Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2554
มูลค่าที่แท้จริงของคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 

 
Charts & Figures

ตารางแสดงความหลากหลายของสินค้าสำหรับช่องทางจำหน่ายสินค้าบนอินเทอร์เน็ตและในร้านขายสินค้าทั่วไป


   
search resources

Networking and Internet




นักเศรษฐศาสตร์หลายๆ คนตั้งคำถามเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันทั้งในงานและที่บ้านว่า จริงๆ แล้ว มูลค่าของคอมพิวเตอร์เป็นเท่าไรกันแน่ แต่ที่แน่ๆ พวกเขาคิดว่า คอมพิวเตอร์มีราคาสูงกว่าที่เราจ่ายกันจริงๆ อยู่ในทุกวันนี้แน่นอน

ราคาคอมพิวเตอร์ที่เราจ่ายทุกวันนี้เริ่มต้นที่ประมาณหลัก ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาท, หมื่นต้นๆ ไปจนถึงหลายหมื่นบาท เมื่อรวม กับราคาค่าอินเทอร์เน็ตไฮสปีดประมาณไม่ถึงหนึ่งพันบาทต่อเดือน ถ้ามองว่า เราซื้อคอมพิวเตอร์มาใช้งานเป็นเวลา 4 ปี นั่นเท่ากับว่า เราจ่ายเงินเดือนละประมาณ 1,500 บาท หรือปีละ 18,000 บาทเท่านั้น แต่เมื่อมองการใช้งานแล้ว เราใช้เวลาสองหรือสามพันชั่วโมงต่อปีสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์

ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อการทำงานจริงๆ จังๆ หรือเพื่อความสนุกสนานและความบันเทิงต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบราคาสินค้าต่างๆ ที่เราจะซื้อ, ทำบัญชี, เล่นเกมออนไลน์, อ่านข่าวสาร และอื่นๆ อีกมากมาย ถ้าเราไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์แล้ว การทำกิจกรรมเหล่านี้ก็จะต้องใช้เงินจำนวนมากพอสมควร อย่าลืมว่า เราทำกิจกรรมเหล่านี้เกือบทุกวัน เมื่อคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายต่อปีแล้ว เงินเพียง 18,000 บาทที่เราจ่ายไปต่อปีสำหรับคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานดูจะเป็นจำนวนเงินที่ไม่มากมายอะไร

นี่จึงเป็นประเด็นที่ทำให้เหล่านักเศรษฐศาสตร์หันมาตั้งคำถามว่า จริงๆ แล้ว มูลค่าของคอมพิวเตอร์มีมากกว่าราคาที่ตลาดเก็บเงินจากเราหรือเปล่า (ตลาดเก็บเงินเราเป็นค่าราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ บวกกับค่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและค่าไฟ) ซึ่ง สำหรับนักเศรษฐศาสตร์แล้ว ในการคำนวณมูลค่าสินค้าต่างๆ พวกเขาจะให้ความใส่ใจเกี่ยวกับมูลค่าของต้นทุนค่าเสียโอกาสรวมถึงผลประโยชน์ส่วนเกินต่างๆ ด้วย รวมถึงผลประโยชน์ที่รายรอบมูลค่าจีดีพี, การใช้จ่าย และรายได้ต่างๆ

ดังนั้น นักเศรษฐศาสตร์หลายๆ คนจึงพยายามที่จะวัดมูลค่าของ “ส่วนเกินผู้บริโภค (consumer surplus)” ของการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต โดย “ส่วนเกินผู้บริโภค” เป็นศัพท์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่ใช้ในการเรียกผลประโยชน์ที่เราได้รับโดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเติม อย่างเช่น งานของ Brynjolfsson และคณะที่ศึกษาถึงผลกระทบของร้านขายหนังสือออนไลน์อย่างเช่น อเมซอน

Erik Brynjolfsson นักเศรษฐศาสตร์ จาก MIT ซึ่งใช้เวลากว่าสองทศวรรษในการศึกษาถึงผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีที่มีต่อธุรกิจและเศรษฐศาสตร์มหภาค ได้อธิบายถึงปัญหาการกำหนดมูลค่าที่จะมาเปลี่ยนแปลงวิธีการวัดเอาท์พุททางเศรษฐกิจเนื่องจากความหลากหลายของสินค้า, บริการ และประสบการณ์ดิจิทัล ออนไลน์ต่างที่ปัจจุบันมีมากขึ้นเรื่อยๆ และยากที่จะคำนวณมูลค่าออกมา

ในงานวิจัยนี้ เขากล่าวถึงเว็บอเมซอนว่าทำให้สามารถแสดงความหลาก หลายของหนังสือที่มีอยู่ได้มากกว่าร้านขาย หนังสือทั่วๆ ไป ซึ่งช่วยเพิ่มผลประโยชน์ให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก โดยศักยภาพ ที่เพิ่มขึ้นจากการแข่งขันที่มากขึ้นอย่างชัดเจนช่วยเพิ่มส่วนเกินผู้บริโภคให้เด่นชัดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ทำให้ราคาสินค้าโดยเฉลี่ยลดลงและยิ่งเพิ่มความหลากหลาย ของสินค้ามากขึ้นเพียงใดในตลาดสินค้าออนไลน์ก็ยิ่งทำให้ส่วนเกินผู้บริโภคขยายใหญ่มากขึ้นๆ

โดยเหตุผลสำคัญที่ช่วยเพิ่มความหลากหลายของสินค้าบนอินเทอร์เน็ตก็คือ ความสามารถของเว็บไซต์ต่างๆ ที่จะสามารถสร้างรายการสินค้า, การแนะนำสินค้า และความสามารถในการขายสินค้า จำนวนมากๆ โดยผู้ขายสินค้าบนอินเทอร์ เน็ตจะมีสินค้าคงคลังเสมือน (virtual inventory) ที่กว้างใหญ่ไม่มีที่สิ้นสุดผ่านระบบการจัดการโกดังสินค้าศูนย์กลางและ ข้อตกลงการส่งสินค้ากับผู้จัดจำหน่ายสินค้าอื่นๆ อย่างบน Amazon.com มีจำนวนหน้าปกหนังสือในปีที่ทำการศึกษามากกว่าจำนวนหน้าปกในร้าน Barnes & Noble มากถึง 23 เท่า โดย Barnes & Nobel เป็นร้านหนังสือสาขาขนาดใหญ่ใน ประเทศสหรัฐอเมริกาและมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ แต่เมื่อเทียบกับร้านหนังสืออิสระ ขนาดใหญ่ทั่วๆ ไปแล้ว Amazon.com มีจำนวนหน้าปกหนังสือมากกว่าถึง 57 เท่า ตัวเลยทีเดียว ดังตารางต่อไปนี้

นอกจากนี้ เขายังคำนวณมูลค่าที่ผู้บริโภคในยุคก่อนอินเทอร์เน็ตได้รับเพิ่มขึ้นภายหลังจากการถือกำเนิดของตลาดสินค้าออนไลน์ ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถตามหาหนังสือหายากต่างๆ ได้ในราคาตลาดที่สมเหตุสมผลมากขึ้นและได้เร็วเท่าที่พวกเขาต้องการ

งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ความหลากหลายของสินค้าในร้านหนังสือออนไลน์ในปี 2000 ช่วยเพิ่มส่วนเกินผู้บริโภคประมาณ 731 ล้านเหรียญถึง 1.03 พันล้านเหรียญ ซึ่งคิดเป็น 7-10 เท่าของผลประโยชน์จากสวัสดิการผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มการแข่งขันและราคาที่ลดลงของสินค้าในตลาด นอกจากนี้ยังจะมีสวัสดิการผู้บริโภค ที่เพิ่มขึ้นอีกมากมายจากสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเพลง, ภาพยนตร์, เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ต่างๆ

นอกจากนี้ยังมีความพยายามในประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของทำเนียบขาว แล้วต่อมาเป็นฟอร์ด โดยในปี 2006 พวกเขาพิจารณาถึง สวัสดิการส่วนเพิ่มที่ไม่สามารถนับค่าได้ที่พวกเราได้รับจากอินเทอร์เน็ต โดยพบว่า ผู้บริโภคในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ใช้จ่ายเพียง 0.2 เปอร์เซ็นต์สำหรับการใช้งาน อินเทอร์เน็ตในปี 2004 แต่กลับใช้เวลาของ พวกเขามากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของเวลาที่พวกเขาใช้ในการทำกิจกรรมเพื่อการพักผ่อน สำหรับสินค้าอย่างอินเทอร์เน็ตนั้นการประมาณการความยืดหยุ่นของราคา ต่อการใช้จ่ายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ดังนั้น การคำนวณหาค่าสวัสดิการส่วนเพิ่มจึงออกมาไม่ค่อยแน่นอนเท่าใด พวกเขาได้พัฒนาโมเดลที่สามารถใช้ในการคำนวณหาสวัสดิการส่วนเพิ่มโดยอิงจากค่าใช้จ่ายและการใช้เวลาของผู้บริโภคในสินค้านั้นๆ โดยศึกษาจากสินค้าที่เกี่ยวข้อง กับการใช้เวลาอย่างอินเทอร์เน็ต

ซึ่งจากโมเดลของพวกเขาแสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่มีรายได้สูงจะใช้เวลาในการออนไลน์สำหรับเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับงานน้อยกว่า พวกเขาสามารถ คำนวณออกมาได้ว่า มูลค่าของส่วนเกินผู้บริโภคจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต คิดเป็น 2 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมทั้งหมดซึ่งคิดเป็นมูลค่าของสวัสดิการส่วนเพิ่มจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตเท่ากับ 3,800 เหรียญสหรัฐต่อคน

ล่าสุด Karen Kopecky จากธนาคารกลางของเมืองแอตแลนตาและ Jeremy Greenwood จากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียก็ศึกษาประเด็นเดียวกันนี้ โดยพวกเขาศึกษาถึงมูลค่าของคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลตั้งแต่ Apple II ในปี 1977 จนถึงคอมพิวเตอร์รุ่นท็อปในทุกวันนี้ โดยใช้การหามูลค่าของเทคโนโลยีใหม่อื่นๆ เป็นแนวทาง

ท้ายที่สุด พวกเขาประมาณการได้ว่า ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีมูลค่าคิดเป็น 2-3 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายในการบริโภคทั้งหมด ซึ่งคิดเป็น ค่าใช้จ่ายประมาณ 650 เหรียญต่อคนต่อปี

เช่นเดียวกับงานวิจัยของ Tyler Cowen ที่กล่าวว่า ยิ่งเราเปลี่ยนแปลงการ ใช้เวลาของเรามากแค่ไหน ก็ทำให้เราเชื่อถือสถิติของรายได้ที่แท้จริงที่เราเก็บได้น้อยลงเรื่อยๆ

อย่างไรก็ดี ต้องไม่ลืมว่าการศึกษา ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นการศึกษาและหา มูลค่าสิ่งที่ไม่สามารถวัดค่าที่ชัดเจนออกมาได้ แต่สิ่งที่เราน่าจะตอบคำถามกับตัวเองได้ในตอนนี้ก็คือเราคง ไม่สามารถขาดคอมพิวเตอร์หรือช่องทางใดๆ ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต ได้แล้ว เพราะสิ่งเหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน ของเราไปแล้ว

การให้ค่าใดๆ กับสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบ ใด เราก็คงบอกได้ว่า ค่านั้นต้องมากมายพอสมควรเลยทีเดียว และถ้าตอนนี้เราจ่ายเงินไม่มากมายนัก ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็ถือว่าได้ประโยชน์มากมายมหาศาลเลย

อ่านเพิ่มเติม

1. Lawrey, A. (2011), ‘Do Computers Cost Too Little?,’ Slate.com, April 13, 2011,
http://www.slate.com/id/2291186/

2. Cowen, T. (2006), ‘How much is the Internet Worth?,’ Feb 7, 2006,
http://marginalrevolution.com/marginalrevolution/2006/02/how_much_is_the.html

3. “Worth A Look: Tyler Cowen” ‘The Great Stagnation,’ The Washington Post,
http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2011/02/12/AR2011021202408.html

4. Brynjolfsson, E., Hu, Y. and Smith, M. D. (2003), ‘Consumer Surplus in the Digital Economy: Estimating the Value of Increased Product Variety at Online Booksellers, Management Science.

5. Goosbee, A. and Klenow, P. J. (2006), ‘Valuing Consumer Products by the Time Spent Using Them: an Application to the Internet,’ Working Paper 11995, National Bureau of Economic Research,
http://www.nber.org/papers/w11995   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us