Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2530
"หวั่งหลี" ภาคพิสดารว่าด้วยบทบาทตันซิวเม้ง-ตันซิวติ่ง             
 


   
search resources

ตันซิวเม้ง
วุฒิชัย หวั่งหลี




ตำนานตระกูลหวั่งหลีและธุรกิจของเขาที่ไม่เปิดออกยังมีอีกมาก อาจจะเรียกเป็นภาคผนวกก็ได้ (โปรดทบทวนเรื่องหวั่งหลีในฉบับที่ 39 ธันวาคม 2529 ประกอบ)

ตันซิวเม้ง ผู้นำตระกูลหวั่งหลี มีบทบาทสำคัญมากในการสร้างรากฐานธุรกิจในประเทศไทย ไม่เพียงเท่านั้นเขายังมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับความเป็นชาวจีนโพ้นทะเล คำถามที่ไม่มีคำตอบจนถึงวันนี้กว่า 40 ปีก็คือ เขาต้องถูกสังหารทั้ง ๆ ที่เขาคือคนที่ชาวจีนโพ้นทะเลให้ความยกย่องนับถืออย่างยิ่ง

ตันซิวติ่ง เข้ามาสวมแทนบทบาทผู้นำตระกูลภายหลังตันซิวเม้งเสียชีวิต หลายคนประเมินบทบาทเขาต่ำเกินไปเพียง "ผู้เฝ้าทรัพย์" รอลูก ๆ ตันซิวเม้งกลับจากศึกษาในต่างประเทศ หากจะประเมินอย่างเป็นธรรมแล้วเขาควรจะได้รับการยกย่องไม่น้อยเหมือนกัน

วันที่ 8 ธันวาคม 2482 ที่ญี่ปุ่นบุกไทยนั้น ตันซิวเม้งในฐานะผู้นำชาวจีนในประเทศไทยที่มี ความสัมพันธ์กับทางจีนแผ่นดินใหญ่อย่างล้ำลึกต้องหลบหนีไปซ่อนตัวที่คลองบางหลวง ปทุมธานี ห่างจากดอนเมืองไม่ไกลนัก แต่ถูกญี่ปุ่นจับได้ในที่สุด เขาถูกบังคับให้เป็นประธานหอการค้าไทย-จีนภายใต้อาณัติญี่ปุ่น เขาได้กลายเป็น "กันชน" มิให้ญี่ปุ่นทำลายชีวิตและทรัพย์สินของชาวจีนในไทย ไม่ว่าเขาจะไปไหนทหารญี่ปุ่นจะต้องส่งคนติดตามทุกฝีก้าว

เดือนพฤษภาคม 2486 ทหารญี่ปุ่นควบคุมผู้คนสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์กาญจนบุรี-พม่า ชาวจีนในไทยกว่าหมื่นคนถูกเกณฑ์ด้วย ชาวจีนพากันหลบหนีภัยความโหดร้ายทารุณของทหารญี่ปุ่น ตันซิวเม้งออกหน้าแก้ไขสถานการณ์ต่างประกาศเชิญชวนชาวจีน โดยเสนอให้มีค่าจ้างแรงงาน อาหาร ที่พัก และยารักษาโรค ฯลฯ ด้วยทางออกเช่นนี้ ชาวจีนโพ้นทะเลจึงพ้นภัยจากทหารญี่ปุ่น

ในขณะเดียวกันตันซิวเม้งอ้างกับญี่ปุ่นว่า ควรสร้างหลุมหลบภัยทางอากาศที่บางบัวทอง ไม่ไกลจากสนามบินดอนเมือง แต่แท้ที่จริงเขากำลังซ่องสุมผู้คนอาวุธยุทโธปกรณ์ เสบียงอาหารเพื่อคอยโอกาสต่อสู้กับทหารญี่ปุ่น และเพื่อรับพลร่มฝ่ายสัมพันธมิตรที่ร่วมมือกับเสรีไทย

ที่ร้ายแรงที่สุดในชีวิตตันซิวเม้งคือเขาไม่สามารถทัดทานญี่ปุ่นที่ปลอมแปลงเอกสารในนามของเขา-ประธานหอการค้าไทย-จีน ส่งถึงเมืองนานกิง-ต่ง-เก่ง เสนอให้รัฐบาลจีนร่วมมือกับญี่ปุ่น จากจุดนี้เองมีผู้คนไม่น้อยเข้าใจผิดตลอดมา

ต้นเดือนสิงหาคม 2488 ญี่ปุ่นยอมแพ้ รัฐบาลจีนจะส่งคณะผู้แทนตรวจการมายังเมืองไทยในวันที่ 16 สิงหาคม วันเดียวกันนั้นตันซิวเม้ง ได้ออกจากที่ทำการหอการค้าไทย-จีน เมื่อเวลา 16.00 น. เขาเดินทางกลับบ้านโดยรถยนต์เพื่อเตรียมการต้อนรับผู้แทนทางการจีน รถยนต์ถึงท่าเรือแองโกลไทยเพื่อข้ามฟากไปบ้านหวั่งหลี ฝั่งธนบุรี ขณะยืนรอเรืออยู่นั้น ทันใดก็เกิดเสียงปืนดังสนั่น เขากลับไปมองพบว่าคนคุ้มครองของเขากำลังต่อสู้กับคนร้าย 5-6 คน ท่ามกลางหน้าสิ่งหน้าขวาน ตันซิวเม้งยังเจรจาหว่านล้อมคนร้ายทั้งหมด แต่ไม่เป็นผล ในที่สุดเขาต้องจบชีวิตลงตรงนั้น

นี่คือประวัติส่วนที่ขาดหายไปของตันซิงเม้ง ซึ่ง"ผู้จัดการ" เก็บตกจากหนังสืองานศพของเขา (แปลจากต้นฉบับภาษาจีน) เมื่อปี 2488

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตระกูลหวั่งหลีได้แบ่งออกเป็น 2 ปีก ที่ฮ่องกงและไทย ตันซิ่วติ่งเคยพำนักที่ฮ่องกงต้องเดินทางมาดูแลกิจการของตระกูลหวั่งหลีในประเทศไทยแทนตันซิวเม้ง

เขาเพียงดำเนินกิจการค้าข้าว-โรงสีต่อไป กิจการอื่นซบเซาอย่างมาก ภายใต้แรงกดดันรอบด้าน การเมืองกำลังผันผวน ทายาทไม่มี และความขัดแย้งทางแนวความคิดระหว่างหวั่งหลีในฮ่องกงและไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาเข้ามาเป็น "หลักศิลา" ของตระกูลท่ามกลางอาการ "ช็อค" เพราะการจากไปอย่างกระทันหันของตันซิวเม้ง

ตันซิวติ่งคือหลักศิลากลางน้ำเชี่ยวกรากอย่างแท้จริง

ที่สำคัญประการหนึ่งคือรักษากฎการดำเนินธุรกิจของตระกูล

ธุรกิจหวั่งหลี มีความมั่นคงและเติบโตมาได้ในช่วง 120 ปี ก็เพราะผู้นำตระกูลทุกรุ่นปฏิบัติเป็นวัฒนธรรมของตระกูลเลยก็คือ บริษัทแยกออกจากส่วนตัวอย่างเด็ดขาด

วุฒิชัย หวั่งหลี ทายาทคนหนึ่งของตันซิวติ่งเล่าว่า ผลตอบแทนของคนในตระกูลนั้นมาจาก 2 ทาง หนึ่ง-เงินปันผลตามสัดส่วนของหุ้นเมื่อกิจการมีกำไร สอง-เป็นผู้บริหารบริษัท ซึ่งมีเงินเดือนแน่นอน นอกจากนี้ทุกคนไม่มีทางจะได้ประโยชน์เงินทองจากบริษัทอีกเลย

บริษัทหวั่งหลี และหวั่งหลีโฮลดิ้ง เป็นแกนกลางของตระกูลในประเทศไทย หุ้นจะถูกโอนตามสายเฉพาะผู้ชายเท่านั้น หากกรรมการคนหนึ่งคนใดเพียงคนเดียวไม่เห็นด้วยกับการโอนหุ้นก็ไม่สามารถกระทำได้ นี่คือระเบียบของบริษัทนี้

ปัจจุบันหากไม่รวมกลุ่มพูลผลแล้ว บทบาทของคนตระกูลหวั่งหลีในฮ่องกงจะมีอำนาจมากกว่า ว่ากันว่าบ่อยครั้งที่ธนาคารหวั่งหลี (นครธนในปัจจุบัน) ไม่สามารถเพิ่มทุนได้ ก็เพราะคนหวั่งหลีในฮ่องกงไม่เห็นด้วย

ทายาทหวั่งหลีปัจจุบันภูมิใจเสมอว่า กฎของตระกูลที่แยกบริษัทออกจากส่วนตัวนี้ เป็นหัวใจรักษาธุรกิจหวั่งหลีให้มั่นคงถาวรมากว่า 100 ปี จวบจนทุกวันนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us