Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2554
Smart Phone as a Credit/Debit Card             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 


   
www resources

โฮมเพจ วีซ่า

   
search resources

Smart Phone
วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล




เป็นเรื่องน่าแปลกใจมากที่มีข่าวว่า วีซ่า ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ของระบบการจ่ายเงิน ซึ่งเราๆ คุ้นเคยกันดีกับสัญลักษณ์บนบัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรเดบิตที่เราใช้กันอยู่นั้น เพิ่งประกาศถึงการพัฒนาระบบโดยจะเพิ่มระบบที่ทำให้สามารถรองรับการจ่ายค่าสินค้าและบริการผ่านอุปกรณ์มือถือทั้งหลาย โดยเฉพาะการทำให้ระบบของวีซ่าสามารถรองรับการทำงานร่วมกับสมาร์ทโฟน ซึ่งจะทำให้สมาร์ทโฟนกลายเป็นบัตรเครดิตอีกใบหนึ่งไปในตัว

น่าแปลกที่ว่า เรื่องนี้ไม่น่าจะใช่เรื่องใหม่ในวงการการเงินและโทรศัพท์มือถือแน่นอน แต่สำหรับประเทศสหรัฐ อเมริกาแล้ว นี่นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของวงการการเงินสหรัฐอเมริกา

ปกติแล้ว เวลาเราซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านเว็บใดๆ ด้วยบัตรเครดิตของวีซ่าหรือระบบใดๆ ก็ตาม เราจะต้องใส่หมายเลขบัตร 16 หลัก รหัสไปรษณีย์ หรือที่อยู่สำหรับส่งใบเก็บเงิน รวมถึงวันหมดอายุ และหมายเลขรหัสสามหลักหลังบัตร รวมถึงใส่ชื่อของเรา ซึ่งดูจะเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและวุ่นวายพอสมควร และเสียเวลา ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะถ้าต้องซื้อสินค้าหลายๆ ชิ้นจากหลายๆ เว็บไซต์ แม้ดูเหมือนจะทำให้ดูปลอดภัยมากพอก็ตามที

แต่ด้วยระบบใหม่ของวีซ่า สิ่งที่เราต้องการก็แค่อีเมลแอดเดรส หรือชื่อล็อกอิน และพาสเวิร์ดสำหรับการจ่ายเงินผ่านระบบ กระเป๋าเงินแบบใหม่ ซึ่งลิงค์เข้ากับระบบบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตของวีซ่า ซึ่งระบบ นี้จะทำให้วีซ่าสามารถร่วมมือกับผู้ขายสินค้าในการมอบโปรโมชั่นสุดพิเศษต่างๆ ให้กับเจ้าของบัตรได้ นอกจากนี้วีซ่ายังประกาศว่า ระบบใหม่จะสนับสนุนการจ่าย เงินผ่านเทคโนโลยี NFC หรือ near-field communication โดยแอพพลิเคชั่นของวีซ่า ที่เรียกว่า Visa payWave ระบบนี้จะทำให้โทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะสมาร์ทโฟน กลายเป็นบัตรเครดิตอีกใบหนึ่ง

Near-field communication หรือ NFC เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารในระยะทางที่สั้นๆ (เพียงไม่กี่เซนติเมตร) และความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลก็ไม่ได้สูงมากนักแต่เป้าหมายของการนำ NFC มาใช้ก็เพื่อมา แทนที่การใช้ธนบัตร, เหรียญกษาปณ์, ตั๋ว และคีย์การ์ดต่างๆ โดยนำการ์ดแบบไร้สัมผัส (contactless) มาผสมผสานกับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ใดๆ

อย่างไรก็ตาม ระบบในลักษณะนี้สำหรับเราที่ติดตามการเคลื่อนไหวในวงการไอทีและอินเทอร์เน็ตอาจจะดูไม่ใช่เรื่องใหม่เอี่ยมอ่องเท่าไร เพราะจริงๆ แล้วเริ่มมีการเอาระบบการจ่ายเงินลักษณะนี้มาใช้ในประเทศแถบเอเชียหลายๆ ประเทศ และเป็นที่นิยมมากในทวีปยุโรปมานานพอสมควรแล้ว แต่สำหรับตลาดอเมริกากลับกลายเป็นเรื่องใหม่ เพราะระบบการจ่ายเงินของอเมริกาถูกผูกขาดโดยบริษัทเพียงไม่กี่แห่ง

แต่ทุกวันนี้บริษัทนอกกลุ่มที่ผูกขาด กลับกลายเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ที่พยายามนำระบบลักษณะนี้เข้ามาสู่อเมริกา ไม่ว่าจะเป็นกูเกิ้ล แอปเปิ้ล และ PayPal โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกจากการใช้บัตรพลาสติก โดยยังสามารถจ่ายเงินได้ง่ายๆ แต่มีความปลอดภัยผ่านการใช้เทคโนโลยี NFC ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่วีซ่าไม่สามารถมองข้ามได้

สำหรับการใช้เทคโนโลยี NFC นี้ ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเอาบัตรเครดิตหรือไปรูดผ่านเครื่องอีกแล้ว ที่สำคัญไม่ต้องมีการสัมผัสระหว่างบัตรกับเครื่องอ่านใดๆ โดยเครื่องอ่านจะดึงข้อมูลจากชิปตัวเล็กๆ ซึ่งเล็กมากพอที่จะอยู่ในซิมการ์ดของโทรศัพท์มือถือหรือแม้แต่เป็นสติ๊กเกอร์แปะที่ตัวเครื่องสมาร์ทโฟนก็เป็นได้

นอกจากนี้เทคโนโลยีนี้ได้ก้าวหน้าไปมากในช่วงเวลาที่ผ่านมานับจากมีการค้นคิดเทคโนโลยี NFC ขึ้นมา โดยวีซ่าได้ทำเป็นชิปอันจิ๋วมาใช้กับระบบ payWave โดยใส่ไว้ในบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต, ใส่ในอุปกรณ์แกดเจ็ดต่างๆ หรือในโทรศัพท์มือถือ เวลาจ่ายเงิน ก็แค่เอาบัตรหรืออุปกรณ์ที่มีชิป NFC นี้ไปใกล้ๆ ตัวอ่านซึ่งจะติดตั้งไว้ที่ร้านค้าต่างๆ ซึ่ง American Express ก็ใช้เทคโนโลยีเดียวกับ Blue card ของพวกเขา

อย่างไรก็ตาม การเอาบัตรไปทาบหรือวางใกล้ๆ ตัวอ่าน ก็ดูไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเทคโนโลยีการรูดบัตรสักเท่าไร เพราะเรายังต้องเอากระเป๋าใส่บัตรติดตัวไป ซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ อยู่ดี แต่ความก้าวหน้าที่น่าสนใจน่าจะอยู่ที่การนำมันไปรวมกับสมาร์ทโฟนของเรามากกว่า ซึ่งการใช้สมาร์ทโฟนจ่ายค่าสินค้าและบริการต่างๆ เป็นสิ่งที่ทำกันอยู่เป็นประจำอยู่แล้วในระบบการซื้อขายในประเทศญี่ปุ่น, เกาหลี ใต้, สเปน และอีกหลายๆ ประเทศ

แต่สำหรับอเมริกายังเป็นเรื่องที่ห่าง ไกลตัว แม้เราจะมองว่าสหรัฐอเมริกามีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและระบบการเงินไปค่อนข้างมาก ซึ่งสาเหตุที่สำคัญที่สุดอยู่ที่เรื่องของ network effects

Network effect หรือ network externality หรือ demand-side economies of scale เป็นศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งหมายถึงผลกระทบของผู้ใช้หรือผู้บริโภค คนหนึ่งที่มีต่อมูลค่าของสินค้าหรือบริการใดๆ โดยมูลค่าของสินค้าหรือบริการนั้นๆ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวมันเองแต่เกิดจากจำนวนของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น เมื่อเกิด network effect ขึ้นมา มูลค่าของสินค้าหรือบริการนั้นๆ จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นๆ ยกตัวอย่างเช่น กรณีโทรศัพท์ ยิ่งมีคนมีโทรศัพท์เพิ่มมากขึ้นเท่าไร มูลค่าของโทรศัพท์ที่มีต่อเจ้าของโทรศัพท์ก็จะมีมากขึ้นๆ เช่นเดียวกับกรณีของโซเชียลเน็ตเวิร์ก ไม่ว่าจะเป็น Twitter หรือ Facebook ที่จะมีมูลค่ามากขึ้นๆ เมื่อมีคนเข้าร่วมในโลกของโซเชียลเน็ตเวิร์ก มากขึ้นๆ

เนื่องจากปัจจุบันบริษัทต่างๆ ที่ให้ความสนใจกับการจ่ายเงินผ่านโทรศัพท์มือถือค่อนข้างมากนั้น ล้วนไม่ได้อยู่ในธุรกิจ ธนาคารหรือธุรกิจระบบการชำระเงินแต่อย่างใด โดยพวกเขาต่างอยู่ในธุรกิจด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นกูเกิ้ล และโนเกีย ซึ่งล้วนต้องการจะลดอำนาจการผูกขาดของบริษัทระบบการชำระเงินเหล่านี้

นั่นคือ ถ้ากูเกิ้ลเอาชิป NFC ไปใส่ในโทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android ของพวกเขาแล้วเชื่อมโยงไปยังบัญชีบัตรเดบิตของเราได้ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องอาศัยวีซ่า อีกต่อไป

การที่วีซ่าและมาสเตอร์การ์ดครองตลาดอยู่ในปัจจุบัน ถือเป็นอุปสรรคขัดขวาง การเติบโตของบริษัทอื่นๆ โดยเฉพาะบริษัทที่ต้องการจะเข้าสู่ตลาดระบบการจ่ายเงิน ซึ่งนำไปสู่คำอธิบายเรื่องของ network effect โดยที่ยังไม่มีผู้ใช้บัตรหรือ ผู้บริโภครายใดจะสนใจสรรหาโทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนเทคโนโลยี NFC มาใช้ถ้าธุรกิจร้านค้าต่างๆ ยังไม่ยอมรับการจ่าย เงินผ่านระบบ NFC นี้หรือยังไม่ได้รวมระบบโทรศัพท์เข้ากับระบบของธนาคารและเครดิตการ์ดให้สามารถทำงานได้ง่ายๆ เช่นเดียวกับที่ธุรกิจก็ยังไม่ติดตั้งเครื่องอ่าน ที่ใช้เทคโนโลยี NFC ถ้าลูกค้ายังไม่ต้องการใช้งานหรือยังไม่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย

อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการผลักดันอย่างแข็งขันจากทางผู้ให้บริการการชำระเงินอย่างที่วีซ่าทำอยู่ ก็จะทำให้เทคโนโลยี NFC สามารถแจ้งเกิดได้เร็วขึ้น ปัจจุบันวีซ่ามีบัตรเครดิตที่ดูแลอยู่มากถึง 269 ล้านบัตร และมีบัตรเดบิตอีก 397 ล้านใบเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว หรือคิดเป็นเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ของบัตรทั้งหมด เมื่อรวมเข้ากับบัตรของบริษัทมาสเตอร์การ์ดแล้ว พวกเขาจะดูแลบัตรเครดิตและเดบิตมากถึง 96 เปอร์เซ็นต์ของตลาดประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งหมด

ดังนั้น ถ้าวีซ่าต้องการให้ NFC เกิด พวกเขาสามารถทำให้เกิดขึ้นได้อย่างง่าย ดาย ซึ่งทางวีซ่าก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน แล้วว่า พวกเขามองเห็นถึงการคุกคามที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะการคุกคามที่มาจากเหล่าบริษัทด้านโทรศัพท์มือถือและเว็บต่างๆ ซึ่งตอนนี้มีตัวอย่างให้เห็นแล้ว อย่าง ZashPay และ Popmoney ที่เปิดให้บริการในปี 2010 ที่สัญญากับลูกค้าของพวกเขาว่า พวกเขาจะทำให้ลูกค้าสามารถส่งเงินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็วขึ้นและราคาถูกลง ซึ่งวีซ่าก็ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงนี้โดยการสร้างระบบที่ทำให้ลูกค้าของพวกเขาสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ โดยพวกเขาไม่จำเป็นต้องรู้อะไรมากมาย ยกเว้น อีเมลแอดเดรสหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือของเพื่อนหรือคู่ค้าของพวกเขาเท่านั้นเอง

ที่สำคัญ วีซ่าคงไม่ต้องการให้ตลาด ที่พวกเขามีส่วนแบ่งตลาดค่อนข้างสูงต้องถูกลดทอนลงเมื่อลูกค้าหันไปใช้บริการจ่ายเงินบนสมาร์ทโฟนของเจ้าอื่นแทน

นั่นหมายความว่า เราคงจะได้เห็นคนอเมริกันได้ใช้ระบบจ่ายเงินผ่านอุปกรณ์ สมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ลักษณะต่างๆ ในไม่ช้าไม่นาน แต่อีกนัยหนึ่ง นี่ก็หมายถึงว่าวีซ่าเองก็ไม่ต้องการจะเสียส่วนแบ่งตลาดไป โดยพวกเขาจะพยายามมากที่สุดที่จะยึดพวกเราไว้ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การผูกขาดแบบใหม่ที่พวกเขาจะคิดค่าบริการที่สูงขึ้นถ้าพวกเขายังสามารถครองส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่ได้นั่นเอง

โลกของการผูกขาดไม่เคยปรานีใคร จริงๆ ครับ

อ่านเพิ่มเติม:
1. ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์, ‘Mobile Money,’ คอลัมน์ an oak by the window นิตยสารผู้จัดการ ฉบับมีนาคม 2549
2. Crowe, M., Rysman, M. and Stavins, J. (2010), ‘Mobile Payments in the United States at Retail Point of Sale: Current Market and Future Prospects,’ Public Policy Discussion Papers NO.10-2, Federal Reserve Bank of Boston, version May 17, 2010, http://www.bos.frb.org/economic/ppdp/2010/ppdp1002.pdf
3. Lawrey, A. (2011), ‘Make Them Pay,’ March 17, 2011, http://www.slate.com/id/2288616/
4. Lowrey, A. (2011), ‘Pay by Phone,’ May 12, 2011, http://www.slate.com/id/2293890/
5. Manjoo, F. (2011), ‘Paying With Your Phone is Awesome, Because... Because.,’ http://www.slate.com/id/2288617/
6. Visa, ‘Visa unveils next generation electronic payments and services,’ May 11, 2011, http://www.investor.visa.com/phoenix.zhtml?c=215693&p=irol newsArticle&ID=1562469&highlight=
7. Visa, VISA PAYWAVE,’ Visa payWave is a secure, faster, easier way to pay for everyday purchases, http://usa.visa.com/personal/cards/paywave/index.html
8. Sande, S. (2010), ‘Coming soon: Paying for stuff on Visa by waving your iPhone,’ May 5, 2010, http://www.tuaw.com/2010/05/05/coming-soon-paying-for-stuff-on-visa-by-waving-your-iphone/
9. Woolsey, B. and Schulz, M. (2011), ‘Credit card statistics, industry facts, debt statistics,’ May 12, 2011, http://www.creditcards.com/credit-card-news/credit-card-industry-facts-personal-debt-statistics-1276.php
10. ZashPay, https://www.zashpay.com
11. Popmoney, https://www.popmoney.com/   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us