Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2554
MAKE MORE VALUE             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย สุภัทธา สุขชู นภาพร ไชยขันแก้ว
 

 
Charts & Figures

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บมจ. ไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล
ผลประกอบการ บมจ. ไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล

   
related stories

ผู้จัดการ 100
SWEET CRYSTAL ผลึกหวานการต่อยอดธุรกิจ
Sustainable Model
MAKE FUTURE

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล จำกัด (มหาชน)

   
search resources

Logistics & Supply Chain
ไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล, บมจ.
ประภาส ชุติมาวรพันธ์
พัลลภ เหมะทักษิณ




จากธุรกิจคลังสินค้าบนเนื้อที่ 127 ไร่ ที่รายได้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลของน้ำตาล วันนี้ อาณาจักรไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล ขยับขยายแตกหน่อมาเป็น 6 ธุรกิจ ที่เอื้อประโยชน์แก่กันบนหลักการกระจายความเสี่ยงและเพิ่มมูลค่าจากสินทรัพย์ในธุรกิจเดิม ...อีกยุทธศาสตร์สู่ความใหญ่ของบริษัทเล็กๆ

บริษัท ไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล จำกัด (มหาชน) หรือ TSTE ถือเป็นหุ้นตัวเล็กๆ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ หากเปรียบตัวเลขรายได้ในกลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ด้วยกันแล้ว TSTE ยังถือว่ามีขนาดเล็กถึงปานกลาง แต่หากเทียบกันในแง่ของการทำธุรกิจคลัง สินค้ากับบริษัทที่ทำธุรกิจคล้ายกัน TSTE ถือได้ว่า ไม่เป็นรองใครในร่องน้ำเจ้าพระยา แห่งนี้

ไทยชูการ์ฯ ประกอบธุรกิจให้เช่าคลังเก็บสินค้า บริการขนถ่ายสินค้าขึ้นเรือเดินสมุทร บริการท่าเทียบเรือและบริการสินค้าผ่านท่า รวมทั้งการเก็บรักษาและขนถ่ายกากน้ำตาล โดยทั้งท่าเรือและคลังสินค้า ตั้งอยู่ที่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อตั้งโดยประภาส ชุติมาวรพันธ์ และชวลิต ชินธรรมมิตร์ ซึ่งเกี่ยวพันในฐานะพี่เขยกับน้องภรรยา ในปี 2519 หรือ 2 ปีหลังจากกลุ่มชินธรรมมิตร์ นั่งแท่นเป็นประธานเครือน้ำตาลขอนแก่น หรือกลุ่ม KSL

ประจวบกับเป็นปีที่เกิดปัญหาด้านการเก็บน้ำตาลเพื่อการส่งออก เนื่องจากมี ผลผลิตน้ำตาลออกมาสู่ตลาดพร้อมๆ กันในปริมาณที่มาก กลุ่มนักธุรกิจเจ้าของโรงน้ำตาลจึงได้หารือและหาสถานที่เพื่อใช้เป็นที่เก็บสินค้าและท่าเรือขนถ่ายสินค้าขึ้นเรือเดินสมุทร ในชื่อบริษัท เดอะไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ในปี 2537 บริษัทฯ จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน ใช้ชื่อใหม่ว่า “ไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล” ปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่คือ กลุ่มน้ำตาลขอนแก่น หรือ KSL ด้วยจำนวน 23.82% นอกจากนี้ยังมีกลุ่มน้ำตาลอื่น เช่น ประจวบอุตสาหกรรม, น้ำตาลราชบุรี, อุตสาหกรรมรวมมิตรเกษตร เป็นต้น

ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานน้ำตาลที่ถือหุ้นในไทยชูการ์ฯ เพื่อใช้บริการเก็บน้ำตาล และขนถ่ายน้ำตาลลงเรือ ส่งออกไปขายต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มน้ำตาลวังขนาย ที่ใช้ท่าเรือแห่งนี้ส่งออกไปต่างประเทศ ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยมีน้ำตาลที่ถูกส่งออกไปต่างประเทศ ผ่านท่าเรือแห่งนี้ 6 แสนตันต่อปี

ด้วยทำเลยุทธศาสตร์ที่ถือได้ว่ามีศักยภาพสูงในการรองรับการขนส่งทางเรือทางแม่น้ำเจ้าพระยา บวกกับหน้าท่าที่กว้าง 400 เมตร ทำให้ไทยชูการ์ฯ มีท่าจอดเรือถึง 3 ท่า จอดเรือขนาดไม่เกิน 8 พันตัน ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่ที่สุดที่สามารถเข้ามาในร่องน้ำ เจ้าพระยา จึงสามารถรองรับเรือขนส่งที่เข้ามาเทียบท่าได้พร้อมกันถึง 3 ลำ

ขณะที่โกดังเก็บสินค้ากระสอบ (Bag) อีกเกือบ 40 หลัง และโกดังเก็บสินค้าแบบไซโล หรือเทกอง (Bulk) อีก 4 หลัง ความจุในการเก็บสินค้าทั้งหมดเกือบ 3 แสนตัน

ไทยชูการ์ฯ จึงนับเป็นคลังสินค้าที่ให้บริการรับฝากและขนถ่ายสินค้าน้ำตาลที่ใหญ่ ที่สุดในแถบสมุทรปราการ

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาแนวโน้มการขนส่งน้ำตาลจะหันมาใช้ตู้คอนเทนเนอร์เยอะขึ้น เรื่อยๆ เพราะความสะดวกและความสะอาด ขณะที่ท่าเรือแห่งนี้ยังให้บริการขนถ่ายน้ำตาล ในแบบเทกองสุมและแบบกระสอบ หลายครั้งจึงทำให้ไทยชูการ์ฯ ต้องเสียโอกาสในการทำธุรกิจ เพราะไม่มีใบอนุญาตให้เปิดบริการท่าตู้คอนเทนเนอร์

“ถ้าเราจะทำแต่พื้นที่คลัง หากปีไหนน้ำตาลน้อย แล้งมากๆ คลังสินค้าก็พังไป แต่ถ้าเราทำท่าตู้คอนเทนเนอร์ไว้รองรับ อีกหน่อยเขาเก็บน้ำตาลกับเรา ก็ผ่านท่าของเราได้เลย รายรับก็เยอะขึ้น แทนที่จะให้ไปผ่านท่าอื่นเหมือนทุกวันนี้” ประภาส ชุติมาวรพันธ์ กล่าวในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

จากวิสัยทัศน์นำไปสู่นโยบายในการปรับปรุงท่าเรืออายุกว่า 30 ปี เพื่อรองรับการเป็นท่าตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนร่วม 400 ล้านบาท และใช้ระยะเวลานับปี ซึ่งนับว่าเป็นการปรับปรุงพื้นที่ท่าเรือของบริษัทครั้งใหญ่ที่สุดของบริษัทในรอบหลายปี

การปรับปรุงท่าเรือให้เป็นท่าตู้คอนเทนเนอร์ยังขยายโอกาสในการขนถ่ายสินค้าอื่น นอกเหนือจากน้ำตาล ข้าวและพืชผลทางการเกษตร ซึ่งนับเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับท่าเรือ (Return of Asset) จากเดิมที่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวรายได้ของท่าเรือไทยชูการ์ฯ จะอยู่แค่ช่วงขนถ่ายและส่งออกน้ำตาล ซึ่งมีระยะเวลาเพียง 3-4 เดือนหลังฤดูปิดหีบ

เมื่อช่วงพีคผ่านไป ระยะเวลาที่เหลือ กิจกรรมขนถ่ายและเก็บสินค้าจะเบาบางลงอย่างเห็นได้ชัด นั่นหมายถึงรายได้ที่หายไปในช่วงนั้นด้วย ยิ่งบวกกับ 3-4 ปีก่อน ที่ผลผลิตน้ำตาลออกมาน้อยมาก ทำให้ไทยชูการ์ฯ เริ่มมองหาลู่ทางขยายไปสู่ธุรกิจอื่นเพื่อเพิ่มแหล่งที่มาของหลายได้ รวมทั้งเป็นการกระจายความเสี่ยง

“จริงๆ ตอนแรก เราก็ยังอยากทำท่าเรืออย่างเดียว แต่ขยายไปทำเลอื่นบ้าง แต่หาที่ดินไม่ได้ ไปดูทางอ่าวอุดมหรือแหลมฉบังก็เต็มไปหมด ไม่มีเนื้อที่สำหรับตั้งท่าเรือ เราก็หมดหวังไม่เอาแล้ว บวกกับช่วงนั้นปริมาณน้ำตาลมีน้อย เราก็เลยมาดูว่าที่ดินตรงนี้ น่าจะทำอุตสาหกรรมอย่างอื่นอะไรได้บ้างที่จะเกื้อกูลกัน” ประภาสเล่า

ที เอส ฟลาวมิลล์ เป็นธุรกิจผลิตแป้งสาลีโดยนำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศ เงินลงทุนแรกเริ่มราว 200 ล้านบาท นับเป็นธุรกิจแรกที่ฉีกออกจากธุรกิจดั้งเดิมของกลุ่ม เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2550 หนึ่งในลูกค้าสำคัญคือ ฟาร์มเฮาส์ และรายใหญ่อื่นๆ ในอุตสาหกรรมเบเกอรี่และเส้นบะหมี่ นอกจากนี้ยังมีแบรนด์ของตัวเองอีกกว่า 10 แบรนด์ เช่น เส้นหยก เส้นเหลือง ปาล์มแดง เป็นต้น

ไทยชูการ์ฯ ถือหุ้นในที เอส ฟลาวมิลล์ 98.82% โดยธุรกิจแป้งมีการใช้ประโยชน์จากคลังสินค้าและท่าเรือขนถ่ายของบริษัทแม่ ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพื้นที่ แทนที่จะปล่อยให้โกดังเงียบเหงาหลังจากหมดฤดูขนถ่ายน้ำตาล

เพียงปีแรกของธุรกิจโรงก็เริ่มต้นสร้างกำไรและทำกำไรเรื่อยมา ไม่ถึง 3 ปี กำไรจากธุรกิจโรงแป้งสูสีกับธุรกิจขนส่งฯ ซึ่งขณะนี้บริษัท ที เอส ฟลาวมิลล์ กำลังจะเข้าตลาด หลักทรัพย์ฯ MAI โดยเสนอขายหุ้นจำนวน 85 ล้านบาท เพื่อเตรียมระดมทุนขยายกำลัง การผลิตจากปัจจุบันอยู่ที่ 250 ตันต่อปี เป็นปีละ 400 ตัน

ราว 1 ปีต่อจากโรงแป้ง ไทยชูการ์ฯ ขยายเข้าสู่ธุรกิจโรงทอกระสอบพลาสติก ส่วนหนึ่งเพื่อรองรับกับธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ของบริษัทแม่ ส่วนหนึ่งขายให้กับบริษัทน้ำตาลที่อยู่ในกลุ่มสมาชิก อีกส่วนเก็บไว้ใช้กับธุรกิจโรงแป้ง ส่วนที่เหลือขายให้ลูกค้ารายอื่น โดยกำลังการผลิตของโรงทอกระสอบอยู่ที่ 179 ตันต่อเดือน

“จริงๆ ทำขึ้นมาส่วนมากก็เพื่อรองรับบริษัทในเครือ เพื่อลดต้นทุน” พัลลภ เหมะทักษิณ อดีตทนายหนุ่มใหญ่วัย 49 ปี กล่าวในฐานะผู้ช่วยประธานกรรมการบริหาร หรือ ก็คือ “มือขวา” คนสนิทของประภาส เจ้านายวัย 73 ปี

เนื่องจากธุรกิจโรงทอกระสอบแข่งขันสูง บวกกับราคาเม็ดพลาสติกที่ต้องอิงกับตลาดโลก ซึ่งครั้งหนึ่งโรงทอกระสอบที่เพิ่งดำเนินกิจการแห่งนี้ กลับต้องซื้อเม็ดพลาสติก มาใช้ในราคา กก.ละ 60 บาท ขณะที่ราคาหลังจากนั้นร่วงลงมาเหลือ 23 บาท ทำให้วันนี้ ประภาสนิยามผลการดำเนินงานของธุรกิจนี้ว่า “ยังเป็นลูกผีลูกคน” ไม่ต่างจากธุรกิจ น้ำมันปาล์มที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว

ความสำเร็จอย่างสูงในเวลาอันรวดเร็วจากธุรกิจโรงแป้ง ตอกย้ำความเชื่อเดิมของประภาสที่มองว่า “ถ้าทำโรงงาน และทำโรงงานเกี่ยวกับอาหารการกิน จะไม่มีคำว่าหยุดอยู่กับที่ ไม่ว่าจะแป้งหรือน้ำมัน”

ต้นปีที่ผ่านมา ไทยชูการ์ฯ ลงทุนในธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ในชื่อ บริษัท “ทีเอส อุตสาหกรรมน้ำมัน” ด้วยการทุ่มเงินลงทุนร่วม 400 ล้านบาท สร้างโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม และนำเข้าเทคโนโลยีการกลั่นน้ำมันปาล์มใหม่ล่าสุดจากสิงคโปร์ โดยไทยชูการ์ฯ ถือหุ้นในโรงกลั่นน้ำมัน 94.31%

เช่นเดียวกับธุรกิจโรงแป้ง ธุรกิจน้ำมันปาล์ม มีโรงกลั่นอยู่ในอาณาจักร 127 ไร่ ของไทยชูการ์ฯ และใช้สิ่งอำนวยความสะดวกจากบริษัทแม่ ไม่ว่าจะเป็นถังเก็บน้ำมันปาล์มดิบและท่าเทียบเรือที่นำวัตถุดิบเข้ามายังโรงงานได้โดยตรง ซึ่งทำให้ต้นทุนค่าขนส่ง ถูกกว่าผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายอื่นอยู่เกือบ 0.20 บาทต่อขวด

กระบวนการกลั่นน้ำมันของทีเอส อุตสาหกรรมน้ำมัน เริ่มต้นจากการซื้อน้ำมันดิบมากลั่นโดยเทคโนโลยีล่าสุดของโรงกลั่น โดยบรรจุขายทั้งแบบขวด ถุง หรือปี๊บ และขายเข้าสู่อุตสาหกรรม (Bulk)

ถ้าความเชื่อเรื่องการทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารของประภาสไม่ผิด สิ่งที่ผิดน่าจะเป็นจังหวะเวลาที่กระโดดลงมาแย่งเค้กเกือบ 2 หมื่นล้านบาทในตลาดน้ำมันพืช ซึ่งช่วงที่เริ่มดำเนินกิจการเกิดปัญหาน้ำท่วม ทำให้ผลปาล์มขาดตลาด และมีการแทรก แซงจากภาครัฐอย่างหนักตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ

รัฐบาลกำหนดราคารับซื้อปาล์มดิบ กิโลกรัมละ 6 บาท ทำให้ราคาน้ำมันปาล์ม ดิบหน้าโรงสกัดอยู่ที่ 36.28 บาท กลายเป็นต้นทุนการกลั่นที่มีราคาสูง แต่ทว่ารัฐบาลยังกำหนดเพดานราคาขายให้ผู้บริโภคอยู่ที่ ไม่เกิน 47 บาท ขณะที่ต้องแบกต้นทุนค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าเข้าโมเดิร์นเทรด ค่ากระจาย สินค้า และค่าส่วนลด เป็นต้น

ดังนั้น สิ่งที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับทีเอส น้ำมันอุตสาหกรรม จึงอยู่ที่การซื้อวัตถุดิบให้ได้ราคาต่ำ การกลั่นที่มีคุณภาพและสูญเสียน้อยที่สุด บวกกับลดต้นทุนทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ ซึ่งผู้บริหารเลือกที่จะลดการทำการตลาดด้วยการโฆษณาประชา สัมพันธ์ผ่านสื่อ

“ช่วงที่น้ำมันปาล์มขาดครั้งที่แล้ว ทุกคนคิดว่าโรงงานน้ำมันต้องรวย แต่จริงๆ ขาดทุน แล้วเงินที่รัฐบาลบอกจะช่วยชดเชย ให้ผู้ผลิตน้ำมัน ปัจจุบันยังไม่ได้สักบาท แต่ของผมยังนับว่าดีเพราะสัดส่วนน้อย แค่ ราว 1,200 ตัน ก็เป็นเงินที่รัฐติดอยู่ราว 6 ล้านกว่าบาท แต่บางโรงงาน รัฐยังติดค่าชดเชยอยู่หลายสิบล้าน กลายเป็นว่ายิ่งกลั่น มากยิ่งผลิตน้ำมันมาก ยิ่งขาดทุน เราผลิต 400 ตันต่อวัน เขาผลิตเยอะกว่าเรา 2 เท่า เขาก็ยิ่งเจ็บ” ประภาสระบาย

หากไม่เจอการกีดกันตลาดจากผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ อุปสรรคสำคัญอีกประการของผู้ผลิตน้ำมันรายใหม่ในการเข้าตลาด ก็คือการทำการตลาด เพราะเมื่อราคาขายถูกกำหนดเท่ากัน พฤติกรรมผู้บริโภคส่วนมากจะใช้สินค้าในแบรนด์ที่ตนรู้จักและอยู่มานาน

แม้ “ราชา” จะเป็นแบรนด์ใหม่ในตลาดน้ำมันปาล์ม แต่ด้วยกลยุทธ์ขายพ่วงผงชูรส “ราชา” บวกกับการสายสัมพันธ์ในทางธุรกิจและความเป็นเครือญาติ ทำให้น้ำมันของทีเอส อุตสาหกรรมน้ำมัน ไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์

ณ วันนี้ “ราชา” แบบขวดวางขายอยู่ในเทสโก้ฯ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ส่วนแบบถุงและแบบปี๊บเจาะกลุ่มแม่ค้าและอุตสาหกรรมผลิตอาหาร นอกจากนี้ยังมีน้ำมันปาล์มอีกส่วนส่งไปขายที่ลาวและเขมร

ประภาสยอมรับว่า ความราบรื่นและกำไรของโรงผลิตแป้ง ทำให้ประมาทตั้งอยู่บนความประมาทไปกับความเชื่อที่ว่า “ธุรกิจเกี่ยวกับอาหารอย่างไรเสียย่อมไปได้” ทว่า การลงทุนในธุรกิจน้ำมันที่ปลายน้ำ โดยที่ไม่ได้มี “ต้นน้ำ” คือสวนปาล์ม โรงหีบ เหมือนรายใหญ่ในตลาด ทำให้โอกาสที่จะได้กำไรภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน เป็นไปได้ยาก

ในอนาคต ประภาสเชื่อว่า ธุรกิจน้ำมันของกลุ่มน่าจะดีขึ้น เมื่อจำนวนปาล์มดิบ มีมากขึ้น ราคาปาล์มก็จะถูกลง และจะทำ “วอลุ่ม” ได้ เพราะทุกวันนี้ บริษัทใช้กำลังการผลิตเพียงเดือนละพันกว่าตัน ขณะที่กำลังการผลิตเต็มที่ได้ถึงหมื่นตันต่อเดือน

ขณะเดียวกัน บริษัทกำลังจะลงทุนผลิตขวดเองเพื่อลดต้นทุน และในอนาคตก็อาจจะต้องมีสวนปาล์มหรือโรงสกัดของตัวเองเพื่อสร้าง “ต้นน้ำ” มารองรับความเสี่ยงจากการเข้าแทรกแซงของภาครัฐ

อย่างไรก็ดี แม้ว่าผลประกอบการปีแรกของโรงกลั่นน้ำมันจะขาดทุนถึง 20-30 ล้านบาท เฉพาะเดือนเมษายนที่ผ่านมาที่มีปัญหาน้ำมันปาล์มขาดตลาด บริษัทขาดทุนไปแล้ว กว่า 3 ล้านบาท แต่พัลลภก็เชื่อว่า โรงผลิตน้ำมันจะเพิ่มมูลค่าให้กับกลุ่มไทยชูการ์ฯ ได้สูงกว่าโรงผลิตแป้งถึง 3 เท่า

“ณ เวลานี้ โรงผลิตแป้งมีกำลังการผลิต 250 ตันต่อเดือน ทำรายได้เต็มที่ไม่เกิน 1.2 พันล้านบาท แต่โรงผลิตน้ำมันผลิตได้ 4 พันตันต่อเดือน ทำรายได้ 3 พันล้านบาท” พัลลภให้ข้อมูล

ในฐานะที่เป็นผู้ช่วยของประภาสในการพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ให้กับเครือไทยชูการ์ฯ พัลลภยอมรับว่า ธุรกิจแป้งเป็นโปรเจ็กต์ที่เขาพอใจที่สุด ทั้งที่เป็นโครงการที่คิดไม่นาน และคิดหลังจากโครงการน้ำมัน แต่เพราะได้ผู้ช่วยเป็นที่ปรึกษา “มือดี” อย่าง ดร.สุภสร ชโยวรรณ ซึ่งคลุกคลีอยู่กับธุรกิจแป้งสาลีมาตลอด

ปัจจุบันธุรกิจผลิตแป้งได้ “มือดี” วัยเพียง 37 ปี จากเนสกาแฟมานั่งเป็นผู้บริหารคนใหม่ ได้แก่ ดร.ชาญกฤช เดชวิทักษ์ ซึ่งเป็นลูกเขยของประภาส ขณะที่ ดร.สุภสรในวัย 74 ปี ได้รับมอบหมายภารกิจสำคัญในการเข้าไปช่วยดูบริษัทผลิต น้ำมันปาล์มอย่างใกล้ชิดร่วมกับพัลลภ

นอกจากนี้ในฐานะนักกฎหมาย พัลลภยังมีหน้าที่สำคัญในการดูแลธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท ที เอส จี แอส เซ็ท ซึ่งไทยชูการ์ฯ ถือหุ้นอยู่ 79.78% ไม่ว่าจะเป็นเซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ คอนโด และโครงการหมู่บ้านจัดสรรที่ต่างๆ

จากจุดเริ่มต้นที่ธุรกิจคลังสินค้าและโลจิสติกส์ ที่รายได้เกือบทั้งหมดฝากไว้กับปริมาณการผลิตน้ำตาล ท่ามกลางการแข่งขันในธุรกิจที่รุนแรงขึ้น มาวันนี้ไทยชูการ์ฯ ขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจใหม่ โดยอาศัยการเพิ่มมูลค่าและต่อยอดสินทรัพย์และธุรกิจดั้งเดิม เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มรายได้

เพียงไม่กี่ปีในการขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วกับ 6 บริษัทบนพื้นที่ 127 ไร่ อาณาจักรของไทยชูการ์ฯ ในวันนี้ เริ่มดูแคบลงและแออัดมากขึ้น การจราจรติดขัด เสียเวลาในการขนส่งเพิ่มขึ้น “เวลา” เป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์

ณ วันนี้ ปัญหาเรื่องการขาดแคลนพื้นที่ดินสำหรับขยายอาณาจักรดูจะยังไม่ใช่ปัญหาหนักและเร่งด่วนสำหรับไทยชูการ์ฯ เท่ากับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรระดับผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ มาช่วยดูแลบริหารกิจการที่เริ่มมีความหลากหลายทางธุรกิจมากขึ้น นี่กำลังกลายเป็นข้อจำกัดในการเติบโตของไทยชูการ์ฯ ทุกวันนี้

ถ้าหากไทยชูการ์ฯ สามารถก้าวข้ามอุปสรรคสำคัญข้อนี้ไปได้แล้ว ดูเหมือนว่า ด้วยยุทธศาสตร์การเติบโตเช่นที่ผ่านมา ในวันหน้า อาณาจักรขนาดย่อมแห่งนี้ยังจะมี “ก้าว” ที่ยิ่งใหญ่ได้อีกหลายก้าว!   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us