|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |

นักการเมืองฝรั่งเศสมิได้แต่ออกงานสังคม ตัดริบบิ้นเปิดงานที่โน่นที่นี่ให้ชาวบ้านเบื่อหน้า หากต้องมีวิสัยทัศน์ริเริ่มโครงการใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ดังในกรณีของแบร์ทรองด์ เดอลาโนเอ (Bertrand Delanoe) นายกเทศ มนตรีกรุงปารีส ผู้ริเริ่ม Paris Plage แปลงถนนเลียบแม่น้ำแซน (Seine) ช่วงหนึ่งให้เป็นหาดกลางกรุงเพื่อให้ชาวปารีเซียนด้อยโอกาสที่ไม่มีเงินพาครอบครัวไปพักร้อนหรือชาวกรุงปารีสที่ต้องทำงานในช่วงฤดูร้อน ได้มา “พักผ่อน” หาดริมแม่น้ำ เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคมถึงวันที่ 20 สิงหาคม ช่วงนั้นนักท่องเที่ยวหรือผู้ไม่ด้อยโอกาสพากันไปเดินเที่ยว แวะดื่มน้ำหรือรับประทานไอศกรีม หรืออาหารกลางวันแบบง่ายๆ
แบร์ทรองด์ เดอลาโนเอสังกัดพรรค สังคมนิยม ก่อนหน้านั้นนักการเมืองพรรคสังคมนิยมที่ริเริ่มโครงการเพื่อความสุขความบันเทิงแก่ประชาชนคือ ฌาค ลองก์ (Jack Lang) รัฐมนตรีวัฒนธรรมในรัฐบาล ของประธานาธิบดีฟรองซัวส์ มิตแตรองด์ (Fran”ois Mitterrand) ได้ริเริ่ม Fete de la musique เทศกาลดนตรีในวันที่ 21 มิถุนายน อันเป็นวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ มีการจัดคอนเสิร์ตในย่านและเมืองต่างๆให้ประชาชนชมฟรี ต่อมาประเทศต่างๆจัดเทศกาลดนตรีในทำนองเดียวกันด้วย อีกทั้ง Journees portes ouvertes des monuments historiques ตั้งแต่ปี 1984 วันมรดกแห่งชาติที่ให้พิพิธภัณฑ์ สถานที่ราชการ อาคารที่ขึ้นทะเบียนโบราณสถานของรัฐและเอกชนเปิดให้ประชาชนเข้าชมฟรีเป็นส่วนใหญ่ วันมรดกแห่งชาติของฝรั่งเศสประสบความสำเร็จมาก สหภาพยุโรปจึงรับมาเป็นนโยบายกลายเป็น Journees europeennes du patrimoine- วันมรดกแห่งชาติในยุโรป ทว่าหลายประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปรับเป็นโครงการของตนด้วย
วันมรดกแห่งชาติจัดในสุดสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกันยายน จึงมักไม่นัดพบเพื่อนฝูงในช่วงวันดังกล่าว เพื่อจะได้ไปชมสถานที่ที่หมายตาไว้ ในอดีตเคยไปยืนเข้าแถวนับ 2 ชั่วโมงเพื่อเข้าพระราชวังลุกซองบูรก์ (Palais du Luxembourg) ซึ่งเป็นที่ตั้งของวุฒิสภา (Senat) พระราชวังบูร์บง (Palais Bourbon) ที่ตั้งของสภาผู้แทนราษฎร (Assemblee nationale) ปาเลส์-รัวยาล (Palais royal) ที่ตั้งของกระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานตุลาการรัฐธรรมนูญ สภาที่ปรึกษาแห่งรัฐ (Conseil d’Etat) และโรงละคร Comedie fran”aise ฯลฯ หากในปีหลังๆ คร้านที่จะไปเข้าแถวนับชั่วโมง กิจกรรมในสุดสัปดาห์วันมรดกแห่งชาติจึงเนือยๆ ไป
ในปี 2010 เข้าอินเทอร์เน็ตดูรายชื่อ สถานที่ที่เปิดให้ประชาชนเข้าชม เห็นมี Banque de France ธนาคารแห่งชาติฝรั่งเศส จึงชักชวนกันไป จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า Banque de France อยู่ไม่ไกลจากปลาซ เดส์ วิคตัวร์ (Place des Victoires) นั่งรถไฟใต้ดินไปยังสถานีปาเลส์ รัวยาล (Palais Royal) แล้วเดินไปตามถนน แซงต์-ออนอเร (rue Saint-Honore) ก่อนเลี้ยวเข้าซอกเล็กซอกน้อยกว่าจะถึงจุดหมาย
Banque de France ตั้งในอาคาร ที่ชื่อว่าโอเตล เดอ ตูลูซ (Hotel de Toulouse) อันเป็นคฤหาสน์ที่หลุยส์ เฟลิโปซ์ เดอ ลา วรียีแอร์ (Louis Phelypeaux de la Vrilliere) เป็นสถาปนิก
ฟรองซัวส์ มองซารต์ (Fran”ois Mansart) สร้างเพื่อเก็บงานศิลป์อิตาลีที่ตนสะสม กาเลอรียาว 40 เมตรมีภาพเขียน เฟรสโกที่เพดานละม้าย Galerie d’Apollon ของพระราชวังลูฟวร์ (Louvre) เป็นแกลเลอรี ติดกระจกและหน้าต่างเลียนแบบ Galerie des Glaces ของพระราชวังแวร์ซายส์ (Versailles) คฤหาสน์แห่งนี้ขายต่อกัน มาจนตกเป็นสมบัติของ หลุยส์ อเลกซองดร์ เดอ บูร์บง (Louis Alexandre de Bourbon) ซึ่งเป็นกงต์ เดอ ตูลูซ (Comte de Toulouse) ด้วย และเป็นลูกนอกสมรสของกษัตริย์หลุยส์ที่ 14 (Louis XIV) อันเกิดจากมาดาม เดอ มงเตสปอง (Madame de Montespan) จึงเรียกคฤหาสน์นี้ว่า Hotel de Toulouse นับแต่นั้น
Hotel de Toulouse มีการบูรณะใหม่ ห้องกาเลอรีกลายเป็น Galerie doree ห้องสีทองดังที่เห็นในปัจจุบัน ผู้ได้รับมรดก Hotel de Toulouse คือ หลุยส์ ฌอง มารี เดอ ปองตีแอฟวร์ (Louis Jean Marie de Penthievre) บางครั้งจึงเรียกอาคารนี้ว่า Hotel de Penthievre ตามชื่อผู้ครอบครอง
ในปี 1793 คณะปฏิวัติยึด Hotel de Toulouse งานศิลป์ถูกโยกย้ายกระจัด กระจายไป ใช้ตัวอาคารเป็นโรงพิมพ์แห่งชาติบ้าง เป็นโกดังเก็บกระดาษบ้าง จนปี 1808 Banque de France ซื้อไว้และใช้เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งแต่ปี 1811 Hotel de Toulouse ทรุดโทรมตามกาลเวลา จึงมีการบูรณะครั้งใหญ่ในปี 1870 ส่วนไหนสูญหาย หรือถูกทำลายไป มีการแทนด้วยงานก๊อบปี้ให้เหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียน เตาผิง ฯลฯ
ผู้ให้ก่อตั้ง Banque de France คือนโปเลอง (Napoleon) ในปี 1800 เพื่อเป็นองค์การออกธนบัตร Banque de France ปลอดการเมือง ทว่าในปัจจุบันต้องดำเนินนโยบายการเงินในกรอบของโซนยูโร (zone euro) ซึ่งธนาคารกลางของสหภาพยุโรปเป็นผู้กำหนด
ผู้เข้าชม Banque de France มีไม่มากอย่างที่คิด ไม่ต้องเข้าแถวยาว ผ่านการตรวจกระเป๋าอันเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัย เพียงเข้าไปในตัวอาคารก็เห็นแต่ความหรูหรา เครื่องเรือน ภาพเขียน เทเปสตรี้ และของตกแต่งล้วนแต่เป็นของเก่า Banque de France มีภาพเขียนของ ฟราโกนารด์ (Fragonard) หลายภาพ ภาพเขียนของนิโกลาส์ ปุสแซง (Nicolas Poussin) อเลสซานโดร เวโรแนส (Alessandro Veronese) ฯลฯ ห้องทำงานของผู้ว่าการธนาคารชาติไม่ใหญ่จนอ้างว้าง ไฮไลต์อยู่ที่ Galerie doree ห้องสีทองที่ติดกระจกและหน้าต่างละม้าย Galerie des Glaces ของพระราชวังแวร์ซายส์
สวนของ Banque de France เล็กนิดเดียว ตัดแต่งแบบสวนฝรั่งเศส ในปีกหนึ่งของตัวอาคารเป็นส่วนที่นำไปสู่ห้องใต้ดินซึ่งเรียกว่า la Souterraine สำหรับเก็บทองแท่ง มีทองแท่งแสดงให้ดู 2 ขนาด ขนาดใหญ่เรียกว่า barre d’or มีน้ำหนักระหว่าง 11-13 กิโลกรัม ส่วนแท่ง เล็กเรียกว่า lingot d’or หนัก 1 กิโลกรัม Banque de France มีทองแท่งในความครอบครอง 2,435 ตัน
การชมจบลงที่ลาน ซึ่งมีมุมขายหนังสือเกี่ยวกับธนาคารชาติ และมีป้ายอธิบายความเป็นมาของการก่อตั้งธนาคารชาติและการออกธนบัตรในวาระต่างๆ
|
|
 |
|
|