Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2554
การสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจและเศรษฐกิจสร้างสรรค์             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

วิสัยทัศน์ CJ Group: Asian Cultural Platform
CJ Group: 4D Enterprise
วิชา พูลวรลักษณ์ Creative Entertainer

   
www resources

โฮมเพจ เมเจอร์ซินีเพล็กซ์

   
search resources

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป, บมจ.
Theatre
CJ Group




ความพยายามของสังคมไทยที่จะหนุนนำให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ creative economy ดูจะเป็นกรณีที่มีนัยความหมายเป็นเพียงประหนึ่งวาทกรรมที่เกิดขึ้นและเสื่อมถอยวาบหายไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่สามารถนำมาประกอบส่วนให้เกิดผลจริงจังได้มากนัก

แม้ว่าในห้วงเวลาที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายแห่ง โดยเฉพาะในกรณีของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center: TCDC) จะดำเนินความพยายามที่จะผ่องถ่ายและจุดประกายมิติความคิดในเรื่องดังกล่าว แต่ถึงที่สุด DNA ของสังคมไทยก็ยังไม่สามารถที่จะเก็บรับแนวคิดในเรื่องนี้มาปรับใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในสังคมไทยในห้วงที่ผ่านมา พยายามให้น้ำหนักไม่เฉพาะกับแนวความคิดใหม่ๆ ที่พร้อมจะให้ความแปลกแตกต่าง ขณะเดียวกันก็พยายามหันกลับไปพิจารณารากฐานทางวัฒนธรรมในฐานะที่น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจสร้างสรรค์แบบไทยๆ ให้มีที่อยู่ที่ยืนในเวทีเศรษฐกิจการค้าระดับนานาชาติ

แต่กรณีดังกล่าวจะปราศจากความหมายอย่างสิ้นเชิง หากทั้งหมดดำเนินไปในฐานะที่ต้องอาศัยแบรนด์ระดับโลกเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพ และผู้ผลิตในประเทศไทยเป็นเพียงลูกจ้างที่อาศัยความชำนาญการในการถักทอให้ได้ผลผลิตตามแบบที่ดีไซเนอร์วางไว้

ประเด็นคำถามจึงอยู่ที่ว่ากรณีเช่นว่านี้ ใครกันคือผู้ที่ประกอบการเศรษฐกิจสร้างสรรค์

สมมุติฐานของเหตุดังกล่าวในด้านหนึ่งอาจเป็นผลจากการที่สังคมไทยไม่สามารถกำหนดนิยามและหา “ตัวแบบ” ที่มีความรอบด้านมากพอให้จับต้องได้ว่าสิ่งใดคือเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ที่พึงประสงค์ ซึ่งย่อมไม่ใช่ผลจากการที่สังคมไทยขาดความคิดสร้างสรรค์

หากแต่น่าจะเกิดขึ้นจากผลของการที่ความคิดสร้างสรรค์ที่ริเริ่มและงอกเงยขึ้นเหล่านั้น ขาดองค์ประกอบของกระบวนการผลิต และขาดปัจจัยในการบริหารจัดการทรัพยากรที่จะรังสรรค์ให้เกิดเป็นข้อเท็จจริงในเชิงเศรษฐกิจมากกว่า

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวเนื่องอย่างสำคัญต่อมิติมุมมองว่าด้วยเรื่อง “พื้นที่” หรือหากกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเรื่องของ “โอกาส” ในการเข้าถึงและเก็บรับนำมาใช้ ซึ่งเป็นมิติที่ต่อเนื่องกว้างขวางออกไปทั้งในเชิงสังคม เศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งในทางการเมือง ไปในคราวเดียวกัน

กลไกการผลิตของสังคมไทยได้ผ่านประสบการณ์ที่ใกล้เคียงและไม่แตกต่างจากกรณีของผู้ประกอบการในญี่ปุ่น หรือหากกล่าวอย่างเฉพาะเจาะจงลงไปในกรณีของเกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง ซึ่งเคยดำเนินนโยบายมุ่งสู่อุตสาหกรรมเช่นเดียวกับ ประเทศไทยในช่วงทศวรรษ 1970 จนทำให้ได้ชื่อว่าเป็น 5 เสืออุตสาหกรรมใหม่แห่งเอเชีย (Asian Newly Industrialized Countries: A-NICs) มาแล้ว

แต่เมื่อเวลาผ่านไปดูเหมือนจะมีแต่ประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่ถูกทิ้งค้างไว้ข้างหลัง ในขณะที่ประเทศอื่นๆ กำลังเริ่มเข้าสู่บริบทใหม่ของการพัฒนาในลำดับชั้นที่สูงขึ้นไปอีก และห่างออกไปจากความเข้าใจพื้นฐานของกระบวนการผลิตที่ประเทศ ไทยคุ้นเคยเป็นลำดับ

การพัฒนาระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) เป็นสิ่งที่หลายประเทศได้ศึกษาและให้ความสนใจพัฒนาระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างจริงจัง รัฐบาล อังกฤษได้ประกาศแผนพัฒนาในปี 2544 พร้อมทั้งจัดตั้งองค์กรซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีศักยภาพ ขณะที่เกาหลีใต้ ให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้ใหม่จากความคิดสร้างสรรค์ จนปัจจุบันการแพร่หลายของวัฒนธรรมเกาหลีกลายเป็นที่มาของรายได้จากการท่องเที่ยว อาหาร แฟชั่น ดนตรี และภาพยนตร์

สำหรับประเทศไทย รัฐบาลประกาศส่งเสริมแผนพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจสร้างสรรค์และจัดสรรงบประมาณจำนวนรวมกว่า 2 หมื่นล้านบาทเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ของไทยในช่วงระหว่างปี 2553-2555 โดยหวังว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของชาติในอนาคต

กระบวนทัศน์ของการดำเนินเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กำลังก้าวข้ามระบบการผลิตแบบ manufacturing ไปสู่การต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มด้วย content ใหม่ที่ดำเนิน ไปอย่างมีทิศทางและมีกลไกในการผลิตสร้างอย่างเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งหมายถึงการดำเนินธุรกิจภายใต้การศึกษาวิจัยและพัฒนาที่ข้ามพ้นไปสู่บริบทของการเป็นเจ้าของวิทยาการและความรู้ใหม่ ในฐานะที่เป็นเจ้าของสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property) ด้วย

เรื่องราวความเป็นไปของ CJ Group ซึ่งได้บุกเบิกภาพยนตร์แบบ 4 มิติ และกำลังเปิดตลาดเข้าสู่การรับรู้ของสังคมไทยผ่านกลไกของเครือเมเจอร์ อาจให้ภาพที่ชัดเจนขึ้นในเรื่อง creative economy

เป็นเรื่องราวของการสร้างสรรค์จากฐานของการผลิตและวิธีคิดที่มีรากฐานหนาแน่นต่างกัน แต่มีจุดบรรจบที่เอื้อประโยชน์ต่อกันและกัน

บางทีสังคมไทยอาจได้ใช้ประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านี้ก่อนการก้าวเดินครั้งใหม่ ในเส้นทางแห่งการสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจสำหรับอนาคต   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us