Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2554
เมื่อ 'ไต' และ 'ไทย' ถูกสร้างให้เป็น Brand ของ 'จีน'             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง
 

   
related stories

วิถี 'ไต' ที่ไม่ถึง 'ไทย' แค่ 'เชียงรุ่ง' ก็พอ
9 จอม 12 เจียง นครแห่งไท
บ้านถวาย 'ล้านนาพาณิชย์นคร'
NTHC ต้นแบบการค้าขายกับจีนที่ (น่าจะ)...แฟร์ที่สุด
เขตเศรษฐกิจบ่อหานปากทางเชียงรุ่ง

   
search resources

International
China




“ยุทธศาสตร์สิบสองปันนา” เป็นยุทธศาสตร์ที่ลุ่มลึก หากมองอย่างผิวเผินจะเกิดความรู้สึกในเชิงบวกว่าความเป็นชนเผ่า ‘ไต’ และความเป็น ‘ไทย’ กำลังเป็นที่สนใจของผู้คน โดยเฉพาะในสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่หากมองให้ลึกลงไป ทั้ง ‘ไต’ และ ‘ไทย’ กำลังถูกสร้างให้เป็นสินค้าที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้จำนวนมหาศาล...เพียงแต่ว่า ‘ใคร’ เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์

“มีการเปลี่ยนแปลงตลอด ก่อสร้าง กันทุกวัน...”

เป็นคำพูดที่เจนหูรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมา ในวงสนทนานักเดินทางที่เคยสัมผัส ดินแดนที่เป็นเสมือนเมืองในตำนาน เมืองที่เป็น “ราก” ของชนเผ่าไต... จิ่งหง (Jing Hong) หรือเชียงรุ่ง เมืองเอกของเขตปกครองตนเองชนชาติไตสิบสองปันนา มณฑลหยุนหนัน สาธารณรัฐประชาชนจีน (สป.จีน)

นครที่ได้ชื่อมาจากเรื่องราวในพุทธตำนานของชาวไทลื้อที่ว่า เมื่อครั้งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ยังดินแดนริมฝั่งโขงของชาวไทลื้อแห่งนี้ เป็นเวลาเช้าพอดี จึงเรียกดินแดนแห่งนี้ว่าเชียงรุ่ง อันเป็นดินแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง-ลั่นซ้างเจียง ที่พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา

โดยเฉพาะหลังจากเส้นทางคุน-มั่น กงลู่ (ทางด่วนสายคุนหมิง-กรุงเทพฯ) ถูกเปิดใช้ ทำให้ “เชียงรุ่ง” กลายเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญที่เชื่อมโยงหยุนหนัน 1 ในมณฑลทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เข้ากับสี่เหลี่ยม-หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ รวมถึงประชาคมอาเซียน

(อ่านรายละเอียดเรื่อง “เปิดตลาด (อินโด) จีน” นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนสิงหาคม 2550 และเรื่อง “คุน-มั่น กงลู่ เส้นทางจีนสู่อาเซียน” นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนสิงหาคม 2551 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

เป็นเมืองหน้าด่านที่มีนัยสำคัญทั้งด้านการค้า การลงทุน ด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เชื่อมโยงพม่า ลาว เวียดนาม และไทย ผ่านคุน-มั่น กงลู่ และมีนัยสำคัญด้านการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงแห่งนี้

ด้วยความเป็นเมืองต้นราก “ชนเผ่าไตหรือไท” แห่งอุษาอาคเนย์ ที่มีสายสัมพันธ์ทั้งทางเครือญาติ ภาษา วิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมไปถึงความเชื่อทางศาสนาพุทธ เช่นเดียวกับผู้คน “เผ่าไต” อีกหลายล้านคน ในพื้นที่ต่างๆ อาทิ ไทอาหมที่แคว้นอัสสัมของอินเดีย ไทขืนหรือไทเขินที่เชียงตุง ไทใหญ่ในรัฐฉานของพม่า ไทดำในเชียงขวางของลาว และเดียนเบียนฟูของเวียดนาม รวมถึงไทยล้านนาในเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา น่าน ฯลฯ

ที่สำคัญคือไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

ณ ขณะนี้ เชียงรุ่งกำลังถูกปรุงแต่งให้มีมูลค่าเชิงพาณิชย์อย่างขะมักเขม้นด้วยศักยภาพด้านเงินทุนจำนวนมหาศาล ผสมผสานกับรากเหง้าทางวัฒนธรรมไทลื้อ รวมถึงวิสัยทัศน์ด้านการเมืองการปกครอง ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่แยบยลระหว่างจีนฮั่นกับชนเผ่าต่างๆ ใน สป.จีน โดยเฉพาะไทลื้อ

เป็นการปรุงแต่งโดยนำวิถีชาวไต โดยเฉพาะไทลื้อ ให้ฟื้นกลับคืนขึ้นมาใหม่ หลังจากวิถีนี้ถูกทำลายไปจนแถบจะย่อยยับในยุคปฏิวัติวัฒนธรรมจีน ช่วง พ.ศ.2501

ยุทธศาสตร์ที่ได้เริ่มต้นอย่างมีกระบวนการ และมีเป้าหมายที่ซ่อนนัยสำคัญเอาไว้ไม่น้อย...

ระหว่างปี ค.ศ.1977-1980 (พ.ศ.2520-2523) เมื่อการปฏิวัติวัฒนธรรมเริ่มผ่อนคลาย จีนได้ออกนโยบาย “เจ้าแสนหวี” (อดีตกษัตริย์เชียงรุ่ง ที่ออกเสียงภาษาจีนว่า ชานเหว่ แปลว่าผู้ทำหน้าที่ปลอบโยน) โดยการรื้อฟื้นวิถี “คนไต” ขึ้นมาใหม่ รัฐบาลจีนเปิดทางให้คนพื้นเมืองที่เป็นชาวไทลื้อได้ขึ้นมาเป็นผู้นำเขตปกครองตนเอง โดยมีคนจากรัฐบาลกลางเข้ามากำกับ

หลังจากนั้นได้มีการต่อยอดจากศักยภาพของเงินทุนจำนวนมหาศาล ก่อร่าง “นครเชียงรุ่ง-เมืองไทลื้อ” โฉมใหม่ขึ้นมา ให้เป็นเมือง “ไต” ในแผ่นดินจีนโดยสมบูรณ์

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเชียงรุ่ง ย่อมส่งผลสะเทือนต่อพื้นที่รอบข้าง โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเป็นที่อาศัยของ “ชาวไต” แม้แต่ประเทศไทยเราเองก็ไม่อาจหลีกพ้น หากมองยุทธศาสตร์นี้ไม่ทะลุ และไม่สามารถตั้งรับได้ทัน

เป็นผลสะเทือนที่เกิดขึ้นคู่ขนานกับความพยายามผลักดันให้เกิดเส้นทางสาย “คุน-มั่น กงลู่” ที่นอกจากจะเป็นท่อส่งสินค้าจากมณฑลทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนออกสู่ตลาดอาเซียนและตลาดโลกแล้ว ยังเป็นท่อรับสินค้าซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตจากนานาประเทศเข้าสู่ตลาดจีน

แต่ในอีกบทบาทหนึ่งของเส้นทางสายนี้ คือเป็นช่องทางส่งผ่านอิทธิพลในรูปแบบต่างๆ จีนออกมาสู่ประเทศที่อยู่ด้านล่าง และอาจหมายรวมไปถึงทุกประเทศในประชาคมอาเซียน (AEC) ที่กำลังจะเริ่มขึ้นในปี 2558 ที่จะถึงนี้

ดังที่เกิดขึ้นกับกระบวนการค้าลำไย-พืชผักผลไม้ไทย ตลอดจนการขยายอิทธิพลจีนใน สปป.ลาว ทุกมิติ เป็นต้น

(อ่านรายละเอียดเรื่อง “อิทธิพล “จีน” ใน “ลาว” หยั่งลึกกว่าที่คิด!!!” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนสิงหาคม 2553 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

เชียงรุ่งในวันนี้กำลังเปิดรับ นำเข้า “จิตวิญญาณไต” ทุกรูปแบบ จากทุกแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นจากไทย พม่า ลาว เวียดนาม แม้แต่อินเดีย ก่อรูป “ศูนย์กลางไต” ขึ้นบนแผ่นดินที่เป็นรากเหง้าของชนเผ่าไตแต่บังเอิญถูกรวมเข้าไปอยู่ในรัฐอาณาเขตของ สป.จีน

แน่นอน...หากมองในมุมของ “คนไทย” ในนัยหนึ่ง เชียงรุ่งกำลังเป็นตลาดใหญ่สำหรับสินค้าหัตถกรรมและศิลปวัฒนธรรมไทย ที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นไทย ซึ่งมีตลาดรองรับอย่างมหาศาล

ขณะเดียวกัน นี่อาจเป็นจุดพลิกผันสำคัญในการรับรู้ของชนชาติอื่น โดยเฉพาะคนจีนที่มีความนิยมชมชอบในวิถีไต-วิถีไทย แม้แต่คนที่เป็นชนชาติ “ไต” ด้วยกันเอง หากไม่สามารถ “อ่าน” การวางหมากเกมยุทธศาสตร์นี้ของ สป.จีนได้ขาด และวางแผน เตรียมการตั้งรับได้ไม่ทัน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเชียงรุ่ง สิบสองปันนา ในวันนี้ มีมากกว่าที่ปรากฏให้เห็นในเชิงกายภาพ ที่ใครเมื่อได้ไปพบเห็นแล้วคิดว่าได้กลับไปเยือน “ถิ่นกำเนิดของบรรพบุรุษ”...เท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us