Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2554
เราเลือกไปแบบชาวบ้าน             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ จำกัด (มหาชน)

   
search resources

Mining
เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ, บมจ.
ขจรพงศ์ คำดี




ขจรพงศ์ คำดี วัย 39 ปี กรรมการผู้จัดการ บมจ.เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ ไม่มีประสบการณ์ทำธุรกิจถ่านหินมาก่อน แต่ก็พร้อมและกล้าเสี่ยง เพื่อสร้างธุรกิจให้กับตัวเอง

ขจรพงศ์เรียนจบปริญญาตรี สาขาบัญชี สถาบันราชภัฏราชนครินทร์ จึงทำให้ประสบการณ์การทำงานส่วนใหญ่จะดูแลเกี่ยวกับตัวเลขและการเงินเป็นหลัก ปี 2536-2537 หัวหน้าบัญชี บริษัท Hong Aue จำกัด ปี 2538-2546 รับตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท Brother Auto Parts & Engineering จำกัด ปี 2547-2548 รองผู้อำนวยการ บริษัท Thai Mart Store จำกัด ปี 2549 ผู้อำนวยการบัญชีและการเงิน บริษัท Thailand Anthracite จำกัด

ประสบการณ์ทำงานกว่า 10 ปี ทำให้เขาต้องการลาออกจากวงการในฐานะมืออาชีพ เพื่อสร้างธุรกิจของตนเอง เริ่มมองหาธุรกิจที่มีแนวโน้มดีในอนาคต เพราะจากการศึกษาธุรกิจที่ผ่านมาทุกๆ 10 ปี ธุรกิจจะเปลี่ยนและพบว่าในช่วง 10 ปี นับจากนี้ไปจะเป็นธุรกิจด้านพลังงาน

เขาเลือกธุรกิจด้านถ่านหิน เพราะกระบวนการทำงานเพียงแต่ขุดถ่านหินขึ้นมาจำหน่าย ไม่ต้องใช้กระบวนการทำงานที่ยุ่งยากจนเกินไป

เขาเริ่มปรึกษากับพิสุทธิ์ พิหเคนทร์ ผู้มีประสบการณ์ทางด้านธุรกิจรีเทล หนึ่งในผู้ก่อตั้งห้างโรบินสัน และมีความรู้ในการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ หลังจากได้พูดคุยกับพิสุทธิ์ ในฐานะผู้ร่วมทุนคนแรก ชี้ให้เห็นถึงโอกาสในธุรกิจถ่านหินว่าตลาดยังมีความต้องการทั่วโลก คู่แข่งไม่มาก และคาดว่าไม่มีสงครามราคา ประการสำคัญยังมีแหล่งถ่านหินที่หาง่าย

ขจรพงศ์และพิสุทธิ์ได้ก่อตั้งบริษัท เอ็นเนอร์ยี่เพอร์เฟค จำกัด ราวปี 2547 หลังจากนั้นเขาก็เริ่มเดินทางไปอินโดนีเซีย เพื่อศึกษาการทำธุรกิจเหมืองถ่านหินอย่างจริงจังใช้เวลา 7-8 เดือน กินนอนอยู่ที่นั่น และใช้เงินทุนก้อนแรก 50 ล้านบาท เป็นเงินร่วมทุนและกู้จากธนาคารกสิกรไทย

“ผมยังจำเหตุการณ์สั่งซื้อถ่านหินครั้งแรกได้เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 เข้ามาเมืองไทย ผมยังไปดูเขาโหลดด้วยตนเองที่ท่าเรือศรีราชา ตอนนั้นท่าเรือยังเงียบเหงามาก ยังเห็นปลาโลมากระโดดว่ายน้ำ แต่ตอนนี้ท่าเรืออัดแน่นไปด้วยเรือรอส่งสินค้า” ขจรพงศ์เล่าให้เห็นบรรยากาศช่วงแรกของการทำงาน

บริษัท เอ็นเนอร์ยี่ฯ ถือว่าเป็นบริษัทขนาดเล็กที่เข้าไปลงทุนธุรกิจ จึงทำให้วิธีการเข้าไปในอินโดนีเซียในรูปแบบชาวบ้าน สร้างความสัมพันธ์ต้องใช้เวลานานพิสูจน์ความจริงใจ พาครอบครัวไปรู้จัก รวมถึงไปทานอาหารที่บ้านได้

การเข้าคลุกคลีและแสดงไมตรีจิตต่อกันทำให้ขจรพงศ์มองว่าคนอินโดนีเซียมีอัธยาศัยดี เพราะศาสนาสอนให้เป็นคนดี มักจะเห็นคนดื่มสุราน้อยเพราะขัดกับคำสอนของศาสนา ทำให้ไม่เกิดการทะเลาะวิวาท

จากการเข้าไปทำธุรกิจในอินโดนีเซีย แตกต่างจากผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เน้นนำเงินไปลงทุนจำนวนมาก แต่เชื่อว่าการทำธุรกิจด้วยเงิน ก็จบด้วยเงินเช่นเดียวกัน

วิธีการเข้าไปเรียนรู้แบบชาวบ้านเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ขจรพงศ์ได้เพื่อนร่วมธุรกิจคนไทย นุกูล ศรีอินทร์ อดีตผู้บริหารบริษัท ดับเบิลเอ ที่ตัดสินใจเข้าไปทำธุรกิจถ่านหินเป็นหนึ่งในกรรมการผู้ถือหุ้นในบริษัท PT TRI TUNGGAL PITRIATI (TTP) ต่อมาภายหลังบริษัทได้เข้าซื้อกิจการพีที

การรู้จักนุกูล หนึ่งในผู้ถือหุ้นของบริษัทพีที ที่มีประสบการณ์ทำงานยาวนาน พูดภาษาอินโดนีเซียและรู้จักวัฒนธรรมอินโดฯ เป็นอย่างดี จึงทำให้เลือกเขามาร่วมเป็นคณะกรรมการในบริษัท นอกเหนือจากการเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ จำกัด

ทัศนคติที่ดีต่อประเทศอินโดนีเซีย ทำให้ขจรพงศ์ส่งพนักงานเข้าไปทำงาน โดยเน้นให้พนักงานต้องเรียนรู้ทั้งภาษาและวัฒนธรรมเพื่อให้สามารถปรับตัวได้

ตลอดเส้นทางการทำธุรกิจของขจรพงศ์ เขามักจะมีเพื่อนเข้าร่วมอุดมการณ์เสมอ เหมือนดังเช่นในสายธุรกิจการเงิน เขาได้ชักชวนธนาวรรธ์ ประทุมสุวรรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ดูแลด้านการเงิน อดีตผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย ในฐานะที่ปรึกษาด้านการเงินของบริษัทในยุคเริ่มก่อตั้งเข้ามาทำงานด้วย

ธนาวรรธ์ วัย 40 ปี ตัดสินใจเข้ามาร่วมงานกับขจรพงศ์ แม้ว่าจะทำงานร่วมกับธนาคารกสิกรไทยมาเกือบ 20 ปี เพราะเชื่อมั่นว่าขจรพงศ์สามารถทำได้

วิสัยทัศน์ของขจรพงศ์เกี่ยวกับธุรกิจพลังงานบวกกับสไตล์การทำงานแบบบ้านๆ ของเขาจะแปรเปลี่ยนไปมากน้อยเพียงใด ต้องดูยาวไปอีก 10 ปีข้างหน้า เพราะเขาบอกไว้ว่า อายุของธุรกิจทุกๆ 10 ปีจะเปลี่ยน และในอีก 10 ปี ต่อจากธุรกิจพลังงานจะก้าวเข้าสู่วงจรธุรกิจอาหารและการเกษตร แล้วในตอนนั้น “พลังงาน” จะเป็นเช่นใด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us