Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2530
เฉลิมพล-จิตรโภชนา ไม่ใช่หนึ่งเดียวอีกต่อไปแล้ว             
 

   
related stories

การ์เด้นโฮม วิลเลจ แยกกัน เฉลิมพลอยู่?

   
search resources

Food and Beverage
เฉลิมพล ชาญวิเศษ
จิตรโภชนา




วันที่ 6 พฤศจิกายน 2529 ที่ผ่านมานี้ เฉลิมพล ชาญวิเศษ อายุ 41 ปีเต็ม เฉลิมพลจบการศึกษาจากโรงเรียนเทคนิคไทยเยอรมัน สาขาโรงงาน แล้วไปต่อสาขาโรงแรมและจัดเลี้ยงที่เฮสติ้ง คอลเลจ ประเทศอังกฤษ ทำไมจึงหักเหสาขาวิชาที่เรียนจนกลายเป็นคนละเรื่องอย่างนั้นก็ไม่ทราบ

แต่ความรู้จากอังกฤษของเฉลิมพลนั้นก็ช่วยให้เขาเป็นส่วนหนึ่งของจิตรโภชนาอย่างแยกไม่ออก ช่วงที่เขากลับจากต่างประเทศเป็นเวลาที่จิตรโภชนากำลังขยายกิจการจากร้านที่ยมราช ด้วยความตั้งใจที่ต้องการมีร้านบนที่ดินเป็นของตัวเอง เป็นที่มาของ "จิตรโภชนา" ซอยสุขุมวิท 20

เริ่มแรกที่คิดก็เพียงทดลองตลาด และความรู้อนุปริญญาด้านอาหารและโรงแรมเฉลิมพลเริ่มนำมาใช้ในภาคปฏิบัติ ปรากฏว่าจิตรโภชนาซอยสุขุมวิท 20 คึกคักไปด้วยคนที่มาฝากตัวเป็นลูกค้าประจำ การบริหารงานเริ่มเป็นระบบขึ้นในเวลาต่อมานับเป็นการยกมาตรฐานของร้านขึ้นจากเดิม ซึ่งเมื่อก่อนที่ยมราชโตที่สุดก็เพียงครัวธรรมดาขนาด 4 คูหา

จิตรโภชนาที่สุขุมวิทประสบความสำเร็จสาขาลาดพร้าวก็เกิดตามขึ้นมาอีกแห่ง เฉลิมพลนั้นเข้าไปบุกเบิกขณะที่ตอนนั้นเป็นทำเลที่ห่างไกลชุมชนมาก แต่เขาก็พิสูจน์ให้ สม ชาญวิเศษ ผู้เป็นพ่อได้เห็นว่า จิตรโภชนาที่ลาดพร้าวไปได้ในที่สุด

เฉลิมพล ถึงกับให้สัมภาษณ์ว่า การที่เขาได้เลื่อนตำแหน่งครั้งสำคัญที่สุดในชีวิตคือการได้สร้าง จิตรโภชนาลาดพร้าวเสร็จตามที่คาดคะเนไว้ และมีผลงานเกินกว่าเป้าหมาย

เฉลิมพล พิสูจน์ฝีมือให้เป็นที่ประจักษ์แก่ สม ชาญวิเศษ ผู้เป็นพ่ออีกครั้ง ในช่วงที่สม ชาญวิเศษ ได้ลงทุนสร้างตึกแถวย่านดอนเมืองกว่า 40 ห้อง แต่กลับขายไม่ออก เฉลิมพลดึงจิตรโภชนาเปิดที่สาขาดอนเมือง ทำให้ตึกที่สร้างไว้กว่า 40 ห้องขายเกลี้ยงภายในเวลาไม่นานนัก ฝีมือของเฉลิมพล ทำให้ สม ชาญวิเศษ ผู้เป็นพ่อยอมรับในฝีมือเขามากขึ้นไปอีก ตอนนั้นเฉลิมพล พูดอะไรแล้วคุณสมมักจะฟังและเห็นดีเห็นงามด้วยเสมอ" ผู้ใกล้ชิดกับ"ครอบครัว "ชาญวิเศษ" บอก "ผู้จัดการ"

จุดเริ่มต้นของ จิตรโภชนา เมื่อกว่า 40 ปีก่อน มาจากแผงลอยในย่านตลาดเทเวศน์ ด้วยน้ำพักน้ำแรงของสมใจ ชาญวิเศษ ผู้เป็นแม่ที่ต้องหารายได้ช่วยสามีเลี้ยงดูลูก ๆ 4 คน ที่ปัจจุบันคือ นายแพทย์สมชาย ชาญวิเศษ พี่ชายคนโตของครอบครัว นางปรานี วิสุทธิเสน ซึ่งเป็นผู้หญิงเพียงคนเดียว เฉลิมพล ชาญวิเศษ และนาวาอากาศโทคำพร ชาญวิเศษ

จากเพียงแค่เช่าหน้าร้านขายในตลาดเทเวศน์จนมาถึงการตั้งโต๊ะ กล่าวกันว่า เป็นงานที่สมใจ ชาญวิเศษ ชอบและถนัดตั้งแต่เมื่อยังเป็นสาว เนื่องจากมีฝีมือในการทำอาหารอยู่กับตัว

การขยับขยายกิจการเริ่มมาเป็นระลอกจนก้าวมาเป็นจิตรโภชนาที่ยมราช ซึ่งเป็นตึกแถว 4 คูหาที่ลักษณะเด่นของร้านนอกจากรสชาติอาหารแล้วยังมีสวนหย่อมเล็ก ๆ บริเวณบันไดพร้อมด้วยน้ำตกและพันธุ์ปลาที่สวยงามแหวกว่ายไปมา

เมื่อมีร้านและชื่อเสียง จิตรโภชนาถูกจุดพลุพร้อม ๆ กับบริหารงานเป็นมาตรฐานขึ้นที่สุขุมวิท 20 หลังจากเฉลิมพลเข้ามาบริการ

ส่งผลให้เฉลิมพล กลายเป็นคนที่มีชื่อเสียงด้านธุรกิจขายอาหาร ซึ่งต่อมาเขาได้รับเกียรติเป็นกรรมการที่ปรึกษาสมาคมภัตตาคารฯ

เฉลิมพลไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ "จิตรโภชนา" นานพอสมควรแล้ว ภายหลังมีการแบ่ง

สมบัติกันอย่างชัดเจนระหว่างที่เขายุ่ง ๆ อยู่กับโครงการบ้านจัดสรร "การ์เด้นท์โฮม วิลเลจ" และ "ปาร์ควิว โฮเต็ล" ซึ่งต้องล้มเลิกไปคงเหลือเพียง "การ์เด้นโฮม วิลเลจ" เพียงโครงการเดียวขณะที่ธุรกิจดั้งเดิมซึ่งเฉลิมพลลงทุนเองมีเพียงที่ "บ้านคุณหลวง" เชิงสะพานกรุงธน

"เนื่องจากสมบัติเขายังไม่ได้แบ่งกันมาก่อน พอคุณเฉลิมเริ่มเข้าไปจับโครงการด้านที่ดินบ้านจัดสรรและประสบปัญหา ก็เลยต้องแบ่งสมบัติกันให้ชัดเจน คุณเฉลิมพลก็เลยมาทำบ้านคุณหลวงโดยเช่าที่ดินจากคุณกมลา สุโกศล เจ้าของบริษัทกมลสุโกศล สัญญาเช่า 15 ปี แหล่งข่าววงในคนหนึ่งเล่า

ไม่มีใครทราบว่า ทำไมกิจการขายอาหารที่บ้านคุณหลวงของเฉลิมพลกับภรรยาจึงไม่ใช้ชื่อจิตรโภชนา และหากถามคนในตระกูล "ชาญวิเศษ" ก็คงไม่มีใครตอบได้กระจ่างชัด

"มีบางคนบอกว่า การมีความคิดสร้างสรรค์และทะเยอทะยานของเฉลิมพล ชาญวิเศษ หลายคนในครอบครัวชาญวิเศษมองว่า สุ่มเสี่ยงมากไป" คนที่คบค้ากับจิตรโภชนามานานบอกเป็นนัย ๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us