Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2554
วิถี 'ไต' ที่ไม่ถึง 'ไทย' แค่ 'เชียงรุ่ง' ก็พอ             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง
 

   
related stories

เมื่อ 'ไต' และ 'ไทย' ถูกสร้างให้เป็น Brand ของ 'จีน'
9 จอม 12 เจียง นครแห่งไท
บ้านถวาย 'ล้านนาพาณิชย์นคร'
NTHC ต้นแบบการค้าขายกับจีนที่ (น่าจะ)...แฟร์ที่สุด
เขตเศรษฐกิจบ่อหานปากทางเชียงรุ่ง

   
search resources

Tourism
China




“นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต...” เสียงสามเณรในอุโบสถวัดพระใหญ่หรือวัดพระหลวง ตั้งอยู่บนเนินเขาทางทิศใต้ของเมืองเชียงรุ่ง เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลหยุนหนัน สป.จีน กำลังสวดให้พุทธศาสนิกชนรวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ได้เดินทางเข้ามาชมวัดแห่งนี้

บรรยากาศภายในอุโบสถของวัดแห่งนี้ไม่แตกต่างจากวัดในประเทศไทย มีองค์พระประธาน พระอันดับ ภาพเขียนบน ผนังและหลังคาอุโบสถที่สวยงามตามแบบชาวพุทธ

ด้านบน เหนือจากอุโบสถหลังนี้ไปสัก 100 เมตร เป็นที่ประดิษฐานของ “พระใหญ่” พระพุทธรูปยืน สูง 49 เมตร ที่ยืนเด่น หันพระพักตร์มองลงไปยังตัวเมืองเชียงรุ่ง โดยมีถนนตัดตรงจากหน้าวัดเข้าหาตัวเมือง

อย่างไรก็ตาม เมื่อขึ้นไปยืนบนเนินที่อยู่เหนือองค์พระขึ้นไปเล็กน้อย มองผ่านองค์พระลงไปยังตัวเมืองเชียงรุ่ง สำหรับคนที่เคยเดินทางไปยัง จ.น่านมาแล้ว จะพบว่าบรรยากาศและทัศนียภาพของวัดพระใหญ่ที่เชียงรุ่ง แทบจะเหมือนหรือไม่แตกต่างจากทัศนียภาพบนวัดพระธาตุเขาน้อย อ.เมือง จ.น่าน ที่มีองค์พระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีเมืองน่านประดิษฐาน อยู่ เพียงแต่ขนาดขององค์พระและตัวเมืองทั้ง 2 แห่งนั้นแตกต่างกัน

เป็นลักษณะขององค์พระที่ประทับยืนหันพระพักตร์มองเข้าไปยังตัวเมืองเช่นกัน (ดูภาพประกอบ)

ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีเมืองน่าน เป็นพระพุทธรูปปางลีลา องค์พระพุทธรูปยืนโดยยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นมาบริเวณกึ่งกลางลำตัว ส่วนพระหัตถ์ขวาปล่อยแนบลำตัว

ส่วนพระใหญ่ที่เชียงรุ่ง เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติที่มีพระหัตถ์ขวาขององค์พระยกขึ้นมาอยู่บริเวณกึ่งกลางลำตัว ส่วนพระหัตถ์ซ้ายปล่อยแนบกับลำตัว

ชาวไทลื้อที่เชียงรุ่ง เรียกพระใหญ่องค์นี้ว่าเป็นปางห้ามพยาธิ หรือพะยาด ที่หมายถึงโรคภัยไข้เจ็บ

เพราะมีความเชื่อว่าในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดสัตว์ยังเมืองไพศาลี ขณะที่เกิดอุทกภัย น้ำไหลท่วมพระนคร พัดพาซากศพ สิ่งปฏิกูลบนแผ่นดินลงทะเล จึงจาริกไปที่กำแพงเมืองไพศาลี แล้วเจริญมนต์รัตนสูตรนี้ ทำให้ชาวบ้านหายจากโรคภัย มีกำลังวังชาสดชื่น

นั่นหมายถึงความเชื่อวิถีพุทธของชาวไทลื้อที่นี่ว่า พระใหญ่จะช่วยปัดเป่าโรคร้ายให้นครเชียงรุ่งแห่งนี้ เหมือนอาณาประชาราษฎร์นครไพศาลีในสมัยพุทธกาล

“วิถีชาวพุทธ” ในสิบสองปันนาเพิ่ง ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่เมื่อปี 1977 นี้เอง”

อาเหวิน หรืออุ่นแสง สาวไทลื้อชาวสิบสองปันนา ซึ่งทำงานอยู่ใน CITS (China International Travel Service) สาขาสิบสองปันนา ซึ่งรู้จักกับผู้เขียนมาตั้งแต่เมื่อ 15 ปีก่อน ช่วงที่การพัฒนาในกรอบสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (ไทย พม่า ลาว จีน) กำลังถูกผลักดันให้ก่อรูปขึ้น บอกระหว่างยืนรอซื้อตั๋วเข้าไปเที่ยวชม-สักการะ “พระใหญ่”

ท่ามกลางเสียงสวดมนต์ตามแบบของชาวพุทธนิกายเถรวาทในสำนวนชาวจีนฮั่น ซึ่งถูกบันทึกไว้ในแผ่นซีดี และถูกนำมาเปิดกระจายเสียงผ่านลำโพงที่ฝังอยู่ตามริมกำแพงก่ออิฐถือปูนภายในวัด กล่อมหูผู้คนที่เดินทางเข้ามาเยี่ยมชมวัดแห่งนี้ อาเหวินอธิบายเพิ่มเติมว่า สมัยปฏิวัติวัฒนธรรมจีน รากฐานทางวัฒนธรรมไทลื้อ ศาสนา วัดวาอาราม ฯลฯ ของสิบสองปันนาถูกทำลายไปหมด เหลือแต่องค์ความรู้ในตัวผู้เฒ่า ผู้แก่ และคัมภีร์ใบลานที่บรรดาพ่อหนานในหมู่บ้านต่างๆ เก็บซ่อนไว้ในบ้านตามชนบท

“แม้แต่จอม (เจดีย์) เก่าแก่ทั้ง 9 แห่ง ก็ถูกทำลายเหลือแค่ 2 แห่ง คือ จอมตอง กับจอมหมอก”

กระทั่งรัฐบาลกลางจีนเริ่มผ่อนคลายความเข้มงวดในการปิดกั้นการนับถือศาสนาลงในช่วงปี ค.ศ.1977-1980 เปิดทางให้มีการรื้อฟื้นวัฒนธรรมชนเผ่าต่างๆ ขึ้น และเปิดโอกาสให้คนชนเผ่าในแต่ละพื้นที่ขึ้นเป็นผู้นำในท้องถิ่น ซึ่งสิบสองปันนาแม้จะมีชนเผ่าอาศัยอยู่มากถึง 13 ชนเผ่า แต่เผ่าไทลื้อเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด จึงทำให้เขตปกครองตนเองชนชาติไตสิบสองปันนา มีผู้ว่าการเป็นคนเชื้อสายไทลื้อ

ผู้ว่าฯ สิบสองปันนาคนปัจจุบันเป็นสตรี ชื่อ “เตา หลินอิน”

หากย้อนชื่อของผู้ว่าการเขตปกครองตนเองสิบสองปันนาตั้งแต่ปัจจุบัน ไปจนถึงช่วงปี 1977 จะพบว่าทุกคนล้วนมีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า “เตา” ซึ่งอาจทำให้เข้าใจว่าเป็นคนแซ่เดียวกัน

แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ คำว่า “เตา” เป็นตำแหน่งทางราชการที่ทางการจีนแต่งตั้งให้ มีความหมายเหมือนคำว่า “ท้าว” ในภาษาไทยนั่นเอง

ส่วนการรื้อฟื้นวิถีไทลื้อ วิถีชาวพุทธในสิบสองปันนา ช่วงปี ค.ศ.1977-1980 นั้น ว่ากันว่าบรรดาพ่อหนาน หรือคนที่เคยบวช เรียนมา ซึ่งเก็บซุกซ่อนคัมภีร์ใบลานไว้ในยุคปฏิวัติวัฒนธรรม เริ่มนำเอาคัมภีร์มารวมกันที่วัดป่าเจ วัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเชียงรุ่ง จากนั้นได้เริ่มบ่มเพาะสามเณรลูกหลานชาวไทลื้อที่เริ่มมาบวชเรียนที่วัดประมาณ 100 รูป ก่อนที่จะมีการส่งสามเณรเหล่านี้ออกไปจำพรรษาตามวัดวาอารามต่างๆในชนบทที่เหลืออยู่ ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป

จนเมื่อรัฐบาลกลาง สป.จีน มีนโยบายการเปิดพื้นที่ออกสู่ทะเล เชื่อมโลกภายนอกให้กับมณฑลทางตะวันตกเฉียงใต้เข้าสู่อาเซียน ซึ่งมีการผลักดันให้เปิดเส้นทางผ่านเข้าพม่า เวียดนาม รวมถึงลาว และไทย โดยมีเส้นทางคุน-มั่น กงลู่พาดผ่านจากคุนหมิง-เชียงรุ่ง สิบสองปันนา-R3a (สปป.ลาว) ถึง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ของไทย จึงเป็นเหมือนการจุดประกายความสนใจในตัวเมือง “เชียงรุ่ง” ไปด้วยในตัว

(อ่านรายละเอียดเรื่อง “สาละวิน ลุ่มน้ำแห่งความหวังที่กว้างใหญ่” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนกันยายน 2553 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

เห็นได้ว่าระยะกว่า 10-15 ปีมานี้ จีนได้เปิดสัมปทานพื้นที่ให้เอกชนทั้งใน-นอกประเทศเข้ามาพัฒนาให้เชียงรุ่งกลาย เป็นเมืองหน้าด่าน ทั้งด้านการค้าการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ไล่กันมาตั้งแต่กลุ่มสมหญิง เสรีวงศ์ เจ้าของปั๊มน้ำมันตะวันอีสานที่โด่งดังในอดีต ซึ่งเคยมีโครงการทำทัวร์ตามแนวแม่น้ำโขงในนามตะวันทัวร์ และห้างสรรพสินค้าในเชียงรุ่ง ตั้งแต่ปี 2538-2539 ก่อนจะล้มเลิกไป

กลุ่มของวัฒนา อัศวเหม อดีตนักการเมืองคนดังจากสมุทรปราการ ที่เคยได้รับส่งเสริมการลงทุน ทำโครงการอู่ต่อเรือที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย รวมถึงมีโครงการพัฒนาท่าเรือห้าเชียงพลาซ่า อ.เชียงแสน รวมถึงโครงการพัฒนาที่ดินอีกหลายโครงการในบริเวณชายแดนไทย-ลาว ใน จ.เชียงราย ก่อนจะผ่องถ่ายกิจการให้กับกลุ่มเบียร์ช้างเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มทุนใหญ่ภายในจีนเอง ที่เข้ามาพัฒนาพื้นที่ในนครเชียงรุ่ง เพื่อพลิกโฉมให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของมณฑลทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เช่นที่วัดพระใหญ่ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น รัฐบาลท้องถิ่นของสิบสองปันนาได้เปิดให้กลุ่มทุนเอกชนเข้ามาดำเนินการก่อสร้างเป็นสถานที่ท่องเที่ยว พร้อมกับพัฒนาพื้นที่โดยรอบที่เคยเป็นหมู่บ้านหลงฟอง ชุมชนไทลื้อเก่าแก่ ให้เป็นย่านเมืองใหม่ทันสมัย ด้วยงบประมาณการก่อสร้างร่วม 303,500 ล้านหยวน (ประมาณ 1,426,450 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยน 4.70 บาทต่อ 1 หยวน) เริ่มดำเนินการก่อสร้างใหม่ทั้งหมดมาตั้งแต่ปี 2550 ที่ผ่านมา

เป็นการสร้างภายหลังจากที่ชาวจังหวัดน่าน ได้รวบรวมทุนทรัพย์เพื่อจัดสร้างพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีเมืองน่าน เพื่อประดิษฐานที่พระธาตุเขาน้อย เพื่อเทอดพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนม พรรษาครบ 6 รอบ เมื่อปี 2542

ขณะนี้วัดพระใหญ่กลายเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนจากหลากหลายมณฑล รวมถึงนักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนชาวไทย ที่ต้องควักกระเป๋าซื้อตั๋วเข้าเที่ยวชม-สักการะองค์พระ ในราคาที่สูงถึงคนละ 120 หยวน (ประมาณ 564 บาท)

“เหมือนจุ๊หมาน้อยขึ้นดอย ตอนแรกคิดค่าเข้าชมหัวละ 80 หยวน ปีต่อมาเพิ่มเป็น 100 หยวน แล้วก็ 120 หยวน ขึ้นปีละ 20% สำหรับคนที่จะขึ้นไปทำบุญที่วัดพระใหญ่” อาเหวินบอกเป็นภาษาไทยสำเนียงไทลื้อ

เช่นเดียวกับ “พาราณาสีโชว์” ณ โรงละครกลางเมืองเชียงรุ่ง ที่นำเอาวิถีชาวพุทธ-ไทลื้อ มาปรุงแต่งเพิ่มสีสันขึ้นโชว์บนเวที ซึ่งวันนี้...กลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว สามารถขายตั๋วเข้าชมในราคาสูงถึงคนละ 160 หยวน (ประมาณ 750-800 บาท)

รวมถึงโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ของ Haicheng Group ที่รัฐบาลกลางจีนและรัฐบาลท้องถิ่นสิบสองปันนา เปิดทางให้เข้ามาพัฒนาพื้นที่ 1,200 หมู่ (หน่วยวัดพื้นที่ของจีน) หรือประมาณ 600 กว่าไร่ (1 ไร่เท่ากับ 1.6 หมู่) ริมฝั่งแม่น้ำโขง หน้าทางเข้า-ออกตัวเมืองเชียงรุ่ง ด้วยเม็ดเงินลงทุนร่วม 200,000 ล้านหยวน หรือประมาณ 940,000 ล้านบาท สร้างโครงการ “9 จอม 12 เจียง” ขึ้น

จอมในภาษาไทลื้อคือเจดีย์ ส่วนเจียงหมายถึงหมู่บ้าน รายละเอียดของโครงการนี้ จึงเป็นการวางผังพัฒนาพื้นที่ 1 แม่น้ำ 2 ประตู 9 เจดีย์ และ 12 หมู่บ้าน พร้อมกับโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่าจะเป็นเมืองแห่งการผสมผสานวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทลื้อและประเทศไทย เข้ากับกระแสสมัยใหม่ วางเป้าหมายให้เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวรอบ “สามเหลี่ยมทองคำใหญ่” ใช้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นตัวนำวัฒนธรรมเป็นหัวใจ (อ่านรายละเอียดเรื่อง “9 จอม 12 เจียง นครแห่งไท” ประกอบ)

พร้อมๆ กับความพยายามผลักดันให้มีการก่อสร้างอาคารน้อยใหญ่ทั่วเมืองเชียงรุ่ง ที่เน้นให้สร้างเป็นหลังคารูปทรงปีกนก หรือ “หงส์เฮือน หรือเรือนหงส์” ซึ่งเป็นทรงหลังคาบ้านเรือนของชาวไทลื้อในอดีต บ่งชี้ถึงนัยแห่งการรื้อฟื้นวิถีไทลื้อให้กับนครแห่งนี้อย่างเต็มเปี่ยม

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับนครเชียงรุ่งขณะนี้ นัยหนึ่งได้สะท้อนให้เห็นถึงการโหยหารากเหง้าทางวัฒนธรรมของชาวจีน ที่เคยถูกทำลายไปในยุคปฏิวัติวัฒนธรรมอย่างเด่นชัดยิ่ง โดยเฉพาะในมุมของ “ไทลื้อ” ที่นับเป็นวิถีเดียวกับชนเผ่าไตในลุ่มน้ำโขงหรือลั่นซ้างเจียง

และนั่นหมายถึง เชียงรุ่งกำลังเดินเข้าสู่บทบาทความเป็นศูนย์กลางชนเผ่าไต ปรุงแต่งจิตวิญญาณความเป็นไต วิถีพุทธ ขึ้นมาใหม่

แต่อีกนัยหนึ่ง กระบวนการเหล่านี้ได้ซ่อนยุทธศาสตร์ที่แยบยลให้เชียงรุ่งมีมูลค่าในเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น

รัฐบาล สป.จีนมีเป้าหมายจะผลักดันให้เชียงรุ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวชั้นแนวหน้า อีกแห่งหนึ่งของมณฑลทางตะวันตกเฉียงใต้ ของจีน ซึ่งระยะที่ผ่านมาก็มีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง

เฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาในเชียงรุ่ง เพิ่มขึ้นจากประมาณ 6 ล้านคน ในปี 2551 มาเป็น 8 ล้านกว่าคน ณ สิ้นปี 2553

มีการคาดหมายกันว่า อนาคตการท่องเที่ยวเชียงรุ่ง สิบสองปันนา จะเติบโตมากกว่านี้อีก 1-2 เท่าตัวเป็นอย่างต่ำ

การฟื้นฟูวิถี “ไต” ให้กับเชียงรุ่งจึงหมายถึงการสร้างจุดดึงดูดให้กับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีความสนใจในวิถีและวัฒนธรรมเช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องเดินทางลงมาถึงประเทศไทย แค่ไปเชียงรุ่งอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว

ขณะเดียวกันสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ต้องการเดินทางกลับขึ้นไปยังถิ่นกำเนิดของบรรพบุรุษ ก็จะพบกับกลิ่นอายของวัฒนธรรม “ไต” และ “ไทย” ที่กำลังถูกปรุงแต่งขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง

(อ่านรายละเอียดเรื่อง “เส้นทางท่องเที่ยว 4 ชาติลุ่มน้ำโขง โอกาสที่กำลังผุดขึ้นท่ามกลางวิกฤติ” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนเมษายน 2553 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

สรภพ เชื้อดำรง รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ฝ่ายเศรษฐกิจอนุภูมิภาค GMS สะท้อนความรู้สึกว่า เมื่อเดินอยู่ในเชียงรุ่งระยะนี้ เหมือนกับเดินอยู่ใน จ.เชียงใหม่ หรือจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือตอนบนที่เรียกว่า “ล้านนา” ไปทุกวัน และรัฐบาลท้องถิ่นสิบสองปันนา รวมถึงรัฐบาลกลาง สป.จีนก็มุ่งที่จะพัฒนาให้เชียงรุ่งเป็นเมืองท่องเที่ยว โดยใช้วิถีวัฒนธรรมชนเผ่าไตเป็นจุดขาย เพียงแต่ยังขาด “จิตวิญญาณ” ที่แท้จริงของความเป็นล้านนาเท่านั้น

ซึ่งทำให้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มพ่อค้าจีนที่เห็นช่องทางนี้ พยายามที่จะนำเข้า “จิตวิญญาณล้านนา” ที่แสดงออกผ่านสินค้าหัตถกรรมและการแสดงทางวัฒนธรรมจากหลายจังหวัดภาคเหนือของไทยมาอย่างต่อเนื่อง

“งานหัตถกรรมไทย เป็นชิ้นงานที่มีอัตลักษณ์ มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ได้รับความสนใจจากคนจีนมาก ซึ่งบริษัทได้ศึกษาข้อมูลมาแล้ว พบว่าตลาดหัตถกรรมไทยที่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้และพื้นที่รอบๆ มีความเป็นไปได้สูง มีโอกาสที่จะขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ ของจีน ได้อย่างแน่นอน” หวาง ซิง (Wang Xing) ผู้จัดการ MRP group Limited, ผู้จัดการโครงการ www.thaigo.cn และ www.thaigo.hk ที่กำลังร่วมมือกับ Northern-Thai Handicraft Center (NTHC) นำสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือของไทยเข้าทำตลาดใน สป.จีน ผ่าน E-Commerce และเพิ่งลงนามในสัญญาความร่วมมือระหว่างกันไปเมื่อ 26 เมษายนที่ผ่านมา (2554) บอก

โดยเฉพาะที่ “บ้านถวาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่” แหล่งผลิตสินค้าหัตถกรรมชื่อดังของเชียงใหม่ที่ได้รับความสนใจจากพ่อค้าใหญ่-น้อยชาวจีนเป็นอย่างมาก

(อ่านเรื่อง “NTHC-www.thaigo.cn โมเดลใหม่หัตถกรรมไทยในจีน” และเรื่อง “บ้านถวาย ‘ล้านนาพาณิชย์นคร’” ประกอบ)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us