Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2554
มองว่าดี             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Economics




หลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้นไปเมื่อ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำนายเศรษฐกิจไทย ในครึ่งปีหลัง 2554 และปี 2555 ว่ามีแนวโน้มขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้แต่เดิม แต่ผู้ประกอบการต้องเตรียมรับมือกับต้นทุนที่สูงขึ้น

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้ประเมิน เศรษฐกิจไทยในปี 2554 และ 2555 มีแนวโน้มขยาย ตัวมากขึ้น หลังจากรัฐบาลใหม่มีนโยบายยกระดับรายได้ของประชาชนเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะเข้ามาช่วยลดผลกระทบความเสี่ยง ภายนอกประเทศ จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจของโลกและ ความกังวลต่อสถานะหนี้ของสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรป

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ในครึ่งปีหลังจะดีขึ้นหลังจากปัญหาหลายอย่างได้คลี่คลาย เช่นการฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดของอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนจากญี่ปุ่น ประกอบ กับการได้รัฐบาลใหม่น่าจะเริ่มดำเนินการได้บางส่วนในไตรมาสที่ 4 เช่น การปรับฐานเงินเดือนข้าราชการระดับปริญญาตรีและการ จำนำข้าว ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภค และชดเชยผลกระทบจาก ภาวะสุญญากาศด้านงบประมาณ

ในปี 2555 ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลใหม่จะเน้นกระตุ้นไปสู่ผู้บริโภค ขณะที่การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในโครงการใหม่เม็ดเงินจะเข้าสู่ระบบได้น่าจะเป็นปี 2556 และจากการมองในมุมบวกคาดว่าจีดีพีอยู่ที่ 5.8 จากเดิมมองไว้ 4.5

นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจในกลุ่มภาคการลงทุนและการบริโภค จะส่งผลสะท้อนทำให้เงินเฟ้ออาจพุ่งแรงถึง 5% โดยเฉพาะการปรับอัตราค่าจ้างแรงงานเป็น 300 บาท

การปรับค่าจ้างแรงงานจะไม่ส่งผลกระทบเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นด้านเดียว แต่จะส่งผลต่อธุรกิจโดยตรงทำให้ต้นทุนแรงงาน เพิ่มเป็นร้อยละ 4-11 และธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ธุรกิจเอสเอ็มอี ที่พึ่งพิงการส่งออกสูงและมีกำไรต่ำ

ธุรกิจที่เข้าข่ายได้รับผลกระทบมาก เช่น รองเท้า สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เฟอร์นิเจอร์ กระเบื้อง เซรามิก อาหารทะเล อัญมณี เครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์โทรคมนาคม เป็นต้น

ส่วนต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นและการปรับอัตราเงินเดือนให้กับพนักงานระดับปริญญาตรีขั้นต่ำเป็น 15,000 บาท จะส่งผลกระทบต่อนักศึกษาจบใหม่ระดับปริญญาตรีอาจไม่สามารถหางาน ได้ง่าย

ด้านการเงิน การคลัง ได้คาดการณ์จะขาดดุลในปี 2555 แต่น่าจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ และไม่กระทบต่อเสถียรภาพการคลังในระยะสั้น

สำหรับสภาพคล่องของระบบการเงินไทยมีแนวโน้มลดลง จากการระดมทุนทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อปล่อยสินเชื่อในอนาคต หลังจากประเมินว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะมีการลงทุนต่อเนื่อง ซึ่งทิศทางดังกล่าวจะส่งผลให้สถาบันการเงินแข่งขันระดมเงินฝากอย่างรุนแรง ส่วนหนึ่งเกิดจากการลดวงเงินฝาก คุ้มครองของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก คาดว่าจะมีเงินฝากประจำรายย่อย (ส่วนที่เกินวงเงินคุ้มครอง) ครบกำหนดอีกกว่า 5 หมื่น ล้านบาทในครึ่งปีหลัง 2554

ด้านสินค้าเกษตร โดยเฉพาะราคาข้าวและราคายาง ในครึ่งปีหลัง 2554 จะมีราคาสูงขึ้น ราคาจำนำข้าวมีแนวโน้มสูงจาก 15,000 บาทต่อตัน เพิ่มเป็น 20,000 บาทต่อตัน ส่วนราคายาง ปัจจัยที่จะหนุนราคาเพิ่มคืออุตสาหกรรมรถยนต์ในญี่ปุ่นฟื้นและจีนมีความต้องการใช้ยางมากขึ้น

กรณีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าจะสนับสนุนทำให้สินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมันมีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ราคา ยางเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ปัจจุบันยางจำหน่ายราคา 170 บาทต่อกิโลกรัม

เห็นได้ว่าการประเมินเศรษฐกิจในรอบนี้ของธนาคารกสิกรไทย การวิจัยจะอิงไปกับนโยบายของรัฐบาลใหม่ จึงทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจค่อนข้างดี แต่ธุรกิจเอสเอ็มอีในฐานะเป็นพื้นฐานหลักของเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบด้านต้นทุนเพิ่มขึ้นโดยตรง ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม แต่ควรพิจารณารอบด้าน ไม่ควรมองแต่ด้านดีเพียงอย่างเดียว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us