Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2554
120 ปี เต็กเฮงหยู คืนสู่ยุค Social Enterprise             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท โอสถสภา จำกัด

   
search resources

โอสถสภา, บจก.
Pharmaceuticals
รัตน์ โอสถานุเคราะห์




Social Enterprise คือรูปแบบธุรกิจที่ดำเนินการโดยมี “การให้” เป็นหัวใจ ให้เพื่อไปสู่เป้าหมายของการทำให้ “สังคมดีขึ้น” ในด้านใดด้านหนึ่งอย่าง “จริงใจ” กำไรที่แท้จริงจึงควรเกิดแก่สังคมก่อนองค์กร

บริษัท โอสถสภา จำกัด หรือ เต็กเฮงหยู เมื่อ 120 ปีก่อน ก็เกิดมาด้วยแนวคิดนี้ เหมือนกับความหมายของชื่อที่แปลตรงตัวว่า เจริญโดยการช่วยเหลือผู้อื่น เพียงแต่เรื่องราวยาวนานกว่าศตวรรษขององค์กร ค่อนข้างเลือนหายไปกับกาลเวลา และถูกกระแสทุนนิยมที่มีเป้าหมายของการทำกำไรสูงสุดเข้ามาแทนที่ เช่นเดียวกับ องค์กรทั้งหลายในกระแสทุนนิยม

โชคดีที่วันนี้หลายบริษัทเริ่มหันกลับ มาตระหนักกันอีกครั้งว่า ความสุขที่แท้ของ องค์กร น่าจะมาจากความสุขที่แท้จริงของ สังคมและผู้บริโภค ธุรกิจและสังคมจึงจะยั่งยืนเพราะ Win-win ด้วยกันทุกฝ่าย และ เป็นเหตุผลให้กระแสของโซเชียลเอ็นเตอร์ ไพร์ซ รวมไปถึงการทำกิจกรรมเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมได้รับความนิยมส่งเสริมมากขึ้นในองค์กรธุรกิจปัจจุบัน

ข้อดีของการเป็นองค์กรไทยเพียงไม่กี่รายที่มีประสบการณ์ตรงในการเป็นโซเชียลเอ็นเตอร์ไพร์ซมาก่อน ทำให้ดีเอ็นเอที่ฝังรากไว้ตั้งแต่ต้นยังคงอยู่กับโอสถสภา เรื่อยมา เพราะอย่างน้อยสิ่งที่หัวเรือใหญ่ของโอสถสภาคนล่าสุด รัตน์ โอสถานุเคราะห์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โอสถสภา จำกัด ยังจดจำได้ดีเสมอคือคำฝากฝังจากบรรพบุรุษเกี่ยวกับต้นกำเนิด ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของโอสถสภาที่ใช้ดำเนินธุรกิจมาถึงวันนี้

“ตอนผมไปเยี่ยมคุณปู่ (สวัสดิ์ โอสถานุเคราะห์) ที่ท่านป่วยหนักด้วยโรคมะเร็งอยู่ที่ญี่ปุ่น ท่านถามผมว่า รู้ไหมว่า เต็กเฮงหยู แปลว่าอะไร ท่านอธิบายว่า เต็กเฮงหยู หมายความว่า เจริญโดยการช่วยเหลือผู้อื่น ตอนนั้นผมยังทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ไม่คิดด้วยซ้ำว่าในที่สุดจะได้มาทำงานที่โอสถสภา ทุกวันนี้ผมและพนักงานโอสถสภา ยังยึดมั่นในความหมายของเต็กเฮงหยูเสมอมา” คำพูด ที่รัตน์เอื้อนเอ่ยช้าและชัดทีละคำในวันสำคัญเนื่องในวันที่บริษัทครบรอบ 120 ปี เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2554

พ.ศ.2434 เต็กเฮงหยูเป็นเพียงร้านขายยาเล็กๆ ในย่านสำเพ็งของนายแป๊ะ โอสถานุเคราะห์ ซึ่งได้รับพระราชทานนามสกุลนี้จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นนามสกุลที่ตั้งขึ้นจากเหตุการณ์จริงที่ “ยากฤษณากลั่น” จากร้าน เต็กเฮงหยูช่วยให้กองทหารเสือป่าบรรเทาจากอาการท้องร่วง และมีบันทึกเป็นหลักฐานอยู่ในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ.2434 และเป็นความสอดคล้องต้องกันว่า นามสกุลที่ได้รับพระราชทานนี้มีความหมายไม่ต่างจากชื่อดั้งเดิมอย่าง “เต็กเฮงหยู”

ความจริงแล้วเรื่องเล่านี้มีบันทึก ผ่านแพ็กเกจจิ้งบนกล่องของยากฤษณากลั่นตั้งแต่ยุคแรกมาถึงปัจจุบันด้วย เพียงแต่ในยุคนี้เมื่อเราพูดถึงโอสถสภา สินค้าที่คนไทยนึกถึงมีมากมายและไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผลิตภัณฑ์ยาและอาจจะทำให้คนไม่ได้สนใจเรื่องราวที่เล่าไว้บนบรรจุภัณฑ์

สิ่งที่บันทึกอยู่บนกล่องยากฤษณากลั่นในยุคแรกจนถึงยุคปัจจุบัน ยังคงมีองค์ประกอบซึ่งเป็นรายละเอียดของที่มาขององค์กรอย่างครบถ้วน เริ่มจากชื่อสินค้า กฤษณากลั่น ตรากิเลน กิเลนเป็นโลโกของ องค์กร และเพิ่งมีการปรับเปลี่ยนล่าสุดให้มีความทันสมัยมากขึ้นในปีนี้ แถมยังหันหน้ากิเลนไปทางซ้ายเหมือนจะสะท้อนการมองย้อนกลับสู่ต้นกำเนิด

กล่องยุคแรกเคยประทับสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อของรัชกาลที่ 6 ไว้ด้วย ตั้งแต่ยุคเริ่มต้น ด้วยความที่ยากฤษณากลั่นซึ่งคิดค้นโดยนายแป๊ะเป็นยาที่รัชกาลที่ 6 ทรงไว้วางพระราชหฤทัย จึงทำให้ไม่ต้องโฆษณาอะไรมาก ยืนยันได้จากคำว่า “กฤษณากลั่น ตรากิเลน” ซึ่งยังคงเป็น ที่คุ้นหูและจดจำของผู้บริโภคได้มากกว่าจะรู้จักว่า ยาตัวนี้มีสรรพคุณอะไรเสียอีก ยากฤษณากลั่นยังได้รับความไว้ใจซื้อใช้ต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ ด้วยสรรพคุณที่ประกอบขึ้นจากส่วนผสมของสมุนไพรซึ่งยุคหนึ่งอาจจะซาความนิยมไป แต่ก็ไม่เคย หายไปจากตลาดยาของไทย

จากแนวคิดต้นกำเนิดและแนวทางของผลิตภัณฑ์ตัวแรกขององค์กร รัตน์ตัดสินใจที่จะเลือกฉลอง 120 ปี ให้กับองค์กรในแนวทางที่สอดคล้องกับคุณค่า ดั้งเดิม เขาเลือกใช้งบที่องค์กรส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้จัดงานฉลองหรือทำโปรโมชั่นใหญ่สมนาคุณลูกค้า มาฉลองด้วยรูปแบบของการทำกิจกรรมเพื่อสังคมภายใต้แนว ทางสร้างความ “เจริญโดยการช่วยเหลือผู้อื่น” ที่นำมาต่อยอดไปสู่ “การสนับสนุนผู้อื่นให้มีแรงช่วยเหลือสังคมต่อไป” โดยให้ชื่อโครงการว่า “เพื่อชีวิตที่ดียิ่งกว่า” เหมือนปฏิกิริยาลูกโซ่ของการช่วยเหลือที่ทำต่อๆ กันไป โดยใช้งบทั้งสิ้น 40 ล้านบาท

การดำเนินงานครั้งนี้ได้อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์มงคล ณ สงขลา มาเป็นประธานที่ปรึกษาโครงการ และมีสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) และมูลนิธิแพทย์ชนบท เป็นแนวร่วม โดยได้เครือข่ายคนดีที่จะทำหน้าที่ช่วยเหลือสังคมในด้านสุขภาพจากทุกภาคของไทยจำนวน 12 คน ส่วนใหญ่คือแพทย์และพยาบาลที่ทำงานเพื่อคนในชุมชนนั้นๆ อยู่แล้ว ที่ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการ

โดยโอสถาสภาหวังว่างบประมาณ ที่สนับสนุน จะเข้าไปเพิ่มความสามารถในการช่วยเหลือชุมชนให้กับบุคคลเหล่านี้ พร้อมกับนำเรื่องราวของพวกเขามาถ่าย ทอดเป็นบันทึกความดีให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง

เทียบกับรายได้ขององค์กร ซึ่งปัจจุบันมียอดขายปีละกว่า 2 หมื่นล้านบาทจากผลิตภัณฑ์มากกว่า 100 รายการ ภาย ใต้ตราสินค้ากว่า 32 แบรนด์ กิจกรรมนี้ก็จัดเป็นแค่ส่วนเสี้ยวเล็กๆ และเป็นแค่จุดเริ่มต้นหากจะคิดถึงการเป็นโซเชียลเอ็นเตอร์ไพร์ซอย่างแท้จริง

หากกิจกรรมที่คิดขึ้นนี้ยังประโยชน์ให้กับสังคมตามเป้าหมายได้อย่างแท้จริง ก็ควรแก่การสนับสนุนให้ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ เพื่อชีวิตที่ดียิ่งกว่าของสังคมไทยส่วนหนึ่ง ส่วนสำหรับตัวองค์กรนั้น ผลของกิจกรรมจะส่งผลต่อการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืนด้วยหรือไม่นั้น คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการดำเนินงานภายใต้การเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมดีอย่างจริงใจ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us