|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
อำพลฟูดส์รุกหน้าชิงสัดส่วนพื้นที่การตลาด ส่ง 3 สินค้า นวัตกรรมใหม่ตอบโจทย์ผู้บริโภค หวังโกยรายได้ไตรมาสหลังกว่า 150 ล้านบาท
“นวัตกรรมอำพลฟูดส์” AMPOL FOOD INNOVATION 3 นวัตกรรมเพื่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม โจทย์ใหม่อำพล ฟูดส์ ขับเคลื่อนยอดขายไตรมาส 3 และ 4 โดยนวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคเป็นสินค้านวัตกรรมใหม่ ทั้งส่วนของไอศกรีมหวานเย็น ICEDREAM กะทิกลิ่นใบเตย และซอสปรุงรสผัดกระเพรา
เกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท อำพล ฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ระบุว่า ในไตรมาส 3 นี้ เรายังคงตอบโจทย์ในแง่ของความต้องการของผู้บริโภคหลังจากที่ได้ออกตัวสินค้ากะทิอบควันเทียนตราชาวเกาะไปได้ 2 ปี กะทิอบควันเทียน ได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี แต่จากผลการสำรวจก็ยังพบว่าขนมไทยในหลากหลายชนิดใช้กะทิใบเตย จึงพยายามตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ด้วยการคิดค้นกระบวนการผลิต จึงออกมาเป็นกะทิใบเตย ตราชาวเกาะ
ไอศกรีมหวานเย็น ICEDREAM ไอศกรีมซึ่งอุดมไปด้วยคุณค่าจากน้ำผลไม้แท้ 20% ไขมัน 0% เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่เราตั้งเป้าว่ายอดขายจะทะลุถึง 71 ล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้ คาดหวัง ว่าจะสามารถครองใจผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว ด้วยรูปลักษณ์ที่ทันสมัย สะอาด ปราศจากวัตถุกันเสีย ทำให้สินค้านี้มีความแตก ต่างจากสินค้าอื่นๆ ในท้องตลาดอย่างชัดเจน
อีกทั้งไอศกรีมหวานเย็นตัวดังกล่าว มีความพิเศษที่ว่าสามารถเลือกรับประทานไอศกรีมที่บ้าน หรือที่ทำงานก็สะดวก เพราะไม่ต้องซื้อจากตู้แช่ แต่สามารถซื้อจากซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านค้าชั้นนำ แล้วกลับไปแช่ที่บ้านหรือที่ทำงาน ก็รับประทานได้แล้ว
นอกจากนั้นหากแช่แข็งแล้วนำออกมานอกตู้เย็นแล้วลืมรับประทาน หากเป็นไอศกรีมธรรมดาที่ซื้อจากตู้แช่ก็คงจะไม่สามารถแช่ให้กลับมาสภาพดังเดิมได้ แต่ ICEDREAM สามารถแช่ให้แข็งได้ดังเดิม รสชาติยังอร่อยเหมือนเดิมเช่นกัน
ขณะเดียวกัน หลังจากสินค้าในกลุ่มน้ำแกงพร้อมปรุงตรา รอยไทย ติดตลาดทั้งในและต่างประเทศแล้ว วันนี้อำพลฟูดส์ขยายไลน์การผลิตออกมาในส่วนของน้ำซอสปรุงรส โดยน้ำซอสแรกที่ได้ออกมาช่วงชิงพื้นที่ทางการตลาด คือ ซอสปรุงรสผัดกระเพรา ซึ่งคาดว่าซอสปรุงรสผัดกระเพราจะสามารถช่วงชิงพื้นที่ทางการตลาดได้ถึง 5% ในตลาดซอสผัด
สำหรับกิจกรรม CSR บริษัทอำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ยังคงขับเคลื่อนโครงการกล่องวิเศษอย่างต่อเนื่อง จาก 2 ปีของโครงการกล่อง วิเศษมอบโต๊ะและเก้าอี้นักเรียนกว่า 5,000 ชุด และยังคงดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง
เกรียงศักดิ์กล่าวเสริมว่า นอกเหนือจากโครงการกล่องวิเศษ ทางบริษัทยังมีโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอีกมาก โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมภายในและนอกโรงงานกับโครงการ GREEN FACTORY ซึ่งขณะนี้ดำเนินการไปแล้วกว่า 80% เหลือเพียงส่วนของบ่อหมักแก๊สชีวภาพ ซึ่งลงทุนไปกว่า 60 ล้านบาท หมักของเสีย รวมทั้งวัสดุที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิตของโรงงาน
นอกจากจะได้แก๊สชีวภาพเพื่อนำกลับมาใช้เป็นพลังงานหมุนเวียนในโรงงานแล้ว ยังช่วยปล่อยของเสียและกลิ่นออกนอกโรงงาน นับว่าเป็นโครงการที่เราได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก กระทรวงพลังงาน อีกหนึ่งโครงการที่เราดำเนินการไปแล้วคือ โครงการ WOOD PLASLET หรือแท่งชีวมวล ซึ่งทางบริษัทได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี คิดนวัตกรรมนี้ในการอัดกากใยมะพร้าวที่มีน้ำหนักเบาให้เป็นแท่ง จากของเหลือในตัวมะพร้าว กลายมาเป็นแท่งชีวมวล ซึ่งนำไปเผาแปรเปลี่ยนพลังงานความร้อนไปเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ภายในโรงงาน ช่วยลดค่าไฟไปได้กว่า 30 ล้านบาทต่อปี
ผลิตภัณฑ์กะทิสำเร็จรูปตรา “ชาวเกาะ” เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์จากอำพลฟูดส์ และเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากลดคาร์บอนจากคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย (TBCSD) ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด พยายามผลักดันเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด ใส่ใจในทุกกระบวนการผลิต วัตถุดิบที่เข้ามาในโรงงานเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่มีส่วนเหลือทิ้งที่จะออกไปทำลายสิ่งแวดล้อม
การที่ผลิตภัณฑ์กะทิสำเร็จรูปตรา “ชาวเกาะ” ได้รับมอบ ฉลากผลิตภัณฑ์ลดคาร์บอน มิได้เป็นเพียงการช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศจากกระบวนผลิตถึง 20% เพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นการร่วมอนุรักษ์และใส่ใจสิ่งแวดล้อม
นวัตกรรมสุดท้ายที่อำพลฟูดส์ทำเพื่อสังคมคือ นวัตกรรม เพื่อสังคม โดยผนึกกำลังกับมูลนิธิทันตนวัตกรรม และหน่วยงาน พันธมิตรอีก 4 หน่วยงานในการคิดค้นเจลลี่โภชนาการ หรืออาหารเจลลี่อ่อนเพื่อผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก
ปัจจุบันโรคมะเร็งช่องปากถือเป็นโรคของช่องปากที่ร้ายแรงที่สุด มักพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ในระยะท้ายแล้วมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงถึงร้อยละ 45 โรคมะเร็งช่องปากจัดอยู่ในกลุ่มมะเร็งที่ศีรษะและลำคอ ปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งช่องปากและมะเร็งคอหอยในระยะต้นจะใช้วิธีผ่าตัดร่วมกับการฉายรังสี
แม้จะได้ผลดีในระยะแรก แต่ผู้ป่วยมักประสบปัญหาความพิการของอวัยวะบดเคี้ยวตามมา ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีก็มักทำให้เกิดแผลในปาก ประสาทการรับรสเปลี่ยนไป ต่อมน้ำลาย ผลิตน้ำลายน้อยลงและเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี รับประทานอาหารไม่ได้ ต้องพึ่งพาการให้อาหารทางสายยาง (tube feeding) ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญ
ดังนั้นการพัฒนาหาผลิตภัณฑ์อาหารที่ผู้ป่วยมะเร็งสามารถรับประทานได้ทางปาก กลืนง่ายให้พลังงาน จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
|
|
|
|
|