Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2554
ภาษาคน ภาษาสัตว์ วิวัฒนาการแห่งการสื่อสาร             
โดย พัชรพิมพ์ เสถบุตร
 


   
search resources

Knowledge and Theory




ภาษาเปรียบได้กับสิ่งมีชีวิต มีการเกิดใหม่ การแปรเปลี่ยนไป และการสูญสลายไปได้อยู่เสมอ เราจึงจำต้องติดตามและเรียนรู้ภาษาอยู่ตลอดชีวิต ผู้ที่พยายามกำหนดภาษาให้คงอยู่เหมือนเดิมย่อมไร้ผล เพราะเป็นการกระทำที่ฝืนธรรมชาติ

การเปลี่ยนถ่ายจากความเป็นมนุษย์ลิง (hominids) ขึ้นเป็น homo sapiens หรือเผ่าพันธุ์มนุษย์ในปัจจุบันได้นั้นเพราะมนุษย์สามารถวิวัฒนาการขึ้นมาได้ 3 ด้าน คือสร้างเชาวน์ปัญญาด้านการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ สร้างเชาวน์ปัญญาในการเสาะหาอาหารจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพื่อให้มีชีวิตรอดอยู่ได้ สุดท้ายก็คือเชาวน์ปัญญาในการเข้าใจคนอื่นและสื่อสาร ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันได้เป็นสังคม

ด้วยเหตุสามประการนี้ จึงเกิดการปรับตัว (adaptation) และการคัดสรรทางธรรมชาติขึ้น (natural selection) ทำให้เกิดวิวัฒนาการทางกายภาพตามมา เช่น ลุกขึ้นเดินได้สองขา สมองใหญ่ขึ้น เมื่อเทียบตามอัตราส่วนขนาดสมองต่อขนาดร่างกาย ลักษณะฟันและปากที่สามารถผันเสียงได้ เมื่อสภาพกายภาพเอื้ออำนวย มนุษย์ (ลิง) ก็เริ่มพัฒนาทางสังคมและการสื่อสาร เริ่มจากการแสดงท่าทางเช่นสัตว์เดรัจฉาน มาเป็นการสร้างสัญลักษณ์ (symbol) มาเป็นภาษาเป็นคำๆ ในที่สุดก็เป็นการเรียงลำดับคำขึ้นมาเป็นประโยค เพื่อการสื่อสารที่ซับซ้อนขึ้นจนก้าวมาถึง ipad และ smart phone ในปัจจุบัน

ลักษณะเด่นที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่นๆ ก็คือความสามารถทางภาษา ซึ่งเป็นช่องทางให้มนุษย์ได้แลกเปลี่ยนความคิด มีจิตสำนึก มีการวางแผน การวิเคราะห์หาเหตุผล การคิดสร้างสรรค์ และการปฏิสัมพันธ์กันในสังคม หากมนุษย์ไม่สามารถถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ออกไปสู่สมาชิกอื่นๆ ในสังคมได้ มนุษย์เราก็ไม่สามารถก้าวมาจนถึงจุดนี้ได้ ภาษาจึงเป็นเครื่องมือที่ทำให้มีการเคลื่อนไหวในสังคมอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงของโลก และวิถีชีวิตบนโลก ภาษาไม่อยู่นิ่ง มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา เพื่อยึดเหนี่ยวเชื่อมโยงระหว่างสมาชิกในสังคม

วิวัฒนาการของภาษา

ย้อนกลับมาดูที่วิวัฒนาการ เพื่อให้เข้าใจความเป็นมาและความเป็นไปของภาษาได้กว้างขึ้น

พวกลิงใหญ่ เช่น ชิมแปนซี อุรังอุตัง กอริลลา สามารถสื่อสารกันได้โดยท่าทาง จึงช่วยให้มันมีความสัมพันธ์เป็นกลุ่ม มีปฏิสัมพันธ์กันมากกว่าสัตว์อื่น ซึ่งนักสัตววิทยาเรียกว่า social grooming แต่อุปสรรคของลิงใหญ่พวกนี้คือความสามารถที่จำกัด ด้วยไม่สามารถพูดได้ ออกเสียงเป็นคำพูดได้

ส่วนพวก hominids และมนุษย์ Neanderthal ที่แยกสายจากลิงใหญ่ วิวัฒนาการต่อมาเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ นั้น เมื่อมีสมองใหญ่ขึ้นก็อยู่ร่วมกันเป็นสังคมใหญ่ขึ้น พัฒนาการสื่อสารจาก social grooming ขึ้นมาเป็นการสื่อสารโดยท่าทางหรือสัญลักษณ์ สิ่งนี้ที่เป็นต้นกำเนิดของภาษา เมื่อมนุษย์วิวัฒนาการในเวลาต่อมา ไวยากรณ์ของภาษาเกิดขึ้นอย่างไร และสิ่งใดที่มีผลต่อวิวัฒนาการ

เมื่อภาษามีความซับซ้อนขึ้น มีการประสมคำ มีการเรียบเรียงเป็นประโยค ก็จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ไวยากรณ์คือกฎเกณฑ์เหล่านี้ ไวยากรณ์จะกำหนดการใช้คำและการบ่งบอกความหมายในปัจจุบัน อดีต และอนาคต ทุกๆ ภาษามีไวยากรณ์

การเกิดขึ้นของไวยากรณ์ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในกลุ่มของนักภาษาศาสตร์ ทฤษฎีล่าสุดที่สรุปผลจากการทดสอบในลิงชิมแปนซีในช่วง 50-60 ปีที่ผ่านมา สรุปว่า สิ่งที่มีผลต่อวิวัฒนาการทางภาษาจัดได้เป็น 3 ข้อใหญ่ๆ ข้อแรกคือ จิตสำนึก หรือ จิตรู้ (cognition) เป็นแรงผลักดันให้เกิดการสื่อสารความต้องการ และการเรียนรู้จากคนอื่น เห็นได้จากเด็กเล็กๆ ที่มีความอยากที่จะพูดแสดงความต้องการ เริ่มจากการร้องไห้ ต่อมาก็เป็นการพูดเป็นคำๆ และการสร้างประโยค

ข้อที่สองคือ เมื่อมีภาษาแล้ว คนส่วนใหญ่จะมีความสามารถในการเข้าใจ (comprehension) ได้มากกว่าการพูด (speech) นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงต้องมีคนฟังมากกว่าคนพูด หากมีคนพูดมากกว่าคนฟัง จะเกิดความวุ่นวายขึ้นขนาดไหน เห็นได้จากการประชุมรัฐสภาของไทย

และข้อที่สามคือ สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่อยู่รอบตัวของผู้ใช้ภาษา มีผลอย่างสำคัญต่อพัฒนาการของคนใช้ภาษา เมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวย หรือมีสิ่งกระตุ้นให้มีการใช้ภาษา คนและลิงใหญ่สามารถพัฒนาทักษะใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อเพิ่มการเรียนรู้สื่อสารได้เสมอ โดยเฉพาะในวัยเด็กเล็กจะเรียนรู้ได้เร็วมาก ในส่วนของไวยากรณ์ที่เราคิดว่าซับซ้อน จริงๆ แล้วถ้าอยู่ในบรรยากาศที่เหมาะสมและในวัยที่อยากเรียนรู้เช่นเด็กๆ ก็สามารถซึมซับไวยากรณ์ไว้ได้โดยอัตโนมัติ พร้อมๆ ไปกับการเรียนรู้คำและการใช้คำได้โดยธรรมชาติ ไม่รู้สึกว่ายากเย็นนัก

เรารู้กันอยู่แล้วว่า ลิงใหญ่เช่นลิงชิมแปนซีสามารถเข้าใจภาษาสัญลักษณ์ได้ แต่เราต้องการรู้ต่อไปว่า มันสามารถสร้างภาษาที่ซับซ้อนมากขึ้นได้หรือไม่ ในช่วงปี 1993-1998 จึงมีการศึกษากับลิงชิมแปนซีตัวหนึ่งชื่อ Kanzi ตั้งแต่เล็กมา Kanzi ถูกจับให้อยู่ในกรงกับแม่ซึ่งได้รับการฝึกสอนภาษาสัญลักษณ์จากครู Kanzi สังเกตการเรียนภาษาของแม่และสิ่งรอบตัว สามารถเรียนรู้ภาษาได้ด้วยตนเอง ใช้ภาษาสัญลักษณ์ได้ถึงร้อยกว่าคำ และประสมเป็นคำใหม่ๆ ได้ เช่น water และ bird เป็น water bird ซึ่งมีของจริงให้เห็นได้รอบกรง เมื่อ Kanzi อายุได้ 5 ขวบ มันสามารถ เข้าใจภาษาพูดของมนุษย์ได้เกินกว่าเด็กอายุ 2 ขวบเสียอีก ทำให้นักภาษาศาสตร์อัศจรรย์ใจไปตามๆ กันว่าชิมแปนซีสามารถพัฒนาการเรียนรู้ภาษาของมันขึ้นมาได้เอง ถึงขนาดนี้เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

นักภาษาศาสตร์ยังค้นพบอีกว่า ภาษามีส่วนสัมพันธ์ใกล้ชิดกับระดับเชาวน์ปัญญาเป็นอย่างมาก ทั้งนี้มิได้ระบุด้วยว่าเพราะมีเชาวน์ปัญญาสูง สมองดี จึงทำให้เก่งทางด้านภาษา หรือว่าเป็นเพราะชอบการเรียนรู้ ชอบอ่าน จึงช่วยให้พัฒนาการใช้ภาษาได้ดี น่าจะเป็นด้วยเหตุผลทั้งสองด้าน เท่าที่ผู้เขียนสังเกตดูรอบๆ ตัว เห็นคนไทยส่วนใหญ่ชอบพูด พูดเก่ง แต่ไม่ค่อยมีสาระมากนัก ความสามารถด้านเขียนด้านเรียบเรียงเรื่องราวยังด้อยอยู่มาก

ถ้าคนไทยสามารถพัฒนาการใช้ภาษาให้กว้างขวางขึ้น ทั้งภาษาไทย อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ให้สื่อสารเข้าใจกันได้อย่างดีทั้งในสังคมไทยและสังคมนานาประเทศ ก็จะเป็นกลไกที่ช่วยให้คนไทยเรามีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลขึ้น และมีบทบาทในเวทีโลกได้มากขึ้นด้วย เป็นผลดีแก่คนไทยโดยรวมด้วยประการทั้งปวง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us