Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2554
เอสเพียว-ไฮมีท Message ชิ้นสำคัญ             
โดย สุพร แซ่ตั้ง
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเบทาโกร

   
search resources

เครือเบทาโกร
Agriculture
Food and Beverage
วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์




อดีตที่เบทาโกรยังอยู่ในยุคการค้าขายแบบเดิมๆ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ บริษัทลูกในเครือผลิตสินค้าก็ใช้แบรนด์ตามชื่อบริษัท ตั้งแต่เบตเตอร์ฟู้ด บีเอฟ บีเอฟไอ บีเอฟเอ็ม แต่วันหนึ่งแบรนด์ที่สะเปะสะปะทำให้ความแข็งแรงทางการตลาดลดลงจนเข้าสู่ยุครีแบรนดิ้ง ส่ง 2 แบรนด์ใหม่ “ไฮมีท” และ “เอสเพียว” เข้ามารุกพร้อมจัดเซกเมนต์ผู้บริโภค เพื่อเพิ่มมูลค่าแบรนด์พุ่งพรวดหลายเท่าตัว


วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจ เครือเบทาโกร กล่าวถึงเหตุผลในการรีแบรนดิ้งจริงๆ ก็มาจากความต้องการที่จะรุกเข้าสู่กลุ่มลูกค้าคอนซูเมอร์ เพื่อสร้างแบรนด์ก่อนรุกเข้าสู่ “เน็กซ์สเต็ป” จับกลุ่มผู้บริโภค

ถ้าดูเซกเมนต์ของแบรนด์เอสเพียว เบทาโกรวางช่องทางพรีเมียมซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งมีสัดส่วนไม่มากนัก กำลังซื้ออยู่แถวสุขุมวิท ราชประสงค์ แถวกรุงเทพฯ ชั้นใน ทั้งไก่ หมู และไข่ สัดส่วนการผลิตไม่มากเลยเมื่อเทียบฐานใหญ่ ซึ่งวสิษฐค่อนข้างภูมิใจ เพราะนอกจากยอดขายโตแบบดับเบิ้ลต่อเนื่อง เรียกว่าเปิด 2 ปี แบรนด์ติดตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในฮ่องกง ซึ่งในชั้นวางสินค้ามีคู่แข่งจำนวนมาก ทั้งจีน ออสเตรเลีย อเมริกา ญี่ปุ่น บราซิล ยังสามารถโดนใจผู้บริโภคได้

ขณะที่ “ไฮมีท” เป็นการจัดการกระบวนการตลาดจาก “บีทูบี” เป็น “บีทูซี” ในอนาคต โดยรีแบรนดิ้งสินค้าคอร์ปอเรทที่ทำในอดีต เช่น เบตเตอร์ฟู้ด บีเอฟ บีเอฟไอ บีเอฟเอ็ม จากเดิมเป็นแบรนด์สะเปะสะปะ การรีแบรนด์สามารถสร้างยอดขายขึ้นมาทันที 3-4 พันล้านบาท

สำหรับกระบวนการผลิต โดยเฉพาะเอสเพียว (อ่านรายละเอียดได้จากเรื่อง SPF เนื้อหมูปลอดสารพิษของเบาทาโกร นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนสิงหาคม 2550) เป็นหมูตระกูลใหม่ที่เริ่มต้นเมื่อ 18 ปีที่แล้วและเพิ่งทำตลาดปีที่ผ่านมาเรียกว่าต้องอดทนรอถึง 18 ปี หากคู่แข่งจะทำหมูเหมือนเอสเพียวก็ต้องรอก่อนนอกจากจะงัดกลยุทธ์สร้างจุดขายแปลกๆ มาแข่ง ซึ่งวสิษฐใช้คำว่า “ซัฟเฟอร์” กับหมูตัวนี้มาเป็นสิบๆ ปี เอาต้นทุนมาเทียบกำไรก็ยังไม่คุ้มทุน แต่การซัฟเฟอร์กลับสร้างจุดขายสำคัญที่สุดของเบทาโกร โดยเฉพาะการสื่อสารให้ผู้บริโภครับรู้ภาพลักษณ์สำคัญ เรื่องความจริงใจในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัย “เรามี message ชิ้นสำคัญส่งถึงผู้บริโภค เราไม่ได้เป็นจากการขายโฆษณา เป็นจากการชวนเชื่อ แต่ต้องมาจากสินค้า การมีประสบการณ์กับสินค้าของเรา มีการทดลองใช้ สัมผัส เปรียบเทียบ ทำให้เขารู้ว่าเรามีความจริงใจกับเรื่องนี้จริงๆ หรือเปล่า และเบทาโกรทำการตลาดในมุมการให้ข้อเท็จจริง อะไรคือสิ่งที่อยู่ในนั้น โอกาสที่เขาจะได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพที่ทัดเทียมกับมาตรฐานโลกได้จริงๆ แม้ราคาแพงกว่าสินค้าในท้องตลาด 30-40%” และก็ต้องบอกว่าเราเสียโอกาสมามากแล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us