|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ประสบการณ์ร่วมงานกับเดลล์ 8 ปี ทำให้อโณทัย เวทยากร มองว่าองค์กรแห่งนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และสิ่งที่ท้าทายการทำงานของเขาคือการบริหาร “คน”
อโณทัย เวทยากร วัย 42 ปี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด โลดแล่นอยู่ในวงการอินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยีมาร่วม 21 ปี เขารู้จักเครื่องคอมพิวเตอร์ครั้งแรกเมื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ด้านระบบอินเทอร์เน็ตและอี-คอมเมิร์ซ
บริษัทแรกที่รับทำงานก็คือ บริษัท ธนรัตน์ อินฟอร์เมชั่นซิสเต็มส์ จำกัดในเครือสหวิริยา ในตำแหน่งพนักงานขายดูแลตัวแทนจำหน่ายของฮิวเลตต์ แพคการ์ด ในตอนนั้นเขาเรียกตัวเองว่าเป็น “ซูเปอร์เซลส์” และทำงานร่วมกับองค์กรเป็นเวลา 5 ปี
หลังจากนั้นเขาย้ายมาร่วมงานกับบริษัทคอมแพค ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ ดูแลลูกค้าคอนซูเมอร์ ภายหลังคอมแพครวมกิจการกับบริษัทดิจิตอล มีหน้าที่ดูลูกค้าคอมเมอร์เชียล กับคอนซูเมอร์ บิซิเนส
ต่อจากนั้นคอมแพคและบริษัทดิจิตอลรวมกิจการกับฮิวเลตต์ แพคการ์ด (หรือเอสพี) รับตำแหน่งเป็นจีเอ็ม เพอร์เซอร์นัล ซิสเต็มส์ กลุ่มจีเอสพีของเอสพี ดูแลเรื่องคอมพิวเตอร์และช่องทางจำหน่าย รวมอายุการทำงานกับกลุ่มนี้ราว 8 ปี จนกระทั่งมาทำงานในบริษัทเดลล์ เริ่มจากเป็นผู้จัดการประจำประเทศไทย
อโณทัยเล่าว่าการเข้ามาทำงานร่วมกับเดลล์เป็นองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะเขาเริ่มเข้ามาทำงานในปี 2547
การเปลี่ยนแปลงสำคัญของเดลล์คือการปรับนโยบายธุรกิจจากบริษัทคอมพิวเตอร์ก้าวสู่ธุรกิจโซลูชั่น โดยเฉพาะการเข้าซื้อกิจการ 9 แห่งในปีที่ผ่านมา
ซึ่งถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของเดลล์ อิงก์
การเคลื่อนไหวดังกล่าวได้ปรับให้ระบบการทำงานของอโณทัย เขาต้องดูแลรับผิดชอบธุรกิจทั้งหมดในประเทศไทยในฐานะผู้บริหารสูงสุด ทุกอย่างต้องรายงานตรงมาที่เขา จากแต่ก่อนผู้บริหารต้องรายงานไปยังภูมิภาค
อโณทัยบอกว่าระบบการทำงานดังกล่าว เดลล์องค์กรไอทีแห่งเดียวในโลกที่ใช้โครงสร้างการทำงานแบบนี้ ในขณะที่องค์กรไอทีอื่นจะยังเป็นแมทริกออกาไนซ์-เซชั่น ทุกอย่างต้องรายงานบริษัทในภูมิภาค
บทบาทหน้าที่ของอโณทัยไม่ได้จำกัดขอบเขตในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังได้ถูกมอบหมายให้ดูแลประเทศในภูมิภาคอินโดไชน่าอีก 4 ประเทศ คือ เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า เขาได้รับตำแหน่งผู้จัดการประจำภูมิภาคอินโดไชน่า (Regional GM) เมื่อปี 2550
จึงทำให้ต้องเดินทางบ่อยมากขึ้น แต่เขามีผู้จัดการคนไทยอีก 1 คนที่ช่วยดูแลธุรกิจในอีก 3 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว และพม่า เพราะประเทศเหล่านี้ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทียังเริ่มต้น จึงเน้นขายสินค้าฮาร์ดแวร์มากกว่าระบบโซลูชั่น ส่วนเวียดนามระบบไอทีอยู่ระหว่างกลางฮาร์ดแวร์กับโซลูชั่น และอยู่ระหว่างติดตั้งอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐาน
ความรับผิดชอบของอโณทัยเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ แต่การบริหารงานที่มีระบบคล้ายคลึงกันของกลุ่มประเทศในอินโดไชน่า ไม่ได้สร้างความหนักใจให้เขา เพราะมีการวางแผนระยะยาวอย่างชัดเจน
สิ่งที่ท้าทายสำหรับเขาคือการบริหาร “คน” จากเดิมที่เขาเข้ามาร่วมงานมีพนักงานเพียง 20 กว่าคน ปัจจุบันพนักงานมากกว่าหนึ่งร้อยคน เชื่อว่าอีก 10 ปีข้างหน้าจำนวนคนจะเพิ่มขึ้นอีก 2 เท่า องค์กรใหญ่ขึ้น ทำให้คนรู้จักกันน้อยลง
ดังนั้น สิ่งสำคัญคือพัฒนาคนให้เติบโตตามธุรกิจ สร้างคลื่นลูกใหม่ให้เป็นผู้นำในทุกภาคส่วน และเดลล์มี 2-3 เรื่องที่ต้องทำ คือ customer experience เพราะเชื่อว่าลูกค้าได้รับบริการที่ดี จะมีการบอกต่อ ดังนั้น พนักงานทุกคนต้องมีประสิทธิภาพในการทำงาน และสิ่งที่จะทำให้พนักงานมุ่งมั่นในการทำงานบริษัทจะจัดโปรแกรม rising star ขึ้นมาเพื่อค้นหาพนักงานที่มีความรู้ ความสามารถ เพื่อสร้างโอกาสให้เติบโตต่อไป
สิ่งสำคัญของการบริหารอีกส่วนหนึ่ง ผู้จัดการทุกคนจะถูกวัดผล เรียกว่า employee survey พนักงานไม่ต้องเปิดเผย มีความคิดเห็นยังไงต่อหัวหน้างาน หรือมีความคิดเห็นยังไงต่อนโยบายบริษัท ต่อเพื่อนร่วมงาน หรือมีคำถามเช่น กรณีมีคนเสนอเงินเดือนที่มากกว่าจะไปหรือไม่
นอกจากนี้ เดลล์มีโครงการที่เรียกว่า great place to work ทำให้เป็นบ้านที่สอง ทำให้มีความสุขในการทำงานเพราะพนักงานส่วนใหญ่เป็นเจนเนอเรชั่น Y นอกจากรายได้เป็นส่วนหนึ่ง สิ่งสำคัญต้องมีความภูมิใจและรักในองค์กร
เรื่อง “คน” จึงเป็นเรื่องท้าทายที่ไม่มีสิ้นสุด
|
|
|
|
|