Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2530
โรงงานเซเว่น-อัพ เรื่องของคู่เขยพลิกล็อค             
 

   
related stories

โครงการ 4 เมษา สูตรผสมโหด-เลว-ดี ที่ยังอยู่ในห้องทดลอง?
ธวัชชัย ถาวรธวัช ตึกทองที่อาจจะกลายเป็นตึกตะกั่ว
เรื่องไม่ง่ายสำหรับคนจากคลังและแบงก์ชาติ
สังสรรค์ผู้บริหารทรัสต์ 4 เมษา ที่ผิดพลาดพลั้งไป...อภัยด้วย

   
search resources

ไทยพาณิชย์, บล.
พิจิตต รัตตกุล
Soft Drink
สุรินทร์ ตุลย์วัฒนจิต




จริง ๆ แล้วถึงขณะนี้ก็ยังไม่ทีใครทราบชัดว่าจะเอาอย่างไรกับ บริษัทเซเว่น-อัพ บอตตลิ่ง (กรุงเทพฯ) กิจการผลิตและจำหน่ายน้ำอัดลมที่มีทุนจดทะเบียนเพียง 12 ล้านบาท แต่อุตส่าห์สร้างหนี้ไว้ถึงกว่า 200 ล้านและหยุดชำระหนี้คืนมานานกว่า 2 ปีแล้ว

กระแสข่าวที่ปรากฏออกมานั้น สรุปวิเคราะห์ดูก็ล้วนแต่เป็นการปล่อยข่าว "เกทับบลัฟแหลก" กันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เกือบทั้งสิ้น"

"ทั้งนี้ก็เพราะตัวเซเว่น-อัพ มันไม่ใช่ตัวปัญหาใหญ่ ตัวปัญหาใหญ่มันอยู่ที่กลุ่มบริษัทการเงินในเครือสากลเคหะของสุรินทร์ ตุลย์วัฒนจิต ที่กลายเป็นของคลังไปเพราะโครงการ 4 เมษา เรื่องของเซเว่น-อัพ เป็นเรื่องของเกมส์ที่สุรินทร์กับคนของทางการจะต้องใช้เป็นหมากเดินสู้กัน โดยมีบริษัทการเงินในเครือสากลเคหะเป็นเดิมพันและมีไทยพาณิชย์เป็นตัวสอดแทรก…" แหล่งข่าวที่ติดตามเรื่องราวมาตั้งแต่ต้นเปิดเผยให้ฟัง

โรงงานเซเว่น-อัพ มีเจ้าหนี้รายใหญ่เป็นบริษัทการเงินในเครือสากลเคหะ และมีหนี้อยู่อีกราว ๆ 20 ล้านบาทกับธนาคารไทยพาณิชย์โดยหนี้ในส่วนไทยพาณิชย์มีที่ดิน 7 ไร่กว่าและตัวโรงงานเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ส่วนหนี้อีกกว่า 100 ล้านในส่วนของเครือสากลเคหะไม่มีอะไรมาค้ำประกันแม้แต่น้อยนิด

และสาเหตุทีสากลเคหะปล่อยกู้ให้เซเว่น-อัพเมื่อปี 2522 จากเจ้าของเดิมตระกูล "เหตระกูล" ที่ทำมานานจนตอนหลังมีลักษณะเตี้ยลงเอย ๆ ซึ่งที่จริงก็ไม่ใช่สุรินทร์หรอกที่อยากเทคโอเวอร์บริษัทนี้

คนที่เป็นต้นคิดจริง ๆ คือ ดร. พิจิตต รัตตกุล ลูกชายรองนายกฯ พิชัยที่ตอนได้ได้ดิบได้ดีทางการเมืองกลายเป็นรัฐมนตรีช่วยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ "ก็คงจะเป็นเพราะจบทางด้านเคมีชีวะมั้ง เลยอยากจะลองลุ้นดูบ้าง…" คนที่รู้จักกับ ดร. พิจิตต บอกแบบไม่อยากจะเล่ามาก

เผอิญที่ ดร. พิจิตต รัตตกุล เป็นคู่เขยกับสุรินทร์ ตุลย์วัฒนจิต (ภรรยาของ ดร. พิจิตต-ชารียา เป็นพี่น้องกับภรรยาสุรินทร์-ชลาธิป)

และเผอิญหนักเข้าไปอีกที่สากลเคหะของสุรินทร์ตอนนั้น เงินฝากจากประชาชนกำลังไหลเข้า และสุรินทร์กำลังเร่งขยายฐานธุรกิจอย่างรีบด่วน

ภายหลังการส่งคนเข้าไปศึกษาฐานะของเซเว่น-อัพ อย่างทะลุปรุโปร่งและพบว่าน่าเสี่ยงแล้ว สุรินทร์ก็ตัดสินใจร่วมกับ ดร. พิจิตตเอาเงินจากสากลเคหะไปเทคโอเวอร์เซเว่น-อัพ แล้วปล่อยให้ ดร. พิจิตตบริหารไปตามลำพัง

"ตอนที่กลุ่มสุรินทร์เข้าเทคฯ นั้นดูเหมือนเซเว่น-อัพจะมีหนี้อยู่ก็เพียงที่ไทยพาณิชย์ราว 10 กว่าล้านบาท โดยเอาที่ดินกับตัวโรงงานค้ำประกัน เมื่อซื้อมาแล้วก็ต้องเร่งปรับปรุงมาก ทั้งเครื่องจักรและงานด้านการตลาด ซึ่งก็ไม่มีปัญหา เพราะขาดเงินเมื่อไหร่ก็ไปเอามาจากเครือของสากลเคหะซึ่งก็ไม่ต้องมีหลักทรัพย์อะไรไปวาง…" แหล่งข่าวเจ้าเก่าเล่า

เซเว่น-อัพ ตอนั้นกำลังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น

แต่ด้วย "สาเหตุบางประการ" ทำให้ ดร. พิจิตต ต้องวางมือไปและสุรินทร์ต้องเข้ามาดูแลเองภายหลัง ดร. พิจจิตต เข้าไปได้ไม่นานนัก "บางคนก็บอกว่าเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างคู่เขยคู่นี้ บ้างก็ว่า ดร. พิจิตตอยากไปเอาดีทางการเมือง เรื่องจริง ๆ เป็นเพาะอะไรนั้นไม่มีคนนอกทราบ…" คนเคยร่วมงานกับสุรินทร์บอกคร่าว ๆ

ก็นับเป็นการเปลี่ยนแปลงภายใต้สิ่งที่ยังคงเดิมไม่แปรเปลี่ยน คือเซเว่น-อัพยังมีความจำเป็นจะต้องใช้เงินค้ำจุนกิจการต่อไปไม่หยุด

สำหรับสุรินทร์นั้น ก็อาจจะคิดว่าใส่เงินไป เซเว่น-อัพฝ่าพ้นวิกฤตเมื่อไรก็คงพอจะมีกำไรมาใช้หนี้และก็จะเป็นฐานที่มั่นคงในภายภาคหน้าสำหรับกลุ่มเขา

แน่นอน…สุรินทร์คงนึกไม่ถึงหรอกว่า วันดีคืนดีสถาบันการเงินจะมีอันต้อง PANIC แทบล้มคว่ำภายหลังกรณีอีดีทีของกลุ่ม "ตึกดำ" และทำให้เขาต้องคลี่คลายสถานการณ์ด้วยการนำบริษัทการเงินในเครือทั้งหมดเข้าโครงการ 4 เมษา โอนสิทธิความเป็นเจ้าของให้กับกระทรวงการคลังพร้อม ๆ กับการเข้ามาของคนจากทางการ

สุรินทร์ตอนั้นก็คิดว่า การเข้าโครงการ 4 เมษาเป็นทางออกที่ดีที่สุด หาก PANIC หยุดแล้วธุรกิจที่หยุดชะงักรวมทั้งโรงงานเซเว่น-อัพ ที่ขาดแหล่งเงินอย่างกระทันหันก็คงจะเดินหน้ากันต่อไป

แต่เผอิญมันไม่เป็นอย่างที่สุรินทร์คิด!!

การเข้ามาคนทางการนั้น นอกจากจะไม่ยอมปล่อยเงินให้กับเซเว่น-อัพและทุก ๆ กิจการแล้วก็ยังตั้งหน้าตั้งตาบีบรัดให้จ่ายหนี้ลูกเดียวจริง ๆ

"ที่จริงก็คงจะฟ้องเซเว่น-อัพ เหมือนกับลูกหนี้ทั้งหลายนั่นแหละ แต่เมื่อพบว่าขืนฟ้องไปก็จะไม่ได้อะไรเพราะไม่มีอะไรค้ำประกันหนี้ ก็เลยหันมาบีบจะให้แปลงหนี้เป็นหุ้น หาทางเข้าเทคโอเวอร์เลย" ผู้ที่ทราบเรื่องเล่าเองหลังที่สากลเคหะประกาศจะเข้าเทคโอเวอร์เซเว่น-อัพซึ่งจะทำให้โรงงานน้ำอัดลมแห่งนี้มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ

มาตรการเช่นนี้ว่ากันว่าสุรินทร์หัวเสียมาก และก็ไม่ใช่เซเว่น-อัพแห่งเดียว ที่ไหนมีหนี้และยังไม่สามารถชำระ คนทางการก็จะบีบรัดหน้าเขียวหน้าเหลืองไปทุกแห่ง

ช่วงแรก ๆ เซเว่น-อัพก็พยายามใช้การเจรจาเพื่อหาทางคลี่คลายปัญหาตัวเอง "มีการออกข่าวว่าจะเพิ่มทุน และพัฒนาทรัพย์สินเพื่อให้มีราคาขึ้นโดยเฉพาะที่ดินกว่า 7 ไร่ที่นนทบุรี ริมถนนงามวงศ์วาน" ซึ่งก็ไม่มีผลทางการปฏิบัติ จนในที่สุดเจ้าหนี้ที่มีจริงอย่างไทยพาณิชย์ก็ตัดสินใจฟ้องศาล

"ไทยพาณิชย์เขาก็ไม่อยากจะฟ้องร้องหรอก แต่เห็นมันคาราคาซัง สากลเคหะที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ก็เอาแต่เงื้อง่า ทำท่าจะบีบ เอาเข้าจริงก็บีบไม่ลงเพราะบีบไปก็ไม่ได้อะไร จะช่วยให้ฟื้นก็ไม่ช่วย ไทยพาณิชย์ก็เลยต้องฟ้อง พูดกันว่าเบื้องหลังนั้นก็ต้องการให้มาเจรจากันว่าจะเอาอย่างไรแน่…ไม่ใช่ปล่อยกันอย่างที่ผ่าน ๆ มา…" แบงเกอร์รายหนึ่งพูดกับ "ผู้จัดการ"

ดูเหมือนเซเว่น-อัพ จะมีทางเลือกไม่มากนัก โดยเฉพาะสุรินทร์ ตุลย์วัฒนจิต แล้ว สิ่งเดียวที่พอจะเป็นไปได้สำหรับเซเว่น-อัพ และอีกหลายกิจการที่ผูกอยู่กับเครือสากลเคหะ ก็น่าจะเป็นการทำให้สากลเคหะกลับมาเป็นของเขาอีกครั้ง เพื่อที่เขาจะสามารถคลี่ลายทุกอย่างได้อย่างที่เขาคิดว่ามันสมควร

หรืออย่างน้อย ก็ให้คนที่พอจะพูดกันรู้เรื่องมาพูดกับเขาแทนคนจากทางการที่เอาแต่ทวงหนี้

ที่กรุงไทยช่วยรับบริษัทการเงินโครงการ 4 เมษา แทนคลังและแบงก์ชาติ บางทีน่าจะช่วยให้สถานการณ์ของเซเว่น-อัพกระเตื้องขึ้น

เพียงแต่สุรินทร์ก็คงจะต้องดูต่อไป พร้อม ๆ กับความพยายามจะเอากิจการกลับคืนก็คงจะต้องดำเนินไปเป็นขั้น ๆ ไม่หยุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us