|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ท่าเรือกามราญจะกลายเป็นไพ่ยุทธศาสตร์ของเวียดนาม นอกจากทางด้านเศรษฐกิจแล้วยังจะถูกใช้เป็นฐานเพื่อรับมือกับกองทัพเรือจีน
เว็บไซต์ RFI ภาษาเวียดนาม มีรายงานเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า ขณะนี้หลายประเทศกำลังให้ความสนใจท่าเรือกามราญ โดยเฉพาะบรรดาชาติที่มีผลประโยชน์ของตนเองในการรักษาสิทธิเสรีในการติดต่อค้าขายในทะเลตะวันออก การปรากฏตัวของเรือนานาชาติที่กามราญ ได้เชิดชูสถานภาพของเวียดนาม
เดิมท่าเรือแห่งนี้เป็นฐานที่มั่นทางทหารแห่งหนึ่งได้รับประเมินว่าเป็นหนึ่งในบรรดาท่าเรือธรรมชาติดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย กามราญมีสถานภาพเป็นศูนย์ยุทธศาสตร์แห่งหนึ่งของเวียดนามในการต่อต้านการกระทำต่างๆ ของจีนในการพิพาทเกี่ยวกับอธิปไตยในทะเลตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นทางการเดินเรือที่สำคัญเส้นทาง หนึ่งของโลก
หลังจากกองทัพเรือรัสเซียถอนตัวออกจากท่าเรือกามราญเมื่อปี 2545 รัฐบาล เวียดนามประกาศก่อสร้างบริเวณนี้เป็นท่าเรือพาณิชย์แห่งหนึ่ง ไม่ปล่อยให้กองทัพ เรือต่างประเทศเช่า ปัจจุบันสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป
ขณะที่จีนพัฒนากลไกทางทหารในนั้นมีกองกำลังกองทัพเรือข่มขู่ประเทศเล็กๆ ที่มีความขัดแย้งทางอธิปไตย ก่อกวนเรือสำรวจของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคเมื่อปลายปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เหงียน เติ๊น หยุง กล่าวถึงความสามารถในการให้เรือต่างชาติเข้าท่าเรือกามราญ เพื่อรับเสบียงหรือซ่อมแซม
วงการนักสังเกตการณ์ ถึงแม้เวียด นามมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจแนบแน่น กับจีน วงการแกนนำสองประเทศย้ำเสมอถึงเพื่อนบ้านมิตรภาพ แต่ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างรัฐกำลังรับแรงกดดันจากปักกิ่งที่มีพฤติกรรมอาละวาดทุกวัน
จีนสร้างฐานทัพเรือแห่งหนึ่งที่เกาะไหหลำ ทางทิศเหนือเขตทะเลที่มีการพิพาท อธิปไตย มุ่งยกระดับการแทรกแซงของ กองทัพเรือและดำเนินนโยบายการทูตข่มขู่ ในทะเลตะวันออก เหตุการณ์เมื่อเร็วๆนี้เกี่ยวข้องกับเรือตรวจการณ์และเรือประมงทางการจีนตัดเคเบิลสำรวจน้ำมันของเรือเวียดนามในบริเวณที่เวียดนามมองว่าเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเลของตน แสดงให้เห็นความตั้งใจทางการเมืองของปักกิ่ง ดำเนินการอ้างสิทธิเกี่ยวกับอธิปไตย ในทะเลตะวันออก
หนึ่งในบรรดาวิธีรับมือของเวียดนาม คือ หาวิธีทำให้การพิพาทอธิปไตยเป็นเรื่องสากล เวียดนามเรียกร้องบรรดาประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เกี่ยวข้อง เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน ร่วมกันเจรจา ประสานงานให้สหรัฐฯ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในทะเลตะวันออก
นอกจากนั้นเวียดนามก็เร่งรีบทำให้ กลไกทางทหารทันสมัย ซื้อเครื่องบินขับไล่ โจมตี Sukhoi-30 และเรือดำน้ำชั้น Kilo จากรัสเซีย เรือดำน้ำลำแรกสามารถส่งมอบ ให้เวียดนามได้ใน 1 หรือ 2 ปีข้างหน้า ฐาน ทัพของกองเรือดำน้ำนี้จะตั้งอยู่ที่กามราญ
ดังนั้น การเปิดท่าเรือกามราญรับเรือต่างประเทศ จึงอยู่ในยุทธศาสตร์ของเวียดนาม
ตามวงการผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง การเปลี่ยนแปลงจุดประสงค์การใช้ท่าเรือกามราญ จะสร้างแหล่งรายได้สำคัญแห่งหนึ่งให้เวียดนาม แต่เหตุผลสำคัญคือเพื่อรับมือกับการครอบงำของกองทัพเรือจีน ในทะเลตะวันออก เขตทะเลแห่งหนึ่งที่ได้มีการประเมินว่ามีปริมาณสำรองก๊าซ-น้ำมันมาก มาย แหล่งสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ และมีเส้นทางคมนาคมทางทะเลสำคัญมากสำหรับนานา ชาติ
ตามที่หนังสือพิมพ์ Financial Times ได้ระบุไว้ กองทัพเรือของหลายประเทศต่างสนใจถึงท่าเรือกามราญ นอกจากสหรัฐอเมริกาและรัสเซียแล้ว ยังมีอินเดีย เกาหลี ใต้ ออสเตรเลีย เป็นต้น นั่นเป็นชาติที่มีผลประโยชน์ของตนในการรักษาสิทธิเสรีติดต่อค้าขายในทะเลตะวันออก
ด้านอื่นๆ การปรากฏตัวของเรือประเทศต่างๆ ที่กามราญจะเชิดชูฐานะของเวียดนาม เหมือนกรณีสิงคโปร์ เมื่อเปิดท่าเรือ Changi รับเรือรบสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ไทย และประเทศอื่นๆ
ข้อนี้ชัดเจนว่าช่วยให้สิงคโปร์รู้สึก อุ่นใจมากขึ้นทางด้านความมั่นคง ขณะเดียวกันก็สร้างรายได้ให้สิงคโปร์เพิ่มขึ้นประมาณ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ผ่านงานจัดหาบริการให้กับเรือต่างประเทศที่เข้ามาใช้ท่าเรือ
ท่าเรือกามราญตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาทิศตะวันตกเวียดนามและทะเลตะวันออก ใกล้นครญาตราง อยู่ทางภาคใต้ นี่เป็นหนึ่งในบรรดาท่าเรือน้ำลึกธรรมชาติดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 รัฐบาลอาณานิคมของฝรั่งเศสได้ก่อสร้างอู่ต่อเรือทันสมัยแห่งแรกที่กามราญ ต่อมาท่าเรือนี้ได้ขยายความยาวเพิ่มอีก 20 ไมล์ทะเลตามทิศเหนือ-ใต้และความกว้าง 10 ไมล์ทะเล
ต่อมาคนฝรั่งเศสเปลี่ยนที่นี่เป็นท่าเรือทหาร ปี 2483 กองทัพญี่ปุ่นบุกยึดอินโดจีน และใช้ท่าเรือกามราญเป็นสถานที่ ส่งกำลังของกองทัพเรือญี่ปุ่น
สงครามเวียดนาม กองทัพสหรัฐฯ พัฒนาท่าเรือทหารกามราญให้แข็งแกร่งปี 2508 รัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) มอบให้สหรัฐฯ จัดการท่าเรือนี้ ถึงปี 2515 สหรัฐฯ คืนให้สาธารณ รัฐเวียดนามในกรอบแผนการสงครามเวียดนามของประธานาธิบดี Richard Nixon
หลังปี 2518 กองทัพเรือสหภาพโซเวียต พันธมิตรยุทธศาสตร์ของสาธารณ รัฐสังคมนิยมเวียดนามได้ใช้ท่าเรือทหารกามราญ
ปี 2522 เวียดนามให้กองทัพเรือสหภาพโซเวียตเช่าภายในเวลา 25 ปี (ถึงปี 2545) หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย กองทัพเรือสหพันธรัฐรัสเซียถอนตัวออกจากกามราญก่อนสิ้นสุดสัญญาเช่า
ถึงวันนี้ มีเพียงเรือเล็กจำนวนหนึ่งของเวียดนาม จอดทอดสมออยู่ที่ท่าเรือกามราญ
ปลายปี 2553 นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เหงียน เติ๊น หยุง กล่าวถึงการเปิดประตูและพัฒนาท่าเรือกามราญ เพื่อรับเรือต่างประเทศ
|
|
|
|
|