Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2530
เสมาฟ้าครามนคร เมื่อเถ้าแก่เพ้อฝันชาวบ้านรับกรรม             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารทหารไทย
โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย

   
search resources

ธนาคารทหารไทย
ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
Real Estate
พรชัย สิงหเสมานนท์
เสมาฟ้าคราม




มืออาชีพที่หากินกับชาวบ้าน แทรกเข้าช่องว่างของการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ฯลฯ เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัยเมื่อเงื่อนไขสุกงอม กรณีเสมาฟ้าครามฯ กับพรชัย สิงหาเสมานนท์ เกิดขึ้นแล้ว สร้างปัญหาให้กับวงการธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจบ้านจัดสรรและคงจะเกิดขึ้นอีก "ผู้จัดการ" พูดถึงเรื่องนี้ในแง่มุมที่แหวกอกไป แนวความคิด การบริหารงานเชิงธุรกิจตามสไตล์ของเราเท่านั้น!

กรณีฟ้าครามนครจะไม่เกิดขึ้น หากไม่มีเงื่อนไข 2 ประการ หนึ่ง-ผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ทางธุรกิจพอสมควรมีความมั่นใจ เป็นนักการตลาดตัวยงที่เข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค และความเป็นนักเสี่ยงโชค เช่น พรชัย สิงหเสมานนท์ คนนี้ สอง-"สิ่งแวดล้อม" เอื้ออำนวยอันประกอบด้วยแหล่งเงินทุนสนับสนุนกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แน่นอน ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่มาบรรจบกัน

สุดท้ายกรณีเสมาฟ้าคราม ก็ยังมิใช่บทสรุปลงตัว ยังจะมีผู้ประกอบการอีกจำนวนหนึ่งเชื่อว่าภาระหน้าที่ของพรชัยยังไม่สิ้นสุด หากปล่อยไปตามธรรมชาติไม่มีสิ่งกีดขวาง (กระทรวงการคลัง-ตำรวจ) ความเพ้อฝันของเขาอาจจะเป็นจริง?!

ตราบที่เงื่อนไขยังเป็นเช่นปัจจุบันบุคคลเช่นพรชัย คงรอจังหวะและโอกาสสุ่มเสี่ยงลงสู่เวทีนี้อีก!!

พรชัย สิงหเสมานนท์ ผ่านประสบการณ์ธุรกิจโชกโชนคนหนึ่ง อันเป็นงานที่ต้องคลุกกับคนจำนวนมาก แม้ไม่ได้เรียนจิตวิทยามวลชน ก็เข้าใจได้ไม่ยาก เขาไม่ใช่คนที่มีชาติตระกูล ไม่ได้ผ่านการศึกษาในระดับดี เขาเพียงเรียนจบระดับมัธยมเท่านั้น แต่เขามีความใฝ่ฝันจะเป็นผู้ประกอบการหรือ "เถ้าแก่" ที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ

ก่อนจะมาถึงวัย 42 ปีเศษเช่นวันนี้ เขาเริ่มต้นจากพนักงานตั๋วเครื่องบินซึ่งมีสำนักงานย่านพัฒน์พงษ์ จากจุดนี้เขาจึงมีโอกาสสัมผัสราตรีพัฒน์พงษ์อันเย้ายวน ในที่สุดพรชัยก็เข้าสู่วงการ "คนมีเขี้ยว คนมีคาว" ดำเนินธุรกิจสถานเริงรมย์อยู่พักใหญ่

ผู้คนที่เขาคบค้าและผ่านเข้ามาในธุรกิจของเขาช่วงนั้นคือชนชั้นกลาง

ต่อจากนั้นก็เข้าสู่ธุรกิจอันเป็นพื้นฐานธุรกิจวันนี้ของเขา "ผมเคยเป็นนายกสมาคมบริษัทเงินแชร์…" เขาพูดถึงความรุ่งเรืองในธุรกิจประเภทนี้ของเขา "บริษัทเงินทุนสมัยก่อนเกิดขึ้นมาเยอะแยะเลย เพราะคนอยากจะทำในด้านการรับฝากเงินและให้ดอกเบี้ย คล้ายคลึงกับแบงก์ พอเกิดมามากขึ้นทางราชการก็เข้าไปควบคุม ก่อให้มีปัญหาอย่างหนึ่ง บริษัทแชร์ต่าง ๆ…" เขาแสดงภูมิรู้จากประสบการณ์ธุรกิจเงินแชร์เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน

ประสบการณ์ของพรชัย สิงหเสมานนท์ยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ จากพบปะคนหมู่มาก สู่การดำเนินธุรกิจกับคนหมู่มากชนิดฝังรากลึก พร้อม ๆ กับการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดชนิดถึงลูกถึงคนตามสไตล์ของเขา "ผมอยากให้รัฐบาลมีผู้บริหารในด้านการตลาดเก่ง ประเทศชาติจะได้มีความสุข" บทเรียนของเขาตกผลึกเป็นแนวคิดเช่นนี้ซึ่งเขาพูดกับหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งก่อนเข้าไปนอนเรือนจำธัญญบุรี

พิจารณาจากประวัติคดีเช็คของเขาแล้ว สันนิษฐานได้ว่าเขาเริ่มธุรกิจอย่างจริงจังประมาณปี 2515 อีก 10 ปีต่อมามีสถิติถูกจับกุมเกือบ 20 คดี เกิดขึ้นท้องที่พญาไท ลุมพินีและมากเป็นพิเศษที่บางรัก และที่น่าสนใจพรชัย สิงหเสมานนท์เจอข้อหาผิด พ.ร.บ. เงินทุนในช่วงนั้นถึง 2 ครั้ง จากข้อมูลของตำรวจระบุชัดต่อมาว่าในปี 2527 เขาเคยเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนอีก โดยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยแลนด์เครดิต ซึ่งอยู่ในระหว่างการจัดตั้งบริษัทและประกอบธุรกิจเงินทุนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลลงโทษจำคุก 3 เดือนปรับ 2,500 บาท โทษให้รอลงอาญาไว้ 3 ปี ทั้งปรากฏว่าดื้อแพ่งดำเนินธุรกิจนี้จนถึงปี 2528 เหตุเกิดที่ สน. บางรัก

ก่อนการดำเนินธุรกิจที่ดินอย่างจริงจัง พรชัยเริ่มต้นเป็นนักค้า-เก็งกำไรที่ดินตัวฉกาจ ข้อมูลจากตำรวจกล่าวว่าเขาซื้อที่ดิน 72 ไร่ในประมาณปี 2525 ในราคาเพียง 8 ล้านบาทหรือตารางวาละไม่เกิน 300 บาทนั้นในสายตาของผู้ประกอบการธุรกิจประเภทนี้เชื่อว่าเป็นไปได้ ศักยภาพของนักค้า-เก็งกำไรและนายหน้าที่ดินนั้นมีโอกาสเหมา ๆ ทำเงินนับล้านก็เคยมี

ข้อมูลบางตอนของตำรวจค่อนข้างสับสน ที่ว่าพรชัยได้นำที่ดิน 72 ไร่ไปค้ำประกันเงินกู้กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงเทพมหานคร แล้วเริ่มโครงการหมู่บ้านจัดสรรโครงการแรก ทั้งระบุว่าบริษัทเงินทุนแห่งนี้ต่อมาเลิกกิจการไป จึงได้มาติดต่อกับธนาคารทหารไทย เท่าที่ "ผู้จัดการ" ตรวจสอบ ไม่ปรากฏบริษัทเงินทุนชื่อนี้และปี 2525 ก็ไม่มีบริษัทเงินทุนใดล้มหรือเลิกกิจการ

ที่ดิน 72 ไร่นั้นตั้งอยู่ที่ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี อันเป็นที่ตั้งโครงการหมู่บ้านเสมาฟ้าครามนครปัจจุบัน

ปี 2524 ธนาคารนครหลวงไทยเริ่มเข้าสู่ก้าวกระโดด เมื่อประยูร จินดาประดิษฐ์ เข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่พร้อม ๆ กับอนุตร์ อัศวนนท์ เป็นกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ หลังจากนั้นธนาคารทหารไทย ก็เปลี่ยนโฉมหน้าจากธนาคารทหารมาเป็นธนาคารพาณิชย์ ขยายธุรกิจเข้าสู่ภาคธุรกิจอื่น ๆ อย่างขนานใหญ่ ตั้งแต่อุตสาหกรรมน้ำตาล จนถึงบ้านจัดสรร กรณีพรชัย สิงหเสมานนท์กับหมู่บ้านฟ้าครามนครนั้นได้เข้ามาบรรจบในสถานการณ์เช่นว่านี้ มีผู้พยายามอธิบายกรณีนี้ในหลายแง่ แต่ข้อสรุปที่ลงตัวก็คือพรชัยได้นำที่ดินในมูลค่าที่คุ้มกับจำนวนเงินที่ธนาคารทหารไทยปล่อยไป นั้นมาเป็นเรื่องธุรกิจอย่างแท้จริง ที่ไม่น่ามีสิ่งใดแอบแฝง

บริษัทเสมาการลงทุน (ต่อมาเปลี่ยนเป็นเสมาฟ้าครามนคร) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2525 ในเวลา 7 เดือนต่อมาบริษัทเสมาฟ้าครามฯ ก็ได้นำโฉนดที่ดิน 72 ไร่ของพรชัย สิงหเสมานนท์ ประธานกรรมการบริษัท มาขอจดจำนองค้ำประกันกู้เงินเกินบัญชี 10 ล้านบาท เงินกู้ 15 ล้านบาท กับธนาคารทหารไทยในวันที่ 14 ตุลาคม อีก 5 วันต่อมาธนาคารทหารไทยก็รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเสมาฟ้าครามฯ ที่ต้องชำระแก่บริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งหนึ่งเป็นจำนวนเงิน 10 ล้านบาท ซึ่งนับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นทางธุรกิจระหว่างธนาคารทหารไทยกับบริษัทเสมาฟ้าครามฯ อย่างเป็นการเป็นงาน

หลังจากนั้นก็ดำเนินธุรกิจระหว่างกันสืบเนื่องมาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2527 รวมทั้งสิ้นแล้วบริษัทเสมาฟ้าครามฯ เป็นหนี้ธนาคารทหารไทยทั้งหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี หนี้เงินกู้กับเงินกู้ชั่วคราว และหนี้ขอให้ธนาคารทหารไทยอาวัลการใช้เงินตามสัญญาใช้เงินรวมเงินต้นและดอกเบี้ย 112,544,365.37 บาท ในอัตราดอกเบี้ยระหว่าง 17.5 - 19% ต่อปี โดยบริษัทเสมาฟ้าครามฯ นำที่ดิน 2 แปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่เป็นหมู่บ้านฟ้าครามนครปัจจุบันกับที่ดินที่สำโรงอันเป็นกรรมสิทธิ์ของ โสภณ หงษ์ดำ ซึ่งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับพรชัยอย่างไร

แท้จริงธุรกิจบ้านจัดสรรในปี 2525 นั้นเริ่มถดถอย แทนที่ด้วยคอนโดมิเนียมกำลังบูมอย่างเห็นได้ชัดในใจกลางเมือง ประกอบอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่บริษัทเสมาฟ้าครามฯ กู้นั้นก็อยู่ในระดับสูง การที่พรชัยดำเนินโครงการบ้านจัดสรร 2 โครงการ และขายได้หมดก็ต้องนับว่ามีฝีมือ

จุดขายของฟ้าครามนครคือซื้อผ่อนส่งในราคาถูก ตั้งแต่ 1,000 บาท เป็นบ้านทาวน์เฮ้าส์ชั้นเดียวแบ่งออกเป็น 2 ล็อค ๆ แรกจำนวน 397 หลัง ในเนื้อที่ 34 ตารางวา ล็อคที่สอง 400 กว่าหลัง เนื้อที่ 40 ตารางวา ในปี 2525 ราคาเริ่มต้น 2.39 แสนบาทต่อหลัง และค่อย ๆ เพิ่มอยู่ตลอดเวลา บางคนมองเป็นการปั่นราคาที่ดิน แต่ผลอีกประการหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือสร้างแรงกระตุ้นให้คนซื้อบ้านกันมากขึ้น พรชัยประกาศว่าซื้อบ้านของเขาไม่ต้องมีเงินดาวน์ ใช้แต่เงินผ่อนไม่เสียดอกเบี้ย โดยทำสัญญา 60 เดือน (5 ปี) กับบริษัท หากผู้ซื้อผ่อนชำระเป็นเวลา 36 เดือน ๆ ละ 2,000 บาท จะเข้าอยู่ได้ทันที

นอกจากนี้หลักประกันโครงการอีกประการหนึ่งก็คือปลายปี 2525 บริษัทเสมาฟ้าครามฯ ได้ยกป้ายโฆษณาว่า "ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารทหารไทย" ขึ้นหน้าโครงการ

ปัจจุบันมีประมาณ 500 ครอบครัวได้เข้าไปอยู่แล้วในหมู่บ้านเสมาฟ้าครามฯ ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการครู ทหาร โดยเฉพาะทหารอากาศ ตำรวจ และพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย กลุ่มลูกค้าเหล่านี้คุยกับพรชัยรู้เรื่อง ซ้ำยังยกย่องนับถือพรชัยอีกด้วย "ส่วนหนึ่งมาซื้อบ้าน เพราะเชื่อถือคุณพรชัยว่าเป็นคนดี ธรรมะธรรมโม ซึ่งกระเดียดไปทางคนมีบุญหรือคนลักษณะพิเศษ" บางคนกล่าว

ควบคู่ไปกับกลยุทธ์ขายบ้านแบบสมัยใหม่ มีธนาคารหนุนหลัง มีระบบการผ่อนชำระที่ดี (ผ่อนน้อย ๆ นาน ๆ ) พรชัยได้หันมาสร้าง "ภาพพจน์" ตัวเองอย่างขนานใหญ่ ตามทรรศนะนักการตลาดของเขา เขาวาดภาพโครงการหมู่บ้านเสมาฟ้าครามฯ ให้ชาวบ้านอย่างเลิศเลอ จะว่าไปแล้วเขาก็สามารถทำสิ่งเหล่านั้นให้ปรากฏเป็นพยานหลักฐานไม่น้อย

"ในหมู่บ้านยังมีรถม้าลำปางแท้ ๆ วิ่งรับ - ส่งคนในหมู่บ้าน สวนดอกไม้เอย สระว่ายน้ำ ภัตตาคาร คอกเทลเลาจน์ ต่อไปจะมีโรงเรียน มีสถานพยาบาล โรงยิมฯ และอื่น ๆ เพิ่มเติมอย่างนี้แล้วคุณยังคิดว่าลูกค้าไม่ได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าหรือกับบ้านราคาสองแสนกว่าถึงสามแสนกว่าเท่านั้น" พรชัย เคยคุยเอาไว้กับนิตยสารรายเดือนที่รู้กันว่าสนิทสนมกับเขาเป็นอย่างดี

นอกจากสาธารณูปโภคที่สิ่งอำนวยความสะดวกแล้ว ยังปรากฏพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร โดยเบื้องพระพักตร์หันไปทางสวนดอกไม้ขนาดใหญ่ เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่สูงขนาดตึก 5 ชั้น หันหน้าเข้าหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีเวทีกลางแจ้ง มีกรงนกและสัตว์อันเป็นสวนสัตว์ขนาดย่อม

สิ่งอำนวยความสะดวกทางใจของหมู่บ้านนี้ที่พรชัยเขาทุ่มทุนอย่างมากก็คือ "พุทธเสมาสถาน" ประดิษฐ์พระเจ้าห้าองค์บนเนื้อที่ 11 ไร่

รวม ๆ แล้วการลงทุนหลายสิบล้านบาท และต้องยอมรับว่าพรชัย สิงหเสมานนท์ เป็นนักการตลาดที่เข้าใจ "ชาวบ้าน" ได้ดีมาก กลยุทธ์การตลาดของเขาผสมผสานอย่างกลมกลืนมาก!

สุดท้ายก็คือการปฏิบัติตนเป็นคนน่าเลื่อมใส คนที่รู้จักพรชัยเชื่อว่าเขาเป็นคนยึดมั่นในศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างมาก รวมไปถึงแนวคิดทางไสยศาสตร์ด้วย เช่น อ้างว่าตนเป็นร่างทรงของหลวงพ่อวัดบ้านแหลม สมุทรปราการ โดยที่เขาจะทำพิธีเช่นว่านี้ติดต่อกันหลายวันในหนึ่งสัปดาห์ แม้แต่นักธุรกิจผลิตหม้อแปลงที่ล้มเหลวคนหนึ่งยังต้องพึ่งและเชื่อถือเป็นนักหนา

แผนการส่งเสริมการขายของเขาทุกรูปแบบจริง อันรวมไปถึงการจ่ายเงินกับหนังสือพิมพ์บางฉบับ นิตยสารบางเล่มเขียนเชียร์ และในอีกรูปแบบหนึ่งก็ทุ่มทุนแจ้งความโฆษณาอย่างเปิดเผยด้วย และก็เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของสถาบันการเงินที่เคยล้มมาแล้ว โดยเฉพาะบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กล่าวคือยามใดมีปัญหาหนักการโหมโฆษณาประชาสัมพันธ์จะหนักหน่วงมาก

พรชัยเป็นแบบฉบับของการบริหาร "วันแมนโชว์" อย่างสุดขั้ว ครั้นเมื่อเขาถูกจับไปจึงไม่มีใครตัดสินใจแทนเขาทำเอาลูกน้องที่เหลือสับสนวุ่นวายกันไปหมด ทำอะไรไม่ถูก

เคยมีคนตั้งคำถามว่า กลยุทธ์ทางการตลาดนั้นต้องพลิกแพลงเข้ากับสถานการณ์และเงื่อนไข และไม่จำกัดอยู่เพียงรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่ทั้งนี้นักการตลาดอย่าเชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตนเองทำ ที่นอกเหนือกฎเกณฑ์อันเป็นวิทยาศาสตร์ทางธุรกิจ ดั่งเช่นพรชัย สิงหเสมานนท์เชื่อว่าตนเองคือเทพ เข้าทำนอง "เราเหมือนพระอาทิตย์ถึงเมฆามาบดบังก็เพียงชั่วขณะเดียว แล้วก็ผ่านไป" เขาเคยพูดกับคนใกล้ชิดเมื่อถูกทางการจ้องจะเล่นงานทางกฎหมาย

นักการตลาดมืออาชีพคนหนึ่งเมื่อทราบสไตล์และแนวคิดการบริหารของพรชัย สิงหเสมานนท์แล้ว ก็ลงความเห็นธุรกิจของเขา "เป็นไปได้ยากมาก"

พรชัยตั้งสูตรสำเร็จขึ้นมา ที่ดินที่เขาซื้อเมื่อปี 2525 ราคาตารางวาละ 250 บาท (จากปากของ น.ส. ผล หินกลัด เจ้าของที่กว่าครึ่งบอก "ผู้จัดการ" ว่าขายให้พรชัยราคาไร่ละ 1 แสนบาท) ปัจจุบันอ้างว่าราคาขึ้นไปถึง 2 ล้านบาท หรือประมาณ 20 เท่า ซึ่งความเป็นจริงที่ดินรอบนอกหมู่บ้านเสมาฟ้าครามฯ เท่าที่ "ผู้จัดการ" สำรวจราคาแทบไม่ได้ขยับขึ้นจากไร่ละ 1 แสนบาทเท่าใดนัก

ผู้มองโลกในแง่ดีบางคนตั้งข้อสังเกตว่า พรชัยคงจะไม่ได้ตั้งใจถลำเข้าสู่การเล่นแชร์ในครั้งแรก แต่สถานการณ์บีบบังคับ!?!

ปมเงื่อนนั้นเกิดจากความผิดพลาดทางเทคนิค เกี่ยวกับการปลอดจำนองที่ดินจากธนาคารทหารไทยเพื่อโอนให้ลูกหนี้เพื่อนำไปขออนุญาตจัดสรรกับกรมที่ดิน ซึ่งทำให้พรชัยและโครงการฟ้าครามฯ ประสบมรสุม 2 ทางในเวลาเดียว หนึ่ง - กรมที่ดินได้แจ้งดำเนินคดีในข้อหาจัดสรรโดยไม่ได้รับอนุญาต สอง - ธนาคารไทยฟ้องเรียกค่าเสียหาย ฐานผิดสัญญาค้ำประกัน อันเป็นสัญญาณว่าธุรกิจที่ดินของพรชัยมีปัญหาครั้งยิ่งใหญ่

นักธุรกิจที่ดินคร่ำหวอดคนหนึ่งแย้งว่าแม่ไม่ใช่ปัญหานี้ ก็ยากจะดำเนินธุรกิจประสบความสำเร็จ "ไม่มีแบงก์ไหนจะปล่อยกู้กับคนที่บริหารงานเช่นนี้หรอก" เขาเน้น ซึ่งสรุปได้ว่าธุรกิจนี้จะไปได้อยู่ที่เงินทุน อันเป็นลักษณะพิเศษของธุรกิจนี้ต้องใช้ทุนจำนวนมาก

ต้นปี 2528 ช่วงเดียวกับที่ธนาคารทหารไทยยื่นฟ้องนั้น แชร์วงบันลือโลก แชร์แม่ชม้อยก็กำลังถึงกาลอวสาน ส่งผลกระเทือนไปทุกหย่อมหญ้า และต่อเนื่องมาจนถึงแชร์แม่นกแก้ว แชร์ชาเตอร์ ปรากฏชัดว่าลูกค้ารายใหญ่ของกลุ่มแชร์นอกกฎหมายคือพวกทหารอากาศ ซึ่งมีที่พำนักไม่ไกลจากเสมาฟ้าคราม เท่าใด

พรชัยเองก็มีประสบการณ์เรื่องแชร์ ๆ ทรัสต์เถื่อน ๆ พอสมควร อีกทั้งในหมู่บ้านนี้ก็มีการเล่นกันเองอยู่บ้าง เล่นข้างนอกบ้าง บางคนบอกว่าลูกค้ามาซื้อของพรชัยได้เล่นแชร์เถื่อน รวมไปจนถึงการที่หมู่บ้านเสมาฟ้าครามฯ ทำหนังสือเชิญชวนให้ชาวบ้านที่พำนักในหมู่บ้านเสมาฟ้าครามฯ ลงทุนซื้อหุ้นบริษัท ซึ่งเข้าใจกันว่า เป็นจุดเริ่มอย่างแท้จริงของการถลำของพรชัย ลงสู่เบื้องต่ำเช่นนี้

และที่น่าแปลกใจไม่น้อยที่ลูกค้าเข้าร่วมขบวนการเงินต่อเงินนี้เป็นคนที่อกหักมาจากแชร์เถื่อน ๆ วงดัง ๆ ในอดีตประมาณ 30% นักสังเกตการณ์บางคนถึงกับตั้งข้อสังเกตกลุ่มคนพวกนี้ได้ก่อตัวขึ้นมาซึ่งประกอบด้วย ภรรยานายทหาร-ตำรวจ ซึ่งไม่มีความรู้เรื่องธุรกิจดีพอ แต่เข้าใจเรื่องปล่อยกู้กินดอกเบี้ย เล่นแชร์พื้น ๆ แบบชาวบ้านจนถึงระดับประเทศค่อนข้างละเอียด "ปกติอยู่เฉย ๆ ก็เล่นไพ่กันอยู่แล้ว" เขาแจงรายละเอียดให้เห็นจริงจัง ข้าราชการครูที่สะสมเงินทองค่อนข้างมัธยัสต์ แต่เป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจง่าย และก้าวไม่ทันกลโกงทางธุรกิจ (โปรดอ่านล้อมกรอบ) รวมไปถึงกลุ่มชาวนาที่พัฒนาอาชีพเป็นพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยด้วย

จุดของความล้มเหลวทางธุรกิจอย่างฉกาจฉกรรจ์ของพรชัย อยู่ที่การกำหนดท่าทีกับธนาคารทหารไทยไม่ถูกต้อง เมื่อเกิดฟ้องร้องในศาลก็ยกประเด็นส่วนตัวขึ้นมาต่อสู้เช่นอ้างว่า ธนาคารทหารไทยไม่พอใจเรื่องเป็นพยานกรณีธนาคารทหารไทยมีคดีกับผู้รับเหมารายหนึ่ง จึงกลั่นแกล้ง ทั้งมุ่งแก้ภาพพจน์มากไป ออกโรงฟ้องแย้งและเรียกค่าเสียหายจำนวนมาก "แกไปฝันหวานเอาแต่ว่าจะชนะคดี แล้วจะได้ค่าเสียหายเท่านั้นเท่านี้ ผมจะบอกให้อย่างเก่งก็ได้ไม่เท่าไหร่ และที่ผ่านมาลงได้เป็นคดีกับแบงก์แล้ว ยากที่แบงก์จะแพ้ แต่แกดื้อรั้นและเชื่อมั่นตัวเองมากไป ไม่ฟังความเห็นคนอื่น" หัวหน้าสายคนหนึ่งของบริษัทเสมาฟ้าครามฯ บ่นให้ฟัง

ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเขาระดมเงินจากประชาชนที่อ้างว่าซื้อหุ้นเพิ่มทุนจาก 5 ล้านเป็น 10 ล้านบาทภายในเวลาไม่นานนักนั้นสมควรอย่างยิ่งจะนำมาหมุนเวียนในการก่อสร้างโครงการต่อมาซึ่งมีแผนการจะสร้างทาวน์เฮ้าส์ 3,750 หลัง แทนการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น คอกเทลเลาจน์อะไรเทือกนั้น หรือนำเงินไปปลดจำนองที่ดินกับธนาคารทหารไทย เพื่อจะได้ถูกต้องตามกฎหมายการจัดสรรที่ดินให้แล้วไปในทัศนะของชาวบ้านเสมาฟ้าครามฯ บางคน

ก่อนวันที่พรชัย จะถูกตำรวจจับนั้นเขาไม่มีความเป็นผู้ประกอบการหรือเถ้าแก่หลงเหลืออยู่เลย!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us