Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2554
133 ปี เล่าขาน ตำนาน บี.กริม             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 

   
related stories

ฝรั่งวิพากษ์ฝรั่ง
ทำธุรกิจและสังคมขนานกัน ทำให้อยู่ได้นาน
The Rising Star ผู้ผลิตไฟฟ้า SPP อันดับ 2 ของไทย
เลือกผู้หญิงดูแลพลังงาน
สืบทอดกิจการทายาทรุ่น 4

   
www resources

โฮมเพจ บี.กริม กรุ๊ป

   
search resources

บีกริม กรุ๊ป
Commercial and business
ฮาราลด์ ลิงค์




ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ประเทศไทยยุคการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เริ่มเปิดประเทศอย่างจริงจังเพื่อพัฒนาไปสู่ความศิวิไลซ์ ทำให้ชาวยุโรปเดินทางเข้ามามองหาโอกาสใหม่ๆ และเป็นจุดกำเนิดของห้างบี.กริมแอนโกที่มีอายุ 133 ปี

ปัจจุบันกลุ่มบี.กริม มีฮาราลด์ ลิงค์ วัย 56 ปี ประธานกลุ่มเป็นผู้บริหารรุ่น 3 มีธุรกิจทั้งหมด 6 กลุ่มหลักคือ พลังงาน คมนาคม เครื่องปรับอากาศ สุขภาพ สินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ และอสังหาริมทรัพย์มีรายได้ทั้งกลุ่ม 1.6 หมื่นล้านบาท คาด การณ์ล่วงหน้าไว้ว่าในอีก 4-5 ปีข้างหน้า รายได้จะเพิ่มเป็นหมื่นล้านบาท โดยมีกลุ่มพลังงานเป็นผู้สร้างอนาคตอย่างยั่งยืนให้กับกลุ่มบี.กริม

ก่อนที่กลุ่มบี.กริมจะเติบโตได้ถึงทุกวันนี้ กิจการที่ดำเนิน ธุรกิจมากกว่าหนึ่งศตวรรษได้ล้มลุกคลุกคลานไม่น้อย มีเหตุการณ์มากมายที่ทำให้บริษัทถึงขั้น “ปิดกิจการ” แต่ผู้บริหาร ก็ลุกขึ้นมาสู้ใหม่ทุกครั้ง ตำนานกลุ่มบี.กริมที่เคียงคู่กับประวัติศาสตร์ไทยร่วม 5 รัชสมัย กำลังถูกถ่ายทอดผ่าน “รุ่นหลาน” ฮาราลด์ ลิงค์ โดยมีนิตยสารผู้จัดการ 360 ํ เป็นผู้สัมภาษณ์

ห้างบี.กริมแอนโก ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2421 ตระกูลลิงค์ไม่ได้บริหารในยุคเริ่มต้น แต่เป็นชาวยุโรป 2 คน คือเบิร์นฮาร์ด กริม เภสัชกรชาวเยอรมัน กับเออร์วิน มิลเลอร์ พ่อค้าชาวออสเตรีย ได้ร่วมก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้กับ โรงแรมโอเรียนเต็ล

และที่มาของชื่อบริษัทได้ใช้ชื่อผู้ก่อตั้ง เบิร์นฮาร์ด กริม (บี กริม) มาจนถึงทุกวันนี้ไม่เปลี่ยนแปลง

ห้างบี.กริม เริ่มจากเปิดร้านขายยาชื่อ สยามดิสเปนซารี่ เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ชาวต่างชาติเริ่มเข้ามาค้าขายในประเทศไทย เพราะในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ปรับปรุงบ้านเมืองให้ศิวิไลซ์เพื่อให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาและพัฒนาระบบการศึกษา

เปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติจากเยอรมนีและอังกฤษเข้ามาพัฒนาบริการต่างๆ เช่น ให้ชาวเยอรมันมาเป็นที่ปรึกษาด้าน ไปรษณีย์ และดูแลระบบการรักษาโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ในตอนนั้นไม่มีร้านผลิตยา จึงทำให้ห้างบี.กริมเห็นโอกาสเปิดร้านผสมยา

ร้านขายยาสยามดิสเปนซารี่ไม่ได้จำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไปเท่านั้น แต่รัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ร้านเป็นผู้จัดยาตำรับตะวันตกสำหรับราชสำนัก

นอกเหนือจากธุรกิจร้านขายยา ห้างบี.กริมยังเริ่มได้รับ สัมปทานด้านโทรเลขที่เกาะสีชัง หลังจากที่รัชกาลที่ 5 เสด็จเยือนประเทศเยอรมนีครั้งที่ 2 เพื่อดูระบบบริการโทรเลข

ในช่วงเวลานั้น บี.กริมยังได้รับหน้าที่ขุดคลองย่านรังสิต ในกรุงเทพมหานคร เพราะยังขาดระบบสาธารณูปโภค และระหว่างทำการขุดคลอง บี.กริมได้สร้างวัดมูลจินดารามขึ้นมาเพื่อให้คนงานมีโอกาสได้กราบไหว้

ห้างบี.กริมยังได้ขยายกิจการเพิ่มเติมนำเข้าสินค้าจากต่าง ประเทศเพื่อมาจำหน่าย เช่น ขวดยา นาฬิกา กระบี่ แว่นตา โคมไฟ เตียง หรือแม้แต่กระเบื้องที่ใช้สร้างวัดพระแก้วมรกตและวัดอรุณฯ ซึ่งสินค้าทั้งหมดแม้จะไม่ได้ผลิตโดยบี.กริม แต่สินค้าทุกชิ้นต้องติดแบรนด์บี.กริม ไม่เว้นแม้แต่นาฬิกาโรเล็กซ์ยี่ห้อดัง

อะดอล์ฟ ลิงค์ เภสัชกรชาวเยอรมัน เป็นผู้บริหารจากตระกูลลิงค์คนแรกที่เข้ามาร่วมงานในห้าง บี.กริม ใน พ.ศ.2446 เข้ามาร่วมทุนและได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในภายหลัง ต่อมาในปี 2457 อะดอล์ฟ ลิงค์ได้ซื้อกิจการทั้งหมดและเป็นเจ้าของแต่เพียง ผู้เดียว

ธุรกิจของห้าง บี.กริมเจริญรุดหน้าไปอย่างมากในรัชสมัยพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่จำเป็นต้องปิดกิจการชั่วคราวใน พ.ศ. 2460 เพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้กิจการของบี.กริม ถูกยึดทรัพย์ทั้งหมด เพราะผู้ประกอบการเป็นชาวเยอรมัน และอะดอล์ฟ ลิงค์ ต้องไปติดคุกที่ประเทศอินเดีย

เมื่อสงครามสงบลง อะดอล์ฟ ลิงค์ ใช้เวลา 11 ปี เปิดห้าง ใหม่อีกครั้ง โดยมีพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุรังษีอนุญาตให้สร้างสำนักงานใหม่ ณ ถนนมหาไชย และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงพระราชดำเนินเปิดห้างใหม่ใน พ.ศ.2471 และในปี 2475 ได้รับพระราชทานตราตั้งพระครุฑพ่าห์ติดอาคาร เพื่อเป็นเครื่องหมายว่าเป็นบริษัทที่ได้รับพระบรมราชานุญาตและเฮอร์เบิร์ต ลิงค์ บุตรชายคนโตของอะดอลฟ์ เริ่มเข้ามาร่วมงานใน บี.กริมด้วยวัย 22 ปี

เฮอร์เบิร์ต ลิงค์ เป็นผู้บริหารรุ่น 2 ของตระกูลลิงค์ เขาเริ่มฝึกงานในตำแหน่งเสมียนและเรียนรู้งานทุกแผนกจนสามารถบริหารกิจการแทนบิดาได้และอะดอล์ฟ ลิงค์เดินทางกลับประเทศ เยอรมนี พร้อมกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล โปรดฯ แต่งตั้งให้เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์แห่งราชอาณาจักรไทย ประจำเมืองฮัมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ใน พ.ศ.2482

การกลับมาของบี.กริม เริ่มขยายกิจการเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ รับเหมาติดตั้งอุปกรณ์สถานีวิทยุ สร้างโรงงานทำรองเท้า โรงงานกระดาษ และโรงงานผลิตหน้ากากป้องกันแก๊สพิษให้แก่กองทัพ

ขณะที่ธุรกิจกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี บี.กริม.ต้องพบกับชะตากรรมอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2488 บริษัทฯ ต้องหยุดกิจการและทรัพย์สินต่างๆ ถูกควบคุม แต่ครั้งนี้ ค่อนข้างโชคดี เฮอร์เบิร์ต ลิงค์ไม่ต้องออกนอกประเทศไทย เพราะ อัลมา ลิงค์ ภรรยาของเขาเป็นคนอังกฤษ กระนั้นก็ตาม ห้างบี.กริม ไม่สามารถทำธุรกิจได้ต้องรออีก 4 ปี

เฮอร์เบิร์ตและเย.เค.ฮันฮาร์ต หุ้นส่วนชาวสวิส ร่วมกันเปิด ห้างบี.กริม แอนโก ใน พ.ศ.2490 แต่เป็นที่ทำการชั่วคราวที่บ้านเย.เค.ฮันฮาร์ต ณ ซอยสมคิด ถนนเพลินจิตใช้ชื่อห้างฮันฮาร์ต

ในครั้งนั้น อะดอล์ฟ ลิงค์เข้าพบอดีตรัฐมนตรีเลื่อน พงษ์โสภณ ซึ่งมีบริษัทส่งเสริมอุตสาหกรรมอยู่ในสังกัดและควบคุมองค์การน้ำตาลไทย ที่ใช้ตึกห้าง บี.กริมที่ถูกปิดลง เพื่อขอเปิดใช้พื้นที่ชั้นล่างดำเนินกิจการ หลังจากนั้น 2 ปี ป้ายห้างบี.กริม แอนโกก็นำขึ้นติดบนห้างถนนมหาไชย ส่วนห้างฮันฮาร์ตก็ปิดตัวไป

ช่วงระยะเวลาไม่ถึงปี หลังจากห้างเปิดดำเนินกิจการ เย.เค.ฮันฮาร์ตถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วน แต่มีเฮอร์เบิร์ตและเกฮาร์ด ลิงค์ 2 พี่น้องมารับช่วงกิจการต่อ

เฮอร์เบิร์ต ลิงค์ บริหารงานประจำอยู่ในกรุงเทพฯ ส่วนเกฮาร์ด ลิงค์ บิดาของฮาราลด์ ลิงค์ ประจำอยู่บาร์เซิลและเมือง ฮัมเบิร์ก

“เหตุที่แบ่งแยกการบริหารนั้นเป็นเพราะว่าการค้าขายในตอนนั้นยังไม่มีใครเชื่อเงินบาท ไม่มีใครรู้จักเงินบาท ดังนั้นขายสินค้าให้บี.กริมเยอรมัน และบี.กริมขายให้คนไทย”

การทำธุรกิจบี.กริม ในระหว่างสองประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น และพัฒนาความสัมพันธ์มาด้วยดี ทำให้เกฮาร์ด ลิงค์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์และเป็นกงสุลใหญ่ของประเทศไทย ประจำเมืองฮัมบูร์ก หลังจากอะดอล์ฟ ลิงค์ได้เสียชีวิต

ภายใต้การบริหารของทั้งสองพี่น้องทำให้กิจการของบี.กริม เติบโตหลายด้าน อาทิ วิศวกรรม สุขอนามัย โทรคมนาคม เครื่อง ปรับอากาศ อุปกรณ์การแพทย์ เภสัชกรรมและเคมีภัณฑ์ บริษัทต้องสร้างสำนักงานและคลังสินค้าใหม่บนถนนเพชรบุรีตัดใหม่และสร้างโรงงานใหม่เพิ่มเติมอีกที่หัวหมาก

หลังจากรุ่น 2 ดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลา 56 ปี ทั้งเฮอร์เบิร์ต และเกฮาร์ด ลิงค์ สองพี่น้องตัดสินใจให้ฮาราลด์ ลิงค์ “รุ่นหลาน” บุตรชายของเกฮาร์ด สืบทอดกิจการในฐานะผู้บริหารรุ่นที่ 3

ฮาราลด์ ลิงค์ เริ่มทำงานที่บี.กริม วัย 24 ปี หลังจากนั้นอีก 8 ปี เขาก้าวขึ้นเป็นประธานกลุ่มด้วยอายุเพียง 32 ปี

ช่วงเริ่มต้นธุรกิจฮาราลด์ ลิงค์ ต้องเรียนรู้งานทุกประเภท ตั้งแต่กฎหมาย ทรัพยากรมนุษย์ เครื่องกล งานผู้รับเหมา และโรงงาน ทุกครั้งที่ผู้บริหารต่างชาติลาออกเขาต้องเข้าไปดูแล แต่ยอมรับว่าบางครั้งงานก็หนักเกินไป

บททดสอบที่น่าตื่นเต้นและทำให้ฮาราลด์ ลิงค์ยังจำได้จนถึงทุกวันนี้ เมื่อบริษัทตัดสินใจร่วมกับบริษัทแคเรียร์ ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ

ในตอนนั้นฮาราลด์อายุ 26 ปี เฮอร์เบิร์ต ลิงค์ หรือลุงได้ส่งเขาไปเจรจาร่วมทุนกับประธานบริษัทแคเรียร์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งภาพในตอนนั้นเขานึกไม่ออกด้วยซ้ำว่าต้องเริ่มจุดไหน หลักการร่วมทุนเป็นยังไง ไม่มีข้อมูล ไม่มีอินเทอร์เน็ต

แต่โชคดีได้หนังสือจากยูเอ็น เป็นสัญญาตัวอย่าง แต่ในใจ เขาก็คิดว่ามันยากมากเพราะประธานบริษัทแคเรียร์มีอายุมากกว่า เขาถึง 20 ปี ดูแลกิจการทั่วโลก

นับว่าเป็นความโชคดีอีกครั้ง เมื่อประธานแคเรียร์ให้โอกาส ไปคุยทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง ใช้เวลาประมาณหนึ่งอาทิตย์ จนกระทั่งแคเรียร์ตกลงร่วมทุนพร้อมกับเซ็นสัญญา ซึ่งสัญญามีเพียง 2 หน้าเท่านั้น

“ถ้าคุณรู้อะไรที่เป็นไปไม่ได้ คุณก็ใจกล้ามาก คุณไม่รู้เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้ามีความรู้เยอะ คุณจะรู้ว่าอะไรเป็นไปได้ หรือไม่ได้ แต่ถ้าคุณไม่รู้ คุณก็กล้าขอในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อคุณไม่รู้เรื่อง คุณขอในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่คุณได้”

ในครั้งนั้นน่าจะเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับเขาไม่น้อย

จากธุรกิจนำเข้าและประกอบธุรกิจด้วยตนเอง บี.กริม เริ่มเปลี่ยนแนวคิดมองหาพันธมิตรร่วมขยายธุรกิจ จากร่วมทุนกับบริษัทแคเรียร์เข้าไปร่วมทุนในธุรกิจสุขภาพ เช่น ร่วมทุนกับเมอร์ค ประเทศไทย มาร์เกท์ ซีเมนส์ กลุ่มบริษัทคาร์ลไซส์ และเออร์โกเฮลท์แคร์โพรดัคส์

ธุรกิจโทรคมนาคมเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่บี.กริมให้ความสนใจ เข้าไปร่วมทุน เนื่องจากมองเห็นโอกาส เพราะประเทศไทยไม่มีระบบการสื่อสาร ในราวช่วงต้นปี 2530-2535

บี.กริมเคยเข้าร่วมประมูลโทรศัพท์บ้าน 1 ล้านเลขหมายให้บริการทั่วประเทศ แต่ไม่ได้รับชัยชนะ เพราะผู้ชนะโครงการคือ บมจ.ทีทีแอนด์ที

แม้ว่าจะไม่ได้รับชัยชนะก็ตาม แต่บริษัทก็ได้ร่วมกับพันธมิตรซีเมนส์ ร่วมเสนอขายอุปกรณ์เครือข่าย ยี่ห้อซีเมนส์ให้กับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่นซึ่งโครงการติดตั้งโทรศัพท์บ้านในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 2 ล้านเลขหมาย รวมทั้ง กลุ่มเอไอเอส และ บมจ.ทศท

เมื่อเวลาล่วงเลยมาทุกวันนี้ ฮาราลด์ ลิงค์ บอกว่าโชคดีที่ไม่ชนะประมูลติดตั้งโทรศัพท์ 1 ล้านเลขหมายในครั้งนั้น เพราะธุรกิจมีการลงทุนสูง เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว และโครงการต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐ

จะเห็นได้ว่าการลงทุนของกลุ่มบี.กริมจะเข้าไปในธุรกิจเริ่มต้น การแข่งขันไม่สูงมาก แต่มองเห็นโอกาส เหมือนดังเช่น ได้ร่วมกับซีเมนส์เป็นผู้จัดการระบบการควบคุมและการบริการของรถไฟลอยฟ้าบีทีเอส ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินกรุงเทพมหานคร และโครงการแอร์พอร์ตลิงค์

บี.กริม.ชนะงานประมูลโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ด้วยมูลค่า โครงการ 26,000 ล้านบาท และเสนอติดตั้งรางรถไฟด้วยระบบมาตรฐานรางกว้าง ขณะที่คู่แข่งประเทศญี่ปุ่นเสนอราคาลงทุน 44,000 ล้านบาท แต่เสนอรางแคบ

“รถไฟรางกว้างมาตรฐานจะอยู่ที่ 1.40 เมตร ในขณะที่รางแคบกว้าง 1 เมตร ข้อดีของรถไฟรางกว้างวิ่งได้เร็วกว่า 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีศักยภาพสูงกว่า แต่ลงทุนไม่แตกต่างกัน” การขยายธุรกิจของบี.กริมเติบโตเรื่อยมา ดูเหมือนจะไม่มีเหตุการณ์ให้ต้องสะดุด แต่เมื่อปี 2540 ต้องทำให้บริษัทแทบล้มทั้งยืนอีกครั้ง เมื่อประเทศไทยประกาศค่าเงินบาทลอยตัวในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540

บี.กริมมีหนี้สินพอกพูนหลายเท่าตัว เป็นวิกฤติเรียกได้ว่า “อยู่” หรือ “ไป” แม้แต่ฮาราลด์ ลิงค์ก็มีคำถามขึ้นในใจเขาในตอนนั้น “บริษัทจะอยู่รอดได้อย่างไร มันเหมือนสงคราม เหมือนถูกทิ้งระเบิด”

วิกฤติในครั้งนั้น ลูกค้าหยุดซื้อของ เครื่องปรับอากาศยอดขายเหลือร้อยละ 30 ราคายาเหลือร้อยละ 70 แต่ผู้ร่วมทุนยังเข้าข้าง ยินยอมให้กู้เงินเพื่อลงทุนต่อ การแก้ปัญหายังไม่จบ บี.กริม เริ่มขายที่ดินเปล่า ขายบริษัททำความสะอาดและรักษาความปลอดภัย ขายบริษัทรับเหมาก่อสร้าง

แต่ยังโชคดีซัปพลายเออร์ เช่น เมิร์ก (Merck) และมาเก้ ยอมให้ยืดชำระหนี้ ส่วนธนาคารยอมให้ปรับโครงสร้างหนี้ รวมถึง ขายหุ้นบางส่วนในธุรกิจโรงงานไฟฟ้า

“วันนั้นผมจำได้ น้ำตาไหล ผมต้องเป็นคนบอกขอลดเงินเดือนพนักงาน เงินเดือนเกิน 2 หมื่นบาท ลดร้อยละ 10 ส่วนเงิน เดือนเกิน 1 แสนบาท ลดร้อยละ 20” ฮาราลด์เล่าย้อนเหตุการณ์ในครั้งนั้นเหมือนมีความรู้สึกว่าเพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน

วิกฤติปี 2540 ยังทำให้บริษัทบี.กริมต้องนำ บมจ.บี.กริม เอ็นจิเนียริ่ง ซีสเต็มส์ ผู้รับเหมาก่อสร้างระบบไฟฟ้า ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ หลังจากประสบภาวะขาดทุน ลูกค้าไม่ชำระหนี้ และมีปัญหาคอร์รัปชั่นภายใน จำให้ บี.กริมตัดสินใจปล่อยทิ้งไป และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติปี 2540 พอดี

เหตุการณ์ค่าเงินบาทลอยตัว บี.กริมไม่ได้ประสบครั้งแรก เมื่อปี 2527 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในช่วงสิ้นปี รัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท จาก 8 บาทเป็น 16 หรือ 2 เท่าตัว ในตอนนั้นธุรกิจหลักๆ ของบี.กริม นำเข้าสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศ แต่บริษัทแก้ปัญหาพ้นมาได้อยู่รอดจนประสบปัญหาอีกครั้งในปี 2540

หากเทียบปัญหาเศรษฐกิจเกิดขึ้นรอบใหม่ หรือวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ระหว่างปี 2551-2552 ประเทศไทยอยู่รอดได้ ธนาคารไทยแข็งแรง ไม่ได้ทำอะไรแปลก ส่วนบี.กริม แม้ว่าตลาด จะหายไปบ้าง การใช้ไฟฟ้าลดไปร้อยละ 30 ยอดขายเครื่องปรับอากาศ เครื่องสำอาง เสื้อผ้า ยอดขายตกหมด แต่เป็นเรื่องของผลประกอบการ กำไรมากหรือน้อย

ไม่ว่าวิกฤติเศรษฐกิจจะหนักหรือเบา เป็นสิ่งที่บี.กริมไม่พึงปรารถนาจะพบเจออีก แต่บทเรียนที่ผ่านมาทำให้บี.กริมต้องเรียนรู้และมองหาธุรกิจใหม่เพิ่มเพื่อกระจายความเสี่ยง โดยมีเป้าหมายให้บริษัทอยู่รอดได้อย่างหยั่งราก

หลังปี 2540 บี.กริมเริ่มรุกธุรกิจพลังงานมากขึ้น เล็งเห็นโอกาสความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นทุกภาคส่วน รัฐ เอกชนและครัวเรือน บริษัทจึงกำหนดบทบาทของตนเองให้เป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือเรียกว่า Small Power Producer: SPP เป็นผู้ผลิตโรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมโคเจนเนอเรชั่น ใช้ก๊าซ ธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง มีกำลังการผลิต 120-150 MW

บี.กริมมีโรงไฟฟ้า 4 แห่ง อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมอมตะ นคร จังหวัดชลบุรี โรงงานอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง และประเทศเวียดนาม

ปัจจุบันบี.กริม.มีโครงการสร้างโรงงานไฟฟ้าใหม่เพิ่มอีก 13 แห่ง อยู่ระหว่างทยอยสร้าง จะแล้วเสร็จโครงการสุดท้ายปี 2562

จากจุดเริ่มต้นธุรกิจร้านขายยา ขยายออกไปสู่อุตสาหกรรม คมนาคม อสังหาริมทรัพย์ สุขภาพ เครื่องปรับอากาศ และธุรกิจ เสื้อผ้า เครื่องสำอาง แต่ธุรกิจดาวรุ่งที่จะนำพาให้กลุ่มบี.กริมเติบโตยั่งยืนคือกลุ่มธุรกิจพลังงาน เพราะในอีก 4-5 ปีข้างหน้า ธุรกิจพลังงานจะมีรายได้ถึง 3 หมื่นล้านบาท ในขณะที่บริษัทคาดหมายไว้ว่าทั้งกลุ่มมีรายได้ 4 หมื่นล้านบาท

“เราหนีไม่พ้น คนต้องการไฟฟ้า ยกเว้นค่าแก๊สเหลือศูนย์บาท”

วิสัยทัศน์กลุ่มบี.กริมกำลังโชติช่วงชัชวาล แต่บทเรียนที่ผ่านมาทำให้บี.กริมไม่ตั้งอยู่ในความประมาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us