Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2554
“เขาวง” มหัศจรรย์ธรรมชาติใกล้เมือง             
โดย ณฉัตร
 


   
search resources

Environment




ภาพแสงแรกแห่งรุ่งอรุณสาดแสงสีส้มทองส่องทะเลหมอกยามเช้าปกคลุมเทือกเขาทอดยาวสุดสายตา มีใครจะรู้บ้างว่าทะเลหมอกยามเช้าที่หลายคนเฝ้าเดินทางตามหา อยู่ใกล้กับเมืองกรุงเพียงแค่ขับรถไม่ถึงสองชั่วโมง

เขาวง-เขาโพลง ชื่อนี้ในแวดวงของ นักล่าทะเลหมอก อาจยังไม่คุ้นสะดุดหูเท่าใดนัก แต่ภาพจุดชมวิวยามเช้าคลื่นทะเลหมอกบนยอดเขาหินปูนที่ปรากฏกับสายตาตรงหน้า ทำให้เราไม่อาจเก็บงำความงามของภาพเบื้องหน้าไว้

เทือกเขาวง-เขาโพลง ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าพระพุทธบาท-ป่าพุแค ตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ผืนป่าภูเขาหินปูนที่ใกล้สายตาผู้คน ที่ผ่านไปมา มีสักกี่คนที่จะล่วงรู้ว่า ความมหัศจรรย์แห่งธรรมชาตินานาซุกซ่อนตัวแอบตามหลืบภูผาสูงชันนี้

ตามข้อมูลทางธรณีวิทยา เทือกเขา หินปูนในจังหวัดสระบุรี มีอายุเก่าแก่มากกว่า 650 ล้านปี หากย้อนกลับไปในช่วงเวลานั้น ภูเขาสูงชันที่เห็นในวันนี้เป็นเพียง ยอดปะการังแผ่ก้านใหญ่ใต้ท้องทะเลดึก ดำบรรพ์ หลักฐานยืนยันในข้อมูลนั้นส่วนหนึ่งปรากฏเป็นซากหอยฟอสซิลให้เห็นได้ยามนักท่องป่าป่ายปีนตามภูผา

อีกสิ่งหนึ่งนั้นเพิ่งเผยตัวอย่างยิ่งใหญ่ ในชื่อของ “โมกราชินี”

ต้นโมกราชินีค้นพบครั้งแรกเพียงต้นเดียวที่บริเวณวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ต่อมาเมื่อพิสูจน์ได้ว่า เป็นต้นไม้พันธุ์ใหม่ที่จัดเป็นไม้เฉพาะถิ่น หาพบไม่ได้ในถิ่นอื่นใดในโลก ศ.ดร.ธวัชชัย สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสำรวจและจำแนกพรรณไม้ กรมป่าไม้ พบว่าไม้ยืนต้นขนาดเล็กนี้เป็นพรรณไม้ผลัดใบชนิดหนึ่ง ดูเผินๆ คล้ายกับโมกหลวง แต่เมื่อดูจากดอกจะทราบทันทีว่า เป็นพรรณไม้ที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากพรรณไม้โมกหลวง หรือโมกมันทั่วๆ ไป จึงได้นำพรรณไม้ ใบไม้ ดอกไม้ และผลมาวิเคราะห์อีกครั้งที่ห้องปฏิบัติการของกรมป่าไม้

จากผลการวิจัยพบว่า เป็นพรรณไม้ ชนิดใหม่ของโลกที่แท้จริง อยู่ในสกุลเดียวกับโมกมัน มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า “WRIGHTIA” ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้ชื่อพรรณไม้ชนิดใหม่ของ โลกตามพระนามว่า WRIGHTIA SIRIKITIAE MID. & SUNTISUK หรือ “โมกราชินี” และทรงปลื้มพระทัยมากว่า ประเทศไทยได้ค้น พบพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก ซึ่งเป็นพรรณ ไม้หายากและใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากพบเฉพาะบริเวณเขาหินปูน บริเวณวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และไม่พบที่อื่นอีกเลยในประเทศไทย

ในครั้งแรกนั้น โมกพันธุ์นี้มีอยู่ในประเทศไทยไม่เกิน 10 ต้น จัดเป็นไม้ขนาด เล็ก ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ดอกสีขาวกลิ่นหอมอ่อน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง ลักษณะของลำต้นจะคล้ายกับ ต้นลีลาวดีมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเปลือกที่หนา มีน้ำยางขาวข้นไหลออกมาทันทีที่เปิด เปลือกด้วยของแข็ง และผิวภายนอกมีสีขาว พื้นผิวลักษณะเป็นปุ่มนูน แต่อย่างหนึ่งที่แตกต่างอย่างชัดเจนคือฟอร์มของรูปทรงซึ่งต้องนับว่าเป็นจุดเด่นที่สุดของไม้ชนิดนี้ ไม่มีโมกชนิดไหนสร้างฟอร์มลำต้นได้อย่างนี้ ที่มาของรูปร่างแปลกๆ แบบนี้เกิดจากส่วนของรากซึ่งแปรสภาพมาเป็นลำต้นเช่นเดียว กับชวนชมนั่นเอง รากแก้วและรากแขนงจำนวนมาก และปุ่มขรุขระที่เห็นเป็นตุ่มๆ ตามลำต้นนั้น คือแหล่งเก็บน้ำชั้นดี จึงเป็นเหตุให้โมกราชินีมีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมและความแห้งแล้งได้ดีมาก

ปัจจุบันผืนป่าในเทือกเขาวง-เขาโพลง มีต้นโมกราชินีหนาตากินบริเวณเป็นวงกว้างจนเรียกได้ว่า “ป่าโมกราชินี” สามารถพบเห็นได้ง่ายเพียงเดินเลาะขึ้นเขา ไปไม่กี่นาที จากบริเวณหลังพระองค์ขาวที่ประดิษฐานบนเขา แห่งวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) อีกทั้งเป็นแหล่งที่ค้นพบต้นเทียนจรัญ ซึ่งเป็นไม้ถิ่นเดียวกัน โดยมีนักวิชาการญี่ปุ่นเป็นผู้ค้นพบ เป็นไม้พันธุ์ใหม่ของโลก โดยได้ค้นพบครั้งแรกในปี 2535 บริเวณภูเขาแถบหน้าพระลาน หากแต่ตอน นี้ไม่พบแล้วในบริเวณหน้าพระลาน คงเหลือ แต่ในป่าเทือกเขาวง-เขาโพลงเท่านั้น

ชมรมคนรักษ์เขาวงตระหนักถึงความสำคัญของผืนป่าเทือกเขาวง-เขาโพลง อันมีระบบนิเวศแบบป่าภูเขาหินปูน จึงได้รวมตัวกันขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลและร่วมสำรวจความหลายหลากแห่งธรรมชาติของ ผืนป่าโบราณแห่งนี้ ด้วยความที่มีอยู่มายาว นานของผืนป่านี้ ทำให้พืชพันธุ์และสัตว์ป่า หลายชนิดที่พบในเทือกเขานี้ ได้รับการระบุไว้ว่า เป็น “ไม้และสัตว์เฉพาะถิ่น” อาทิ โมกราชินี ต้นเทียนจรัญ ตุ๊กแกตาเขียว ตุ๊กกายหางขาว จิ้งจกดินแถบ ดำ ซึ่งคำว่าเฉพาะถิ่นนี้แปลได้ว่า ไม่อาจหาได้ในถิ่นอื่นอีก พบเพียงที่นี่ หากไม่อนุรักษ์ดูแลไว้ คงเป็นที่น่าเสียดาย

เมื่อไม่นานมานี้ นักวิชาการป่าไม้ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ และชาวบ้านผู้เป็นพรานป่าท้องถิ่น ได้สำรวจพบร่องรอย เลียงผา สัตว์ป่าสงวนของไทย ในผืนป่าที่อยู่ไม่ไกลจากบริเวณวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) เลียงผานั้นเป็นสัตว์ป่าที่ได้รับ การคุ้มครองภายใต้อนุสัญญาไซเตส หรืออนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เลียงผาถูกจัดไว้ในบัญชีที่ 1 หรือสัตว์ป่าที่มีความเสี่ยงใกล้จะสูญพันธุ์มากที่สุด

การสำรวจในครั้งนี้พบมูลสดและรอยเท้าของเลียงผา ซึ่งมีความชัดเจนมาก อีกทั้งจากการสำรวจเพิ่มเติม ยังพบถ้ำซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นที่พำนักของเลียงผา

ข้อมูลนี้เป็นที่ตื่นเต้นของเหล่านักอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศไทยเป็นอันมาก เพราะไม่น่าเชื่อว่าจากกรุงเทพฯ เพียง ไม่ถึงสองชั่วโมง จะมีแหล่งอาศัยของเลียงผา ซึ่งจัดเป็นสัตว์ป่าที่มีลักษณะเฉพาะ ตัวสูง มีเขาเป็นรูปกรวยเรียวไปด้านหลัง ตัวผู้จะมีเขายาวกว่าตัวเมียมาก รูปร่างที่ถูกกำหนดมาให้มีลำตัวสั้น ขาหลังยาวกว่า ขาหน้า เพื่อให้ปีนป่ายหน้าผาสูงชันได้อย่างแคล่วคล่อง เลียงผาชอบอาศัยอยู่ตามภูเขา ที่เปิดโล่ง ชอบปีนป่ายและกระโดดไปตามหน้าผาชัน จึงไม่น่าแปลกใจว่า เหตุใดจึงพบเหล่าเลียงผาในเทือกเขาวง-เขาโพลง อันมีภูมิประเทศแบบป่าภูเขาหินปูน ซึ่งมีเทือกเขาสูงชันขึ้นสลับซับซ้อนเป็นอันมาก

นอกจากสัตว์ป่าหายากและพืชพันธุ์ ธรรมชาติอันหลากหลายแล้ว บริเวณนี้ยังได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งต้นน้ำ 1A ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มีความสำคัญต่อทรัพยากร น้ำในประเทศเป็นอย่างมาก แหล่งต้นน้ำ 1A ในเทือกเขาวง-เขาโพลง ยังมีความน่าสนใจมากอีกประการหนึ่งคือ มีลักษณะที่เรียกว่า “ลุ่มน้ำเฉพาะถิ่น” คือ เป็นลุ่มน้ำที่ไม่ปรากฏให้เห็นบนผิวดิน หากแต่แตกแขนงเป็นสายกระจายตัวเป็นแม่น้ำอยู่ใต้ผิวดิน คงเป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของ ระบบนิเวศแบบภูเขาหินปูน และจะพบลุ่มน้ำชนิดนี้ได้เฉพาะในป่าหินปูนที่ยังคงมีความสมบูรณ์มากเท่านั้น

บริเวณหน้าถ้ำในวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) ยังปรากฏจารึกอักษรโบราณ ซึ่งเป็นอักษรปัลลวะ บันทึกไว้เป็นภาษามอญ อันแปลความได้ว่า “กันทราชัยผู้ตั้งแคว้นอนุราชปุระ ได้มอบให้พ่อลุงสินาธะ เป็นตัวแทนพร้อมกับชาวเมืองจัดพิธีร้องรำเพื่อเฉลิมฉลอง (สิ่ง) ซึ่งประดิษฐานไว้แล้ว ข้างในนี้” ซึ่งอักษรจารึกนี้ถูกระบุไว้ว่ามีความเก่าแก่ยาวนานกว่า 1,300 ปี จากเนื้อหาของจารึกสามารถเชื่อมโยงได้ถึงความสัมพันธ์และความสำคัญทางการแลก เปลี่ยนทางศาสนาและวัฒนธรรม ระหว่างสยามวงศ์และลังกาวงศ์ จารึกนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรให้เป็นแหล่งโบราณสถาน วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)

หากเราเดินทางตอนเช้าออกจากกรุงเทพมหานคร นอกไปจากการเดินป่าสำรวจธรรมชาติอันน่าค้นหาของผืนป่านี้แล้ว ยามเย็นก่อนเสียงระฆังดังบอกเวลาทำวัตรเย็นของวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) ยังมี ภาพฝูงค้างคาวบินเป็นสายยาวกินระยะเวลานานร่วมชั่วโมง ให้ได้ชมและสามารถตั้งกล้องบันทึกภาพได้อย่างไม่ต้องกลัวจะเก็บภาพฝูงค้าวคาวไม่ทัน หลังการสวดมนต์ ทำวัตรเย็น บริเวณหน้าวัดมองฝ่าความมืด ไป ภาพเขาวง-เขาโพลงที่ปรากฏชัดในตอน กลางวัน บัดนี้เรียงทอดตัวยาวให้เห็นเป็นภาพพระพุทธรูปปางไสยาสน์คอยปกปักรักษาพื้นที่ป่าเขตนี้อย่างเงียบสงบมายาว นาน

ชมรมคนรักษ์เขาวงมีปณิธานอันหมายมั่น “มุ่งหมายที่จะพัฒนาและอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและจารึกอักษรโบราณผนังถ้ำนารายณ์อย่างต่อเนื่องตลอดไป” ทั้งนี้ชมรมคนรักษ์เขาวงขอเชิญชวนผู้ที่มีใจอนุรักษ์มาร่วมกันสำรวจผืนป่า สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศป่าภูเขาหินปูน เพื่ออนุรักษ์ผืนป่าไว้ให้อนุชนรุ่นหลังสืบไป

อ้างอิง
1. http://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?PHPSESSID=d6490a34059d689afbfe56dc96556b0e&topic=2357.msg42337#msg42337

2. http://www.lib.ru.ac.th/journal/queen_wrightia.html   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us