Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2554
เวียดนาม ยกระดับการค้าชายแดน             
โดย เจษฎี ศิริพิพัฒน์
 


   
search resources

Commercial and business
International
Vietnam




ประเทศที่มีชายแดนยาวถึงกว่า 5,000 กิโลเมตร มีประเทศเพื่อนบ้าน 3 ประเทศ กำลังให้ความสำคัญกับการค้าชายแดนถึงขั้นยกระดับให้เป็น 1 ในยุทธศาสตร์หลักของชาติ

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์อุตสาหกรรมการค้าของเวียดนาม มีรายงานเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ถึงความตื่นตัวในการจัดลำดับความสำคัญของการค้าชายแดนเวียดนาม ให้เป็น 1 ในยุทธศาสตร์หลักของประเทศ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ

“ทำอย่างไรจะใช้ความได้เปรียบของการค้าชายแดน รวมทั้งความช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กเข้าร่วมการค้าชายแดน?” นี่เป็นเนื้อหาที่ได้มีการพูดถึงในการประชุมเสริมสร้างการค้าชายแดน จัดขึ้นโดยกระทรวงอุตสาหกรรมการค้าเมื่อเร็วๆ นี้ที่จังหวัดหล่างเซิน

ผู้เข้าประชุมมีตัวแทนของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB)-ผู้ช่วยเหลือด้านการเงินในโครงการ RETA 7380 มุ่งส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กบนแนวชายแดนเวียดนาม-จีน รวมถึงบรรดาตัวแทนกระทรวงแขนงงาน บางจังหวัดชายแดนภาคเหนือ และสถานธุรกิจที่เข้าร่วมการค้าชายแดน

โครงสร้างพื้นฐานยังอ่อน

บทบาทของการค้าชายแดนเป็นสิ่งที่ใหญ่มาก แต่ปัจจุบันยังไม่เป็นดังที่ต้องการ เนื่องจากความอ่อนด้อย 2 จุด คือ โครงสร้างพื้นฐาน และการบริการช่วยเหลือการค้าชายแดน โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการค้าชายแดนประกอบด้วยช่องทาง ถนน เชื่อมกับช่องทางคลังสินค้า ศูนย์การค้า ตลาดชายแดน เป็นต้น

ถึงแม้รัฐและท้องถิ่นได้ให้ความสำคัญ แต่โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการค้าชายแดนยังคงตอบสนองความต้องการแท้จริงไม่ได้ จุดอ่อนนี้ทำให้ลดประสิทธิภาพของการค้าชายแดน เพิ่มความสิ้นเปลืองในการติดต่อค้าขาย ลดคุณภาพสินค้า เนื่องจากระยะเวลาติดต่อค้าขายยืดเยื้อ

การแก้ไขปัญหาความต้องการทุนก้อนใหญ่ให้แก่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการค้าชายแดน ในสภาพการณ์ตัดลดการลงทุนสาธารณะปัจจุบันจากแหล่งงบประมาณรัฐเป็นเรื่องยากที่สุด ศ.ดร.หวอ ด่าย เหลือก กล่าวว่าไม่ควรหวังคอยแหล่งทุนของรัฐ ถ้ามีนโยบายดี ภาคเอกชนจะดำรงบทบาทหลักในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการค้าชายแดน และการแก้ไขวิธีหนึ่ง คือเปลี่ยนที่ดินเป็นโครงสร้างพื้นฐาน

โครงสร้างพื้นฐานอ่อนด้อยส่งผลถึง คุณภาพอ่อนด้อยของรูปแบบบริการช่วยเหลือการค้าชายแดน เช่น การขนถ่ายสินค้า การเคลียร์ภาษีศุลกากร การขนส่ง คลังสินค้า ยังไม่กล่าวถึงการบริการเสริม เช่น หีบห่อ การแปรรูป เป็นต้น ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น หย่อนความสามารถแข่งขันคุณภาพของผลิตภัณฑ์เกษตร และเครื่องบริโภคลดคุณภาพ

การบริการต่างๆ เช่น ข่าวสาร ที่ปรึกษาธุรกิจ การวิจัยตลาด มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง แต่ดูเหมือนยังไม่เป็นรูปเป็นร่างในบริเวณชายแดน จึงไม่ช่วยกำหนดทิศทาง ปรับปรุงการประกอบการค้าชายแดน และระยะเวลาไม่น้อย ได้ “ปั่นป่วน” ต่อความแปรปรวนของตลาด

หว่าง เถาะ เซวิน ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจ กล่าวว่าการขาดแคลนบริการเหล่านี้ พร้อมกับโครงสร้างพื้นฐานอ่อนด้อย จึงทำให้ธุรกิจเวียดนามถูกคู่ค้าต่างประเทศกดราคาเป็นประจำ

ปัญหาเด่นที่สุดสำหรับธุรกิจทำการค้าชายแดนคือ การบริการชำระบัญชี เนื่องจากลักษณะเฉพาะ สัดส่วนการติดต่อ การค้าชายแดนผ่านธนาคารจึงต่ำอย่างยิ่ง ความจริงการติดต่อค้าขายเกือบทั้งหมดอาศัยความเชื่อถือกัน จึงมีความเสี่ยงมาก แต่ปัจจุบันธุรกิจยังต้องยอมรับ เพราะสินค้าส่งออกหลายอย่างผ่านรูปแบบโควตา ปัจจุบันบรรดาธนาคารเวียดนามทำงานบริการชำระบัญชีการค้าชายแดนในลักษณะต่างคนต่างทำ ไม่มีการเชื่อมประสานงานกัน ทำให้จำกัดช่องทางการชำระบัญชี

เหงียน เกิ๋ม ตู้ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรมการค้าเวียดนาม กล่าวว่า ในอนาคตอันไม่ไกลจากนี้ เมื่อ ASEAN กลายเป็นประชาคมเศรษฐกิจในปี 2558 และข้อตกลงการค้าเสรี ASEAN-จีนได้ปฏิบัติตามครบถ้วน ด้วยจุดเด่นเป็นศูนย์ขนถ่ายสินค้าระหว่าง ASEAN และจีน ดังนั้น บรรดาบริเวณชายแดนจะมีบทบาทสำคัญ เวียดนามจะไม่เพียงได้เข้าร่วมในกระแสการหมุนเวียนของสินค้าและการบริการ ซึ่งยังไม่พบความต้องการใหม่ของทั้งสองตลาด

เขตชายแดนต่างๆ มีความหวังมากที่สุดที่จะกลายเป็นศูนย์ขนถ่ายสินค้า ด้วยคุณค่าที่เพิ่มขึ้นอย่างเข้มแข็งทางด้านการบริการช่วยเหลือที่ช่องทางต่างๆ เพิ่มพลังแข่งขัน

การค้าชายแดนมีลักษณะพิเศษไม่ผูกพันกับข้อกำหนดของ WTO ดังนั้นเวียดนามสามารถริเริ่มเกี่ยวกับนโยบายความเร่งด่วนเป็นพิเศษ เพื่อส่งเสริมนักธุรกิจพัฒนาตลาดใกล้เคียง ถ้าใช้อย่างได้ผล การค้าชายแดนจะเป็นคานงัด สามารถแข่งขันสินค้าเวียดนามให้เข้าถึงตลาดภูมิภาคได้มากขึ้น

วงการค้าระหว่างประเทศเรียกร้องให้ปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ การกักตรวจโรค ระบบ ศุลกากรและใบรับรองขนส่ง การรับ-ส่ง การชำระบัญชี เป็นต้น ดังนั้นจึงทำให้เพิ่ม เวลาและค่าใช้จ่ายในการติดต่อการค้า ในขณะที่การค้าชายแดนมีระเบียบน้อยกว่า และเวลาติดต่อการค้ารวดเร็วกว่า

Paul Davis สังกัดบริษัท Pragma (อเมริกา)-หน่วยงานที่ปรึกษาโครงการ RETA 7380 กล่าวว่า “เวียดนามเป็นชาติที่มีสัดส่วนการส่งออก-นำเข้าต่อ GDP สูงถึง 160% ดังนั้น การค้าจึงมีบทบาทมากและการค้าชายแดนเป็นความสำคัญ”

เวียดนามเข้าร่วมในข้อตกลงการค้าภูมิภาคหลายฉบับ ด้วยบทบาทเป็นสะพานเชื่อมพิเศษในข้อตกลงการค้าเสรี-ASEAN (AFTA), ข้อตกลงการค้าเสรี ASEAN-จีน (ACTFTA) เป็นต้น ดังนั้นการค้าชายแดนไม่เพียงจำกัดในยุทธศาสตร์ท้องถิ่นชายแดน

Florian Alburo หัวหน้าที่ปรึกษาโครงการ RETA 7380 กล่าวว่า “ในประเทศพัฒนาสูงทางด้านการค้า การค้าชายแดนครองความหนาแน่นไม่น้อย” ประสบการณ์โลก แสดงให้เห็นว่าการค้าชายแดนเป็นรูปแบบที่ดี เพื่อให้ได้รับกำไรจากการค้าเสรีระหว่างประเทศ

ในเวลาข้างหน้า การค้าระหว่างเวียดนามกับลาว กัมพูชา และจีน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2558 การค้าเวียดนาม-ลาวจะบรรลุ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กับกัมพูชาจะบรรลุ 6,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และกับจีนจะบรรลุเกิน 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นั่นเป็นโอกาสกว้างใหญ่สำหรับการค้าชายแดน เปิดกว้างให้กับตลาดในภูมิภาคนี้

เวียดนามมี 25 จังหวัดชายแดน ด้วยแนวชายแดนยาวเกิน 5,000 กิโลเมตร ในนั้นมี 23 ช่องทางนานาชาติ 24 ช่องทางหลัก 42 ช่องทางรอง ทางเดินเท้ากว่า 160 ทางเปิดข้ามชายแดน และ 24 เขตเศรษฐกิจช่องทาง การค้าชายแดนเป็นช่องการค้าสำคัญระหว่างเวียดนามกับจีน ลาว และกัมพูชา ครองความหนาแน่นมากในยอดมูลค่าการค้าปี 2553 เกือบ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างเวียดนามกับ 3 ประเทศนี้

ความจริง ธุรกิจเวียดนามหลายแห่งใช้ประโยชน์การค้าชายแดนเพื่อแทรกซึมตลาดใกล้เคียง เหงียน เซวิน กวิ่ญ ผู้อำนวย การบริษัทกวิ่ญอาญ จำกัด (จังหวัดหล่าว กาย) กล่าวว่า การค้าชายแดนได้ผลจริง เพื่อให้ธุรกิจเวียดนามหลายแห่งเปิดกว้างต่อตลาดส่งออกสินค้า บริษัทกวิ่ญอาญ จำกัด เป็นตัวแทนของ Vinamit ตรุงเงวียน กิญโด ที่ตลาดจีน ด้วยมูลค่าสินค้าส่งออกกว่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

สถานประกอบการเวียดนามบางแห่งที่มีทุนมากพอจะก่อสร้างระบบจัดสรร แต่ก็ยังคงเลือกการค้าชายแดนเป็นช่องเข้าถึงตลาดจีนในช่วงแรกผ่านนักธุรกิจจีนเพื่อแทรกซึม เมื่อได้มีตลาดจึงจะเริ่มก่อสร้างช่องทางส่วนตัว วิธีการนี้มองกันว่า ช่วยลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง และยังสามารถพัฒนาตลาดได้ด้วย

เตริ่น บ๋าว ย้าม หัวหน้ากิจการตลาดพื้นที่ภูเขาและการค้าชายแดน (กระทรวงอุตสาหกรรมการค้า) กล่าวว่า เพื่อช่วยเปิดตลาดให้สินค้าเวียดนามในเขตชายแดน และไปยังประเทศใกล้เคียง ต้องเป็นรูปร่างของบรรดาชุมทางส่งสินค้าตามแนวชายแดนที่ตั้งอยู่ที่ชายแดนและเขตเศรษฐกิจช่องทาง

ไม่เพียงส่งออก บรรดาจุดส่งสินค้ายังมีการเปิดตลาดภายในประเทศ จัดหาสินค้าจำเป็นให้แก่ประชาชนในเขตชายแดน ด้วย

ปัจจุบัน กระทรวงอุตสาหกรรมการค้ากำลังดำเนินการวางผังก่อสร้างระบบตลาดตามชายแดนเวียดนามกับลาว และกัมพูชา เมื่อแล้วเสร็จจะสร้างเป็นสถานที่ที่เอื้ออำนวยให้แก่ตลาดชายแดนส่งเสริมการส่งออกของเวียดนาม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us