Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2529
ในวันที่ ดร.โอฬาร ไชยประวัติต้องสูญเสีย             
 


   
search resources

โอฬาร ไชยประวัติ




ค่ำวันพุธที่ 19 พฤศจิกายน 2529 ณ ศาลาสอง วัดมกุฎกษัตริยาราม กลิ่นดอกไม้สดจากพวงหรีดนับร้อยฟุ้งขจรทั่วอาณาบริเวณแห่งนั้น บรรยากาศบ่งบอกให้รู้ถึงการสูญเสียของบุคคลบางคน

ท่ามกลางผู้คนชุดสีดำ - ขาว ที่มาแสดงความคาราวะต่อผู้เสียชีวิตแน่นขนัดไปหมดนั้น ดร. โอฬาร ไชยประวัติ รองผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ยืนต้อนรับแขกเหรื่อที่เดินเข้ามาในงานอย่างนอบน้อมและพยายามเก็บงำความเศร้าโศก

"คุณพ่อท่านเสียด้วยโรคมะเร็งที่เต้านม ท่านป่วยมาเกือบ 5 ปีแล้ว และก็มาเสียเอาเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ที่ผ่านมานี้เอง" ดร. โอฬาร ไชยประวัติ บอกกับ "ผู้จัดการ" หลังจากที่ได้ทักทายแสดงความเสียใจกันพอสมควรแล้ว

จากคำบอกเล่าของ ดร. โอฬาร ไชยประวัติ ทำให้ทราบว่าพื้นเพดั้งเดิมของนักบริหารหนุ่มผู้นี้เป็นคนจังหวัดแพร่

"คุณพ่อท่านมีอาชีพค้าขายอยู่ที่จังหวัดแพร่ กิจการก็ไม่ได้ใหญ่โตนะฮะ เป็นพ่อค้าธรรมดาขนาดกลาง ท่านปลดเกษียณแล้วก็มาอยู่กับลูก ๆ ที่กรุงเทพฯ" ดร. โอฬาร ไชยประวัติ เล่าถึง ลือ ไชยประวัติ บิดาผู้สูญเสีย ในขณะที่แขกเหรื่อเริ่มเดินเข้ามาหนาตาเพิ่มขึ้น

"วันนี้โรงงานน้ำตาลมิตรผลเขาเป็นเจ้าภาพ พี่ชายผม (สุวิช ไชยประวัติ) เขาทำงานอยู่ที่นั่น" ดร. โอฬาร ไชยประวัติ กล่าว

โรงงานน้ำตาลมิตรผลเป็นโรงงานน้ำตาลในเครือของกลุ่มบ้านโป่ง และก็แน่นอนที่สุด สุวิช ไชยประวัติ พี่ชายของ ดร. โอฬาร ไชยประวัติ อดีตนักเรียนทุนรุ่นบุกเบิกของธนาคารแห่งประเทศไทยผู้นี้ย่อมเป็นลูกจ้างมีอันดับของ วิบูลย์ ผาณิตวงศ์ พยัคฆ์หนุ่มลำพองแห่งค่ายบ้านโป่งอย่างมิเป็นอื่นไปได้

ผู้คนเริ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

เริงชัย มะระกานนท์ อดีตนักเรียนทุนรุ่นที่ 2 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (รุ่นเดียวกับ ดร. โอฬาร ไชยประวัติ) และปัจจุบันเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย เดินเข้ามาในสูทชุดดำพร้อมคู่ชีวิตที่ชื่อ ขนิษฐา มะระกานนท์ หลานสาวของอดีตรัฐมนตรีคลัง สมหมาย ฮุนตระกูล

เมื่อกล่าวถึงนักเรียนทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วก็ขออธิบายกันสักนิดหนึ่งว่า นักเรียนทุนรุ่นที่ 2 ของแบงก์ชาติตามนโยบายของ ดร. ป๋วย อึ้งภากรณ์ ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในยุคนั้น มีเพียง 3 คนเท่านั้นคือ เริงชัย มะระกานนท์ ซึ่งได้ทุนไปเรียนที่ประเทศญี่ปุ่น จรุง หนูขวัญ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ทุนไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ และคนสุดท้ายก็คือ ดร. โอฬาร ไชยประวัติ ได้ไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา

ส่วน ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในปัจจุบันนี้ เป็นรุ่นน้องของ ดร. โอฬาร ไชยประวัติ อีกรุ่นหนึ่ง ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นนักเรียนทุนของแบงก์ชาติรุ่นที่ 3 และได้ไปเรียนที่ประเทศเนเธอร์แลนด์

ดร. โอฬาร ไชยประวัติ ขอตัว "ผู้จัดการ" เพื่อไปต้อนรับแขกเหรื่อที่ทยอยเข้ามามากขึ้นทุกขณะ ซึ่งมากต่อมากล้วนเป็นผู้คนที่รู้จักกันดีในวงการธนาคารและวงการธุรกิจ

คนจากแบงก์ชาติหลายคนเริ่มเดินเข้ามา ก็ไม่น่าแปลกใจอะไร เนื่องจากคนเหล่านี้เคยร่วมงานกับ ดร. โอฬาร ไชยประวัติ แทบทั้งสิ้น ดร. โอฬาร ไชยประวัติ ทำงานชดใช้ทุนอยู่ที่แบงก์ชาตินานถึง 11 ปี ทั้งลูกน้องและเพื่อนฝูงย่อมมากเป็นธรรมดา

ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ หัวหน้าโดยตรงของ ดร. โอฬาร ไชยประวัติ เดินเข้ามาทักทาย ดร. โอฬาร ไชยประวัติ และญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตอย่างสนิทสนม ก็ไม่ทราบว่าเป็นการ "อู้คำเมือง" กันหรือเปล่า เพราะฟังไม่ถนัด

ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ทักทายเจ้าภาพได้สักครู่หนึ่ง ยังไม่ทันที่ "ผู้จัดการ" จะเข้าทักทายบ้าง ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ผู้บริหารคนสำคัญแห่งบริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์ ก็ก้าวเข้ามา พลางสะกิด ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ แล้วทั้งสองก็เดินเข้าไปนั่งที่เก้าอี้เหล็กแถวหลังสุด ปักหลักสนทนากันด้วยเสียงกระซิบแผ่ว

พระยังไม่เริ่มสวด แต่ก็ใกล้เวลาเต็มทีแล้ว

ผู้คนที่เดินเข้ามา เริ่มที่จะเบาบางลงเป็นลำดับ ตรงกันข้ามกับจำนวนเก้าอี้ที่หาที่ว่างแทบไม่ได้

เพียงครู่เดียว ชายหนุ่มกลางคนในชุดสูทลายทางก็ก้าวเข้ามาด้วยใบหน้าที่ราบเรียบ แน่นอนที่สุดเขาเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากคนที่ "ผู้จัดการ" เคยให้ฉายาเอาไว้ว่า พยัคฆ์หนุ่มลำพองแห่งค่ายบ้านโป่ง

วิบูลย์ ผาณิตวงศ์ นั่นเอง

และดังที่บอกไว้ตอนต้นพยัคฆ์ผู้นี้ เป็นเจ้าของโรงงานน้ำตาลมิตรผล ซึ่ง สุวิช ไชยประวัติ พี่ชาย ดร. โอฬาร ไชยประวัติ ทำงานอยู่

ทันทีที่วิบูลย์ปรากฏตัวผู้ที่ปราดเข้าไปทักทายจึงเป็นสุวิช ไชยประวัติ

ซึ่งก็เป็นธรรมดาของเจ้าของกับลูกจ้างที่ลูกจ้างจะต้องมีท่าทีคาราวะ

วิบูลย์ก้าวเดินอย่างสง่าต่อไปเพื่อทักทาย ดร. โอฬาร ผู้บริหารแบงก์ที่เผอิญเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของกลุ่มบ้านโป่ง

คราวนี้ดูเหมือนท่าทีคาราวะระหว่างแขกกับเจ้าภาพจะสลับตำแหน่งกันอย่างที่พอจะสังเกตได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us