Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2554
เศรษฐกิจโลกเดินหน้าไปทิศทางใด?             
 


   
search resources

Economics




ตั้งแต่สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2551 จนลุกลามไปในประเทศยุโรป แม้จะมีความพยายาม แก้ไขปัญหาโดยรวมตลอดระยะ 4 ปี แต่ก็เป็นไปด้วยความเชื่องช้า อนาคตของเศรษฐกิจโลกไม่ทรุดแต่ก็ได้เพียงแค่ทรงๆ

ไมเคิล ไฮส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ อลิอันซ์ เอสอี เดินทางมาประเทศไทยพบปะสื่อมวลชนและนักธุรกิจเพื่อเล่าถึงมุมมองของเขาเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ เขาเริ่มพูดภาพเศรษฐกิจโลกในปี 2554 ว่าจะชะลอความเร็วลง ทั้งปริมาณการค้าโลกและผลผลิตจากทั่วโลก จนส่งผลให้การเติบโตจีดีพีของสหรัฐฯ และยุโรปลดลง

ที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบจากวิกฤติค่อนข้างมาก โดยเฉพาะประชาชนไม่มีงานทำถึง 9 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบ 2 ปีที่ผ่านมามีอัตราว่างงานถึง 10 ล้านคน

ความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลของวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน CEO บลจ.บัวหลวง จำกัด เปิดเผยในบทความ “ปัญหาถังแตกของสหรัฐฯ” ว่า คนอเมริกันมีอัตราการว่างงานยาวนานกว่า 6 เดือน และต้องใช้เวลาหางานนานมากขึ้น จาก 4 เดือน กลายเป็น 7 เดือนครึ่ง

เหตุผลที่ทำให้อัตราการว่างงานจำนวนมาก เพราะผู้ประกอบการไม่มีความมั่นใจสภาพเศรษฐกิจ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้ดีดตัวดีขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น

ปัญหาทั้งหมดทั้งมวลที่เกิดขึ้นกับสหรัฐฯ และยุโรป เกิดจากวิกฤติหนี้สาธารณะ โดยเฉพาะในยุโรปสนุกสนานกับการใช้ดอกเบี้ยต่ำ โดยเฉพาะประเทศกรีซ สเปน อิตาลี ประเทศเหล่านี้ไม่ได้กู้เงินมาเพื่อใช้หนี้ที่มีอยู่ แต่กระทำในตรงกันข้ามโดยกู้เงินเพิ่มเพื่อนำไปใช้จ่าย จึงทำให้เกิดหนี้สาธารณะและหนี้ส่วนบุคคลมากขึ้นเกือบทุกประเทศยกเว้นประเทศเยอรมนี

ทำให้ประเทศในยุโรปเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เริ่มจากประเทศกรีซ แม้จะเป็นประเทศเล็กและมีผลผลิตเพียงร้อยละ 2 ในกลุ่มยุโรป แต่กลุ่มยุโรปได้อัดฉีดเงินเข้าช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 109 พันล้านดอลลาร์ และการออกพันธบัตรระยะยาว 30 ปี โดยให้ดอกเบี้ยในระดับ 3-6 เปอร์เซ็นต์

มาตรการลดหนี้ของกรีซจะต้องแลกกับเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหลายๆ ด้านตามคำแนะนำของไอเอ็มเอฟและกลุ่มประเทศในยุโรป

จากการช่วยเหลือหลายๆ ด้านของกรีซ ทำให้นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าในปี 2555 กรีซจะอยู่ในภาวะที่นิ่ง

ความพยายามช่วยเหลือของกลุ่มประเทศในยุโรป เพราะไม่ต้องการให้เกิดปัญหาลุกลามไปสู่ประเทศอื่นในยุโรป เพราะ หากมองในมุมกลับประเทศในยุโรปรวมตัวกัน ยังไม่สามารถแก้ไขประเทศเล็กๆ อย่างกรีซได้ ก็เป็นไปได้ยากที่ประเทศอื่นๆ จะได้รับการแก้ไข

อย่างไรก็ดี ความช่วยเหลือของยุโรปที่เพิ่มมากขึ้นทำให้มองว่าในปีหน้า ค่าเงินของยุโรปจะแข็งค่าขึ้น ในขณะที่สหรัฐอเมริกาคาดว่าจะไม่ทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่า แต่จะใช้มาตรการดอกเบี้ยต่ำ เพื่อดูแลหนี้สาธารณะและมาตรการดังกล่าวจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นโลก

ส่วนเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาและยุโรปจะยังไม่รุนแรง เพราะมีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดูแลอยู่ แต่ถ้าเงินเฟ้อกระทบน้ำมันและอาหารจะเกิดผลกระทบรุนแรงต่อผู้บริโภคแต่เหตุการณ์นี้ยังไม่เกิดขึ้น

สำหรับราคาทองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะได้รับความสนใจจากทั่วโลก และน่าสนใจกว่าพันธบัตรรัฐบาล เพราะปัญหาหนี้สาธารณะทำให้คนสนใจลงทุนในทองและราคาดีกว่าน้ำมัน

ในส่วนตลาดเอเชียได้รับมือวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และประคับประคองให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว แต่นับจากนี้ไปอัตราการเติบโตจะชะลอตัวลง เนื่องจากมีการถอดถอนการกระตุ้นทางการเงินและการคลังที่รัฐบาลในประเทศต่างๆ มากระตุ้นนาน 2 ปี และได้สิ้นสุดในปี 2553

ในขณะที่มุมมองของวรวรรณบอกว่าหลังจากสหรัฐฯ ยังอัดฉีดเงินเข้าระบบ จึงทำให้มีสภาพคล่องล้นเหลือ เพราะรัฐอัดฉีดเงินลงไปแล้วแต่ธนาคารยังไม่ปล่อยกู้ ดังนั้น เงินก็จะมาที่ตลาดเกิดใหม่ ซึ่งเอเชียดูดีที่สุด

เอเชียมีแนวโน้มการบริโภคจับจ่ายใช้สอยสูงขึ้นเรื่อยๆ อเมริกาจึงสนใจเอเชีย และประเทศไทยก็มีเศรษฐกิจที่มีศักยภาพ การบริโภคได้ดี ฝรั่งจึงสนใจและมองไทยยาวขึ้น จะทยอยเข้ามามากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us