|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
มุมมองของ “ฮาราลด์ ลิงค์” ประธานกลุ่มบริษัทบีกริม วิพากษ์ถึงเศรษฐกิจในช่วงต้มยำกุ้ง “เข้มข้น” เพราะไม่มีอะไรเห็นชัดไปกว่า ฝรั่งมองเห็นพฤติกรรมฝรั่ง
ฮาราลด์ ลิงค์ เกิดที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อายุ 56 ปี เขาเป็นคนเยอรมัน แต่มีสัญชาติไทย เป็นประธานกลุ่มบริษัทบี.กริม เริ่มงานตอนอายุ 24 ปี ปัจจุบันทำงานในองค์กร แห่งนี้ร่วม 32 ปี
นอกจากมีตำแหน่งอยู่ในบี.กริมแล้ว ยังเป็นกรรมการอยู่ใน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และ บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง
ฮาราลด์ ลิงค์ เกิด เรียน เติบโตในต่างประเทศ พ.ศ.2521 เรียนปริญญาโทบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเซนต์กัลแลน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ Master of Business Administration (Lic. oec.HSG) University of St.Gallen, Switzerland กันยายน 2547-2548 ร่วมเรียนหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.17) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
แม้จะเกิดและเติบโตในต่างประเทศ ทว่าด้วยความที่อาศัย อยู่ในประเทศไทยมานาน ทำให้เขาพูดภาษาไทยและนักธุรกิจไทย บางคนบอกว่า “เป็นฝรั่งที่พูดไทยได้ชัดมาก” เขียนและอ่านภาษา ไทยได้บ้าง
บุคลิกของเขาดูใจเย็นและยิ้มง่าย จึงเหมือนว่าเข้ากับคนไทยได้ไม่ยาก แม้จะมีภรรยาเป็นคนชาติเดียวกัน แต่ส่วนหนึ่งทำให้เรียนรู้วัฒนธรรมได้อย่างรวดเร็ว อาจเป็นเพราะว่าผู้บริหารในบริษัทส่วนใหญ่เป็นคนไทย ซึ่งเป็นความตั้งใจตั้งแต่แรกเมื่อมาร่วมงานในบริษัท เขาบอกกับเฮอร์เบิร์ต ลิงค์ หรือลุงของเขา
“ผู้บริหาร ขอให้เป็นคนไทย”
ความผูกพันของบริษัทบี.กริมกับประเทศไทยเกิดขึ้นมากว่า 1 ศตวรรษ ปีนี้ครบ 133 ปี บริหารงาน 4 รุ่น แม้ตระกูลลิงค์จะไม่ได้เป็นผู้ก่อตั้งเริ่มต้น แต่ธุรกิจก่อตั้งโดยคนเยอรมันและออสเตรีย นักธุรกิจรุ่นแรกๆ
ฮาราลด์ ลิงค์ เป็นผู้บริหารรุ่นที่ 3 เข้ามาสืบทอดธุรกิจ จึงนับได้ว่าตระกูลลิงค์ดำเนินธุรกิจไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยทุกๆ ด้านกว่า 1 ศตวรรษที่ผ่านมา
เหตุการณ์หลายต่อหลายเหตุการณ์เกิดขึ้น แม้ว่าเขาจะเกิดไม่ทันแต่ก็สามารถถ่ายทอดผ่านประสบการณ์ที่เล่าและบันทึก ต่อๆ กันมา
มีเหตุการณ์ที่ฮาราลด์ ลิงค์ มีประสบการณ์ร่วมและจดจำได้ดีจนถึงทุกวันนี้ ก็คือ วิกฤติต้มยำกุ้ง วิกฤติเศรษฐกิจ ประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ทำให้นักธุรกิจไทยและต่างชาติต่างพากันช็อกไปตามๆ กัน
ตอนนั้นไอเอ็มเอฟเริ่มเข้ามาพร้อมกับคำแนะนำให้แก้ไขปัญหา เช่น รัฐบาลต้องทำทุกอย่างให้มีกำไร อย่าขาดทุน ดอกเบี้ย ต้องขึ้น แบงก์ก็ต้องปิด ต้องขายทรัพย์สินในราคาถูกๆ อย่างน้อย ขาย 5 พันล้านต่อบริษัท
คำแนะนำในครั้งนั้นทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ลูกค้าไม่จ่าย เงิน ในขณะที่บริษัทต่างๆ ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคารเพิ่มร้อยละ 30 ในตอนนั้นรัฐบาลไม่ให้งานใคร ต้องประหยัด สุดท้ายไม่มีใคร ได้เงิน ธนาคารก็ต้องเพิ่มทุน
การขายทรัพย์สินในราคาถูก ทำให้คนที่ซื้อทรัพย์เข้ามาเก็ง กำไรและได้ผลประโยชน์มหาศาล คนไทยต้องคิดว่ามีอะไรดีสำหรับเมืองไทย อย่าตามประเทศอื่น เพราะคำแนะนำของต่างชาติ บางครั้งก็ให้คำแนะนำที่ดีมาก แต่บางครั้งก็ไม่
ฮาราลด์ ลิงค์ บอกว่า จริงๆ ประเทศเล็กไม่ควรฟังประเทศ ใหญ่ เวลาประเทศใหญ่เสนอนโยบาย หลักการดำเนินธุรกิจ เสนออะไรอย่าฟัง ก็แค่เอาเป็นข้อมูล แต่ควรคิดเองว่าจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร
สิ่งที่อเมริกันไม่ได้แนะนำว่า ถ้าเปิดเสรีไทยก็ให้เงินบาทลอยตัว ทำให้สามารถคิดเรื่องความเสี่ยงได้ เช่นวันนี้เงินลอยตัว กู้ต่างชาติ และค่าบาทอ่อนลง ไม่คุ้ม หรือซื้อประกันล่วงหน้า เวลานั้นก็ไม่ แบงก์ชาติก็ไม่ประกาศเงินเหลือเท่าไหร่ ก่อนเงินบาท ลอยตัว
“ผมพานักลงทุนต่างประเทศมาเยี่ยมทุกธนาคารเอกชน 4 ใน 5 บอกว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น อันเดียวถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลง อัตราแลกเปลี่ยนไม่เกิน 40 เปอร์เซ็นต์”
เมื่อวิกฤติเกิดที่อเมริกา อเมริกาใช้เงินเยอะมาก รัฐใช้เงินเต็มที่ ดอกเบี้ยต่ำสุด และกำหนดตรงกันข้าม ซื้อธุรกิจอะไรถูกๆ ในอเมริกาไม่ได้ ทำทุกอย่างให้ราคาไม่ตก แต่หุ้นไม่ได้ซื้อ ทำให้ไม่ปิดธนาคาร
“นี่เป็นบทเรียน บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกทำเพื่อตัวเขาเอง อย่าคิดว่าเขาหวังดีกับประเทศเล็กๆ มันเป็นหน้าที่ของเขา ทำเรื่องดีให้เขา ไม่ใช่เรื่องดีให้เรา”
สิ่งสำคัญของการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษกิจของไทย คือรัฐและเอกชนต้องสื่อสารและฟังกัน ในห้วงเวลานั้นฟังแต่ไอเอ็มเอฟ ทุกคนตกงาน ไม่มีงาน
บทเรียนที่ต้องเรียนรู้
|
|
|
|
|