Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2554
NEW DELL 2011             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ เดลล์ คอมพิวเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย)

   
search resources

Computer
เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย), บจก.
อโณทัย เวทยากร




เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ไมเคิล เดลล์ ซีอีโอได้ประกาศปรับโมเดลธุรกิจจากบริษัทคอมพิวเตอร์มาเป็นไอทีโซลูชั่นส์โพรไวเดอร์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ new dell หลังจากดำเนินธุรกิจมา 27 ปี โครงสร้างธุรกิจใหม่ทำให้เดลล์ในประเทศไทยเริ่มปรับตัวอย่างจริงจัง

บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศ ไทย) จำกัด ปรับตัวตามนโยบายของเดลล์ อิงก์ เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยมีอโณทัย เวท-ยากร กรรมการผู้จัดการเป็นผู้บริหารสูงสุด

โครงสร้างบริหารงานภายในบริษัทเริ่มเด่นชัดหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อไตรมาส 3 ปีที่ผ่านมา ระบบการทำงานจะเป็นรวมศูนย์จากเดิมมีรูปแบบกระจายศูนย์

การบริหารแบบกระจายศูนย์หมายถึงในอดีตระบบการทำงานของเดลล์ในประเทศไทย ผู้บริหารแต่ละกลุ่มธุรกิจจะต้องรายงานการทำงาน 2 ทาง โดยรายงาน ต่อกรรมการผู้จัดการในประเทศไทย และรายงานตรงต่อผู้บริหารที่ดูแลสายงานในภูมิภาคนี้

แต่หลังจากปรับระบบการบริหารงานมาเป็นรวมศูนย์ ผู้บริหารธุรกิจในแต่ละ กลุ่มสามารถรายงานแผนการดำเนินงานต่ออโณทัยโดยตรง ทำให้ระบบการทำงาน เป็นไปด้วยความรวดเร็วและสามารถตัดสิน ใจได้ทันที เพราะผู้บริหารอยู่ในพื้นที่ทำให้ เห็นความต้องการของตลาดได้ชัดเจน

อโณทัยกล่าวกับ ผู้จัดการ 360 ํ ขณะให้สัมภาษณ์ว่า ผลดีของการปรับรูปแบบการบริหารงานสำหรับประเทศไทยและเห็นผลชัดเจนคือบุคลากร สามารถเคลื่อนย้ายบุคลากรให้ทำงานสอดคล้องกับงานและไม่เกิดการใช้บุคลากรและลงทุนซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงาน

ธุรกิจของเดลล์ในประเทศไทยมี 4 กลุ่มด้วยกันคือ องค์กรขนาดใหญ่ (Enterprise) กลุ่มรัฐและการศึกษา (Public Sector) กลุ่มผู้ใช้และผู้ประกอบการธุรกิจ หรือ (CSMB: Consumer Small Medium Business) และกลุ่มคอมมูนิเคชั่น

กรณีแบ่งธุรกิจตามสินค้าและบริการ เดลล์จะมีธุรกิจหลักอยู่ 2 กลุ่มคือ ธุรกิจโซลูชั่น และธุรกิจคอนซูเมอร์ โดยธุรกิจโซลูชั่นจะเน้นขายระบบเทคโนโลยีในรูปแบบครบวงจร ให้คำปรึกษา ติดตั้งระบบไอทีตั้งแต่ต้นจนจบ ส่วนธุรกิจคอนซูเมอร์ จะเน้นจำหน่ายสินค้า โน้ตบุ๊ก คอมพิวเตอร์ แท็ปเล็ต และสมาร์ทโฟน

การปรับธุรกิจของเดลล์เกิดขึ้นจากการมองแนวโน้มของเทคโนโลยีในอนาคตจะมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น และมีการผสมผสานเทคโนโลยีของฝั่งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เกิดขึ้น จนทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีและบริการใหม่ๆ

จากแนวโน้มดังกล่าวทำให้ปีที่ผ่านมาเดลล์ อิงก์ บริษัทแม่ในสหรัฐอเมริกาเข้าซื้อกิจการถึง 9 แห่ง และธุรกิจที่ซื้อมา ล้วนเป็นธุรกิจคลาวน์คอมพิวติ้งและสตอเรจ หรือบริการจัดเก็บข้อมูล เพราะแนวโน้มจากนี้ไปข้อมูลมหาศาลจะอยู่บนคลาวด์คอมพิวติ้ง ในขณะเดียวกันข้อมูลจะถูกจัดเก็บในรูปแบบสตอเรจ ในทั้งสองส่วนนี้

การก้าวเข้าสู่ธุรกิจคลาวด์ คอมพิว ติ้ง ทำให้เดลล์ในประเทศไทยได้เปิดตัวโซลูชั่นนี้เรียกว่า next generation cloud computing พร้อมกับเปิดสินค้าตัวใหม่ Vstart รองรับลูกค้าที่ต้องการเริ่มต้นใช้คลาวด์ คอมพิวติ้ง

ระบบสำรองข้อมูลเป็นอีกธุรกิจหนึ่ง ที่เดลล์เข้าซื้อกิจการจากอีโคโลจิกส์ และอโณทัยได้ชี้ให้เห็นว่าลูกค้าในไทยเริ่มหันมาลงทุนเพิ่มขึ้นเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ หลังจากเกิดเหตุการณ์การเมืองเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว บริษัทบางแห่งที่อยู่ในบริเวณราชประสงค์ไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากระบบไอทีไม่มีระบบสำรอง แม้ว่า องค์กรบางแห่งจะสามารถย้ายคนได้ แต่ไม่สามารถย้ายระบบไอทีส่งผลให้การทำงานชะงักทันทีเมื่อระบบถูกตัดขาด

โอกาสดังกล่าวจึงทำให้เดลล์รุกตลาดระบบสำรองข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ทำให้ มีลูกค้าใหม่และเก่าเข้ามาลงทุนเพิ่มเติม

ในฝั่งธุรกิจโซลูชั่นเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบอินฟราสตรัคเจอร์ในกลุ่มลูกค้าองค์กรและเอสเอ็มอี และในอดีตการลงทุนด้านไอทีจะวัดผลลัพธ์จากรายได้ที่กลับมา ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันลูกค้าจะคำนึงถึงประโยชน์ของการนำไอทีแต่ละประเภทไปใช้

และภาพรวมการวางระบบพื้นฐานอินฟราสตรัคเจอร์ของประเทศไทยอยู่ในระดับการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรและพัฒนาไปสู่บริการใหม่ๆ ดังนั้นแนวทางการทำธุรกิจให้กับลูกค้าระดับองค์กรและเอสเอ็มอี จะต้องสามารถให้คำปรึกษา ติดตั้ง และบริการหลังการขายทั้งหมด

เดลล์อ้างว่าเขามีผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบให้กับลูกค้าได้โดยไม่ต้องติดตั้งจากรายอื่นเพิ่มเติม

แม้เดลล์จะกล่าวอ้างเช่นนั้นก็ตามที แต่เดลล์ก็ไม่ปฏิเสธว่า เทคโนโลยีของเดลล์ สามารถเชื่อมต่อกับบริการหรือแบรนด์อื่นๆ ได้เช่นเดียวกัน และเป็นหนึ่งยุทธศาสตร์ที่ใช้ดำเนินธุรกิจอยู่ในปัจจุบัน โดยยึด 3 เรื่องหลัก คือ Open Capable Affordable

Open หมายถึง โอเพ่น แพลทฟอร์ม ไม่ขายระบบปิด เทคโนโลยีของเดลล์จะต้อง เชื่อมต่อกับแบรนด์อื่นๆ ได้ เพราะไม่เช่นนั้นลูกค้าจะซื้อสินค้าในราคาแพง และจ่ายค่าปรึกษาเพิ่มขึ้น ส่วนที่สองต้องใช้งานได้และสามราคาไม่แพง เพราะจากประสบการณ์ลูกค้าที่ผ่านมา เซิร์ฟเวอร์ 1 เครื่องรองรับบริการได้เพียงอย่างเดียว เช่นรองรับระบบบัญชีได้ แต่รองรับข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ ทำให้ต้องซื้อเซิร์ฟเวอร์เพิ่มตามประเภทบริการ แต่ปัจจุบันเซิร์ฟเวอร์ 1 เครื่องรองรับบริการได้หลายประเภท เป็นบริการที่เรียกว่าเวอร์ชั่วล์ไลเซชั่น

จากผลิตภัณฑ์ที่มีผนวกกับยุทธศาสตร์การทำตลาดของเดลล์ บริษัทสนใจรุกตลาดลูกค้าเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ

เพราะอโณทัยเชื่อว่าในอีก 10 ปีข้างหน้ากลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีจะเติบโต เพราะฐานธุรกิจของประเทศไทยก่อเกิดจากธุรกิจนี้เป็นหลัก

แต่ในอนาคตประเทศไทยจะขาดแคลนบุคลากรให้ความรู้ด้านไอที โดยเฉพาะระบบไอทีโครงสร้างพื้นฐาน เดลล์จึงมีแผนกดูแลลูกค้าเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ เพื่อคัดเลือกเทคโนโลยีให้เหมาะสม และเรื่องดังกล่าวจึงเป็นการมองการณ์ไกลของเดลล์

อย่างไรก็ดี บริษัทตระหนักถึงการใช้งบประมาณด้านไอทีของกลุ่มเอสเอ็มอี และกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ต้องมีการลงทุน จำนวนสูง เพราะต้องมีระบบความปลอดภัย

เพื่อให้เกิดสภาพคล่องด้านการเงิน เดลล์ได้ร่วมมือกับสถาบันการเงินเพื่อแบ่งจ่ายเป็นไตรมาส หรือให้บริการในรูปแบบเช่าซื้อ และสถาบันการเงินที่ร่วมกับบริษัท ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย บริษัท กรุงไทย IBJ บริษัท ไทย ออลิก ซึ่งบริษัทสุดท้ายเป็นนอนแบงก์ (non bank)

นอกเหนือจากการมุ่งเน้นทำตลาดในกลุ่มของโซลูชั่นแล้ว กลุ่มคอนซูเมอร์เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่เดลล์เข้ามาทำตลาดเพิ่มมากขึ้น หลังจากเดลล์เข้ามาดำเนินธุรกิจไทยมาเป็นเวลา 15 ปี โดยเฉพาะ 13 ปีที่ผ่านมาเดลล์แทบจะไม่ใช้งบการตลาดในฝั่งกลุ่มคอนซูเมอร์

แต่เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา หลังจากเดลล์ ไม่สามารถต้านทานกระแสความเปลี่ยนแปลงการบริโภคของฝั่งผู้บริโภคได้ เพราะจากข้อมูลของการ์ทเนอร์พบว่า การบริโภค เทคโนโลยีไอทีในปัจจุบันอยู่ในยุคที่เรียกว่า Consumerization of IT หรือบริโภคนิยม

เดลล์เข้ามารุกตลาดอย่างเต็มที่ เริ่มใช้สื่อโฆษณาเกือบทุกประเภท สื่อสิ่งพิมพ์ บิลบอร์ดขนาดใหญ่ ป้ายโฆษณาตามถนน หรือแม้แต่โฆษณาบนรถไฟฟ้าเพื่อให้เข้าถึงลูกค้ารวมถึงการใช้โซเชียล มีเดียผ่านเฟสบุ๊ก เป็นอีกช่องทางหนึ่งเพื่อสื่อสารกับลูกค้าเพื่อทราบถึงความต้องการ หรือความคิดเห็นทั้งด้านลบและบวก

ในปีนี้เดลล์เปิดตัวสมาร์ทโฟนและแท็ปเล็ตเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงโน้ตบุ๊ก และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แต่มีการคาดการณ์ไว้ว่าใน 2-3 ปี แนวโน้มการใช้แท็ปเล็ตและสมาร์ทโฟนจะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของคอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊กไม่ต่ำกว่าร้อยละ 18

นับว่าเป็นการปรับตัวของเดลล์อีกครั้งหนึ่ง ที่เริ่มมุ่งเปิดตัวสินค้าแท็ปเล็ตและสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น แม้ว่าในปัจจุบันจะมีส่วนแบ่งตลาดโน้ตบุ๊กถึงร้อยละ 70 ก็ตามที และอโณทัยก็ยอมรับว่าส่วนแบ่งตลาดจะลดลงก็ตาม

ในปี 2547 สมาร์ทโฟนทั่วโลกจะมียอดจำหน่ายเพิ่มเป็น 150 ล้านเครื่อง ส่วนประเทศไทยจะเพิ่มอีก 6 ล้านเครื่องหรือเพิ่มเป็น 2 เท่าตัว จากปัจจุบันมี 3.5 ล้านเครื่อง

เมื่อเร็วๆ นี้ เดลล์เปิดตัวสมาร์ท โฟน รุ่นเดลล์ เวนิว แอนดรอย์ ขนาด 4.1 นิ้ว ระบบสัมผัส ราคา 15,990 บาท กล้องถ่ายรูป 8 เมกะพิกเซล

สภาพการแข่งขันสมาร์ทโฟนในไทย ปัจจุบันต้องยอมรับว่าเป็นการแข่งขันรุนแรง อยู่ในบรรยากาศที่เรียกกันว่า red ocean แต่ก็ดูเหมือนมหาสมุทรแห่งนี้กลับไม่มีใครถอย และมีหน้าใหม่เข้ามาต่อเนื่อง

จากยุคเริ่มต้นธุรกิจในรูปแบบคอมเมอร์เชียลหรือซื้อมาขายไป ส่งผลให้เดลล์ อิงก์ มียอดขายถึงร้อยละ 85 และที่เหลืออีกร้อยละ 15 เป็นสินค้าคอนซูเมอร์ แต่เมื่อเทคโนโลยีได้พัฒนาก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้น ความต้องการของผู้บริโภคได้เติบโตเป็นเงาตามตัว ทำให้สินค้าคอนซูเมอร์มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และในอนาคตมีความเป็นไปได้จะเพิ่มเป็นร้อยละ 50

แม้ว่ากระแสการเติบโตในฝั่งธุรกิจคอนซูเมอร์จะมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่อโณทัยก็ยังยืนยันว่าเดลล์ในประเทศไทยจะไม่จำหน่ายสินค้าโดยตรงถึงลูกค้า แต่จะขาย สินค้าผ่านตัวแทนจำหน่าย 5 ราย เท่านั้น เช่น บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท อินแกรม ไมโคร (ประเทศ ไทย) จำกัด บริษัทเดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด บริษัทเอสวีโอเอ จำกัด เป็นต้น และตัวแทนเหล่านี้จะนำสินค้าไปผ่านช่องทางจำหน่ายค้าปลีกทั่วประเทศ นอกจากนี้เดลล์ ยังได้ขายผ่านห้างสรรพสินค้าโมเดิร์นเทรด 2 ราย คือ ไอทีซิตี้ และพาวเวอร์บาย

การทำตลาดในฝั่งของคอนซูเมอร์จะแตกต่างจากกลุ่มธุรกิจโซโลชั่น เดลล์จะใช้ระบบไฮบริด ขายตรงและขายผ่านตัวแทน

“สิ่งที่เดลล์แตกต่างจากคนอื่น เราเน้นลูกค้าเป็นหลัก เราเป็น customer oriented company ถ้ามาที่เราไม่มีแผนก ปรินเตอร์ แผนกคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ เรามีแผนกลูกค้ารายใหญ่ เอสเอ็มบี ลูกค้า โฮมยูส และโมบิลิตี้ เราเชื่อว่าลูกค้าแต่ละกลุ่มต้องการไม่เหมือนกัน”

การยึดนโยบายของบริษัทแม่เป็นหลัก ทำให้บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เติบโตไปในทิศทางเดียวกัน ปัจจุบันรายได้ร้อยละ 30 มาจากธุรกิจของคอนซูเมอร์สและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

การขยับตามยุทธศาสตร์บริษัทแม่ของเดลล์ในประเทศไทยไม่ได้เป็นนโยบาย หลักเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่การปรับตัว ภายในองค์กรก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ การเติบโตในยุคของ Consumerization of IT ส่งผลให้โซเชียลมีเดียมีอิทธิพลเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเฟสบุ๊ก และทวิตเตอร์

ปัจจุบันทวิตเตอร์มีผู้ใช้หน้าใหม่ประมาณ 3 แสนคนต่อวัน ส่วนเฟสบุ๊กมีการอัพโหลดรูป วิดีโอ ข้อมูล ไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านคอนเทนต์ต่อเดือน สิ่งที่เกิดขึ้นกำลังเริ่มต้นเท่านั้น และได้บ่งบอกว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นพลังมหาศาล

เดลล์เห็นความสำคัญดังกล่าวทำให้ ช่วงระยะเวลา 2 ปี ได้กำหนดให้โซเชียล มีเดียมีหนึ่งในยุทธศาสตร์เพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงาน

ในอดีตเดลล์จะไม่ให้ระบบโซเชียล มีเดียเข้ามาในระบบอย่างเด็ดขาด แต่หลังจาก 2 ปีให้หลังเดลล์เริ่มเปิดกว้าง และการสื่อสารในปัจจุบันภายในเป็นระบบโซเชียลร้อยละ 50

ปัจจุบันเดลล์มีศูนย์โซเชียลมีเดีย รับฟังความคิดเห็นของคนทั่วโลก เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับธุรกิจและบริการของเดลล์ และสื่อสารไปยังลูกค้าเป็นการตอบสนองทันที เพื่อให้องค์กรใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น

นอกจากนี้องค์กรยังมีระบบการสื่อสารภายในเรียกว่า chatter เป็นโปรแกรมที่ให้พนักงานเดลล์ทั่วโลกสามารถสื่อสารกันได้ตลอดเวลา และประเทศไทยได้นำระบบดังกล่าวมาใช้ เมื่อครึ่งปีที่ผ่านมา

และโปรแกรม chatter ช่วยทำให้รู้ว่าในแต่ละประเทศมีกิจกรรมอะไรบ้าง ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้สามารถนำมาแบ่งปันในกลุ่มธุรกิจเดลล์ด้วยกัน

“ระบบ chatter พนักงานสามารถเข้าได้ทุกคน เป็นหนึ่งในการสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน เป็น management plan เจ้านายจะดูว่าผมใช้หรือเปล่า ผมก็ต้องไปดูว่าลูกน้องใช้หรือไม่”

การเป็นองค์กรขับเคลื่อนเทคโนโลยี ทำให้อโณทัยบอกว่าบริษัทจะต้องนำหน้ากว่าลูกค้า ซึ่งแม้แต่เขาเองก็ยังต้องเข้าไปใช้บริการโซเชียลมีเดีย และมีเฟสบุ๊กของตัวเองเพื่อสื่อสารกับเพื่อนและลูกค้า

การปรับตัวของเดลล์ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะภายนอกเท่านั้น แต่ระบบภายในเพื่อให้พนักงานปรับตัวให้ทันเทคโนโลยีเป็นภารกิจหลักอีกส่วนหนึ่งที่เดลล์จะเปลี่ยนแปลงตนเองไปสู่ NEW DELL ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของไมเคิล เดลล์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us