Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2554
อิทธิพลของ “เวยป๋อ”             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 


   
search resources

Networking and Internet




“วันนี้คุณ ‘เวย’ หรือยัง?”

หลังจากเขียนแนะนำถึงเรื่องของ "เวยป๋อ" หรือไมโครบล็อก นวัตกรรมในโลกอินเทอร์เน็ตที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในสังคมจีนและได้รับการคาดหมายว่าน่าจะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์และวิธีการสื่อสารของผู้คนในสังคมที่ใช้ “ภาษาจีน” ไปอย่างสิ้นเชิงได้ไม่ถึง 2 เดือนดี ผมก็อดไม่ได้ที่จะกลับมาเขียนถึงเรื่องของเวยป๋อเพิ่มอีกสักหนึ่งตอน

ผมเห็นความจำเป็นที่ทำให้ต้องกลับมาเขียนถึงเรื่องนี้เพิ่มเติมมีหลายประการด้วยกัน คือ

หนึ่ง ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้พบปะพูดคุยกับเพื่อนฝูงชาวจีนที่เดินทางมาเที่ยว เมืองไทยและมิตรสหายนักข่าวชาวจีนที่ทำข่าวอยู่ในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง ผมพบว่าทุกคนแม้จะมา จากพื้นเพที่แตกต่าง อาชีพที่แตกต่าง ความสนใจที่แตกต่าง ทว่า ทุกคนร้อยทั้งร้อยต่างเล่นและใช้งาน “เวยป๋อ” กันเป็นประจำทั้งสิ้น

ถ้าหากเปรียบเทียบไปก็คงคล้ายคลึงกับการที่ชนชั้นกลางและวัยรุ่นในเมืองไทยที่ตอนนี้หันมาใช้ งานเฟซบุ๊กกันเป็นจำนวนมาก และเล่นบ่อยจนเป็นกิจวัตร เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม 2554 มีตัวเลขระบุว่า ปัจจุบันมีคนไทยใช้เฟซบุ๊กในการสื่อสารมากถึงราว 9.3 ล้านคน หรือเปรียบเทียบได้เท่ากับครึ่งหนึ่งของประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ตในบ้านเรา และร้อยละ 15 ของประชากรทั้งประเทศ

ในส่วนตัวเลขผู้ใช้เวยป๋อนั้นจากรายงานของสำนักข่าวซินหัวระบุว่า ในระยะเวลาเพียง 2 เดือน คือเดือนมีนาคม-เมษายน 2554 จำนวนผู้ใช้งานซินล่างเวยป๋อ (Sina Weibo) เพิ่มขึ้นถึง 40 ล้านคน จาก 100 ล้านคนเป็น 140 ล้านคน! หรือถ้าคิด เป็นสัดส่วนต่อจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเมืองจีนแล้วก็ประมาณร้อยละ 30 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวจีนทั้งประเทศ ประมาณร้อยละ 10 ของประชากรจีน (ตัวเลขดังกล่าวไม่นับรวมผู้ใช้เวยป๋อของเว็บไซต์เจ้าอื่นๆ อาทิ Tencent)[1]

สอง หลังจากที่ผมพยายามใช้เวลาติดตามข้อความของบรรดาปัญญาชนชาวจีนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับแวดวงข่าวสารก็พบว่า สิ่งที่ชาวจีนที่มีการศึกษาพูดถึง บ่นถึง สนทนาถึง หรือให้ความสนใจมิได้มีแต่เรื่องบันเทิงเริงรมย์ หรือไร้สาระในชีวิตประจำวันเสียทีเดียว เพราะผู้คนจำนวนไม่น้อย ใช้เวยป๋อเป็นเครื่องมือและช่องทางในการสื่อสารถึง อุปสรรค ปัญหา และความยากลำบากในการดำรงชีวิตที่พวกเขาต้องประสบพบเจอ

“เมื่อราคาน้ำมันขึ้น ทำเอาพลพรรคคนมีรถรู้สึกฝาดขมจนพูดไม่ออก, พอธนาคารขึ้นดอกเบี้ย ก็ทำเอาพลพรรคข้าทาสผู้ผ่อนบ้านรู้สึกฝาดขมจนมิอาจเอื้อนเอ่ย, เมื่อทราบข่าวว่ามีนมปนเปื้อนสารพิษ ก็ทำเอาบรรดาพ่อแม่รู้สึกฝาดขมแต่ไม่กล้าเอ่ยปาก, พอได้ยินข่าวสารเร่งเนื้อแดงในหมูระบาด ก็ทำเอาสามัญชนรู้สึกฝาดขมจนแทบทนไม่ไหว”

ข้อความข้างต้นเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผมพบเห็นจากเวยป๋อของคนในแวดวงสื่อมวลชนจีนที่อดรน ทนไม่ไหวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ความไม่เป็นธรรมในสังคม การถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้านายทุน ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พอใจในการบริหารงานของภาครัฐที่ไร้ประสิทธิภาพ

ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ คนจีนผู้เขียนข้อความดังกล่าวมี “เฝิ่นซือ “ (แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “แฟน” หรือในภาษาทวิตเตอร์ก็คือ Followers) ที่ติดตามอ่านอยู่เกือบ 5 หมื่นคน

จริงๆ แล้ว สำหรับเวยป๋อ ตัวเลข “เฝิ่นซือ” หลักหมื่นนั้นถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่ได้มากมายอะไรนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ใช้ที่มากกว่า 140 ล้านคน ขณะที่ผู้ใช้เวยป๋อที่มีเฝิ่นซือ มากที่สุดนั้นเป็นดาราสาวชาวจีนที่มีนามว่า “เหยา เฉิน “ ซึ่งมีเฝิ่นซือ หรือผู้ติดตามข้อเขียนของเธอบนเวยป๋อมากถึง 8.3 ล้านคน!

เหยา เฉิน เป็นดาราสาวชาวจีนแผ่นดินใหญ่ เกิดที่มณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) ปัจจุบันอายุ 31 ปี เข้าสู่วงการบันเทิงจีนตามขั้นตอนปกติที่สุด คือ จบ การศึกษาจากภาควิชาการแสดง วิทยาลัยภาพยนตร์ ปักกิ่ง โดยเริ่มต้นด้วยการแสดงซีรีส์หนังตลกย้อนยุคของจีนที่ชื่อ “อู่หลินไว่จ้วน ; My Own Swordsman)” จนมีผู้ให้ฉายาเธอว่าเป็น “โจว ซิงฉือ ภาคผู้หญิง” ทว่าหลายปีที่ผ่านมาชื่อเสียงของเธอใน หมู่ชาวจีนก็ไม่ได้โด่งดังอะไรนัก และถือเป็นเพียงดาราเกรดรองๆ เท่านั้น โดยเฉพาะหากเปรียบเทียบ กับดาราภาพยนตร์หญิงจากจีนแผ่นดินใหญ่คนอื่นๆ อย่างเช่น ก่ง ลี่, จาง จื่ออี๋, ฟ่าน ปิงปิง หรือหลี่ ปิงปิง กระทั่งในเดือนกันยายน 2552 ที่เหยา เฉิน หันมาเริ่มเล่นและคลุกคลีอยู่กับ “เวยป๋อ” เพื่อส่งข้อความต่างๆ ในโซเซียลเน็ตเวิร์กสัญชาติจีนหาแฟนๆ ละครของเธอ

ในที่สุดเมื่อกระแสโซเซียลเน็ตเวิร์กและเวยป๋อจุดติดในปี 2553 (ค.ศ.2010) เหยา เฉินจึงกลายเป็นชาวจีนคนแรกที่มีผู้ติดตามข้อความของเธอ ผ่านเวยป๋อเกิน 1 ล้านคน เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553

ภายในระยะเวลาเพียงปีกว่าเท่านั้น เวยป๋อได้สร้างชื่อเสียงให้กับเหยา เฉิน จนทำให้เธอได้รับฉายาว่าเป็น “ราชินีเวยป๋อ” และชื่อเสียงและความโด่งดังจากโลกออนไลน์นี้เองที่เป็นแรงกระตุ้นให้ผู้สร้างภาพยนตร์และบรรณาธิการนิตยสารจำนวนมากต่างต้องการตัวเธอไปเล่นละคร และถ่ายลงปกนิตยสาร ด้านสื่อบางฉบับระบุว่าการขอสัมภาษณ์อดีตดาราโนเนมผู้นี้ปัจจุบันต้องใช้เวลาในการนัดล่วงหน้าถึงหกเดือนเลยทีเดียว

ขณะที่คนดังในโลกเวยป๋อระดับรองๆ จากเหยา เฉิน ลงไปอย่างเช่น เวยป๋อของ “เสี่ยว S (สีว์ ซีตี้)” นักแสดงและพิธีกรชื่อดังของไต้หวันก็มีผู้ติด ตามราว 7.5 ล้านคน, เวยป๋อของ “ไช่ คังหย่ง หรือ เควิน” พิธีกรชื่อดังของไต้หวัน มีผู้ติดตามเกือบ 7 ล้านคน ส่วน “เจ้า เวย” หรือที่ชาวไทยคุ้ยเคยกับเธอ ดีในบทบาทองค์หญิงกำมะลอในเวยป๋อของเธอก็มีผู้ติดตามมากกว่า 6.5 ล้านคน

ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลข Followers ในทวิตเตอร์ของคนดังในฝั่งตะวันตกอย่างเลดี้ กาก้า, จัสติน บีเบอร์, ประธานาธิบดี บารัก โอบามา, บริทนีย์ สเปียร์, เคธี เพอร์รี ที่มีตัวเลขคนฟอลโลว์ราว 8-10 ล้านคนแล้ว ถือได้ว่า ดาวดังในโลกเวยป๋อ ของจีนเหล่านี้ก็มีอิทธิพลต่อชาวจีนไม่แพ้กันเท่าไร

ท่านผู้อ่านลองนึกดูสิครับว่า หากวันหนึ่งดารา-คนดังจีนเหล่านี้ที่มีเฝิ่นซือเป็นล้านๆ คน เกิด แสดงทัศนะ, วิพากษ์วิจารณ์, ส่งต่อ ประเด็นปัญหาบ้านเมือง ปัญหาสังคมจีนในประเด็นใดประเด็นหนึ่งขึ้นมาพร้อมๆ กันบนเวยป๋อ โดยหากเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องตรงใจชาวจีนหมู่มาก เรื่องนั้นจะไม่กลายเป็นข่าวใหญ่ ประเด็นยักษ์ที่เปรียบ เหมือน “ประกายไฟที่ลามเลียทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่ไพศาล” ได้อย่างไร?

นอกจากผลกระทบทางสังคม ทางการแพร่กระจายข่าวสารข้อมูลและทางการเมืองแล้ว “เวยป๋อ” ยังมีมิติในเชิงเศรษฐกิจอีกไม่น้อยที่น่าหยิบยกขึ้นมา กล่าวถึง

จำนวนผู้ใช้เวยป๋อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และมีการคาดหมายกันว่าภายในปี 2554 จำนวนผู้ใช้ Sina Weibo น่าจะทะลุหลัก 200 ล้านคนได้ไม่ยาก ตัวเลขอันมากมายมหาศาลนี้เองที่ทำให้ “เวยป๋อ” กลายสภาพเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประเทศจีน และกำลังจะขยายตัวไปในบริการบนเว็บไซต์ (Web Service) ประเภทต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ปี 2554 คนจีนจำนวนมากเริ่มหันมาใช้บริการหางานผ่าน “เวยป๋อ” ที่เรียกว่า “เวยเจี่ยนลี่ ( ; Micro-resume)” และ “เวยเจาพิ่น ( ; Micro-recruiting)”

เมื่อได้ลองใช้แล้ว ผมรู้สึกได้ชัดเจนว่า “เวยป๋อ” ไม่ใช่คู่แข่งของทวิตเตอร์ แต่เป็นลูกผสมระหว่างทวิตเตอร์และเฟซบุ๊กมากกว่า และด้วยจำนวนผู้ใช้ชาวจีนที่สะสมไว้มากมายเช่นนี้ ทำให้ ณ วันนี้ ผมเชื่อว่าต่อให้รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนเปิดประตูให้ทวิตเตอร์กับเฟซบุ๊กเข้ามาให้บริการในประเทศจีน เวยป๋อก็คงไม่ได้รับผลกระทบมาก มายสักเท่าไหร่

ปัจจุบันนักวิเคราะห์ฝรั่งตีมูลค่าทางการตลาดของเครือข่ายสังคมออนไลน์ระดับโลกอย่างทวิตเตอร์เอาไว้ที่ 4,300 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.29 แสนล้านบาท) ส่วนเฟซบุ๊กถูกตีมูลค่าไว้ที่ 52,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.56 ล้านล้านบาท) ขณะที่เหรินเหริน ( ; Renren) เครือข่ายสังคม ออนไลน์สัญชาติจีนที่โคลนนิ่งมาจากเฟซบุ๊กจนได้รับฉายาว่า “เฟซบุ๊กแห่งประเทศจีน” ที่เพิ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2554 ก็มีมูลค่าตลาดสูงถึง 5,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.65 แสนล้านบาท)[2]

ในส่วนของเวยป๋อ เจ้าของคือ Sina Corporation (SINA) นั้นจดทะเบียนในตลาดแนสแดค มาตั้งแต่ปี 2543 (ค.ศ.2000) แล้ว ปัจจุบันมูลค่าซื้อขายของ SINA นั้นอยู่ที่ประมาณ 110 เหรียญสหรัฐ/หุ้น ทั้งนี้ด้วยแนวโน้มการเติบโตและศักยภาพ ในเชิงธุรกิจของเวยป๋อ ซึ่งเชื่อกันว่าจะเป็นตัวชี้ชะตา กำหนดอนาคตของ SINA ทำให้นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จากหลายบริษัทเชื่อมั่นว่า หุ้นของ SINA จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อยเท่าตัวในช่วง 3 ปีข้าง หน้า และจะทำให้ SINA กลายเป็นบริษัทด็อทคอมยักษ์ใหญ่ที่มีมูลค่าทางการตลาดมากถึง 12,000 ล้าน เหรียญสหรัฐ (ราว 3.6 แสนล้านบาท)

หมายเหตุ :

[1] Sina Weibo announces 140 mln registered users at the end of April, Xinhua, 12 May 2011.

[2] Gady Epstein, How much is China’s Sina Weibo worth? Should it be compared to twitter?, 4 Mar 2011.

อ่านเพิ่มเติม:
- จีนกับการปฏิวัติเวยป๋อ นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเมษายน 2554   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us