Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2554
ความอดอยากจะหมดไป เมื่อคนในสังคมมีความเท่าเทียมกัน             
โดย ศศิภัทรา ศิริวาโท
 


   
search resources

Social




ปัญหาเรื่องความขาดแคลนอาหารและความอดอยากของผู้คนทั่วโลกถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือที่เรียกย่อๆ ว่า FAO) ได้เปิดเผยว่า จากสถิติของปี 2553 มีคนถึง 925 ล้านคนที่ขาดสารอาหารและไม่มีอาหารเพียงพอต่อการรับประทาน ในจำนวนนี้มีคนอยู่ 906 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาและมีภาคเกษตกรรมเป็นภาคเศรษฐกิจหลัก อย่างเช่น ประเทศไทย มาเลเซีย ชิลี เม็กซิโก และเวียดนาม เป็นต้น เรื่องความอดอยากจึงเป็นเรื่องที่ทุกประเทศให้ความสำคัญและช่วยกันหาวิธีแก้ไข

ปัญหานี้ฟังดูแล้วเหมือนจะเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ยาก แต่อันที่จริงแล้วปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรหญิงและชายมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน ก็จะทำให้ปัญหาเรื่องความอดอยากลดลงได้

ปัจจุบันโดยเฉลี่ยมีแรงงานผู้หญิงที่ทำงานในภาคเกษตรกรรมประมาณ 43% ทั่วโลกโดยเฉพาะ ในประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ในละตินอเมริกามีแรงงานผู้หญิงในภาคเกษตรกรรม 20% และมีแรงงานผู้หญิงถึง 50% ด้วยกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกา เรียกได้ว่าแรงงานหญิงเป็นแรงงานหลักในภาคเกษตรกรรมเลยก็ว่าได้ ดังนั้นถ้าผู้หญิงได้รับสิทธิเท่าเทียม กับผู้ชายก็เป็นไปได้ว่าอาจจะช่วยเพิ่มผลผลิตทาง การเกษตรให้เพิ่มมากขึ้นได้

เมื่อเร็วๆ นี้ FAO ได้เปิดเผยว่า ถ้าผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในชนบทซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกรได้รับสิทธิต่างๆ เหมือนกับผู้ชาย เช่น การเป็นเจ้าของที่ดิน การใช้เทคโนโลยี การได้รับบริการทาง การเงิน การตลาด และได้รับการศึกษา สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้เป็นจำนวนมาก และยังช่วยลดจำนวนผู้ที่อดอยากไปทั่วโลกได้เป็นอย่างน้อย 150 ล้านคน

เนื่องจากว่า FAO เชื่อว่าความไม่เท่าเทียมกัน ในสังคมจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตในภาคเกษตร กรรม จึงได้ทำการศึกษาเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างผู้ชายและผู้หญิงจะส่งผลกระทบถึงการพัฒนาทางด้านการเกษตรและความมั่นคงทางด้านอาหาร (agriculture development and food security) หรือไม่

จากการศึกษาในครั้งนี้ FAO พบว่า การได้รับสิทธิไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิงถือว่าเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ช้าและขัดขวางความเจริญก้าวหน้าในทางเกษตร กรรม เพราะว่าผู้หญิงนั้นเป็นแรงงานหลักของภาคเกษตรกรรม และเมื่อไม่ได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกันก็ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรที่ได้รับจากพื้นที่ที่ผู้หญิงเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบนั้นจะมีผลผลิตต่ำกว่าพื้นที่ที่มีผู้ชาย เป็นผู้ดูแล

สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ เกษตรกรหญิงมีผลผลิตน้อยกว่าไม่ใช่เพราะเกษตรกรหญิง ทำงานได้แย่กว่าเกษตรกรชาย แต่เป็นเพราะว่าผู้หญิงไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกันในการขอกู้ยืมเงินมาลงทุนจากธนาคาร การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย การใช้ปุ๋ย และการได้รับโอกาสในการศึกษา เพิ่มเติมหรือได้รับความรู้เพิ่ม

เช่นที่สาธารณรัฐแคเมอรูน (Republic of Cameroon) มีผู้หญิงน้อยกว่า 10% ที่เป็นเจ้าของที่ดิน ทำการเกษตร ทั้งๆ ที่เกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศนี้คือผู้หญิง สาเหตุเพราะทางรัฐบาลให้ผู้หญิงเป็นเจ้าของที่ดินแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และให้ผู้ชายเป็นเจ้าของที่ดินส่วนใหญ่

หรืออย่างที่สาธารณ-รัฐกานา (Republic of Ghana) เกษตรกรหญิงมีปัญหาในเรื่องขาดความรู้ทาง เทคโนโลยี เพราะวิธีการเพาะปลูกและทำงานส่วนใหญ่เกษตรกรหญิงยังใช้มือทำมากกว่าใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย เรียกได้ว่าเริ่มตั้งแต่หว่านเมล็ดจนกระทั่งเก็บเกี่ยว เกษตรกรหญิงล้วนแต่ใช้มือในการทำงานโดยไม่มี การใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย ดังนั้นถ้าหากเกษตรกรหญิงมีโอกาสได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีเหมือนกับผู้ชาย เช่น การขับรถแทรกเตอร์ ก็จะสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้

นอกจากนี้ทางองค์กร International Center for Research on Women (ICRW) ยังออกมายืนยันว่า ข้อมูลที่ FAO กล่าวนั้นเป็นเรื่องจริง เพราะทางองค์กรก็ได้ทำการศึกษาและได้คำตอบเหมือนกัน คือ ถ้าหากเกษตรกรหญิงได้รับสิทธิเท่าเทียมกับเกษตรกรชาย ไม่ว่าจะเป็นการเป็นเจ้าของที่ดิน การได้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพมากกว่าเดิม การใช้ปุ๋ยและเทคโนโลยีเข้าช่วย รวมไปถึงการขอกู้ยืมเงินจากธนาคารมาลงทุน ก็จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นได้

เช่นที่ประเทศเคนยา เกษตรกรหญิงที่มีระดับ การศึกษาเท่ากับเกษตรกรชาย มีโอกาสได้เรียนรู้เทคโนโลยีเช่นเดียวกับผู้ชาย และมีประสบการณ์ในการทำงานและใช้อุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว ก็จะสามารถเพิ่มผลผลิตได้ถึง 22%

ดังนั้น ถ้าหากว่าผู้หญิงสามารถได้รับสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายในสังคม FAO และ ICRW ก็เชื่อว่าผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรหญิงก็จะเพิ่มขึ้นประมาณ 20-30% ทำให้มีผลผลิตทางการเกษตรเพียงพอต่อความต้องการของประชากรทั่วโลก และปัญหาเรื่องของความอดอยากก็จะลดลงอย่างเห็นได้ชัด

เรื่องความเสมอภาคในภาคเกษตรกรรมระหว่างชายหญิง จึงเป็นเรื่องที่ทั้งสององค์กรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ทาง FAO จึงได้จัดตั้งหน่วยงาน Gender, Equity and Rural Employ-ment ขึ้นมาในปี 2550 โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือส่งเสริมความเท่าเทียมกันในสังคมในช่วงระยะเวลา 10 ปีนี้ โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2552

นอกจากนี้ FAO ได้ออกมาเรียกร้องให้แต่ละ ประเทศมีนโยบายสนับสนุนความเท่าเทียมกันในสังคมระหว่างผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่อาศัยและทำงานในต่างจังหวัด FAO ต้องการให้รัฐบาลในแต่ละประเทศลดความไม่เท่าเทียมกันด้วยการใช้กฎหมายเป็นตัวบังคับให้ผู้หญิงได้รับสิทธิเหมือนกับผู้ชายในสังคม เพราะในหลายๆประเทศนั้น ผู้หญิงยังไม่ได้รับสิทธิในการซื้อ ขาย หรือรับมรดกที่ดิน ไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคาร ขอ กู้ยืมเงิน แม้กระทั่งทำสัญญาซื้อขายผลผลิตทาง การเกษตร ในขณะเดียวกันบางประเทศได้ผ่านกฎหมายเหล่านี้แล้วแต่ว่าผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในชนบท ไม่ได้รับรู้ถึงสิทธิเหล่านี้ ทำให้เกษตรกรหญิงส่วนใหญ่ขาดโอกาสที่จะได้ใช้สิทธิเหล่านี้ในการพัฒนา การเกษตรและเพิ่มผลผลิตให้กับพื้นที่ของตนเอง

ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา FAO ได้สนับสนุน 30 ประเทศให้ผ่านนโยบายที่ให้สิทธิและเสรีภาพผู้ชายและผู้หญิงเท่าเทียมกันในสังคม เช่น สาธารณ-รัฐบอตสวานา (Republic of Botswana) และสาธารณรัฐนามิเบีย (Republic of Namibia) ได้นำนโยบายของ FAO มาใช้ด้วยการลดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในการเข้าถึงทรัพยากรการผลิต ซึ่งรวมไปถึงการเป็นเจ้าของที่ดิน การได้รับบริการจากธนาคาร และการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ หรืออย่างที่ประเทศชิลี FAO ได้ส่งตัวแทนของ องค์กรเข้าไปให้คำแนะนำกับรัฐบาลชิลีใน การออกนโยบายทาง การเกษตรที่จะทำให้ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสที่เท่าเทียม เช่น การผ่านนโยบายให้เกษตรกรหญิงและชายมีโอกาสที่เท่ากันในการได้รับความรู้เพิ่มเติมในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร หรืออย่างที่ประเทศจีน FAO ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปให้คำแนะนำในการใช้ข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับเรื่องเพศในการวางแผนนโยบายต่างๆ ในประเทศจีน

FAO ยังได้วางแผนไว้ว่าในอีก 8 ปีข้างหน้านี้ FAO จะสนับสนุนนโยบายและโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสิทธิที่เท่าเทียมกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิง โดยจะชี้ให้ประเทศสมาชิกในองค์การสหประชาชาติได้เห็นถึงผลกระทบที่มีในแต่ละประเทศและในโลกถึงการที่ผู้ชายและผู้หญิงไม่ได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกันในสังคม และสำหรับประเทศที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้แล้ว FAO ก็จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปให้คำแนะนำในด้านต่างๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละประเทศเหมือนกับที่ทำมาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ FAO ยังได้วางแผนที่จะขยายการให้ความสนับสนุน ด้วยการฝึกอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศในสังคมให้กับพนักงานของ FAO ให้มีความเข้าใจถึงปัญหานี้มากขึ้น และยังทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของเพศเพื่อวิเคราะห์ว่า การใช้สถิติทางเพศคู่ไปกับการออกนโยบายนั้นมีผลดีเช่นไร และช่วยลดปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในสังคมได้มากน้อยเพียงใด

เมื่อวันสตรีสากลที่ผ่านมา Jacques Diouf ประธาน FAO ยังได้กล่าวย้ำถึงปัญหาเรื่องนี้ว่า การสิ้นสุดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงในภาคเกษตร-กรรมนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการที่จะลดปัญหาเรื่องความหิวโหยทั่วโลก Jacques ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “Gender equality is not just a lofty ideal, it is also crucial for agricultural development and food security” ซึ่งหมายความว่า ความเท่าเทียมกันในสังคมระหว่างผู้ชายและผู้หญิงนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่อุดมคติ แต่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาทางด้านการเกษตรและความมั่นคงทางด้านอาหาร

ถ้าหากว่าการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงในสังคมสามารถยุติลงได้จริงๆ นอกจากเราจะมีผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นแล้ว เรายังสามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในชนบท และทำให้พวกเธอมีอาหารการกินที่ดีขึ้น มีสุขภาพที่สมบูรณ์ และยังได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นได้อีกด้วย

เรื่องสิทธิที่เท่าเทียมกันทางการเกษตรฟังดูแล้วอาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยเท่านั้น เพราะว่าผู้หญิงที่ทำงานอยู่ในภาคอื่นๆ ก็ยังไม่ได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกับผู้ชาย แต่ถ้าหากว่ารัฐบาลหันกลับมาให้ความสนใจกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะประเทศที่มีภาคเกษตรกรรมเป็นเศรษฐกิจภาคหลักของประเทศ คงจะเป็นเรื่องดีไม่น้อยถ้าการส่งเสริมให้เกษตรกรหญิงและชายมีสิทธิเท่าเทียมกันและมีผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น

นอกจากเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว เศรษฐกิจของประเทศก็จะดีขึ้นไปด้วย ยังสามารถช่วยลดปัญหาเรื่องของความอดอยากทั่วโลกได้อีกด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us