Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2530
อภิรักษ์ ไทพัฒนกุล คนที่จะเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ไทยประกันฯ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ไทยประกันชีวิต

   
search resources

ไทยประกันชีวิต, บจก.
วานิช ไชยวรรณ
อภิรักษ์ ไทพัฒนกุล
Insurance




วานิช ไชยวรรณ ซื้อกิจการบริษัทไทยประกันชีวิตเมื่อปี 2513 ขณะนั้นบริษัทประกันชีวิตอายุเก่าแก่ที่สุดแห่งนี้มีฐานะติดอันดับ "บ๊วย" สุด วานิชโชคดีและก็ตาถึงที่ไปดึงมือเก่าผู้คร่ำหวอดอย่าง อนิวรตน์ กฤตยากีรณ มาช่วยบริหาร กระทั่งพลิกโฉมหน้ากลับเป็นคนละด้านจากอันดับ "บ๊วย" กลายเป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นแนวหน้าด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่ก้าวกระโดดและไม่หยุดนิ่ง

อริวรตน์ พ่อบังเกิดเกล้าของ ดร. กอปร กฤตยากีรณ นั้น อดีตเคยเป็นผู้บริหารบริษัทประกันชีวิตหลายแห่งก่อนหน้าการเข้าร่วมงานกับไทยประกันชีวิต

วิทยายุทธรวมทั้งประสบการณ์มากมายของเขาถูกใช้ออกไปอย่างเต็มเหยียดภายใต้การสนับสนุนจากวานิช ไชยวรรณ ชนิดใจถึงเอามาก ๆ

และปี 2526 ทุกคนในบริษัทแห่งนี้ก็ทราบดีว่า การปรับปรุงสินค้า (กรมธรรม์) ให้สอดคล้องกับตลาด การสร้างทีมงานและการวางระบบอย่างรัดกุมของอนิวรรค์คือผลงานที่จะต้องจดจำกันไปอีกนาน

เพราะว่าปีนั้นคือปีแรกที่ไทยประกันแซงหน้าบริษัทไทยสมุทรได้สำเร็จหลังจากขับเคี่ยวกันอยู่หลายปี โดยฝ่ายไทยประกันค่อย ๆ ไล่ตามไทยสมุทรกระชั้นติดอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งผลก็คือ ไทยประกันกลายเป็นบริษัทประกันชีวิตอันดับหนึ่งแทนไทยสมุทร โดยเฉพาะทางด้านเบี้ยประกันที่ก็พอจะเปรียบได้กับยอดขายนั่นแหละ

ในปี 2523 นั้นไทยประกันมีเบี้ยประกันเพียง 658 ล้านบาท ขณะที่ไทยสมุทร 982 ล้านบาท ปี 2524 ไทยประกันไล่จี้ขึ้นมาเป็น 8187 ไทยสมุทรหนีไปที่ 1,103 และหนีออกไปเป็น 1,188 ส่วนไทยประกัน 1,029 ในปี 2525

และปี 2526 ที่ไทยประกันแซงไทยสมุทรสำเร็จนั้นเบี้ยประกันของฝ่ายไทยประกันขยับขึ้นไปที่ 1,319 ล้านบาท ทิ้งแชมป์ให้กลายเป็นอดีตแชมป์ตรงที่ 1,299 ล้านบาท

จากนั้นมาไทยประกันก็นำไทยสมุทรโลดกระทั่งปี 2529 ที่เพิ่งจะผ่านพ้นไปประมาณการกันว่าเบี้ยประกันของไทยประกันชีวิตน่าจะขึ้นไปถึง 1,733 ล้านบาท ส่วนไทยสมุทรจะอยู่ในราว ๆ 1,390 ล้านบาท เป็นอย่างมาก

ถ้าจะว่าไปอนิวรรตน์ก็น่าจะเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์แห่งความเกรียงไกรให้กับไทยประกันขมวดปมสำคัญไว้ตรงปี 2526 ปีเดียวกับที่เขาขอปลดเกษียณตัวเองออกจากวงการปล่อยให้วานิช ไชยวรรณ ควบ 2 เก้าอี้รักษาการไปพลาง ๆ ก่อนตัดสินใจปล่อยตำแหน่งสำคัญที่อนิวรรตน์เคยนั่งให้กับผู้บริหารอีกคนหนึ่งขึ้นมารับช่วงอย่างเป็นทางการเมื่อเร็ว ๆ นี้

คน ๆ นี้ชื่ออภิรักษ์ ไทพัฒนกุล

คนที่หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าเขาโชคดีที่ได้ขึ้นมาบริหารกิจการที่ถูกวางระบบเอาไว้ดีแล้วเพียงประคองให้ดีก็น่าจะทำงานไปได้สบาย ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่!!

"อาจารย์อภิรักษ์อยู่ในฐานะที่จะต้องเหนื่อยยากไม่แพ้ยุคคุณอนิวรรตน์แน่ ๆ หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ…" ผู้สันทัดกรีวงการประกันชีวิตคนหนึ่งบอก

ก็น่าจะต้องเป็นเช่นนั้นเพราะดูกันง่าย ๆ เป้าหมายการแข่งขันของไทยประกันชีวิตนั้น ไม่ใช่ไทยสมุทรหรือบริษัทประกันชีวิตของไทยอีกต่อไปแล้ว หากแต่เป็นยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ เอไอเอ อย่างเห็นได้ชัด

หากจะบอกว่า ไทยประกันชีวิตมาแรงและมาเงียบจนสามารถแซงหน้าคู่แข่งได้อย่างน่าตื่นตระหนกแล้ว ความแรงและความเงียบของ เอไอเอ ก็น่าจะทำให้หลายคนแทบตกเก้าอี้

ลองพิจารณาตัวเลขเบี้ยประกันระหว่างปี 2523 ถึงปี 2529 นี้ดูเอาเถอะ

ปี 2523 ขณะที่ไทยประกันยังตามไทยสมุทรอยู่ที่ 658 ล้านบาทนั้น เอไอเอ เพิ่งจะมีเบี้ยประกันเพียง 636 ล้านบาท จัดอยู่ในอันดับ 3

ปี 2524 ที่ไทยประกันขึ้นมาเป็น 818 เอไอเอ ก็ตามมาเป็น 786 ก็ยังอันดับ 3

พอปี 2525 ไทยประกันขยับขึ้นมาอีกเป็น 1,029 เอไอเอจี้ติดมาเป็น 1,012

และปี 2526 ที่ไทยประกันภาคภูมิใจนักหนาที่สามารถแซงหน้าไทยสมุทรได้สำเร็จนั้นแท้ที่จริงปีนั้นคือปีที่เอไอเอก้าวขึ้นมานอยู่ในอันดับที่ 1 แล้วด้วยจำนวนเบี้ยประกัน 1,449 ล้านบาท ขณะที่ไทยประกัน 1,319 และไทยสมุทร 1,299 ล้านบาท

ปีต่อ ๆ มาไทยประกันยิ่งโตขึ้นเท่าไหร่ เอไอเอ ก็ยิ่งหนีห่างออกไปเรื่อย ๆ

"อย่างในปี 2529 ที่ไทยประกันน่าจะมีเบี้ยประกันเข้ามาราว ๆ 1,733 ล้านบาทนั้น ก็เป็นที่คาดหมายกันโดยทั่วไปว่า เอไอเอ ก็คงจะหนีห่างไปยืนอยู่ที่ 2,937 ล้านบาท ซึ่งทิ้งห่างมากทีเดียว"แหล่งข่าวคนหนึ่งยืนยัน

เห็นได้ชัดว่า ภาระหน้าที่ของอภิรักษ์ ไทพัฒนกุล หนักเอาการทีเดียว เพียงแต่ถ้ามองอีกด้าน มันก็เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถอย่างมาก ถ้าอภิรักษ์ทำได้สำเร็จ เขาก็จะกลายเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์อีกยุคให้กับไทยประกันชีวิตเช่นเดียวกับที่อนิวรตน์เคยเขียนไว้ในยุคแรก

และถ้ายุคแรกภายใต้การนำทีมองอนิวรรตน์เป็นยุที่มีแต่การขยายคนขยายองค์กร พร้อมกับเปิดแนวรบบุกไปทั่วทิศ ขายสินค้าให้กับคนทุกระดับ (ตั้งแต่ผู้มีรายได้ต่ำไปจนถึงผู้มีรายได้สูง)

ยุคของอภิรักษ์ก็คงจะเป็นยุคของการ "สร้างความมั่นคง" พัฒนาคุณภาพและสร้างภาพพจน์ที่สามารเอาชนะภาพพจน์ของคู่แข่งโดยเฉพาะ เอไอเอ ที่เป็นจุดแข็งมาก ๆ

"อย่างกำลังคนของเราผมคิดว่าเราก็คงจะไม่เพิ่มไปมากกว่านี้อีกแล้ว เราพยายามจะอยู่ในระดับขนาดนี้ และเพื่อทดแทนงานหลายอย่างก็จะใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย…" อภิรักษ์พูดอย่างเปิดใจภายหลังที่ไทยประกันชีวิตประกาศว่าจะนำระบบไมโครคอมพิวเตอร์ไปติดตั้งทั่วทุกสาขาและทำ "ออนไลน์" ติดต่อเชื่อมโยงกันทั่วราชอาณาจักร ซึ่งปี 30 นี้จะเริ่มใน กทม. ก่อน

เป้าหมายที่เด่นชัดของการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยและจัดทำระบบ "ออนไลน์" ภายใต้โครงสร้างที่กระจายศูนย์ (คือแต่ละสาขาสามารถทำงานของสาขาได้ ขณะเดียวกันก็สามารถสื่อสารกันได้ทุกจุดโดยไม่ต้องผ่านส่วนกลาง) นอกจากเพื่อบริการที่รวดเร็ว อย่างเช่น การออกกรมธรรม์ที่สามารถใช้เวลาเพียงไม่เกิน 15 นาที แล้วก็จะขยับต่อไปถึงงานด้านการจ่ายสินไหมและอื่นได้อีกมาก สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันก็คือ สามารถลดต้นทุนได้อีกด้วย

"อย่างเมื่อก่อนเราอาจจะต้องใช้คนเป็นจำนวนมากในการติดตามเก็บเบี้ย แต่ต่อไประบบคอมพิวเตอร์ของเราจะเชื่อมโยงกับระบบของธนาคารการจ่ายเงินผ่านธนาคารก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายของเราลดลง อันนี้ทำไประดับหนึ่งแล้ว นอกจากนี้งานหลายอย่างที่เคยใช้แมนพาวเวอร์มาก ๆ ก็น่าจะลดลงได้โดยให้เครื่องทำงานแทน ส่วนคนของเราจะได้มีเวลาในการทำงานที่สร้างสรรค์ขึ้น" ผู้บริหารระดับสูงอีกคนหนึ่งของไทยประกันเล่า

ทุกวันนี้อภิรักษ์ ไทพัฒน์กุล ตระเตรียมวางแผนหลายอย่างเพื่อรับมือกับสถานการณ์ใหม่ของการแข่งขัน เขาค่อนข้างเชื่อมั่นมากว่ามันไม่เหลือบ่าฝ่าแรง

ไม่แน่นัก บางทีเขาอาจจะคิดเลยไปถึงการแข่งขันกับสถาบันการเงินอื่น ๆ อย่างเช่นธนาคารพาณิชย์ก็เป็นได้?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us