Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2554
NADESHIKO JAPAN in Women’s World Cup 2011             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 


   
search resources

Sports




หญิงสาวกับกีฬาประเภทใช้เท้าเตะอย่างฟุตบอล อาจดูไม่เหมาะกับอิริยาบถของสตรีสักเท่าใดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาวเอเชีย หากยุคสมัยเปลี่ยนไป ฟุตบอลหญิงได้รับความสนใจและยอมรับมากขึ้นเป็นลำดับถึงขั้นมีการแข่งขันระดับ World Cup เช่นเดียวกับฟุตบอลชาย

ความเป็นมาของ Women’s World Cup เริ่มขึ้นในปี 1991 มีประเทศจีนเป็นเจ้าภาพและจัดการแข่งขันทุก 4 ปีต่อเนื่อง จนกระทั่งครั้งนี้มีเยอรมนีเป็นเจ้าภาพ ซึ่งฟุตบอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่นที่รู้จักกันในชื่อ Nadeshiko Japan ได้จารึกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการลูกหนัง ในฐานะทีมตัวแทนจากทวีปเอเชียที่สามารถคว้าถ้วย World Cup มาครองได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

แม้ปัจจุบันฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่นครองตำแหน่งอันดับหนึ่งของทวีปเอเชีย ล่าสุดเป็นเจ้าของเหรียญทองจากมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ทั้งประเภททีมชายและทีมหญิงก็ตาม แต่ในระดับโลกแล้วทีมชายหรือที่เรียกว่า Samurai Blue ทำได้เพียงผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้าย

ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ลีกฟุตบอลหญิงในญี่ปุ่นยังจัดอยู่ในระดับลีกสมัครเล่นในขณะที่ J. League* ของฟุตบอลชายได้พัฒนาไปสู่ฟุตบอลอาชีพ ซึ่งมีเม็ดเงินหมุนเวียนอย่างเป็นระบบเช่นเดียวกับลีกฟุตบอลของยุโรป

สถิติตัวเลขที่น่าสนใจในปี 2010 ระบุว่า นักฟุตบอลหญิงในญี่ปุ่นที่มีอยู่ราว 220 คน เป็นนักฟุตบอลอาชีพไม่ถึง 10% เกือบทั้งหมดเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลในอเมริกาและเยอรมนี ส่วนที่เหลือยังเป็นนักฟุตบอลสังกัดสโมสรฟุตบอลสมัครเล่นภายในประเทศซึ่งหลายทีมมีรายได้ไม่พอจ่ายค่าสนามฝึกซ้อมตลอดปี บางครั้งไม่พอที่จะจ่ายค่าห้องอาบน้ำหลังการฝึกซ้อมเสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้การนำชุดทีมที่ใส่แล้วกลับไปซักเอง ถือเป็นเรื่องปกติ

ดูเหมือนว่าสภาวการณ์ดังกล่าวแทบจะไม่ต่างจากเมื่อ 45 ปีก่อนที่เริ่มมีการแข่งขันฟุตบอลหญิงครั้งแรกในญี่ปุ่นซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดโกเบเมื่อปี 1966

หลักไมล์สำคัญของวงการฟุตบอลหญิงในญี่ปุ่นเกิดขึ้นเมื่อมีการคัดตัวนักกีฬาทีมชาติฟุตบอลหญิงครั้งแรกเพื่อส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันภายในทวีปเอเชียในปี 1981 ช่วงปลายทศวรรษเดียวกันเริ่มมีลีกฟุตบอลหญิงสมัครเล่นเกิดขึ้นในปี 1989 ตามแบบอย่างของลีกฟุตบอลชาย

ความพยายามของ Nadeshiko เริ่มสัมฤทธิผลใน Women’s World Cup ครั้งที่ 2 ปี 1995 โดยสามารถผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายได้ ก่อนที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินการของทีมสโมสรและผลการแข่งขันในระดับนานาชาติ เช่น ตกรอบแรกในการแข่งขันโอลิมปิกที่แอตแลนตาในปี 1996

ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Football Association: JFA)* ซึ่งได้ปฏิรูประบบโครงสร้างของฟุตบอลหญิงในญี่ปุ่นโดยเริ่มจากการส่งโค้ชของแต่ละทีมสโมสรเข้าร่วมอบรมหลักสูตรเพื่อเรียนรู้เทคนิค และวิธีการสอนที่ถูกต้องตลอดจนการจัดการทีมอย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้นจึงเริ่มปูพื้นฐานฟุตบอลให้ผู้เล่นแต่ละคนเสียใหม่ตั้งแต่ทักษะการส่งบอล

อีกทั้งมีการส่งเสริมและพัฒนากีฬาฟุตบอลสำหรับเยาวชนหญิงที่สนใจรวมถึงการเตรียมทีมชาติเยาวชนชุดอายุต่ำกว่า 17 ปี และชุดอายุต่ำกว่า 20 ปีที่มีผลงานการแข่งขันในระดับที่น่าพอใจซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญและเป็นหลักประกันในการเสริมทีมชาติฟุตบอลหญิงรุ่นใหม่ได้ในระยะยาว

กระนั้นก็ดี Nadeshiko ยังคงเป็นเพียงลีกฟุตบอลสมัครเล่นที่ทุกคนสมัครใจเล่นเพื่ออนาคตของฟุตบอลหญิงญี่ปุ่นที่ดีขึ้นซึ่งความสำเร็จเริ่มฉายโชนด้วยการผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่กรุงเอเธนส์ปี 2004 ตามด้วยผลงาน 4 ทีมสุดท้ายในโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ผ่านมา

จังหวะก้าวที่เพิ่มความมั่นใจให้ Nadeshiko ก่อนสู่สนามระดับโลกใน Women’s World Cup คือการคว้าแชมป์ เอเชียมาครองได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในปีที่แล้วโดยชนะแชมป์เก่าอย่างทีมเกาหลีเหนือไปได้ 1-0 ประตู กระนั้นก็ตาม ทั้ง 2 ทีมแกร่งนี้ได้ผ่านการคัดเลือกเป็นตัวแทนทีมจากทวีปเอเชียเข้าแข่งขันใน Women’s World Cup ครั้งที่ 6 ที่ประเทศเยอรมนีในช่วงวันที่ 26 มิถุนายนถึง 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา

การแข่งขัน Women’s World Cup ครั้งนี้คัดเลือก 16 ทีมที่ดีที่สุดจากทั่วโลกโดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 4 ทีมซึ่ง Nadeshiko Japan จับฉลากอยู่ในกลุ่ม B อันประกอบไปด้วย ทีมอังกฤษ, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น

ผลการแข่งขันในรอบแรกเป็นไปตามความคาดหมายคือทีมชาติอังกฤษทำคะแนนนำมาเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มโดยชนะทีมชาติญี่ปุ่นซึ่งเป็นอันดับ 2 ไปด้วยคะแนน 2-0 ประตู

ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย Nadeshiko เฉือนชนะเจ้าภาพเยอรมนี ในช่วงต่อเวลาด้วยคะแนน 1-0 ประตูก่อนที่จะเอาชนะทีมจากสวีเดนไป 3-1 ประตูในรอบรองชนะเลิศ ซึ่งต้องไปพบกับทีมชาติอเมริกาเป็นอันดับสุดท้าย

โดยสถิติเดิมแล้ว ทีมชาติญี่ปุ่นเคยพบกับทีมชาติอเมริกามา 24 ครั้ง ซึ่งทีมญี่ปุ่นแพ้ 21 ครั้ง เสมอ 3 ครั้ง นอกจากนี้ทีมอเมริกายังมีศักดิ์ศรีเป็นทีมอันดับ 1 ของโลก, เจ้าของเหรียญทองฟุตบอลหญิงในโอลิมปิกครั้งล่าสุดและเจ้าของสถิติแชมป์ Women’s World Cup 2 สมัยเมื่อปี 1991 และ 1999 ซึ่งคาดหวังจะสร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์สมัยที่ 3 เป็นชาติแรกของโลก

ข้อเท็จจริงในการจัดอันดับโลกของกีฬาประเภททีมเป็นเพียงสถิติเดิมที่ทีมนั้นเคยสร้างไว้ หากแต่ผู้เล่นในปัจจุบันส่วนใหญ่ก็มิใช่ผู้เล่นชุดเดิมเสียทั้งหมด ดังนั้นการจัดอันดับดังกล่าวอาจมีผลต่อขวัญและกำลังใจแต่แทบไม่มีผลในทางปฏิบัติ ซึ่งจะเห็นได้จากผลการแข่งขันในรอบแรกที่ทีมชาติอเมริกาพบกับทีมชาติสวีเดนซึ่งผลปรากฏว่าทีมสวีเดนชนะไปด้วยคะแนน 2-1 ประตู

การแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ Women’s World Cup ครั้งนี้เริ่มขึ้นหลังเที่ยงคืนของวันที่ 18 กรกฎาคมตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทั้ง 2 ทีมใช้รูปแบบการเล่น 4:2:4 เหมือนกัน ซึ่งทีมอเมริกาเป็นฝ่ายเริ่มบุกก่อนในช่วงแรกโดยที่ครึ่งแรกเสมอกันอยู่ 0-0 ประตู

นาทีที่ 24 ของครึ่งหลังทีมอเมริกาได้โอกาสทำประตูขึ้นนำไปก่อน 1-0 แต่หลังจากนั้นถูกผู้เล่นญี่ปุ่น Aya Miyama ผู้เล่นในตำแหน่ง Midfield ตีเสมอได้ในอีก 12 นาทีต่อมา จึงต้องตัดสินกันในช่วงต่อเวลาการแข่งขัน ซึ่งเริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ โดย ที่ทีมอเมริกากลับมาทำประตูนำออกไปอีกครั้งในช่วงครึ่งแรกของการต่อเวลา

3 นาทีก่อนหมดเวลาครึ่งหลังของช่วงต่อเวลา กัปตันทีมชาติญี่ปุ่น Homare Sawa ทำประตูตีเสมอได้จากลูกเตะมุมของ Aya Miyama ทำให้ต้องตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ ซึ่ง Nadeshiko Japan พลิกกลับชนะไปด้วยคะแนน 3-1 ประตูคว้าแชมป์ Women’s World Cup ครั้งที่ 6 ไปครองได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

ข้อสังเกตหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนของ Nadeshiko Japan ในครั้งนี้คือทีมเวิร์กที่ดีประกอบกับเทคนิคการจัดการทีมของโค้ช Norio Sasaki ซึ่งช่วยพาให้ลูกทีมทุกคนเล่นได้อย่างมั่นใจ, ผ่อนคลายและมีขวัญกำลังใจโดยเฉพาะผู้รักษาประตู Ayumi Kaihori ในช่วงการยิงลูกโทษ

นอกจากตำแหน่งแชมป์โลกในครั้งนี้แล้ว Nadeshiko Japan ยังได้รับรางวัล Fair Play award และ Homare Sawa กัปตันทีมได้รับรางวัล Most Valuable Player, Adidas Gold Ball และ Adidas Gold Boot ในฐานะผู้เล่นยอดเยี่ยมที่ทำประตูรวมได้มากที่สุดในการแข่งขันคราวนี้ด้วย

หากไม่แบ่งแยกชายหญิงแล้วความสำเร็จของ Nadeshiko Japan ครั้งนี้ถือเป็นปฐมชัยของชาวเอเชียทั้งมวลที่สามารถชนะฝรั่งตาน้ำข้าว รวมทั้งทีมจากทวีปอเมริกาใต้ประหนึ่งเปิดประตูชัยสู่ศักราชใหม่ของฟุตบอลเอเชีย

ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของสัมฤทธิผลแห่งความพยายามอย่างไม่ย่อท้อ แม้ว่าฟุตบอลหญิงในญี่ปุ่นจะอยู่ในระดับทีมสมัครเล่น ซึ่งใช้คณะผู้ฝึกสอนและจัดการทีมด้วยคนญี่ปุ่นล้วนๆ

อ่านเพิ่มเติม:
* นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ เรื่อง “ผ่าแผนยุทธศาสตร์ J. Leagu” ฉบับมีนาคม 2554 หรือ http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=91266   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us