การก้าวเข้าสู่โลกของโซเชียลเน็ตเวิร์กอีกครั้งหนึ่งของกูเกิ้ลจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อคนใช้งานมากขึ้นก็หมายถึงข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น และเริ่มเสียงดังมากขึ้น (หรือมีอิทธิพลมากขึ้น) ดังนั้น การแนะนำในเรื่องต่างๆ ผ่านเพื่อนเรารวมถึงเครือข่ายที่น่าเชื่อถือจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นๆ สิ่งที่ขาดแคลนในทุกวันนี้น่าจะเป็นเรื่องของ เวลาและการให้ความใส่ใจ ไม่ใช่เรื่องของความไม่เพียงพอของข้อมูลแล้ว
สำหรับ Google+ เมื่อมองในแง่ของยุทธศาสตร์การออกผลิตภัณฑ์และอนาคตความเป็นไปได้ของ Google+ ในการมาตีตลาดเฟซบุ๊กแล้ว Google+ ตัวนี้ดำเนินยุทธศาสตร์การขยายฐานการใช้งานแบบเดียวกับที่ Yahoo! เคยดำเนินยุทธศาสตร์ลักษณะนี้มาก่อนและล้มเหลวไปอย่างไม่เป็นท่า กูเกิ้ลก็ทำสิ่งเดียว กันโดยพยายามเริ่มต้น Google+ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มโซเชียล เน็ตเวิร์ก หรือกลุ่มการซื้อสินค้า (Group Buying) ชนิดหนึ่ง
เมื่อเราพิจารณาถึงจุดแข็ง หรือ Core Competency ของกูเกิ้ล โดยดูจากรูปต่อไปนี้
เราพบว่า จุดแข็งของกูเกิ้ลมี 4 ด้าน คือ อัลกอริทึมของเสิร์ชเอ็นจิ้น, ลูกค้าของกูเกิ้ล (ทั้งฐานผู้ใช้งาน Gmail และธุรกิจต่างๆ ของกูเกิ้ล), ผู้โฆษณาผ่าน Google Ad และ วิศวกรของกูเกิ้ล ซึ่งจุดแข็งทั้งสี่อย่างนี้ทำให้กูเกิ้ลประสบความ สำเร็จอย่างสูงในผลิตภัณฑ์ใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาข้อมูล (Search), การค้นหารูปภาพ, แผนที่, Gmail และ เสิร์ชเอ็นจิ้นบนโทรศัพท์มือถือ
นอกจากนี้ กูเกิ้ลพยายามก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟน โดยการปล่อยระบบปฏิบัติการ Android โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างผลประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Cloud และแอพพลิเคชั่นในระดับองค์กร ในความเป็นจริง กลับกลายเป็นว่า ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือกลับได้ประโยชน์จากระบบ ปฏิบัติการ Android มากกว่าที่กูเกิ้ลได้ นอกจากนี้ การรุกคืบของ ไมโครซอฟท์และการพยายามรักษาตลาดของแอปเปิลได้นำมาซึ่งบริการผ่าน Cloud และแอพพลิเคชั่นที่มีศักยภาพ ทำให้พวกเขาสามารถครองส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่ได้ ขณะที่กูเกิ้ลไม่สามารถ ใช้จุดแข็งที่ตัวเองมีอยู่ในการรักษาไว้ซึ่งส่วนแบ่งทางการตลาด รวมถึงไม่สามารถสร้างรายได้จากตลาดโทรศัพท์มือถือนี้ได้ อย่างไร ก็ดี Android กลับเติบโตอย่างรวดเร็วและได้สร้างแรงกระเพื่อมในทางบวกแก่บริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็น HTC, Samsung, Motorola และอื่นๆ สิ่งที่กูเกิ้ลอาจจะมองต่อไปคือ จะทำอย่างไรกับกลุ่มผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ Android ที่พวกเขา สามารถเข้าถึงได้โดยตรง
ในตอนนี้สำหรับ Google+ เราต้องติดตามดูว่า กูเกิ้ลจะสามารถใช้จุดแข็งที่ตัวเองมีอยู่เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดหรือ กูเกิ้ลจะสามารถสร้างจุดแข็งใหม่ๆ เพื่อสร้างความสำเร็จใหม่ได้หรือไม่
เมื่อมองไปที่เฟซบุ๊ก พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างสูงได้ เพราะว่าในตอนเปิดตัวใหม่ๆ พวกเขายังใหม่ต่อตลาดอยู่มาก ลูกค้ามองว่าพวกเขาเป็นของเล่นใหม่ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ น่าทดลอง น่าทะนุถนอม ที่สำคัญ เฟซบุ๊กสามารถสร้างจุดแข็งในการเป็นยักษ์ใหญ่ของโซเชียลเน็ตเวิร์กขึ้นมาได้ ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด โดยเฟซบุ๊กเลือกเล่นกับอารมณ์ของมนุษย์ ของลูกค้า ของผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของพวกเขา โดยเฟซบุ๊กจับจุดได้ว่า มนุษย์ชอบความสนุกสนาน (Fun) แต่มนุษย์เบื่อง่าย จะเริ่มไม่ชอบถ้า มันเริ่มเกิดขึ้นซ้ำๆ
ที่สำคัญที่สุดด้วยจุดแข็ง ในการแพร่กระจายเนื้อหาแบบไวรัส (หรือที่เรียกว่า Viral marketing ใช้อธิบายการทำ การตลาดแบบไวรัส โดยอาศัยสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กในการทำให้ แบรนด์หรือสินค้าเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย) ที่ทำให้เฟซบุ๊ก ประสบความสำเร็จอย่างสูงที่สุด
ปัจจุบัน 25 เปอร์เซ็นต์ของเน็ตเวิร์กในสหรัฐอเมริกาถูกใช้งานโดยเฟซบุ๊ก ก่อนหน้านี้ กูเกิ้ลก็พยายามขยายรุกตลาดโซเชียลเน็ตเวิร์กผ่านแอพพลิเคชั่น Orkut แต่สุดท้ายก็ล้มเหลวไป เหตุผลหลักคือ กูเกิ้ลในตอนนั้นยังไม่พร้อมที่จะเป็นผู้นำตลาดได้ เพราะว่าพวกเขายังขาดจุดแข็งที่จะทำให้พวกเขาเป็นผู้นำตลาดได้นั่นเอง
ทุกวันนี้ ผู้คนใช้เสิร์ชเอ็นจิ้นของกูเกิ้ลเพราะว่ากูเกิ้ลแสดง ผลการค้นหาที่ดีที่สุดได้ ถือเป็นจุดแข็งที่สำคัญที่สุดของกูเกิ้ล ดังนั้น ถ้ากูเกิ้ลต้องการจะเริ่มต้นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับจุดแข็งของพวกเขา หรือเป็นบริการที่ไม่ต้องการพึ่งพาจุดแข็งในปัจจุบันของพวกเขา พวกเขาก็จำเป็นต้องหาทางสร้างจุดแข็งใหม่ๆ ขึ้นมาก่อนที่พวกเขาจะไปคิดถึงรูปร่างหน้าตาของผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ
ฟังก์ชันใน Google+ ที่สามารถเพิ่มเพื่อนเข้าไปใน Circle หรือลูปของการติดต่อ รวมถึงฟังก์ชันในการนัดเพื่อนไปเจอกันข้างนอกผ่าน web-cam นั้น ดูเหมือนว่าจะไม่โดน ไม่น่าสนุกเท่าไรในสายตาของผู้ใช้งานอย่างเราๆ
คราวนี้มาดูกันว่า สถานการณ์แบบไหนที่ Google+ จะสามารถฮิตติดลมบนได้บ้าง
การที่พวกเขาสามารถสร้างจุดแข็งทำให้สร้างอิทธิพลที่มีต่ออารมณ์ของผู้ใช้งานได้ กลายเป็นยักษ์ใหญ่ในโซเชียล เน็ตเวิร์กได้นั้น กูเกิ้ลจะต้องพยายามที่จะทำให้ Google+ สามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดได้โดยใช้ผลจากการค้นหาผ่าน เสิร์ชเอ็นจิ้นเอาไปทำอะไรต่อได้อย่างง่ายๆ สำหรับคนใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ส่วนใหญ่ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ อย่างลึกซึ้ง ซึ่งจุดแข็งของพวกเขาที่จะทำให้ Google+ กลายเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ดีที่สุดได้ คือ การใช้จุดแข็งในส่วนที่เป็นลูกค้าของพวกเขาเอง โดยเฉพาะการที่พวกเขาสามารถเข้าถึงลูกค้า กลุ่มใหญ่มหาศาลได้ ซึ่งกูเกิ้ลจะต้องสร้างยุทธศาสตร์ที่มีแรงอิทธิพลในการจูงใจลูกค้าให้หันมาใช้งาน Google+ จุดแข็งนี้ควรที่จะสร้างขึ้นใหม่โดยอาศัยจุดแข็งอื่นๆ ที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ อย่างเช่นความสามารถของวิศวกรของกูเกิ้ลเอง รวมถึง Google Ad ในการประชาสัมพันธ์ Google+
ถ้า Google+ ประสบความสำเร็จ ผู้คนก็จะเริ่มแชร์เนื้อหา พวกผลการค้นหาจากเสิร์จเอ็นจิ้นที่มีการผสมผสานของเทคโนโลยี ที่หลากหลายซึ่งถือเป็นระบบเสิร์ชเอ็นจิ้นในอนาคต ความสำเร็จนี้จะสามารถสร้างเป็นผลการค้นหาที่มีประสิทธิภาพสำหรับลูกค้า แต่มันอาจจะกลายเป็นผลเสียต่อกูเกิ้ลเอง
กล่าวคือทุกวันนี้ รายได้ส่วนใหญ่ของกูเกิ้ลเกิดจาก Google Adwords โดยคิดเป็นสัดส่วนรายได้มากถึง 95 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งถ้า Google+ ประสบความสำเร็จตามแนวทาง ที่ว่า ลูกค้าของกูเกิ้ลก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานเสิร์ชเอ็นจิ้น โดยหันไปใช้ลิงค์ที่ส่งเนื้อหาแชร์มาจากเพื่อนๆ แทน
ดังนั้น กูเกิ้ลจะสามารถสร้างผลการค้นหาที่เป็นแบบ semantic web มากขึ้นและใช้งานง่ายขึ้น แต่ผลก็คือ Google Adwords อาจจะโดนกระทบทำให้ขายไม่ออกและรายได้จาก Google Adwords ก็จะลดลงอย่างฮวบฮาบเพราะว่าผู้ใช้งานจะมีแนวโน้มอยากดูผลการค้นหาที่แชร์หรือแนะนำโดยเพื่อนๆ ของพวกเขาผ่านทาง Google+ มากกว่า
อย่างไรก็ดี กูเกิ้ลคงไม่พลาดที่จะหาช่องทางสร้างรายได้ใหม่ๆ ผ่านทาง Google+ และนี่อาจจะเป็นภัยคุกคามที่สำคัญของเฟซบุ๊กอย่างแท้จริง
สิ่งที่จะต้องติดตามกันต่อไปก็คือ Google+ จะพับฐานไปเหมือนๆ กับแอพพลิเคชั่นลักษณะเดียวกันของกูเกิ้ลที่ออกมาก่อนหน้านี้หรือไม่ ถ้าทุกอย่างเหมือนเดิม เราก็คงจะมาติดตามต่อว่า กูเกิ้ลจะออกอะไร มาทำให้เฟซบุ๊กเพียงแค่ระคายเคืองผิวให้คันๆ เล่นได้อีก
แต่ถ้าไม่เป็นไปอย่างนั้น โลกนี้คงมีเรื่องสนุกๆ ให้เล่นกันไปไม่รู้เบื่อ
อ่านเพิ่มเติม
1. Kakade, S. M., Kearns, M., Ortiz, L. E., Pemantle, R. and Suri, S. (), ‘The Economics of Social Networks’, University of Pennsylvania.
2. Kakade, S. M., Kearns, M., Ortiz, L. E., Pemantle, R. and Suri, S. (), ‘Economics Properties of Social Networks’, University of Pennsylvania.
3. Jackson, M. O. (2005), The Economics of Social Networks.
4. Jackson, M. O. (2007), The Study of Social Networks In Economics, January 2007, Prepared for The Missing Links: Formation and Decay of Economic Networks.
5. Kakade, S. M., Kearns, M., Ortiz, L. E., Pemantle, R. and Suri, S. (), ‘The Economics of Social Networks’, University of Pennsylvania.
6. Gill, K. E. (2011), ‘Google Plus, Scarcity and Sharing’, http://wiredpen.com/2011/06/30/google-plus-scarcity-and-sharing/
7. ‘Google Plus: A Strategic Outlook’, http://www.iamaceo.com/strategy/google-plus-a-strategic-outlook/
|