Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2554
Be Connected Shinkansen             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 


   
search resources

Transportation




อาจเป็นโชคชะตาที่ลิขิตให้จำต้องระงับการบูรณาการรถไฟ Kyushu Shinkansen เข้ากับระบบเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นอีก 3 เส้นทางอันประกอบด้วย Tohoku, Tokaido และ Sanyo เป็นสายยาวตั้งแต่เหนือสุดของเกาะ Honshu จรดใต้สุดของเกาะ Kyushu ซึ่งมีหมายกำหนดในวันที่ 12 มีนาคม 2011 ไว้ชั่วคราวเนื่องเพราะเกิดแผ่นดิน ไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นก่อนหน้านั้นเพียง 1 วัน

แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวระดับ 9.0 ริกเตอร์ตามมาด้วยอัคคีภัยอีกหลายแห่งรวมถึง Tsunami ขนาดยักษ์หลายระลอกที่ถาโถมเข้ากระทบ ตลอดแนวตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะชายฝั่งของจังหวัด Iwate, Miyagi และ Fukushima ซึ่งวัดความสูงของ Tsunami จากร่องรอยที่เหลือทิ้งไว้ได้สูงสุดถึง 14 เมตรหรือมากกว่าตึก 5 ชั้น นำมาซึ่งความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินมูลค่ามหาศาล นอกจากนี้สาธารณูปโภคพื้นฐานในเขต “East Japan” ต่างได้รับผลกระทบโดยถ้วนหน้ารวมทั้งระบบรถไฟในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ Tohoku Shinkansen ที่เพิ่งขยายบริการจากสถานี Tokyo ไปถึง Shin Aomori รวมระยะทางยาว 675 กิโลเมตรเมื่อปลายปีที่แล้ว*

บางช่วงของเส้นทางรถไฟที่พาดผ่านระหว่าง จังหวัด Tochigi ถึง Iwate ราว 500 กิโลเมตร พบรายงานความเสียหายอยู่ประมาณ 1,200 แห่งเช่น สายไฟชำรุด สัญญาณไฟเสียหาย เป็นต้น ส่งผลให้รถไฟ Shinkansen ทุกขบวนรวมถึง Hayabusa ซึ่งเป็นขบวนใหม่ที่เพิ่งเปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2011 นั้นไม่สามารถใช้สัญจรได้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

กระนั้นก็ดี หากพิจารณาในทางกลับกันจะเห็นว่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวในคราวนี้ถือเป็นการจู่โจมทดสอบประสิทธิภาพระบบเบรกในขณะกำลังแล่นด้วยความเร็วสูงกว่า 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและผลลัพธ์ที่ปรากฏก็คือสามารถชะลอความเร็วอัตโนมัติและจอดลงโดยสวัสดิภาพได้ทุกขบวนหลังจากได้รับสัญญาณสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวซึ่งธรรมชาติได้พิสูจน์แล้วอีกครั้งหนึ่งว่า รถไฟ Shinkansen มีความปลอดภัย 100% นับจากเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1964

ขณะเดียวกันท่ามกลางภาวะโกลาหลโดยเฉพาะในพื้นที่ประสบภัยที่หน่วยกู้ภัยฉุกเฉินและอาสาสมัครกระจายกำลังเร่งค้นหาผู้รอดชีวิตซึ่งอาจติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังจาก Tsunami นั้น ในอีกฟากหนึ่งของประเทศเริ่มเปิดบริการเส้นทางใหม่ Kagoshima route เต็มรูปแบบซึ่งดำเนินไปอย่างเงียบเชียบที่สุดเท่าที่เคยมีมา ไม่มีแม้ภาพข่าวพิธีเปิด รวมทั้งโฆษณาของ Kyushu Shinkansen ปรากฏให้เห็นบนสื่อโทรทัศน์

การรุกคืบขยายเส้นทางสู่ปลายสุดเกาะ Kyushu เปรียบเสมือนการขยายหลอดเลือดใหญ่เพื่อสูบฉีดความเจริญไปสู่ชนบทภายใต้โครงการ Kyushu Shinkansen อันสืบเนื่องจากร่างกฎหมาย National Shinkansen Railway Construction Law ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายระดับชาติที่ลงมติสร้างทางรถไฟ สายหลักครอบคลุมเกาะใหญ่ทั้ง 4 เกาะของประเทศ

รถไฟ Shinkansen บนเกาะ Kyushu มี 2 สาย ได้แก่ Kagoshima route ซึ่งเป็นสายหลักมีระยะทาง 257 กิโลเมตรกับ Nagasaki route เป็นสายที่แตกแขนงย่อยออกไปอีกทีจากสถานี Shin Tosu ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ดังนั้น ในขณะนี้เมื่อกล่าวถึง Kyushu Shinkansen จึงหมายถึง Kagoshima route ไปโดยปริยาย

ระยะแรกเลือกดำเนินการก่อสร้างในส่วนครึ่งล่างของเส้นทางทั้งหมดก่อนตั้งแต่สถานี Shin Yatsushiro ใจกลางเกาะ Kyushu ฝั่งตะวันตกถึงสถานี Kagoshima Chuo ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัด Kagoshima ใต้สุดของเกาะเป็นระยะทาง 127 กิโลเมตร แล้วเสร็จเปิดให้บริการตั้งแต่ 13 มีนาคม 2004 สามารถร่นระยะ เวลาเดินทางจากสถานี Hakata ถึงสถานีปลายทาง Kagoshima Chuo จาก 3 ชั่วโมง 40 นาที เหลือ 2 ชั่วโมง 10 นาที

ความโดดเด่นที่ขับเคลื่อนอยู่บนราง standard gauge กว้าง 1,435 มม. ของเกาะ Kyushu คือขบวน Tsubame ซึ่งใช้รถไฟรุ่น N800 series สมรรถนะครบองค์ประกอบของ Shinkansen Technology ผสมผสาน ความงามภายในห้องโดยสารที่ถ่ายทอดเอกลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่นได้มากที่สุดในทุกรายละเอียดซึ่งออกแบบ โดย Industrial Designer ระดับแถวหน้าชาวญี่ปุ่นชื่อ Eiji Mitooka ผู้มีผลงานโดดเด่นมากมายเช่นการออกแบบ Saitama Super Arena**

โครงการระยะสองในส่วนของ North Kyushu ที่เพิ่งเปิดใช้ไปนั้นสร้างจากสถานี Hakata ถึงสถานี Shin Yatsushiro เป็นระยะทาง 130 กิโลเมตรเพื่อเชื่อม ต่อกัน ทำให้ระยะเวลาเดินทางระหว่าง Hakata-Kagoshima Chuo รวดเร็วขึ้นไปอีกเหลือเพียง 1 ชั่วโมง 20 นาทีหรือประหยัดเวลาได้ถึง 2 ชั่วโมง 20 นาทีต่อเที่ยวโดยสาร

รถไฟที่ให้บริการในปัจจุบันมี 3 ขบวนคือนอกจากขบวน Tsubame ซึ่งจอดทุกสถานีตลอดเส้นทางจาก Hakata-Kagoshima Chuo แล้วยังมีขบวน Sakura (ใช้รถไฟทั้งรุ่น N700 กับ N800) และ Mizuho (ใช้รถไฟรุ่น N700-7000/8000 series)

ทั้งขบวน Sakura และ Mizuho ให้บริการครอบคลุมไปถึงเส้นทาง Sanyo Shinkansen ยาวไปถึงสถานี Shin Osaka โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนรถไฟที่สถานี Hakata โดยที่ขบวน Sakura จอดแวะสถานีถี่กว่าขบวน Mizuho

สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางด้วย JR Rail Pass มีข้อควรระวังบางประการคือจะไม่สามารถโดยสารขบวน Mizuho เช่นเดียวกับเงื่อนไข ในเส้นทาง Tokaido Shikansen ที่สามารถเดินทาง ได้ไม่จำกัดครั้งภายในระยะเวลาที่กำหนดยกเว้นขบวน Nozomi

กระบวนทัศน์การเปิดให้บริการ Kyushu Shinkansen กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการบนเกาะ Kyushu รวมถึงดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวญี่ปุ่น และชาวต่างชาติ

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือค่อยๆ คลี่คลายไปตามลำดับจนกระทั่ง Tohoku Shikansen สามารถซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดทั้งหมดและเปิดให้บริการตลอดเส้นทางได้อีกครั้งในวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา ต้อนรับเทศกาลวันหยุด Golden Week

จึงเท่ากับได้สมานเส้นทางสัญจรภายใต้ยุทธศาสตร์รถไฟ Shinkansen ของเกาะ Honshu กับ Kyushu เข้าด้วยกันเป็นระยะทางรวมทั้งสิ้น 2,001 กิโลเมตร เพื่อรอการเชื่อมต่อกับ Hokkaido Shinkansen ในปี 2015

อ่านเพิ่มเติม:

* นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ เรื่อง “My First Aomori” ฉบับมกราคม 2554 หรือ http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=90684

** นิตยสารผู้จัดการ เรื่อง “Saitama Super Arena” ฉบับกันยายน 2548 หรือ http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=38764   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us