Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2530
กลยุทธ์ "เจาะ" ตลาดชิ้นส่วนรถยนต์ต่างประเทศ "ต้องรู้เขา รู้เรา"             
 


   
search resources

Auto-parts
วิวัฒน์ แพรพริ้วงาม




การจะส่งชิ้นส่วนรถยนต์ออกตีตลาดต่างประเทศนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก ปัญหาอยู่ที่ว่าเรารู้จักตลาดในแต่ละพื้นที่ที่จะเข้าไปหรือไม่ นี่เป็นปัญหาข้อที่สำคัญที่สุด ถ้าไม่รู้จักเราต้องเรียนรู้และศึกษา

ในแต่ละพื้นที่ในแต่ละประเทศมีกฎหมายที่แตกต่างกัน เราต้องเรียนรู้กฎหมายและลักษณะการค้าขายของพื้นที่เหล่านั้นก่อนเป็นประการแรก เมื่อทราบถึงกฎหมายข้อกำหนดของมาตรฐานและลักษณะทางการค้าแล้วจึงมากำหนดเทคนิคทางการค้าของเรา

ในภาคพื้นยุโรป มีการกำหนดมาตรฐานและเงื่อนไขต่าง ๆ ค่อนข้างที่จะยุ่งยากกว่าพื้นที่แถบอื่น ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราไม่สามารถเข้าไปได้เลย ตลาดยุโรปเป็นตลาดที่ใหญ่ ความต้องการสินค้าในชิ้นส่วนประกอบรถยนต์มีสูง หากเราได้ตลาดสักประเทศก็ผลิตให้เขาไม่ทันแล้ว

กลุ่มตลาดร่วมยุโรปมีนโยบายทางการกีดกันทางการค้าสูง ดังนั้นมาตรฐานของสินค้าที่จะเข้าไปจะถูกกำหนดไว้สูงมาก ซึ่งจะมีเครื่องหมายอยู่ตัวหนึ่งเป็นรูปตัวอี ซึ่งหากเราได้เครื่องหมายรูปตัวอีแล้วเราก็ไปได้ทั่วทั้งภาคพื้นยุโรปที่เป็นสมาชิกของกลุ่มตลาดร่วม เพราะตัวอีก็คือตัวที่บอกว่าสินค้าของเราได้ผ่านการตรวจสอบทางด้านมาตรฐานแล้ว

สถาบันที่จะทำการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าในกลุ่มตลาดร่วมยุโรป มีอยู่ทั้งหมด 12 สถาบัน อยู่ในประเทศต่าง ๆ ซึ่งการที่เราจะนำสินค้าไปให้เขาตรวจสอบ เราก็จะต้องตั้งตัวแทนขึ้นที่นั่น นี่ก็เป็นเงื่อนไขที่เขากำหนด และตัวแทนเหล่านี้จะเป็นผู้ที่ทำงานให้กับเราในการนำสินค้าของเราไปให้สถาบันต่าง ๆ เขาตรวจสอบ

การที่จะทำให้สินค้าผ่านการตรวจสอบได้นั้น ความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องยากเนื่องจาก สินค้าในประเทศเรานั้นจะผลิตให้ได้คุณภาพแค่ไหนเราก็ผลิตได้ราคาก็ยังสู้สินค้าจากญี่ปุ่นได้สบาย เพียงแต่ปัญหาที่ผมพบและนักอุตสาหกรรมผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้ในประเทศไทย ต่างยอมรับไม่ได้สำหรับตลาดยุโรปนั่นก็คือปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับการทดสอบมาตรฐาน

โดยเฉพาะการจกนิรภัยตัวเดียว ค่าใช้จ่ายสำหรับการทดสอบสินค้าตัวนี้ตัวเดียวเราต้องจ่ายถึงหนึ่งหมื่นปอนด์หรือประมาณเกือบสี่แสนบาทไทย แล้วถ้าเรามีสินค้าให้เขาทดสอบก็เกือบสี่ล้านบาทเข้าไปแล้ว เรายังต้องไปพบกับการแข่งขันทางการค้ากับบริษัทต่าง ๆ ในกลุ่มตลาดร่วมยุโรปอีก และเรามั่นใจแค่ไหนว่าสินค้าของเราจะขายได้ เพราะประเทศต่างๆ ในกลุ่มตลาดร่วมยุโรปเหล่านี้ ต่างก็ผลิตสินค้าเหล่านี้เป็นตัวหลักอยู่แล้วเหมือนกัน สิ่งเหล่านี้ จำเป็นต้องศึกษาให้ละเอียดเสียก่อน

จากประสบการณ์ที่ผมเคยพยายามเจาะตลาดนี้ ทำให้ผมทราบว่า ด้วยนโยบายการกีดกันทางการค้าของเขา ทำให้เรามีปัญหามากเมื่อส่งสินค้าไปให้เขาตรวจสอบแล้ว เขาพยายามที่จะถ่วงเวลาให้นานที่สุด ผมเคยส่งสินค้าไปให้เขาตรวจสอบ กว่าจะติดตามผลได้ก็กินเวลาเข้าไปเกือบ 2 ปี

อย่างไรก็ดี สำหรับตลาดในภาคพื้นยุโรปนี้ ถ้าหากเราได้มาตรฐานของตลาดร่วมยุโรปหรืออีอีซีแล้ว การเข้าไปมันก็ไม่ยาก ก็มีสินค้าหลายตัวเหมือนกันที่ยังมีความต้องการสูงอีกประการหนึ่งก็คือ หากเราได้รับมาตรฐานสินค้าเหล่านี้แล้ว จะทำให้ได้รับการลดภาษีการนำเข้าครึ่งหนึ่งที่เขาเก็บทั่ว ๆ ไป ซึ่งสิ่งนี้เป็นตัวจูงใจทำให้เราอยากที่จะเข้าไป เพราะถ้าหากเป็นบริษัทที่ได้รับมาตรฐานจากอเมริกาเข้ามาเขาเก็บ 50 เปอร์เซ็นต์สำหรับภาษีนำเข้าแต่ถ้าเราได้มาตรฐานจากเขาเราจะเสียภาษีนำเข้าแค่ 25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นี่เป็นข้อดีประการหนึ่ง

ในตลาดอเมริกานั้นไม่ค่อยมีปัญหามาก การเข้าไปค่อนข้างที่จะง่าย ค่าทดสอบมาตรฐานสำหรับชิ้นงานแต่ละชิ้นเพียง 420-1,700 เหรียญเท่านั้น นอกจากนั้นหากเราได้มาตรฐานของอเมริกาแล้วเรายังใช้มาตรฐานเหล่านี้นำสินค้าเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ได้เกือบทั่วโลกอีกด้วย

ในประเทศจีนก็เช่นกัน เขายอมรับในมาตรฐานของอเมริกา เพียงแต่การนำสินค้าเข้าไปขายในประเทศจีนและจะขายให้ได้นั้น ต้องมีเทคนิคและวิธีการขายพอสมควร

ประเทศจีนเป็นตลาดรถยนต์ที่แตกต่างจากที่อื่น ถ้าไม่ทราบลักษณะและวิธีการทำการค้าของเขาแล้วจะประสบกับปัญหาและความยากลำบากมาก วิธีการของผมที่ผมใช้และทำให้ประสบความสำเร็จในประเทศจีนก็คือ ผมจะไปประเทศจีนก่อน และจะไม่ไปในลักษณะของนักขาย จะไปในลักษณะของนักขายแบบญี่ปุ่น เป็นลักษณะการไปแบบผูกมิตร แนะนำตัวเองให้รู้จัก โฆษณาสินค้าของเราให้เขารู้จักก่อน แล้วชักจูงให้เขาคิดอยู่เสมอว่าชื่อนี้นะสินค้านี้นะ เข้ามาเมื่อไหร่คุณควรลองใช้ดู นี่เป็นการเริ่มต้น

เมื่อยื่นแคตตาล็อคสินค้าแนะนำตัวให้เขารู้จักแล้ว ก็เชิญเขามาเยี่ยมโรงงาน เนื่องจากเดี๋ยวนี้ทางประเทศจีนนั้น เขาสนับสนุนให้บุคคลผู้เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และสินค้านั้นออกนอกประเทศเพื่อเยี่ยมชมเทคนิคการผลิตของต่างประเทศ เพราะฉะนั้นเมื่อเราแนะนำตัวเราแล้ว เขาก็จะมาเยี่ยมโรงงานเรา ที่โรงงานขอองผมปีหนึ่ง ๆ จะมีคณะเดินทางเหล่านี้เดินทางมาเยี่ยมชมประมาณ 4-5 ครั้ง ซึ่งเป็นโอกาสอันดีของเราที่จะกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เทคแคร์เขาให้ดี พาเขาไปทานข้าว ซื้อสินค้าที่เขาประทับใจให้กับเขา ซึ่งนี่เป็นสิ่งธรรมดาที่สุดซึ่งพ่อค้าเมื่อทำการค้าจะต้องทำ

ในระยะสามสี่ปีที่ผ่านมานี้ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเหล่านี้ในประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็นที่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ หรือกวางเจา และอีกตามเมืองใหญ่ ๆ อีกหลายแห่งต่างรู้จักสินค้าของเราดีแล้ว ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ก็เป็นโอกาสการขายของเราแล้ว

การขายให้กับประเทศจีน วิธีการที่ดีที่สุดก็คือ ควรผ่านบริษัททางฮ่องกง เราแนะนำสินค้าของเราให้เจ้าหน้าที่ในจีนรู้จัก แล้วให้บริษัทในฮ่องกงซึ่งมีคอนเนคชั่นกับเจ้าหน้าที่ในภาคพื้นทุกภาคมากกว่าเราเป็นผู้ขาย เพราะบริษัทในฮ่องกงรู้ดีกว่าเรา ว่าใครจะเป็นผู้ที่เซ็นใบอนุญาตการสั่งซื้อได้ ใครที่จะต้องเข้าไปติดต่อ และเมื่อติดต่อคนพวกนั้นแล้วต้องทำอย่างไรบ้าง เพราะในประเทศจีนนั้นบางครั้งผู้ซื้อไม่ได้เป็นคนเซ็นชื่อซื้อ แต่ผู้ไม่ซื้อมีอำนาจการสั่งซื้อ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เราจะเอาข้อมูลและเงื่อนไขของเจ้าหน้าที่เหล่านี้นั้นค่อนข้างที่จะยาก

ที่ผ่านมา ผมจึงผ่านทางบริษัทในฮ่องกง ซึ่งดูเหมือนจะคุ้มกว่าไปจัดการขายเองเมื่อมีบริษัทในฮ่องกงประกอบกับเจ้าหน้าที่เหล่านั้นรู้จักเราแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างจึงไม่ยาก

ในบ้านเรามีผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ส่งออกต่างประเทศเกือบ 50 ราย ในจำนวนนี้มีอยู่หลายรายไม่ทราบแม้แต่เรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์เราจะได้รับเมื่อมีการส่งออกสินค้าเหล่านี้ อาทิเช่น เมื่อเราสั่งซื้อวัตถุดิบเข้ามาจากต่างประเทศและเราเสียภาษีวัตถุดิบเหล่านี้ให้กับกรมศุลกากรแล้ว เราสามารถทำเรื่องขอคืนภาษีเหล่านี้บางส่วนได้ เมื่อผลิตสินค้าส่งออกต่างประเทศได้แล้ว ซึ่งมูลค่าภาษีเหล่านี้สูงมาก ถ้าเราได้คืนภาษีเหล่านี้แล้ว ต้นทุนจะต่ำลงมากทีเดียว จะทำให้เราแข่งขันกับต่างประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้น

ดังนั้น ประการแรกผมขอย้ำคือศึกษาเงื่อนไขทั้งภายในประเทศเราและประเทศที่เราจะส่งออกไปให้ถี่ถ้วน

ประการที่สอง เมื่อเข้าใจลักษณะเงื่อนไขของต่างประเทศและของเราแล้ว ก็หันมาสนใจกับสินค้า ผลิตให้ได้มาตรฐานตามที่ลูกค้าในแต่ละประเทศต้องการ

ทำได้แค่สองประการนี้ คุณก็สามารถที่จะไปได้ทั่วโลกแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us