Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2554
แต่งบ้านตามใจฉัน             
 


   
search resources

Interior Design




เจ้าของบ้านบางคนจ้างมัณฑนากรมาแต่งบ้านให้เพื่อดึงดูดความสนใจ ขณะที่อีกหลายคนต้องการความซับซ้อน บ้างเพียงอยากให้ผ้าม่านเข้าชุดกับพรมเท่านั้น สำหรับ Laura Kofoid เธอต้องการเพียง “ความสุข”

“ดิฉันอยากมีประกายตาเปี่ยมสุขทุกวัน ต้องการเพียงได้ยิ้มและพูดว่า “วิเศษจริงๆ”

เป็นโจทย์สั้นๆ แต่ท้าทายที่ Melanie Elston มัณฑนากรสาวได้รับจาก Laura หน้าที่ของเธอคือ รวมอพาร์ตเมนต์สองห้อง ติดกัน ให้กลายเป็นบ้านสำหรับครอบครัวที่ประกอบด้วย Laura กับ David Ricci ผู้สามีและลูกๆ วัย 13 กับ 8 ปี

คุณแม่ลูกสองยังให้รายละเอียดเพิ่มเติมอย่างตรงไปตรงมาว่า “ดิฉันต้องการความมีชีวิตชีวา ความเบิกบาน และสีสัน แต่ต้องไม่มีสีเบจเด็ดขาด”

พวกเขาได้พิสูจน์ถึงความเชื่อมั่นในการสร้างสีสันให้บ้านอย่างไม่ต้องเกรงใจใคร เริ่มจากการบุเก้าอี้ไม้มะฮอกกานีในห้องอาหารด้วยผ้าพิมพ์ลายเสือดาวสีส้ม ห้องทำงานที่เน้นสีขาว-ดำเป็นหลักดูสดใสขึ้นทันตาเมื่อติดม่านหน้าต่างสีเหลืองอ่อน ส่วนห้อง นั่งเล่นให้ความรู้สึกเบิกบานเต็มที่เมื่อทาผนังด้วยสีน้ำเงินปนเขียว ขณะที่ห้องสันทนาการของครอบครัวใช้เฉดสีอย่าง “บ้าระห่ำ” คือสี “ฟักทอง”

เบื้องหลังที่คนครอบครัวนี้ยึดปรัชญาการออกแบบอย่างไม่สนใจว่าใครจะคิดอย่างไรนั้น มาจากประสบการณ์ที่ David เคยป่วยหนักนั่นเอง หลังแต่งงานได้ไม่นาน เขาป่วยด้วยโรคเนื้องอกในสมองถึงสองครั้ง แต่รักษาจนหายขาดในช่วงเจ็ดปีที่ผ่านมา

Laura อธิบายเหตุผลเบื้องลึกเกี่ยวกับงานออกแบบตกแต่ง ที่ทำให้ทุกคนตะลึงและทึ่งว่า

“ทุกอย่างผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ทั้งการหาย จากโรคร้ายของ David การแต่งบ้านของเรา และวิถีชีวิตของเรา เวลาสวดมนต์ ดิฉันอธิษฐานเพียงอย่างเดียว คือขอให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง หลายคนอาจไม่ซาบซึ้ง แต่เราเผชิญกับความเจ็บป่วยมาแล้วอย่างสาหัส ดังนั้น ถ้าคุณชอบพรมลายเสือดาว จงเชื่อมั่นที่จะปูในห้องทำงานของคุณ อย่ารีรอที่จะแสดงออก”

Laura ยังนำปรัชญาแห่งความสุขมาใช้กับธุรกิจรับตัดเย็บกระเป๋าถือที่เธอเป็นเจ้าของร่วมด้วย แม้แต่ชื่อกิจการก็ยังบ่งบอกถึงความสุขสนุกสนานคือ “Laudi Vidni” (มาจากการอ่านคำว่า ‘individual’ กลับหลังนั่นเอง) เธอเล่าอย่างอารมณ์ดีว่า

“เมื่อลูกค้าเริ่มเครียดเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกแบบ ดิฉันจะพูดว่า ‘มันก็แค่กระเป๋าใบหนึ่ง ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของคุณนะ อย่าเครียดเลยค่ะ ทำใจให้สบาย’ เวลามาออกแบบตกแต่ง บ้านหลังนี้ ดิฉันคิดอย่างเดียวกัน ควรเป็นเรื่องน่าสนุกมากกว่า”

เมื่อรับทำโครงการนี้ มัณฑนากรสาวอย่าง Elston จึงรู้สึกโชคดีอย่างบอกไม่ถูกที่มีโอกาสคิดนอกกรอบ “เช่น เราไม่ต้องมีโซฟาตัวใหญ่ในห้องนั่งเล่น สิ่งสำคัญคือต้องให้ทั้งห้องสว่าง มีแสง ส่องเข้ามาเต็มที่ เก้าอี้หลายตัวทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางได้อย่างดี นอกจากจะให้ความรู้สึกโปร่งเบาแล้ว ยังไม่เทอะทะด้วย”

ห้องสันทนาการของครอบครัวยึดสถาปัตยกรรม รูปแบบห้องสมุดของอังกฤษที่งามสง่า ไม้บุผนังรูปทรงเรขาคณิตทำหน้าที่ซ่อนเครื่องรับโทรทัศน์ที่ตั้งอยู่เหนือเตาผิง ที่สำคัญคือสี “ฟักทอง” ที่ใช้ทาผนัง ซึ่ง Elston อธิบายว่า

“ห้องนี้รับแสงแดดที่สะท้อนจากทะเลสาบมิชิแกนเข้ามาจ้ามาก จึงจำเป็นต้องทาผนังด้วยสีเข้มดูดซับเอาไว้ ที่สำคัญสีเรียบๆ ดูจะน่าเบื่อเกินไปสำหรับสามีภรรยาคู่นี้”

สำหรับลูกวัยซนทั้งสอง พวกเขาสนุกสนานกับการเล่นซน อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน พอเหนื่อยล้าได้ที่ก็จะเข้ามาในห้องสันทนาการ แล้วนั่งแผ่พักเหนื่อยบนเก้าอี้นวมตัวมหึมาที่มีพนักพิงหลังมีปีกออกมาสองข้าง และตั้งขนาบเตาผิงทั้งสองด้าน

Elston เล่ารายละเอียดของเก้าอี้นวมสองตัวนี้ว่า

“ด้านนอกของเก้าอี้บุด้วยผ้าลายดอกสีชมพูเข้มสวยงาม ส่วนด้านในบุด้วยผ้าสักหลาดลายทางเพื่อความคงทน”

ห้องสันทนาการยังมีพรมสีม่วงผืนใหญ่ที่มีขนปุยยาวไว้เป็นที่เกลือกกลิ้งยอดนิยมของเด็กๆ อีกจุดหนึ่ง

Laura ยอมรับว่า เด็กเล็กๆ เล่นซ่อนหาบนพรมผืนนี้ได้สบายๆ “ตอน Elston เอาพรมมาให้ดู เราหัวเราะชอบใจพร้อมกับบอกว่า ‘วิเศษสุด’ คุณเกลือกกลิ้งบนพรมได้อย่างสบายๆ มันนุ่มเท้าอย่าบอกใครเชียว”

ที่เห็นว่าห้องเล่นเกมทาสีทองเมทัลลิกนั้น เหตุผลแท้จริงไม่ได้อยู่ที่ต้องการความวาวมันอะไรเลย Elston เฉลยความลับของเธอว่า

“สีทองนี่ถือเป็นสีใกล้เคียงสีเบจที่สุด แต่ไม่ใช่สีเบจแน่นอน อันที่จริงห้องนี้เป็นเหมือนห้องพักที่อยู่ระหว่างห้องสันทนาการอันสุดแสนจะมีชีวิตชีวากับพรมลายม้าลายในห้องทำงาน และห้องบิลเลียดที่มีผนังติดวอลล์เปเปอร์ลวดลายซับซ้อน”

เมื่อเข้ามาอยู่ในบรรยากาศของบ้านที่ทุกอณูมีแต่ความน่าสนุกตื่นเต้น คุณมีสิทธิคาดหมายว่า ห้องนอนใหญ่น่าจะให้ความรู้สึกสุขสงบอย่างนิกายเซน ถ้าอย่างนั้น คุณคิดผิดถนัด

Laura บอกอย่างภาคภูมิว่า

“เราไม่ได้คิดถึงความสงบอะไรทั้งสิ้น”

เพราะวอลล์เปเปอร์ลวดลายจีนแลดูมีชีวิตชีวาสะท้อนภาพวาดบรรพบุรุษจีนที่ประดับในห้องนั่งเล่นได้อย่างวิเศษ ที่เป็นอย่างนั้นเพราะลูกสาวบุญธรรมคนเล็กวัย 8 ขวบของทั้งสองมีเชื้อสายจีนนั่นเอง “เราได้แต่ยิ้มเมื่อคิดถึงลูกสาวตัวน้อยคนนี้”

บ้านหลังนี้บรรลุเป้าหมายอย่างสมบูรณ์ เพราะสีสันที่พวกเขาบรรจงแต่งแต้มลงไปในทุกตารางนิ้วของบ้านโดยไม่ใส่ใจว่าใครจะคิดอย่างไรนั้น ได้สะท้อนความสุขอย่างแท้จริงและครบถ้วนของสมาชิกในครอบครัว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us