|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ทศวรรรษ 1901-1950
- รัฐบาลญี่ปุ่นก่อตั้งโรงงานเหล็กกล้า Yawata Steel Works เพื่อเป็นวัตถุดิบพื้นฐานอุตสาหกรรมอื่นๆ ตามมาจนกระทั่ง Kitykyushu เป็นเมืองนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 1 ใน 4 แห่งของญี่ปุ่น
- ปัญหารุนแรงเกิดขึ้นจากโรงงานปล่อยน้ำเสีย น้ำในอ่าว Dokai Bay กลายเป็น Sea of Death สีสนิมแดง ปนเปื้อนโลหะหนัก และท้องฟ้าปกคลุมด้วยควันพิษ (Seven-color smoke)
ทศวรรษ 1960-1970
- กลุ่มสตรีแม่บ้าน เดินขบวนต่อต้านสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ร่วมมือกับสื่อมวลชน+นักวิชาการ และเรียกร้องต่อเทศบาลนครคิตะคิวชูเข้าตรวจสอบโรงงานสำเร็จ
- เทศบาลนครคิตะคิวชู (City Government) ออกแนวคิดแก้ไขปัญหา โดยออกกฎหมายทำข้อตกลงระหว่าง โรงงานกับชาวบ้าน และมีรัฐคอยกำกับตรวจสอบและออกข้อกำหนด ข้อบังคับและควบคุมดูแลการปล่อยมลพิษของโรงงาน
1974-1976
- ขุดลอกตะกอนอุตสาหกรรมหนัก 300,000 ตันขึ้นมาจากอ่าว Dokai แล้วนำไปฝังกลบเป็นพื้นที่ใหม่ของเมือง โดยโรงงานเอกชน (Private Enterprise) ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด 70% นอกจากนี้ยังปรับใช้เทคโนโลยีสะอาดในกระบวนการผลิตและระบบบำบัดของเสีย และทำโครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น ปลูกต้นไม้
1980
- เริ่มแผนพัฒนาเมืองโดยก่อตั้งสมาคม “KITA” (Kitakyushu International Techno-cooperatiive Association) และมีความร่วมมือระหว่างประเทศมากขึ้นตั้งแต่ปี 1988
1989-1992
- เริ่มแนวคิดพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมบริเวณทะเล Hibiki
1993
- รณรงค์ลดมลพิษเมือง โดยแนะนำระบบใหม่ๆ และดึงให้ประชาชนมีส่วนร่วม เช่น การคัดแยกขยะ
1994-1996
- เริ่มแผนพื้นฐานการพัฒนาบริเวณทะเล Hibiki
1997
- รัฐบาลญี่ปุ่นส่งเสริมให้ท้องถิ่นจัดตั้ง Eco-Town โดยมีหน่วยงาน MOE และ METI สนับสนุนเมืองที่ได้รับคัดเลือก Kitakyushu ได้รับอนุมัติโครงการโรงงานรีไซเคิลครั้งแรกในปี 1997
1998
- แผนปฏิบัติการพัฒนา Kitakyushu ให้เป็นเมือง Eco-Town เริ่มขับเคลื่อน
2000
- ใช้หลัก 3R (Reduce, Reuse, Recycle)+รณรงค์ให้ประชาชนเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2001
- ก่อตั้ง PCB Treatment Facility ช่วยจัดการสารพิษ Polychlorinated biphenyl or PCB ซึ่งใช้เป็นตัวระบายความร้อนของเครื่องจักร เมื่อสารพิษ PCB ผ่านลงแหล่งน้ำจะผ่านเข้าสู่สิ่งมีชีวิตตามโซ่อาหาร
2002
- ปรับแผนพัฒนา Eco-Town ครั้งที่ 1 และได้รับยกย่องว่าเป็น Kitakyushu Initiative for a Clean Environment ในที่ประชุม Johannesburg Summit
2004
- ปรับแผนดำเนินงานพัฒนา Eco-Town ครั้งที่ 2 และมุ่งเป้าหมายเป็น “เมืองหลวงแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก” (World Capital of Sustainable Development)
2008
- รัฐบาลส่งเสริมสนับสนุนโครงการ Low-carbon Society และKitakyushu ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 6 เมืองต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมเมือง และต่อมาเพิ่มอีก 7 เมือง รวมเป็น 13 เมือง Eco-Town
2009
- Kitakyushu เป็น Eco-Model City ที่ดำเนินการตามแผน Green Frontier Plan เพื่อเป็น “เมืองที่บุกเบิกเศรษฐกิจสังคมที่มีระดับคาร์บอนต่ำของทวีปเอเชีย”
|
|
|
|
|