Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2529
สาธรธานี อนุสาวรีย์ "หวั่งหลี" ยุคใหม่             
 


   
search resources

สุกิจ หวั่งหลี
สุวิทย์ หวั่งหลี
สุจินต์ หวั่งหลี
สาธรธานี




การลงทุนระดับ 300 ล้าน สร้างออฟฟิศคอนโดมิเนียมกลางกรุง มิใช่เรื่องต้องตัดสินใจยากเย็นอะไร สำหรับนักลงทุนในปี 2526 - 7 อันเป็นช่วงธุรกิจเช่นว่านี้บูมอย่างมาก แต่สำหรับ "หวั่งหลี" แล้ว มันเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญของตระกูลทีเดียว

ตระกูลหวั่งหลีคิดจะทำโครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2524 - 5 แต่กว่าจะสร้างเสร็จใน PHASE ที่ 1 ก็ปาเข้าไปปลายปี 2528 โครงการสมบูรณ์แบบคาดกันว่าจะสำเร็จสมบูรณ์ในกลางปี 2530 เป็นอย่างเร็ว

เพราะเป็นโครงการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดของตระกูลหวั่งหลีเท่าที่มีมา!

การศึกษาการเกิดของสาธรธานีจึงเป็นบทพิสูจน์อย่างดีในสิ่งที่สุวิทย์ย้ำแล้วย้ำอีกว่าหวั่งหลีมีสไตล์การดำเนินธุรกิจค่อนข้างคอนเซอร์เวทีฟ

สุจินต์ หวั่งหลี ลูกคนที่ 10 อันเกิดจากตันซิวเม้งและทองพูน เป็นเจ้าของ "ไอเดีย" ในการสร้างออฟฟิศคอนโดมิเนียมนี้ เขาได้นำความคิดนี้มาปรึกษาผู้นำของตระกูล - - สุวิทย์ หวั่งหลี โดยชี้ให้เห็นความสำคัญอันเนื่องมาจากธุรกิจของตระกูลหวั่งหลี - พูนผล ที่กระจัดกระจาย และต้องเช่าออฟฟิศอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารนครธน ซึ่งถือกันว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ของไทยแห่งแรกแห่งเดียวที่ไม่มีสำนักงานใหญ่โอ่อ่าเหมือนธนาคารแห่งอื่น ๆ ในประเทศนี้

ไม่เพียงเท่านั้นกิจการในเครืออีกมากมาย เมื่อรวม ๆ กันแล้ว หาคนนอกมาเช่าอีกไม่มากนักเลย ก็คุ้มแล้ว

สุวิทย์ไม่เห็นด้วยต้องลงทุนครั้งเดียวด้วยจำนวนเงินมากมายเช่นนี้ ตามแนวคิดของเขาชี้ชัดที่ธนาคารนครธนเป็นธนาคารเดียวที่ไม่มีนโยบายให้สินเชื่อแก่โครงการพัฒนาที่ดิน - - บริษัทดำเนินธุรกิจบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม ศูนย์การค้า แต่ไหนแต่ไรมาแม้ในอนาคตอันใกล้จากนี้ไป สุวิทย์ หวั่งหลี ก็ยืนยันว่าจะไม่ทำ อ้างว่าสินทรัพย์ของธนาคารไม่มากพอ

เมื่อสุจินต์ ทำแผนการตลาดอย่างคร่าวๆ มาแจงให้สุวิทย์ฟังและเชื่อตามในเปลาะแรก ด่านต่อมาคือ ทำอย่างไรตระกูลหวั่งหลีจึงจะลงทุนน้อยตามเจตนาของสุวิทย์

สุจินต์ นับว่าเป็น INNOVATIVE ที่สุดคนหนึ่งของตระกูล มีวิญญาณนักเสี่ยงโชคในตัวมากที่สุดคนหนึ่งของตระกูลก็ว่าได้ ได้เสนอแนวคิดการร่วมทุนกับฝ่ายต่าง ๆ จากต่างประเทศ กลุ่มล่ำซำ โดยที่หวั่งหลีลงเงินเป็นที่ดินแทน

ที่ดินอันเป็นที่ตั้งของโครงการสาทรธานี เดิมเป็นบ้าน 3 หลัง เลขที่ 90, 91 และ 92 ของสุวิทย์, สุกิจ และศุภชัย ตามลำดับ รวมเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 94 ตารางวา (ว่ากันว่าเป็นมรดกของตันซิวเม้งเป็นที่ดินอันได้มาจากตันลิบบ๊วยมีเพียงตกทอดแก่ลูกชายแค่ 3 คนนี้เท่านั้น) ที่ดินตรงนี้ราคาตารางวาละเกือบแสนบาท คิดเป็นเงินทุนในโครงการนี้ย่อมเกินครึ่งอย่างแน่นอน

แผนต่อไปของสุจินต์ก็คือใช้บริษัทก่อสร้างซีเอเอส. ของพูนผลรับเหมาก่อสร้าง

เข้าทำนอง "เรือล่มในหนอง" อย่างแน่แท้

บริษัทสาธรธานีก่อตั้งเมื่อ 21 ธันวาคม 2525 ด้วยทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท พูนผลถือหุ้นมากที่สุด 61% ธนาคารนครธน 10% ธนาคารกสิกรไทย 10% บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทิสโก้ 10% ไพเวท อินเวสเม้นท์ คอมปานี ฟอร์เอเชีย (พีดา) ของกลุ่มไมเนอร์โฮลดิ้ง อันมีวิลเลี่ยม แอลวู๊ด เฮนเนคคี เป็นประธาน 9%

แต่กว่าจะมาถึงเปราะนี้ สุจินต์ต้องเหนื่อยเป็นพิเศษ และที่เหนื่อยมากคือการเสนอข้อมูลเพื่อเรียกเสียงสนับสนุนจากตระกูลหวั่งหลี

สุวิทย์ พูดถึงความสำเร็จของโครงการสาธรธานีซึ่งสามารถขายพื้นที่ในอาคารแรกได้ 100% และ 40% สำหรับโครงการส่วนที่ 2 กำลังก่อสร้าง ว่าโครงการนี้เป็นออฟฟิศคอนโดมิเนียม มิใช่ศูนย์การค้า ธุรกิจส่วนใหญ่พอใจ ซึ่งในย่านทำเลที่ดีมีเพียงสาธรธานี ไทยวาทาวเวอร์ และรีเจ้นท์เฮ้าส์ ของสุเมธ เตชะไพบูลย์เท่านั้น อีกประการหนึ่งโครงการสาธรธานีค่อนข้างเล็ก

ผู้รู้เรื่องดีพูดถึงกลยุทธ์ของการขายพื้นที่ของตระกูลหวั่งหลีที่ลึกลงไปอีก โดยเฉพาะพวกพูนผล เนื่องจากกลุ่มนี้มีธุรกิจพัฒนนาที่ดิน และบริษัทโฮลดิ้ง คัมปานีของแต่ละคนอยู่แล้ว มีการตกลงกันในครอบครัวว่าพื้นที่เหลือจากเป็นสำนักงานธุรกิจหวั่งหลีและพูนผล หรือคนเข้าซื้อในระยะโปรโมทแล้ว บริษัทของพวกเขาจะแบ่งกันซื้อจนไม่เหลือ (ดังที่สุวิทย์บอกขายหมดแล้วนั่นเอง)

"บริษัทพีรกิจของคุณสุกิจ สมฤดีของคุณสายสุคนธ์ ฯลฯ เหมากันเป็นชั้นเลย ที่นี้ใครจะมาซื้อทีหลังก็ต้องซื้อต่อบริษัทเหล่านี้ เอากำไรอีกทอดหนึ่ง" เขาระบุ

มีบางบริษัทของพูนผล - - ประคองทรัพย์หันเหเข้าทำธุรกิจนี้อย่างเดียว มีรายได้หลักจากการโอนสิทธิ์อาคารสาธรธานีได้กำไรในปี 2528 ถึงเกือบ 6 ล้านบาท (งบการเงินที่ส่งกรมทะเบียนการค้า)

มันเป็นเรื่องดูง่าย ๆ ที่คนตระกูลหวั่งหลีทำให้ยาก ซึ่งนักธุรกิจกลุ่มอื่นไม่มีทางจะทำได้นั่นเอง!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us