Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2554
NTHC ต้นแบบการค้าขายกับจีนที่ (น่าจะ)...แฟร์ที่สุด             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง
 

   
related stories

เมื่อ 'ไต' และ 'ไทย' ถูกสร้างให้เป็น Brand ของ 'จีน'
วิถี 'ไต' ที่ไม่ถึง 'ไทย' แค่ 'เชียงรุ่ง' ก็พอ
9 จอม 12 เจียง นครแห่งไท
บ้านถวาย 'ล้านนาพาณิชย์นคร'
เขตเศรษฐกิจบ่อหานปากทางเชียงรุ่ง

   
www resources

Northern-Thai Handicraft Center Homepage

   
search resources

Crafts and Design
China
Northern-Thai Handicraft Center
M.R.P. Group Ltd.




“NTHC ทำหน้าที่รับประกันให้กับทั้งผู้ซื้อว่าจะได้สินค้าตามที่สั่งแน่นอนและผู้ขายว่าต้องได้เงินถึงมือด้วยเช่นกัน ขจัดปัญหาการถูกโกงที่เคยเกิดขึ้นในกระบวนการค้าขายระหว่างไทย-จีน หลายครั้งที่ผ่านมาด้วย”

ในช่วงสายของวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมบนชั้น 4 วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี (วิทยาลัยสื่อ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พงษ์เทพ บุตรชัย เจ้าของร้านรุ้งตะวัน OTOP บ้านถวาย ได้ลงนามในสัญญากับหวาง ซิง ผู้จัดการบริษัท M.R.P. group,LTD. เป็นสัญญาสั่งซื้อสินค้าหัตถกรรมจำพวกนางไหว้-เทพพนม-ช้างแกะสลัก ฯลฯ มูลค่าประมาณ 234,300 บาท เพื่อส่งขึ้นไปจำหน่ายยัง สป.จีน

เป็นดีลแรกที่เกิดขึ้นทันทีหลังพิธีลงนามในความร่วมมือระหว่างผู้บริหารวิทยาลัยสื่อ ในฐานะตัวแทนของ Northern-Thai Handicraft Center (NTHC) องค์กรนำร่องที่มีภารกิจในการทำตลาดงานหัตถกรรมใน สป.จีน กับ M.R.P.group, LTD. กลุ่มบริษัทอีเวนท์ ออแกไนเซอร์รายใหญ่จากปักกิ่ง

NTHC ได้รับความร่วมมือจากหอการค้าจังหวัดภาคเหนือตอนบนกลุ่มที่ 1 (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน) สำนักงานพาณิชย์จังหวัดภาคเหนือตอนบน จัดตั้งขึ้นภายใต้งบสนับสนุนจากกลุ่มจังหวัด 1 ล้านบาท ส่วน M.R.P.group, LTD. ก่อตั้งมานานกว่า 12 ปี ผ่านงานการสร้างแบรนด์สินค้าหลากหลายในจีน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการจัดพิธีเปิดและปิดโอลิมปิกเกมส์ที่ปักกิ่ง เมื่อ 2 ปีที่แล้ว

ภายใต้สัญญาความร่วมมือนี้ทั้ง 2 หน่วยงาน จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางนำสินค้าหัตถกรรมจากภาคเหนือตอนบนของไทย เริ่มจากกลุ่มผลิตภัณฑ์จากบ้านถวาย-สันกำแพงเข้าสู่ตลาดจีน ด้วยวิธี E-Commerce ผ่านเว็บไซต์ www.thaigo.cn และ www.thaigo.hk ที่ M.R.P.group, LTD. กำลังจัดทำขึ้น โดยมีหวาง ซิง เป็นผู้จัดการโครงการ

รวมทั้งนำเว็บไซต์ www.nthcthailand.com ซึ่งกำลังคัดสรรสินค้าบ้านถวายและแหล่งผลิตอื่นๆ ที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้ซื้อชาวจีน อัพโหลดขึ้นเว็บไซต์ พร้อมกับเรียงร้อย Story แสดงถึงที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้น เพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้าอีกทางหนึ่ง Link เข้ากับเว็บไซต์ Thaigo ด้วย

สัญญาระหว่างร้านรุ้งตะวันกับ M.R.P.group, LTD. อาจเป็นสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการบ้านถวาย และผู้ซื้อชาวจีนที่จะพิสูจน์อนาคตของสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือไทยในตลาดจีน รวมถึงลบล้างความหวาดผวาต่อการถูกก๊อบปี้ ที่คาใจ “สล่า” ภาคเหนือ สร้างความเชื่อมั่นแห่งความเป็นศิลปิน ว่าจิตวิญญาณในชิ้นงานหัตถศิลป์ของพวกเขา ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้ 100%

หวาง ซิง ผู้จัดการบริษัท M.R.P. group, LTD. กล่าวว่า เขาสนใจในหัตถกรรมภาคเหนือของไทยที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะ และศึกษาแล้วพบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะทำตลาดในจีน โดยจะเริ่มที่ปักกิ่งและหัวเมืองโดยรอบที่มีกำลังซื้อสูงอยู่แล้วก่อน จากนั้นก็จะขยายไปยังมณฑลอื่นๆต่อไป ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและจังหวะทางธุรกิจ

ขณะที่ E-Commerce ในจีนก็กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง มียอดการซื้อขายเกิดขึ้นนับล้านล้านหยวนต่อปี การนำงานหัตถกรรมจากภาคเหนือของไทยที่โดดเด่นอยู่แล้ว เข้าสู่ตลาดนี้ผ่านเว็บ thaigo ทั้งจีนและฮ่องกง ยิ่งจะเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายมากขึ้นไปด้วย

“www.thaigo.cn และ www. thaigo.hk ที่จะทำขึ้นนี้ เชื่อว่ายอด page view ที่ 200-300 ล้านครั้งต่อปี ไม่น่าจะเป็นปัญหาสำหรับ M.R.P.group” หวาง ซิง กล่าว

ภราดร สุรีย์พงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ วิทยาลัยสื่อ บอกว่าวิทยาลัยสื่อก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการอยู่แล้ว โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการภาคเหนือตอนบนที่มีฝีมืออยู่เต็มเปี่ยม แต่ยังมี ขีดจำกัดด้านการตลาด ดีไซน์ ขนส่ง ฯลฯ ซึ่ง NTHC จะเข้าไปช่วยในส่วนนี้ ภายใต้งบประมาณสนับสนุนจากกลุ่มจังหวัด กำหนดระยะเวลาทำงาน 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554

NTHC จะคัดเลือกสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือตอนบนที่มีศักยภาพสำหรับตลาดจีน ให้เหลือ 500 รายการก่อน จากนั้นพิจารณาอีกชั้น ให้เหลือประมาณ 200 รายการ เพื่อเข้าร่วมโครงการนำร่องนี้ ซึ่งล่าสุดขณะนี้มีสินค้าที่ถูกคัดเลือก และอัพโหลดขึ้น www. nthcthailand.com กว่า 80 รายการแล้ว

นอกจากจะนำสินค้าที่ผ่านการคัดสรรเข้าทำตลาด E-Commerce ที่วิทยาลัยสื่อจะเข้าไปช่วยด้าน Digital Content ด้วยแล้ว NTHC ก็จะนำผู้ประกอบการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆ ทั่วประเทศจีน ที่ M.R.P.group, LTD. ซึ่งเป็นออแกไนเซอร์คอยประสานงานให้ พร้อมกับใช้ศูนย์ประสานงาน-จำหน่ายสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือของ NTHC ที่เปิดขึ้นแล้วที่เมืองเชียงรุ่งและนครคุนหมิง กระจายสินค้าไปยังมณฑลอื่นๆ ของจีนต่อไป รวมถึงจะมีการหารือถึงแนวทางที่จะเปิด Gallery โชว์ผลงานหัตถกรรมจากภาคเหนือของไทยที่กรุงปักกิ่งในอนาคตอีกด้วย

“ไม่เพียงเท่านั้น NTHC ยังทำหน้าที่รับประกันให้กับทั้งผู้ซื้อว่าจะได้สินค้าตามที่สั่งแน่นอน และผู้ขายว่าต้องได้เงินถึงมือด้วยเช่นกัน ขจัดปัญหาการถูกโกงที่เคยเกิดขึ้นในกระบวนการค้าขายระหว่างไทย-จีน หลายครั้งที่ผ่านมาด้วย”

ทั้งนี้ NTHC ที่ได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นโครงการนำร่องให้กับสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือตอนบนในตลาดจีนนี้ นอกจากจะมีวิทยาลัยสื่อร่วมสนับสนุนหลักแล้ว ประเด็นสำคัญยังมุ่งเน้นที่จะแก้ปัญหาความเชื่อถือให้ทั้งผู้ซื้อ-ผู้ขาย โดยมีสรภพ เชื้อดำรง รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ฝ่ายอนุภูมิภาค GMS เข้ามาร่วมเป็นคีย์แมนหลัก

สรภพเป็นลูกครึ่ง พ่อเป็นจีน แม่เป็นไทย ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนที่มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับรัฐบาลท้องถิ่นของสิบสองปันนา จนได้รับการแต่งตั้งเป็นล็อบบี้ยิสต์เดินงานด้านการลงทุนให้กับนักลงทุนจากจีนในประเทศไทย

“การค้าขายกับจีนนั้นยาก ผมจะทำเฉพาะกับคนที่เชื่อถือได้เท่านั้น” สรภพตอกย้ำ

(อ่านรายละเอียดเรื่อง “ค้าขายกับจีนไม่ใช่เรื่องง่าย” นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนสิงหาคม 2551 หรือใน www.goto manager.com ประกอบ)

สรภพบอกว่า เคยเจอพ่อค้าจีนมาติดต่อให้พาไปซื้อของที่บ้านถวาย “พวกนี้เข้าไปถึงก้นโรงงานเลย ต่อรองราคากันสุดๆ เรายังต้องเลี้ยงข้าว เลี้ยงน้ำ แถมต้องส่งของให้อีก เรียกว่าไม่ยอมจ่ายเพิ่มนอกจากค่าสินค้าแม้แต่บาทเดียว แต่พอเอาไปขายที่จีนกลับได้กำไรหลายเท่าตัว ซึ่งผู้ประกอบการไทยก็เคยเจอกันมาแล้วถ้วนหน้าและเจ็บตัวกันก็มาก”

“NTHC จะเข้ามาแก้ไขในจุดนี้”

สรภพบอกว่าเขาได้ดึงกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่เพียรพยายามเข้าไปทำตลาดในจีนมาแล้วหลายรอบ และผ่านประสบการณ์เจ็บตัวกันมาแล้วก็มาก เข้ามาร่วมเป็นทีมงานของ NTHC

เริ่มจากธวัชชัย บุตรธรรม ผู้จัดการ NTHC สาขาเชียงใหม่ ที่เป็นคนในชุมชนบ้านถวาย มีเครือข่ายผู้ผลิตที่สามารถจัดส่งสินค้าได้ตามออร์เดอร์ในราคาที่ผู้ขายพอใจ และได้รับความเชื่อถือจากตัวบุคคลที่คุ้นเคยกันมาตั้งแต่เล็ก ว่าจะได้เงินค่าสินค้าแน่นอน

อีกคนคือ ธีระพงศ์ คำสิงห์แก้ว ผู้จัดการ NTHC สาขาคุนหมิงและสิบสองปันนา ชาว อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ที่แม้จะพูดจีนไม่ได้ แต่ก็เพียรเดินทางเข้าออกสิบสองปันนา-คุนหมิง รวมถึงมณฑลอื่นๆ ของจีน เพื่อหาช่องทางเปิดตลาดให้กับสินค้าหัตถกรรมของครอบครัวจากดอยสะเก็ดให้ได้ จนต้องควักกระเป๋าไปแล้วนับล้านบาท แต่ยังไม่สามารถหาพาร์ตเนอร์ได้

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทายาทคหบดีดังใน จ.เชียงใหม่ อย่างกาจ ตันตรานนท์ รวมไปถึงทายาทกลุ่มธุรกิจวัสดุก่อสร้างรายใหญ่ของเชียงใหม่อีกหลายรายที่เข้ามาร่วมกับปลุกปั้น NTHC พร้อมกับมองหาโอกาสในการเปิดช่องทางการค้าของตนเองกับจีน

ธวัชชัยเสริมว่า งานสิบสองปันนาแฟร์ เมื่อ 13-16 เมษายนที่ผ่านมา เขาได้เอาสินค้าจากร้านที่บ้านถวายที่เชื่อถือกันไปร่วมงาน และวางโชว์ที่ศูนย์ NTHC สาขาคุนหมิง และสิบสองปันนา” ซึ่งถ้าขายได้ เราก็รับเป็นหยวน แล้วจ่ายเป็นบาทให้กับเจ้าของสินค้า ตามราคาที่ตกลงกันจากหน้าโรงงาน หรือเลวร้ายที่สุดก็ขายขาดทุนนิดหน่อย เพื่อเปิดช่องทางให้กับตัวสินค้า-ผู้ประกอบการในอนาคต และในเดือนมิถุนายนก็จะไปที่คุนหมิงอีก”

“การันตีได้ ผู้ผลิตได้เงินค่าสินค้าเป็นเงินบาทตามราคาที่กำหนด ผู้ซื้อได้ของตามที่ตกลง”

สรภพบอกว่า NTHC มีเวลาทำงานแค่ 1 ปี และงบสนับสนุนเพียง 1 ล้านบาท ซึ่งเบื้องต้นได้วางเป้าหมายที่จะทำยอดขายให้กับกลุ่มสินค้าหัตถกรรมบ้านถวาย-สันกำแพง-ดอยสะเก็ด รวมถึงสินค้าท้องถิ่นของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือกลุ่ม 1 ประมาณ 10 ล้านบาท

“หลังสิ้นสุดโครงการแล้ว เราวางไว้ว่าจะทำให้ NTHC เป็น Profit Center มีวิทยาลัยสื่อของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นพี่เลี้ยงให้” ภราดรและสรภพยืนยัน

โดย NTHC ทำหน้าที่จัดส่งสินค้าจากผู้ผลิตให้กับผู้ซื้อในจีน ซึ่งสรภพมั่นใจว่าปัจจุบันสามารถทำได้โดยสะดวก เพราะมีเส้นทางคุน-มั่น กงลู่ และเส้นทาง R3a ใน สปป.ลาวรองรับ สามารถส่งสินค้าจากไทยเข้าไปถึงสิบสองปันนาได้ภายใน 2 วัน จากนั้นศูนย์ NTHC ที่เชียงรุ่ง หรืออาจจะเป็นที่คุนหมิง ก็จะทำหน้าที่ในการกระจายสินค้าไปถึงผู้ซื้อในมณฑลอื่นๆ ของจีนต่อไป หรือถ้าผู้ซื้อต้องการให้ส่งสินค้าไปที่กวางโจว ก็สามารถทำได้แน่นอนภายในไม่เกิน 10 วัน เป็นต้น

ขณะเดียวกันภายใต้เครือข่ายที่ร่วมมือกันกับ M.R.P.group, LTD. ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติจีนก็จะช่วยแก้ปัญหาการค้าปลีกสินค้าให้กับ NTHC ได้ รวมทั้งรับประกันการชำระเงินค่าสินค้าได้ด้วยเช่นกัน ในอนาคตก็จะมีการผลักดันให้ NTHC สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ใน สป.จีนด้วย ซึ่งถ้า NTHC ได้เป็นนิติบุคคลจีนก็จะสามารถดำเนินกิจการค้าปลีกในจีนได้ทุกอย่าง

“NTHC จะทำเหมือนเป็น Clearing House ให้กับผู้ประกอบการไทยรับหยวนจากผู้ซื้อจีน แปลงเป็นบาทให้กับผู้ผลิตไทย มีค่าส่วนต่างจากการแลกเปลี่ยนที่จะว่ากันในรายละเอียดต่อไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น” สรภพบอกโมเดลธุรกิจของ NTHC ในอนาคต

(อ่านรายละเอียดเรื่อง “Yuan Zone อาวุธหนักที่รอสับไก” ในนิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนตุลาคม 2552 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us