Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2530
ธวัชชัย ถาวรธวัช ตึกทองที่อาจจะกลายเป็นตึกตะกั่ว             
 

   
related stories

โครงการ 4 เมษา สูตรผสมโหด-เลว-ดี ที่ยังอยู่ในห้องทดลอง?
เรื่องไม่ง่ายสำหรับคนจากคลังและแบงก์ชาติ
โรงงานเซเว่น-อัพ เรื่องของคู่เขยพลิกล็อค
สังสรรค์ผู้บริหารทรัสต์ 4 เมษา ที่ผิดพลาดพลั้งไป...อภัยด้วย

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
Real Estate
ธวัชชัย ถาวรธวัช




ธวัชชัย ถาวรธวัช อาจจะไม่ต้องมานั่งปวดหัวเช่นทุกวันนี้กับเรื่องอนาคตของบริษัทเงินทุนแหลมทองที่ก่อนหน้าจะเกิดโครงการ 4 เมษาเคยเป็นของเขา หากเมื่อ 4-5 ปีที่แล้วเขาไม่ตัดสินใจทำโครงการสร้าง "ตึกทอง" ขึ้นริมถนนสุขุมวิทระหว่างซอย 12 และซอย 14 เยื้อง ๆ โรงแรมแอมบาสเดอร์

โครงการออฟฟิศคอนโดมิเนียมที่ยืดเยื้อยาวนานผิดปกติ

"สำหรับมือเก่าทางด้านรีลเอสเตทอย่างธวัชชัยแล้ว นับเป็นความซวยอย่างยิ่งที่มีปัญหามีมาให้โครงการตึกทองอย่างต่อเนื่อง" คนที่สนิทกับธวัชชัยพูดกับ "ผู้จัดการ"

ตึกทองนั้นเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ด้วยการประกาศว่าเป็นโครงการมหึมาลงทุนเกือบ 400 ล้านบาท สนับสนุนโครงการโดยธนาคารกรุงเทพ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คาเธ่ย์ทรัสต์ และที่ย่อมขาดไม่ได้แน่นอนคือ บริษัทเงินทุนแหลมทองของธวัชชัย ถาวรธวัช เอง

"แบงก์กรุงเทพตอนที่เริ่มโครงการใหม่ ๆ ก็หนุนเต็มที่ ทั้งนี้บริษัทสุขุมวิทคอนโดมิเนียมเจ้าของโครงการได้เอาโฉนดที่ดินบริเวณที่จะใช้ก่อสร้างมาจดจำนองไว้กับแบงก์ค้ำประกันเงินกู้ ครั้นต่อมาเมื่อบรรยากาศการก่อสร้างหยุดบูม หลาย ๆ โครงการพับฐานแบงก์กรุงเทพก็ขอหยุดการปล่อยเงินให้ ยกเว้นแต่จะมีการเพิ่มทุนให้คุ้มเสี่ยง ซึ่งเจ้าของโครงการไม่ยอม แบงก์กรุงเทพก็เลยถอนตัว" ผู้บริหารระดับวงในที่รู้เรื่องดีเล่า

ตึกทองก็มีอันให้ต้องชะงักไปพักใหญ่

ครั้นต่อมาหุ้นส่วนรายหนึ่งของธวัชชัยมีช่องทางเข้าถึงรัฐบาลจีน สามารถใช้ลิ้นการทูตเจรจาจนยอมให้กู้เงิน 3.5 ล้านเหรียญหรือราว ๆ 80 ล้านบาทในขณะนั้น ดอกเบี้ย 8% โครงการตึกทองก็มีทีท่าคึกคักขึ้น

แต่ก็เจ้ากรรมจริง ๆ เงินกู้จากจีนก้อนนี้บังเอิญค้ำประกันโดยธนาคารเอเชียทรัสต์ยุคก่อนทางการเข้าไปยึด ผู้บริหารของเอเชียทรัสต์คนหนึ่งก็แนะนำว่า น่าจะเอาไปไว้กับนทีทองที่เป็นทรัสต์ในเครือเพื่อจะได้ดอกผลสูงขึ้นขณะที่เงินยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ทั้งหมด

ผลก็คือเงิน 70 ล้านบาทที่ฝากไว้กับนทีทอง สัปดาห์เดียวหลังจากนั้นเอเชียทรัสต์ก็ถูกยึดกระทบไปถึงทรัสต์ในเครือจนตึกทองเอาเงินออกมาใช้ดำเนินงานก่อสร้างไม่ได้

ตึกทองหยุดเดินหน้าอีกครั้ง

ธวัชชัยแก้ปัญหาด้วยการโอนทรัพย์สินของตึกทองมาวางไว้กับเงินทุนแหลมทองแทนธนาคารกรุงเทพในวงเงิน 120 ล้านบาท เพิ่งจะเอาเงินออกไปใช้เพียง 70 กว่าล้านบาทก็เกิดวิกฤตการณ์ที่กระทบสถาบันการเงินและบีบบังคับให้เขาต้องหลบภัยด้วยการนำแหลมทองเข้าโครงการ 4 เมษา และเมื่อทางการส่งคนเข้ามาบริหาร โครงการตึกทองก็ถูกดองไม่ยอมปล่อยเงินให้อีกต่อไป

"ก็ทำผิดสัญญาก็เลยงดการปล่อยเงินให้ ทั้ง ๆ ที่วงเงินยังพอปล่อยได้…" ธวัชชัย ถาวรธวัช บอกเหตุผลอย่างตรงไปตรงมา

ธวัชชัยเล่าว่า ตึกทองนั้นถึงขณะนี้ใส่เงินไปแล้วราว ๆ 200 ล้านบาทและจะต้องใส่เข้าไปอย่างน้อยอีกเท่า ๆ กันเพื่อให้ทุกอย่างสมบูรณ์ตามที่ตั้งเป้า เขาเชื่อมั่นมากในความเป็นไปได้ของโครงการโดยเฉพาะผลตอบแทน "คือมันล่าช้ามาก ดอกเบี้ยก็กินไปมาก แต่กำไรยังพอมี…"

ปัญหาก็คือต้องมีแหล่งเงินเข้ามาสนับสนุน หาไม่แล้วเจ้าหนี้ก็คงจะต้องเอาไปทำกันเองให้รู้แล้วรู้รอด

หลายปีมานี้ธวัชชัยก็เลยต้องดิ้นสุดเหวี่ยง

เขาเดินเรื่องไปถึงสถานทูตจีนบอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเงินกู้ 70 ล้านบาทใน 80 ล้านบาทที่นอกจากจะไม่สามารถเอาออกมาใช้จ่ายได้แล้วก็ยังไม่ทราบว่าจะใช้คืนอย่างไรได้ด้วย สถานทูตจีนก็ทำหนังสือไปถึงกระทรวงการคลัง ต่อมาธนาคารสยามก็แสดงความจำนงขอรับเปลี่ยนตั๋วให้ เองก็เลยคลายไปหนึ่งเปลาะ

และเปลาะต่อไปที่ธวัชชัยต้องการมาก ๆ ก็คือ ได้แหลมทองกลับมาเป็นฐานการเงินให้กับโครงการที่อาจจะกลายเป็นตึกตะกั่วแห่งนี้ให้จงได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us