Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2554
Deadly Tornados (ตอนที่ 2)             
โดย มานิตา เข็มทอง
 


   
search resources

Environment




มอนส์เตอร์สอาละวาดอีกครั้ง...เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา พายุทอร์นาโดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 กิโลเมตร ได้พัดถล่มเมือง Joplin มลรัฐ Missouri คิดเป็นพื้นที่เสียหายยาวประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน มากถึง 132 ราย และยังมีผู้สูญหายอีกกว่า 150 ราย นับเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดในรอบ 64 ปี (ตัวเลขเหล่านี้ยังไม่เป็นทางการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้) สำหรับปัจจัยพิเศษนอกเหนือจากองค์ประกอบทั่วไป ที่ทำให้เกิดทอร์นาโดเอาท์เบรกรุนแรงเป็นจำนวนมากในฤดูกาลนี้ Dr.Mace Bentley ศาสตราจารย์ด้านภูมิอากาศวิทยาได้ชี้แจงว่า

ปัจจัยแรกเกิดจากอุณหภูมิผิวน้ำบริเวณอ่าวเม็กซิโกที่สูงกว่าปกติถึง 1.7 องศาเซลเซียส ซึ่งตาม ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 25-26 องศาเซลเซียส แต่ปีนี้ผิวน้ำทะเลบริเวณนั้นอุ่นขึ้นที่ระหว่าง 26-28 องศาเซลเซียส แม้จะดูเหมือนว่าแตกต่างไม่มากนักแต่ก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดความชื้นที่อุ่นขึ้นและอุณหภูมิ ของอากาศที่สูงขึ้นในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศส่วนล่างสุด

ปัจจัยต่อมาคือ ปรากฏการณ์ลานีญา (La Nina) ที่กระตุ้นให้อากาศเย็นจากแคนาดาเคลื่อนตัวเข้าสู่ตอนเหนือของสหรัฐอเมริกามากกว่าปกติ ปะทะกับอากาศร้อนที่เคลื่อนตัวมาจากอ่าวเม็กซิโก ก่อให้เกิดอุณหภูมิที่แตกต่างระหว่างร้อนกับเย็นมากกว่าปกติทั่วประเทศ

ปัจจัยสุดท้าย คือ ปรากฏการณ์ PDO (The Pacific Decadal Oscillation) ที่เป็นเนกาทีฟในปีนี้ หมายถึงผิวน้ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ในขณะที่ผิวน้ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ซึ่งอุณหภูมิของผิวน้ำในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกที่ต่ำกว่าปกติ ไปเสริมกับอากาศเย็นที่เคลื่อนมาจากแคนาดาจากปรากฏการณ์ลานีญา ยิ่งทำให้สภาพอากาศแปรปรวนมากขึ้นทั่วสหรัฐฯ ทำให้พลังงานเหลือเฟือจำนวนมหาศาลสามารถก่อให้เกิดพายุความกดอากาศต่ำได้ในพื้นที่สหรัฐฯตอนกลางและเคลื่อนตัวไปทางตะวันออก ซึ่งพายุความกดอากาศต่ำตามปกติคือ พายุฝนฟ้าคะนองโดยทั่วไป แต่จากความแปรปรวนของอากาศที่เกิดขึ้นจากปัจจัยพิเศษดังกล่าว ทำให้พายุมีความรุนแรง มากกว่าปกติ และทอร์นาโดที่ก่อตัวจากพายุเหล่านี้ก็มีความรุนแรงมากกว่าปกติด้วย

การเกิด Tornado Super Outbreak ช่วงวันที่ 25-28 เมษายนและเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา เกิดจากปัจจัยพิเศษเหล่านี้ โดยมีความแรงของลมเป็นตัวกระตุ้นอีกปัจจัยหนึ่ง ทำให้ Tornado Outbreak ชุดนี้มีความรุนแรงมากในประวัติศาสตร์ และพัดผ่านครอบคลุมพื้นที่หลายพื้นที่ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง โดย Tornado Super Outbreak ช่วงวันที่ 25-28 เมษายนี้ เริ่มต้นที่ Arkansas และเคลื่อนไปที่ Mississippi โดยมีรายงานเกิดทอร์นาโด มากกว่า 10 ลูกภายในครึ่งชั่วโมงของวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา แม้ว่าอุตุนิยมวิทยาสหรัฐฯ จะประกาศเตือนภัยล่วงหน้าแล้วก็ตาม หากยังคงไม่สามารถระบุความรุนแรงของพายุที่จะเกิดได้ล่วงหน้า ว่าจะรุนแรงมากน้อยเพียงใด จนกว่าจะมีการสำรวจ ความเสียหายหลังพายุสงบ จากต้นไม้ล้มระเนระนาด บ้านเรือนเสียหายยับเยิน แม้กระทั่งเสาวิทยุของ NOAA ยังล้มพัง ทำให้ไม่สามารถรับคลื่นวิทยุได้ ทางการจึงจะประมาณการได้ว่า ความรุนแรงของพายุอยู่ในระดับใด (ตามตารางมาตราวัดในฉบับ ที่แล้ว) สำหรับพายุทอร์นาโดที่พัดผ่านเมือง Smithville ในรัฐ Mississippi ได้รับการบันทึกให้เป็นระดับ EF5 ซึ่งถือเป็นระดับที่รุนแรงที่สุดในรอบกว่า 40 ปีของพื้นที่นี้

ต่อจาก Mississippi พายุได้เคลื่อนต่อไปที่รัฐ Alabama และเกิดทอร์นาโดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 2 กิโลเมตร หมุนผ่านพื้นที่ไกลเกือบ 130 กิโลเมตร ที่เมือง Tuscaloosa ซึ่งเป็นเมืองที่เสียหาย มากที่สุดจากพายุชุดนั้น เนื่องจากทอร์นาโดลูกนั้นได้พัดถล่มพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น โดยทางการบันทึกให้ความรุนแรงอยู่ในระดับ EF4 สรุปตัวเลขผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการจำนวน 61 ราย ส่วนทอร์นาโดที่ถล่ม Joplin เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีความรุนแรงอยู่ในระดับ EF5 ทอร์นาโดได้สร้างความสูญเสียชีวิต และความเสียหายต่ออาคาร บ้านเรือน โรงเรียน และโรงพยาบาลประจำท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก จากรายงานมีผู้พบเครื่องเอกซเรย์ของโรงพยาบาลไปตกห่างไกลกว่า 100 กิโลเมตรจากเมืองที่เกิดเหตุ

ทอร์นาโดเป็นมหันตภัยทางธรรมชาติอีกเหตุการณ์หนึ่งที่สร้างความสูญเสียทั้งทางชีวิตและทรัพย์สิน กระทบเศรษฐกิจ จิตใจของผู้คน โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่ถือว่าเป็น “Tornado Capital of the World” มีการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาตินี้ ด้วยการให้ความรู้ความเข้าใจประชาชนในประเทศ สิ่งแรกที่ทุกคนต้องปฏิบัติเมื่อ สัญญาณเตือนภัยทอร์นาโดดังขึ้นคือ

สำหรับบ้านที่มีห้องใต้ดินให้ทุกคนหลบเข้าไปอยู่ในห้องใต้ดิน ห้ามอยู่ใกล้บริเวณหน้าต่าง ให้หลบใต้โต๊ะ ถ้ามีที่นอนให้เอามาคลุมร่างกายไว้ ห้ามหลบหลังตู้เย็น เครื่องเปียโน หรือของหนักต่างๆ เนื่องหากเวลาทอร์นาโดพัดผ่านมา อาจทำให้สิ่งของเหล่านั้นพังลงมาทับตัวเราได้

สำหรับบ้านที่ไม่มีห้องใต้ดินหรืออาคารหอพัก อพาร์ตเมนต์ต่างๆ ให้หลบห่างจากหน้าต่าง หาห้อง ที่อยู่ชั้นล่างสุด และหลบที่ส่วนกลางของอาคารที่ห่างจากหน้าต่าง ให้นั่งราบกับพื้นเก็บคางเก็บเข่า เอามือประสานไว้บนศีรษะ ถ้ามีอ่างอาบน้ำในห้องน้ำ ให้ลงไปหลบในอ่างน้ำ หากหาที่นอนมาคลุมด้านบน ทันจะช่วยได้มาก

สำหรับสถานที่ทำงาน โรงพยาบาล และอาคารสูง ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับบ้านที่ไม่มีห้องใต้ดิน ลงไปอยู่ชั้นล่างสุด ห่างจากหน้าต่าง ห้ามใช้ลิฟต์ ถ้าสามารถหลบไปที่ส่วนกลางได้ให้รีบไปโดยเร็วที่สุด ใต้บันไดในตัวอาคารก็เป็นอีกที่หนึ่งที่สามารถหลบภัยได้

สำหรับโรงเรียน ห้ามหลบเข้าไปตามอาคารโล่ง เช่นโรงยิม หรือหอประชุม

สำหรับบ้านเคลื่อนที่ ให้รีบออกจากบ้านและไปยังศูนย์หลบภัยที่ใกล้ที่สุด หากไม่ทันเวลาให้ปฏิบัติตัวเหมือนอยู่นอกอาคารคือ ให้นั่งราบกับพื้นเก็บคางเก็บเข่า เอามือประสานไว้บนศีรษะ พยายาม อยู่ห่างรถยนต์หรือต้นไม้ เนื่องจากทอร์นาโดอาจพัด สิ่งเหล่านั้นมาทับได้ หากอยู่ในรถยนต์หรือยวดยานพาหนะต่างๆ ที่ถือว่าเป็นสถานที่อันตรายที่สุดขณะเกิดทอร์นาโด ถ้าเห็นทอร์นาโดมาแต่ไกล และยังสามารถขับหนีได้อยู่ ให้ขับหนีออกจากทอร์นาโด ไปทางขวามือ ถ้าขับหนีไม่ทันให้ออกจากรถและหาที่หลบภัยหรือปฏิบัติตามกรณีอยู่นอกอาคารพยายามหลีกเลี่ยงใต้สะพาน

ปี 2011 อาจจะเป็นปีที่พายุทอร์นาโดคร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ก็เป็นไปได้ เนื่องจากฤดูกาลทอร์นาโดยังไม่สิ้นสุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us