|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บนพื้นที่ประมาณ 76.8 ไร่ พรมแดนจีน-ลาวที่มีเส้นทางคุน-มั่น กงลู่พาดผ่าน และจะมีทางรถไฟสายจีน-ลาว-ไทย เพิ่มขึ้นมาอีกในอนาคตไม่นานนี้ กำลังได้รับการแต่งโฉมครั้งใหญ่ให้เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจบนถนนสายยุทธศาสตร์อันสำคัญสายนี้
“เราหวังว่าที่นี่จะเป็นแหล่งรวมสินค้านำเข้าส่งออกระหว่างจีนกับอาเซียนอีกช่องทางหนึ่ง” หลิว หมิน จุน เลขานุการรองผู้ว่าการเขตพัฒนาเศรษฐกิจบ่อหาน เขตปกครองตนเองชนชาติไตสิบสองปันนาบอก
ด้วยยุทธศาสตร์เมืองหน้าด่าน จุดเชื่อมต่อเส้นทางคุน-มั่น กงลู่ จากมณฑลหยุนหนัน สป.จีน กับถนน R3a ใน สปป.ลาวที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ เริ่มเปิดใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ.2008 เป็นต้นมา กำลังจะมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงพาดผ่าน ทำให้ “บ่อหาน” ถูกใช้เป็นจุดตรวจปล่อยคน-สินค้าด้วย
โดยพื้นที่ดังกล่าว ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับการขนส่งสินค้า-คน ทั้งอาคารคลังสินค้าทัณฑ์บนศูนย์บริการศุลกากรแบบครบวงจร ภายใต้โมเดลเขตเศรษฐกิจเมืองชายแดนต่างๆ ที่ สป.จีนใช้ได้ผลมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพรมแดนด้านเหอโข่ว จีน-เวียดนาม, ชายแดนโหย่วอี้กวาน จีน-ล่างเซิน เวียดนาม, เต๋อหง จีน-มูเซ พม่า ที่มีเขตพัฒนาเศรษฐกิจแต่ละจุด สนับสนุนให้เกิดการค้าขึ้นละปีหลายหมื่นล้านบาท
(อ่านรายละเอียดเรื่อง “เต๋อหงช่องทางสินค้าจีนที่ไทยไม่อาจมองข้าม” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2553 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)
หลิวบอกว่า เขตพัฒนาเศรษฐกิจบ่อหาน เป็นเมืองหน้าด่านในการขนส่งทางบกที่เชื่อมโยงระหว่างไทย-ลาว-จีน โดยทุก สัปดาห์ได้มีการจัดแสดงสินค้าชายแดนไทย-ลาว-จีน แต่ที่ผ่านมายังขาดผู้ประกอบการจากไทยเข้าร่วมแสดงและจำหน่ายสินค้าในงานดังกล่าว เนื่องจากปัญหาด้านภาษาในการสื่อสาร
เขาเสนอให้ผู้ประกอบการไทยนำกล้วยไม้ไทยที่สวยงามไปแสดงที่สวนกล้วยไม้ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจบ่อหาน ซึ่งจะเป็นสวนขนาดใหญ่เป็นที่สนใจเข้าชมจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก
นอกจากนั้นสินค้าหัตถกรรมของเชียงใหม่ ยังเป็นสินค้าที่สวยงามและเป็นที่สนใจของชาวจีน รวมถึงผลไม้ไทยซึ่งเป็นผลไม้เมืองร้อนที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในจีนมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย
หลิวบอกอีกว่า การขนส่งสินค้าระหว่างบ่อหาน-เชียงราย-เชียงใหม่ ควรจะมีบริษัทขนส่งของ สปป.ลาว เป็นผู้เชื่อมโยงในการนำส่งสินค้าระหว่างกัน ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาการสื่อสารระหว่างเชียงใหม่และเขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อหานหมดไปด้วย
ส่วนการประสานการสั่งซื้อหรือการชำระค่าสินค้าเสนอให้ใช้ช่องทางประสานงานทางอีเมลหรือทางโทรศัพท์ ก็จะทำให้เกิดความรวดเร็วและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เห็นว่าผลไม้ไทยซึ่งเป็นผลไม้เมืองร้อนเป็นสินค้าทางการเกษตรที่ทางประเทศจีนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
สำหรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจบ่อหานนี้ Xiong Qinghua อธิบดีกรมพาณิชย์ มณฑลหยุนหนัน ระบุไว้ระหว่างนำคณะนักธุรกิจจีนกว่า 50 บริษัท เดินทางมาสำรวจลู่ทางการค้าการลงทุนผ่านคุน-มั่น กงลู่ และ R3a เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ว่า ในปี 2010 มีการค้าผ่านช่องทางนี้แล้ว 570 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
|
|
|
|
|