Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2554
MAKE FUTURE             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย สุภัทธา สุขชู นภาพร ไชยขันแก้ว
 

 
Charts & Figures

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บมจ.ทรัพย์ศรีไทย
ผลประกอบการ บมจ.ทรัพย์ศรีไทย

   
related stories

ผู้จัดการ 100
SWEET CRYSTAL ผลึกหวานการต่อยอดธุรกิจ
Sustainable Model
MAKE MORE VALUE

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ทรัพย์ศรีไทย จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ บริษัท อุตสาหกรรมวิวัฒน์ จำกัด

   
search resources

Logistics & Supply Chain
Consumer Products
ทรัพย์ศรีไทย, บมจ.
อุตสาหกรรมวิวัฒน์, บจก.
สัมฤทธิ์ ตันติดิลกกุล




บมจ.ทรัพย์ศรีไทย เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่มี 2 ตระกูลเป็นผู้ถือหุ้นหลักอยู่ในปัจจุบัน คือ ตระกูลชินธรรมมิตร์ และสุขะนินทร์ โดยมีสายสัมพันธ์เป็นเครือญาติ ทำให้แผนธุรกิจมียุทธศาสตร์คล้ายกับ บมจ.น้ำตาลขอนแก่น และบมจ.ไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล คือการต่อยอดธุรกิจเดิม สร้างธุรกิจใหม่

บมจ.ทรัพย์ศรีไทย ก่อตั้งเมื่อปี 2519 ปัจจุบันดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลา 35 ปี เริ่มจากธุรกิจคลังสินค้า รับ-ฝาก ให้บริการท่าเทียบเรือ

แรกเริ่มเดิมทีมีผู้ถือหุ้นหลัก คือธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานทรัพยสินส่วนพระมหากษัตริย์ บริษัท เทเวศน์ประกันภัย จำกัด ถือหุ้นร่วมกันร้อยละ 80 ส่วนที่เหลือเป็นกลุ่ม อิตัลไทย ในตอนนั้นยังทำธุรกิจค้าข้าว มีทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท

เมื่อปี 2548 มีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นจากกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ มาเป็น 2 ตระกูลถือครองหุ้นหลักแทน คือ ตระกูลสุขะนินทร์ และตระกูลชินธรรมมิตร์ โดยทั้งสองตระกูลมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกัน เนื่องจากประธานกรรมการบริหารคือ ศุภสิทธิ์ สุขะนินทร์ เป็นบุตรของอินทิรา สุขะนินทร์ และอินทิรา เป็นพี่สาวของจำรูญ ชินธรรมมิตร์

การเปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหม่และผู้บริหาร ทำให้ บมจ.ทรัพย์ ศรีไทยเริ่มมองหาธุรกิจใหม่ เพื่อกระจายความเสี่ยงในธุรกิจโดยไม่พึ่งพิงรายได้จากคลังสินค้า โดยมีเป้าหมายเพิ่มกำไรและรายได้ให้กับองค์กร

แต่เนื่องจาก บมจ.ทรัพย์ศรีไทย เป็นบริษัทมหาชนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หรือเรียกว่า SST อยู่ในหมวดของขนส่งและโลจิสติกส์ จึงทำให้บริษัทไม่สามารถดำเนินธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์

อุปสรรคดังกล่าวทำให้บริษัทได้ยกเลิกใบอนุญาตจากผู้ให้บริการคลังสินค้า ก่อตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาเรียกว่า บริษัท เอส เอส ที คลังสินค้า จำกัด เมื่อปี 2552 เพื่อทำหน้าที่บริการคลังสินค้าเพียงอย่างเดียว ส่วน บมจ.ทรัพย์ศรีไทยก็แสวงหาธุรกิจใหม่เพื่อเพิ่มรายได้และกำไร

หลังจากไม่มีภาระให้บริการคลังสินค้า บมจ.ทรัพย์ศรีไทยเริ่มมองหาโอกาส จนกระทั่งล่าสุดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา บริษัท ได้เข้าไปลงทุนในบริษัท อุตสาหกรรมวิวัฒน์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำพืชยี่ห้อ “ทิพ” “ริน” และอาหารสัตว์วิวัฒน์ มูลค่า 200 ล้านบาท ทำให้บริษัทกลายเป็นผู้ถือหุ้นเกือบร้อยละ 100

บริษัทอัดฉีดเงินเข้าไปในบริษัท 750 ล้านบาทเพื่อให้ธุรกิจดำเนินงานต่อไปได้ ทำให้พนักงานที่อยู่กับบริษัทยังคงทำงานต่อไป รวมทั้งเครื่องจักรไม่หยุดการผลิต

ในปีนี้บริษัทกำหนดว่าจะมีกำลังการผลิตน้ำมันพืชราว 90,000 ตันต่อปี ปีที่ 2 ผลิตเพิ่มเป็น 120,000 ตัน ปีที่ 3 ผลิต 150,000 ตัน และปีที่ 4 ผลิต 200,000 ตัน ซึ่งโรงงานมีกำลังการผลิตเต็มที่ 210,000 ตันต่อปี และในปีแรกบริษัทคาดว่าจะมีรายได้ 1,800 ล้านบาท

สัมฤทธิ์ ตันติดิลกกุล กรรมการผู้จัดการ บมจ.ทรัพย์ศรีไทย กล่าวกับผู้จัดการ 360 ํ ว่า การกระโดดเข้ามาทำธุรกิจน้ำมันได้มองเห็นโอกาส เพราะน้ำมันพืชที่ผลิตในปัจจุบันผลิตมาจากถั่วเหลือง และวัตถุดิบดังกล่าวสามารถพัฒนาต่อยอดให้กับธุรกิจได้อีก โดยเฉพาะการสร้างมูลค่าเพิ่มจากถั่วเหลือง

กระบวนการผลิตน้ำมันพืชแต่เดิม หลังจากหีบน้ำมัน จะได้ 2 ส่วนหลัก กากถั่วประมาณร้อยละ 78 ได้น้ำมันร้อยละ 7 เป็นเลซิตินร้อยละ 2 ที่เหลือเป็นของเสีย

เลซิตินได้จำนวนไม่มากนักแต่มีราคาสูง เพราะสามารถนำไปผสมกับอาหารสัตว์ ส่วนกากถั่วเหลืองนำไปผลิตเป็นปุ๋ย

หลังจากศึกษาคุณสมบัติของถั่วเหลืองพบว่า สามารถสร้างโปรตีนในกากถั่วเหลือง ได้อีก และมีราคาจำหน่ายสูงกว่าราคากากถั่วเหลืองในปัจจุบัน

วิธีการสร้างคุณค่าโปรตีนให้กับถั่วเหลือง จะต้องปอกเปลือกชั้นนอกออกจึงทำให้บริษัทมีแผนซื้อเครื่องจักรใหม่ใน 4-5 เดือนข้างหน้า เพื่อมาปอกเปลือกถั่วเหลือง เพราะเปลือกมีโปรตีนน้อย หลังจากปอกเปลือกทำให้กากถั่วเหลือง (หรือเนื้อถั่วเหลือง) หลังจากหีบน้ำมันออกไปจะได้โปรตีนมากกว่า เพราะราคากากถั่วเหลืองจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับคุณค่าของโปรตีนในกากถั่วเหลือง

แผนการต่อยอดของธุรกิจน้ำมันพืชไม่ได้หยุดเฉพาะการป้อนตลาดสำหรับบริโภค เท่านั้น แต่บริษัทได้มองอนาคตของน้ำมันถั่วเหลืองสามารถนำไปผลิตน้ำมันไบโอดีเซลได้อีก ซึ่งบริษัทต้องเปรียบเทียบราคาว่าจะโน้มเอียงไปทางด้านไหนระหว่างเพื่อบริโภค หรือเพื่อพลังงาน

การเข้าไปลงทุนในธุรกิจน้ำมันนอกจากจะสร้างรายได้ให้กับบริษัทแล้ว บริษัท อุตสาหกรรมวิวัฒน์ จำกัด ยังมีเนื้อที่ 80 ไร่ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ปากเกร็ด นนทบุรี ปัจจุบันบริษัทใช้พื้นที่เพียงครึ่งเดียว เหลืออีกครึ่งยังไม่ได้ใช้ทำอะไร ดังนั้นจึงมีโอกาสสร้างธุรกิจเพิ่มขึ้นจากพื้นที่ดังกล่าวได้อีก

แม้บริษัทจะขยายไปสู่ธุรกิจน้ำมัน ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ แต่ธุรกิจคลังสินค้าก็ยังทำควบคู่กันไป เพราะคลังสินค้ารับ-ฝากและท่าเทียบเรือยังเป็นสินทรัพย์ที่สร้างรายได้หลักให้กับบริษัทอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากพื้นที่คลังสินค้าและท่าเทียบเรือที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตั้งอยู่พระประแดง ถนนสุขสวัสดิ์ ซอย 49 และซอย 76 มีมูลค่ามหาศาล จากยุคเริ่มต้น ที่ซื้อเพียงไร่ละ 1-2 แสนบาท แต่ปัจจุบันราคาหลายสิบล้านบาท

บริษัทมีคลังสินค้าจำนวน 3 แห่ง คลังสินค้าที่ 1 มีพื้นที่ 30 กว่าไร่ มีหน้ากว้างติดแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ 330 เมตร สามารถจอดเรือได้ 2 ลำใหญ่ มีคลังสินค้า 21 หลัง รับสินค้านำเข้า-ส่งออกเป็นส่วนใหญ่ นำเข้าปุ๋ย ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ฝ้าย อาหารสัตว์ สินค้าเบ็ดเตล็ด และส่งออกน้ำตาล

คลังสินค้าแห่งที่ 2 อยู่อีกฟาก ห่างจากคลังที่ 1 ประมาณ 2 กิโลเมตร มีพื้นที่ 25 ไร่ ให้ลูกค้ารายใหญ่เช่าไปบริหารเอง เรียกว่า distribution center พื้นที่อีกส่วนหนึ่ง ใช้เป็นคลังเก็บเอกสารสินค้า สำหรับคลังสินค้าที่ 3 สร้างเมื่อปี 2550 มีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ ใช้ทำคลังเอกสารโดยเฉพาะ

คลังสินค้าทั้ง 3 แห่งเมื่อรวมกันจะมีประมาณกว่า 90 ไร่ มีโกดังทั้งหมด 52 หลัง พื้นที่กว่า 8 หมื่นตารางเมตร มีการคมนาคมสะดวก โดยเฉพาะคลังสินค้าที่ 1 มีท่าเทียบเรือ สินค้าสามารถส่ง-ออกได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากอยู่ใกล้วงแหวนรอบนอก ถนนหน้าคลังกว้าง 8 เลน ติดกับวงแหวนและอีก 4 กิโลเมตรเข้าวงแหวนอุตสาหกรรม

คลังสินค้าในช่วงแรกดำเนินงานจะรับฝาก-เช่า สินค้าเกษตรเป็นหลัก เช่น ข้าว น้ำตาล ถั่วเหลือง เป็นต้น แต่สินค้าเหล่านี้จะมีฤดูกาลใช้คลังสินค้า โดยเฉพาะน้ำตาลจะหีบอ้อยกันประมาณ 6 เดือน น้ำตาลจะเริ่มเข้าคลังสินค้าตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน จะมีปริมาณเข้า-ออกจำนวนมาก แต่หลังจากนั้นจะไม่มีเข้ามา ทำให้โกดังว่างหลายเดือน แม้กระทั่งข้าวสารจะมีอายุอยู่ในโกดังมากกว่า แต่พื้นที่ของคลังสินค้าบางครั้ง ก็ไม่เพียงพอจัดเก็บเพราะข้าวต้องการพื้นที่จำนวนมาก ประการสำคัญ ข้าวเป็นสินค้าที่เข้ามาจำนวนมาก และออกจำนวนมาก

สัมฤทธิ์เล่าว่าหลังจากเรียนรู้ธรรมชาติของสินค้า ทำให้บริษัทต้องมาวิเคราะห์เลือกสินค้าที่จะอยู่ในคลังได้ตลอดปี เพราะสามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัท พบว่าปุ๋ยเป็นสินค้าที่อยู่ในคลังได้ตลอดปี จึงทำให้เน้นหนักรับฝากมากที่สุด ทำให้บริษัทกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านปุ๋ยโดยเฉพาะ

อย่างไรก็ดี นอกจากปุ๋ยแล้วบริษัทยังให้บริษัทใหญ่ๆ เช่าคลังสินค้าด้านเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์กีฬาและอาหาร ปัจจุบันมีห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ หลายแห่งเช่าอยู่

การใช้พื้นที่คลังสินค้าไม่ได้รับฝากสินค้าอุปโภคและบริโภคเท่านั้น บริษัทขยายธุรกิจ โดยใช้พื้นที่คลังสินค้าเดิมไปจับธุรกิจคลังสินค้าให้เช่าเก็บเอกสาร เพราะบริษัทมองเห็นโอกาสธุรกิจนี้ว่ามีคู่แข่งไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างชาติมีเพียง 4-5 รายที่ให้บริการ

บริษัทเห็นว่าบริษัทที่จดทะเบียนในทุกวันนี้บริษัทจดทะเบียนนิติบุคคลมี 500,000 ราย มีบริษัทรายใหญ่ 1,000 ราย บริษัทขนาดกลางประมาณ 5,000 ราย

บริษัทเริ่มบริหารคลังสินค้าที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ธุรกิจให้บริการเช่าพื้นที่ สำหรับเอกสารจึงเกิดขึ้นเมื่อปี 2538 โดยเริ่มใช้พื้นที่ครึ่งหนึ่งของคลังที่ 2 จากจำนวนทั้งหมด 25 ไร่

พื้นที่เช่าเก็บเอกสารได้รับการตอบรับค่อนข้างดี ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้ารายใหญ่ 10 ราย มีลูกค้าทั่วไปอีกกว่าพันราย ลูกค้ารายใหญ่ เช่น หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ โรงพยาบาลรัฐ ส่วนภาคเอกชน เช่น ธนาคาร บริษัทประกันชีวิต ประกันภัย และห้างสรรพสินค้ารายใหญ่

จากการตอบรับของลูกค้าเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะการเก็บเอกสารนาน 8-10 ปีเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับองค์กรเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการแจ้งกับกรมสรรพากร หรือกรณีคดีฟ้องร้อง ทำให้บริษัทขยายคลังสินค้าเอกสารใหม่อีก 1 แห่งเมื่อปี 2550 ซึ่งคลังสินค้า ดังกล่าวเป็นคลังสินค้าแห่งที่ 3 ของบริษัท แต่คลังจัดเก็บเอกสารแห่งที่ 3 จะเริ่มเต็มในปี 2555 บริษัทได้วางแผนจะซื้อพื้นที่เพิ่มอีก 17 ไร่ เพื่อรองรับบริการในอนาคต

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้คลังเอกสารเจริญก้าวหน้าในช่วงปี 3-4 ปีหลัง อาจเป็นเพราะว่าบริษัทเดิมที่เช่าอยู่แล้วมีปริมาณเอกสารเพิ่มขึ้น ไม่ต้องการจัดเก็บเอกสารไว้ในสำนักงาน แต่ต้องการองค์กรที่มีความชำนาญเข้ามาช่วยบริหารจัดการ โดยเฉพาะเอกสารที่เป็นความลับ แต่คลังเอกสารไม่ได้รับฝากเฉพาะเอกสารเท่านั้น บริษัทยังรับฝากข้อมูลที่จัดเก็บในรูปแบบมีเดียไฟล์ต่างๆ ในแผ่นซีดี

หัวใจของธุรกิจคลังเอกสาร คือการบริหารจัดการ โดยเฉพาะการพัฒนาคิดค้นเทคโนโลยีให้เอกสารปลอดภัย รวมถึงความรวดเร็วในการให้บริการ

สัมฤทธิ์ ในฐานะผู้บริหารที่ริเริ่มธุรกิจคลังสินค้า เล่าให้ผู้จัดการ 360 ํ ฟังว่า บริษัทไม่ได้ซื้อเทคโนโลยี แต่สร้างขึ้นมาเอง เริ่มตั้งแต่การสร้างคลังเอกสารในระดับแนวสูง การพัฒนาฐานข้อมูลของลูกค้า และหัวใจของการจัดเก็บเอกสารคือ จัดเก็บอย่างมีระเบียบ สินค้าเข้า-ออกได้เร็ว

การสร้างคลังเอกสารในแนวสูง บริษัทจะใช้เครื่องจักรทำงานเหมือนหุ่นยนต์ และหุ่นยนต์จะทำหน้าที่ส่งเอกสารไปตามช่องต่างๆ ระบบการทำงานทุกอย่างเริ่มตั้งแต่ข้อมูลของกล่องจะถูกป้อนอยู่ในระบบ คอมพิวเตอร์ เข้าออก-เมื่อไร เป็นเอกสารของใคร ทุกกล่องจะมีรหัส ส่วนลูกค้าต้องการดูเอกสาร โดยเฉพาะเอกสารที่เป็นความลับจะมีรหัสและลายเซ็นของลูกค้าที่สามารถตรวจสอบได้

ระบบการทำงานจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมเป็นระบบออโตเมชั่นอัจฉริยะ บริษัทเรียกว่า ASRS หรือ Automated Storage and Retrieval System บริษัทอ้างว่าเป็นรายแรกที่ใช้ระบบดังกล่าว และได้นำมาใช้เมื่อปี 2550

การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานไม่ได้มีเป้าหมายรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ เท่านั้น แต่ในอนาคตบริษัทมองว่าระบบคอมพิวเตอร์จะเข้ามาทำงานแทนคน เพราะมีความสม่ำเสมอมากกว่า

ที่ผ่านมาจึงทำให้บริษัทลงทุนด้านคลังสินค้าในการสร้างระบบจำนวน 250 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทมีรายได้เติบโตทุกปี ล่าสุดมีรายได้ 120 ล้านบาท ซึ่งทำรายได้มากกว่าให้บริการคลังสินค้าที่มีรายได้ 40 ล้านบาท

แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจคลังสินค้า บริษัทวางแผนจะให้บริการเอกสาร ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ คือบริษัทจะสแกน ข้อมูลลงในเซิร์ฟเวอร์ เมื่อลูกค้าต้องการใช้ก็สามารถเรียกใช้ได้ทันทีผ่านระบบที่เชื่อมโยงระหว่างบริษัทกับบริษัทลูกค้า โดยเอกสารจริงจะยังถูกจัดเก็บไว้ที่บริษัท ซึ่งมองว่าช่วยลดต้นทุนการขนส่งเอกสาร

ธุรกิจของทรัพย์ศรีไทยที่เริ่มต้นจากผู้ให้บริการเช่าท่าเทียบเรือเช่าคลังสินค้า บริษัท ได้ขยายธุรกิจใหม่ออกมาโดยยึดคลังสินค้าที่มีอยู่ต่อยอดออกไป คือการให้บริการคลังสินค้าโดยใช้พื้นที่มาบริหารสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ

ข้อดีของธุรกิจคลังเอกสารคือการบริหารพื้นที่ในระนาบสูง เพราะเอกสารสามารถจัดวางขึ้นแนวสูงเหมือนคอนโดมิเนียม

สัมฤทธิ์เปรียบเทียบให้เห็นภาพพื้นที่จัดเก็บเอกสารในคลังที่ 3 พื้นที่แนวราบใช้ 14,000 กว่าตารางเมตร ความสูง 15 เมตร แต่การจัดวางเอกสารในแนวสูงทำให้มีพื้นที่เพิ่มเป็น 2 เท่า สามารถจัดเก็บ เอกสารได้ถึง 3 ล้านกล่อง จากศักยภาพ ดังกล่าวทำให้บริษัทวางแผนจะสร้างพื้นที่ใหม่ 17 ไร่ ให้มีความสูงในระดับ 23-24 เมตร สามารถรองรับสินค้าได้เพิ่มอีกร้อยละ 30-40

เอกสารจัดเก็บไว้ในกล่อง กว้างx ยาวxสูง (12x16x11 นิ้ว) ราคากล่องละ 10 บาทต่อเดือน ส่วนเอกสารความลับราคาจะเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่าตัว

ในขณะที่ค่าเช่าคลังสินค้าคิดราคาเป็นตารางเมตร ค่าเช่า 110 บาทต่อตาราง เมตร ส่วนค่ารับฝากราคาสูงกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของราคาเช่าและขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า

อย่างไรก็ดี สัดส่วนการบริหารพื้นที่ คลังสินค้าในปัจจุบัน บริษัทยังให้ความสำคัญบริการให้เช่าคลังสินค้า ร้อยละ 45 ให้บริการเช่า ร้อยละ 35 ให้เช่าคลังสินค้า เอกสาร ส่วนที่เหลือร้อยละ 10 ให้บริการฝากสินค้า

สัดส่วนการบริหารคลังสินค้าในปัจจุบันจะยังให้น้ำหนักธุรกิจเช่าและฝาก ทั้งนี้เป็นเพราะว่าบริษัทยังมีนโยบายดูแลลูกค้าที่ใช้บริการมายาวนาน

“ตราบใดที่ลูกค้ายังใช้บริการเช่าคลังสินค้าเราอยู่ เราก็ยังให้บริการต่อไป ผมทำไม่ได้ที่จะนำพื้นที่เดิมมาให้บริการคลังเอกสารทั้งหมด ยังมองว่าการให้บริการรับฝากสินค้าส่วนหนึ่ง และให้บริการคลังเอกสาร จำเป็นต้องควบคู่กันไปเพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยง”

คำกล่าวของสัมฤทธิ์นั้นอาจเป็นเพราะว่าเขาได้ร่วมงานกับบริษัทมาเกือบ 30 ปี ความผูกพันที่มีต่อลูกค้าเดิมยังมีอีกมาก เขาไม่เคยปฏิเสธความเปลี่ยนแปลง ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตกับองค์กรแห่งนี้ เพราะบริษัททรัพย์ศรีไทยไม่ได้ผูกติดกับธุรกิจเดิมเพียงอย่างเดียว แต่ได้เริ่มก้าวออกไปสู่ธุรกิจใหม่ที่อาจจะร่วมมือกับพันธมิตรมากขึ้น โดยเฉพาะการร่วมมือกับเครือญาติที่มีธุรกิจอยู่ในปัจจุบัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us