Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2530
"ต้องผ่าตัดโครงสร้างการทำงานของกรมบังคับคดีจึงจะมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น"             
 


   
www resources

โฮมเพจ กรมบังคับคดี

   
search resources

กรมบังคับคดี
Political and Government
Law




คดีที่ทางกรมบังคับคดีจะเข้าไปดำเนินการตามคำสั่งศาลปี 2 ประเภท คือ คดีล้มละลาย และคดีแพ่ง

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ คดีล้มละลายและคดีแพ่งเกิดใหม่มีมากขึ้น เช่น ในปี 2529 มีคดีแพ่งและคดีล้มละลายเกิดใหม่เพิ่มขึ้นกว่าปี 2528 ประมาณ 27% (ดูตารางคดีเกิดใหม่) สาเหตุใหญ่เนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา การหมุนเวียนของเงินไม่ดี สังเกตได้ว่าคดีล้มละลายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นคดีเกี่ยวกับเงินทุนหลักทรัพย์และแชร์

เงินทุนหลักทรัพย์เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายหุ้นต่าง ๆ การที่หุ้นขายไม่ออกแสดงว่า ต้องเกี่ยวกับความฝืดของกระแสเงินตราอยู่ไม่น้อยทีเดียว คดีเงินทุนหลักทรัพย์ที่ล้มไปและอยู่ในระหว่างการจัดการของกรมบังคับคดีนั้นมีอยู่เกือบ 20 คดี บางคดีเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2523 เริ่มตั้งแต่ ราชาเงินทุน เสรีสากลธนกิจ…จนถึงเงินทุนเยาวราช พัฒนาเงินทุน ฯลฯ

ส่วนคดีเกี่ยวกับแชร์ ซึ่งหมายถึงแชร์รายใหญ่ ๆ ที่ระดมทุนจากประชาชนจำนวนมาก บางวงก็เอาทุนสำหรับผู้ที่จะมาเล่นเป็นสมาชิกในภายหลังให้กับผู้เป็นสามชิกอยู่ก่อน และขยายวงออกไปตามลำดับ ซึ่งอันนี้เกิดจากความโลภของลูกแชร์อยากได้ผลประโยชน์งาม โดยตนเองไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรมาก และก็เป็นโอกาสของพวกหลอกลวงในการรวบรวมความโลภความต้องการของลูกแชร์ทั้งหลายนี้เข้ามารวมกัน พอหมุนเงินไม่ทันก็ต้องล้มไป คดีแชร์ที่สำคัญ ๆ มีอยู่ 9 เรื่อง ตั้งแต่คดี นางจินตนา แสงเรือง…จนถึงแม่นกแก้ว แม่ชม้อย แชร์บริษัทชาร์เตอร์ อินเตอร์เรคชั่น เป็นต้น

ในช่วงปี 2529 ทางกรมฯ มีงานบังคับคดีล้มละลายและคดีแพ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2529 ประมาณ 83% จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น แต่การเข้าไปจัดการบังคับคดีและทุนทรัพย์ให้ได้นั้นเป็นไปได้น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนคดีและทุนทรัพย์ที่เกิดขึ้น (ดูกราฟประกอบ)

เนื่องจากอัตรากำลังคนของกรมฯ ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ในทันทีตามความต้องการของงานที่เพิ่มขึ้นอัตรากำลังคนของกรมปัจจุบันมีจำนวน 300 กว่าคนนั้นเป็นอัตรากำลังที่เหมาะสมกับจำนวนคดีเมื่อประมาณปี 2502-2503 แต่ในขณะนี้อย่างเมื่อปี 2529 เพียงคดีแชร์แม่ชม้อยที่ศาลสั่งล้มละลายคดีเดียวก็มีจำนวนเจ้าหนี้ที่ทางกรมฯ ต้องทำการสอบสวนและจัดสรรให้ได้รับส่วนแบ่งในการชำระหนี้ เป็นจำนวนถึง 17,703 ราย แม่นกแก้วอีกประมาณ 13,000 กว่าราย และยังมีรายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เพราะเมื่อเป็นคดีล้มละลายแล้วความสำคัญไม่ได้อยู่ที่จำนวนคดีที่เกิดขึ้นที่ศาลเท่านั้น จะอยู่ที่คำขอชำระหนี้ด้วย เพราะลูกหนี้คนหนึ่ง ๆ จะมีเจ้าหนี้มากมาย ทำให้งานที่ทางกรมฯ ต้องเข้าไปจัดการมีเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะการเข้าไปสอบสวนจัดสรรส่วนแบ่งในการชำระหนี้ให้แก่ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ต่าง ๆ

ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่สามารถเพิ่มกำลังคนได้อย่างทันทีเพื่อให้เหมาะสมกับงานที่เพิ่มขึ้น การแก้ปัญหาอีกทางหนึ่งที่น่าจะทำได้คือ การปรับโครงสร้างการทำงานของกรมบังคับคดี

ในเวลานี้โครงสร้างของกรมฯ มีการแบ่งเป็นกองต่าง ๆ ตามลักษณะหน้าที่การงาน เช่น กองพิทักษ์ทรัพย์ทำหน้าที่เกี่ยวกับสำนวนกลาง คือเมื่อได้รับคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จากศาลก็ดำเนินการแจ้งให้เจ้าหนี้เจ้าหนี้มารับขอชำระหนี้ ต้องรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มา ถ้าลูกหนี้มีกิจการอะไรที่ดำเนินอยู่และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องการทรัพย์สินนั้นมาเพื่อชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ต้องโอนสำนวนไปให้กองจัดการทรัพย์สินดำเนินการ เมื่อกองนี้ได้รับเรื่องแล้วอาจถูกคัดค้านหรือโต้แย้งจากบุคคลภายนอกอื่น ๆ กองจัดการทรัพย์สินก็ต้องส่งเรื่องไปให้กองดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาไปดำเนินการทางศาลต่อ ซึ่งความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกองพวกนี้อาจทำให้เกิดความล่าช้าขึ้นได้ ทั้งความเห็นในแต่ละเรื่องอาจไม่ตรงกัน และในกรณีที่หาข้อยุติไม่ได้ในระดับกองก็ต้องส่งเรื่องให้รองอธิบดีหรืออธิบดีชี้ขาดแล้วจึงจะดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งทำให้งานล่าช้าไม่ทันใจประชาชนมากยิ่งขึ้น

ถ้าได้ปรับโครงสร้างของกรมใหม่ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ละคน ได้รับผิดชอบงานล้มละลาย ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการเมื่อได้รับสำนวนมาให้ดำเนินการตั้งแต่แรกจะมีการจัดการทรัพย์สิน รวบรวมทรัพย์สินอย่างไร ถ้ามีกรณีพิพาทกับบุคคลภายนอกจะขึ้นศาลก็ไปศาลอย่างนี้จะเร็วขึ้นไม่ต้องไปยุ่งยากกับกองอื่น ๆ งานจะสามารถทำให้เสร็จตั้งแต่ต้นจนจบได้ภายในคนเดียว กองเดียว ถึงแม้จะมีการทำอะไรผิดพลาดไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือถูกต้องตามกฎหมายแต่ไม่เป็นที่พอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้เกี่ยวข้องเหล่านั้นก็มีสิทธิตามกฎหมายล้มละลายที่จะยื่นคัดค้านต่อศาล ให้ศาลชี้ขาดได้ โดยวิธีนี้ก็ไม่ต้องให้รองอธิบดีหรืออธิบดีชี้ขาดให้เสียเวลา การปรับโครงสร้างลักษณะนี้การทำงานจะเร็วขึ้น

ขณะนี้ทางกรมฯ กำลังทดลองโครงสร้างใหม่นี้อยู่ เท่าที่ผ่านมาเกือบปีก็เป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว ซึ่งมีผลให้การบังคับคดีล้มละลายและคดีแพ่งดำเนินไปได้สะดวกขึ้น และเท่าที่เทียบยอดเงินที่บังคับได้ก่อนใช้โครงสร้างใหม่กับเมื่อทดลองใช้โครงสร้างใหม่แล้ว พบว่าเงินที่บังคับได้เมื่อใช้โครงสร้างใหม่เพิ่มมากขึ้น เพราะการยึดทรัพย์สินมาแล้วนำมาขายมันคล่องตัวมากขึ้น การที่จะเรียกทรัพย์มาอยู่ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้รวดเร็วขึ้นขายแล้วแปลงเงินได้เร็วขึ้น

สรุปได้ว่า การดำเนินงานของกรมบังคับคดีจะรวดเร็วทันใจประชาชนได้ ในภาวะที่คดีแพ่งและคดีล้มละลายที่ทางกรมต้องเข้าไปบังคับมากขึ้น ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่สามารถเพิ่มอัตรากำลังคนได้ในทันทีทันใด คือการปรับโครงสร้างการทำงานของกรมฯ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us