Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2554
“ห่ายาง” กับยุทธศาสตร์เปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นประโยชน์             
โดย เจษฎี ศิริพิพัฒน์
 


   
search resources

Tourism
International
Vietnam




ภายในเวลาอันเร็วที่สุด การท่องเที่ยวและการบริการจะต้องเป็นคานงัดทางเศรษฐกิจ เพื่อทะลุทะลวงกำแพงขวางกั้นการพัฒนาของห่ายาง จังหวัดที่อยู่เหนือที่สุด แต่กันดารและยากจนที่สุดแห่งหนึ่งของเวียดนาม

ในการประชุมสัมมนาหัวข้อ “เพื่อให้ห่ายางพัฒนา” เมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา ศาสตราจารย์วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต หวู มิญ ยาง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย ให้ความเห็นว่าจังหวัดห่ายางมีที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ ของจังหวัดชายแดน จุดเหนือสุดแห่งนี้มีลักษณะทางยุทธศาสตร์สำหรับทั่วทั้งประเทศ ขณะเดียวกันก็เป็นจุดที่ต้องลงทุน ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ การโฆษณา และ วางแนวรบในใจประชาชนเพื่อป้องกันชาย แดนทิศเหนืออย่างเหนียวแน่น

ห่ายางเป็นจังหวัดพื้นที่ภูเขา อยู่ใน กลุ่มจังหวัดยากจนที่สุดของประเทศ ความ ยากจนได้ปรากฏผ่านเนื้อที่ดินเพาะปลูก ซึ่งมีเพียง 30-40% ของพื้นที่รวม ส่วนที่เหลือเป็นหิน สภาพอากาศเยือกเย็นยืดเยื้อ ตามระลอกคลื่นอากาศหนาวเหน็บ พร้อมกับการขาดแคลนที่ดินเพาะปลูก ขณะเดียวกันห่ายางก็เป็นท้องถิ่นที่ขาดแคลนน้ำจืดอย่างรุนแรง การดำเนินชีวิตของประชาชนยังมีความยากลำบาก สติปัญญา ยังจำกัด นี่เป็นจุดไม่เอื้ออำนวยที่ห่ายางต้องประสบในกระบวนการพัฒนา

ห่ายางเป็นจังหวัดชายแดนของประเทศบนยอดเขาหลุงกู๊ ขณะเดียวกันก็เป็นจังหวัดมีแนวชายแดนติดจีนยาวที่สุดของเวียดนาม (274 กิโลเมตร) มี 22 ชนเผ่าดำรงชีพอยู่ที่นี่ สร้างเป็นความหลากหลายทางด้านเอกลักษณ์และวัฒนธรรม ปัจจุบันทั่วทั้งจังหวัดเหลือตำบลยากลำบาก เป็นพิเศษ 112 ตำบล ทางจังหวัดกำลังพยายามดำเนินการลดสัดส่วนความยากจน ลงจาก 26% เหลือ 15% ภายในปี 2554

นอกจากนี้การคมนาคมในจังหวัดห่ายางถึงแม้ได้มีการพัฒนามากกว่าเมื่อก่อน แต่ก็ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน วัตถุดิบ เชื้อเพลิง ยังเป็นอุปสรรคไม่จบสิ้น

ในจำนวนอุปสรรคหลายอย่างที่ห่ายางต้องประสบในปัจจุบัน อุปสรรคใหญ่ที่สุดของห่ายางคือ มี 4 อำเภอพื้นที่สูงของที่ราบสูงหินโด่งวัน มีหินมากและขาดแคลนน้ำจืด บางครั้งประชาชนต้องเดินเท้า 24 กิโลเมตรเพื่อหาบน้ำมาใช้ดำรง ชีวิตอย่างน้อยที่สุดปีละ 4 เดือน

ประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดห่ายาง ด่าม วัน บง บอกว่าห่ายาง มีจุดเด่นและศักยภาพหลายอย่าง แต่จนถึง ปัจจุบันรายได้ยังไม่สูงเพราะอุปสรรคต่างๆ เช่น อัตราส่วนหินบนเนื้อที่ธรรมชาติสูงที่สุด ห่ายางต้องมีการลงทุนเพิ่มศักยภาพทางด้านมันสมอง ลงทุนเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพนั้น ซึ่งจุดนี้ต้องมีการรวมพลังของ บรรดาหน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ

ศ.ดร.มาย ตร่อง เซิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยกล่าวว่า “ห่ายางเป็นท้องถิ่นขาดแคลนน้ำจืดที่สุด ขาด แคลนที่ดินเพาะปลูกที่สุด มีหินมากที่สุด การคมนาคมลำบากที่สุด ภัยจากหินเลื่อน ไหลอยู่ในประเภทอันตรายที่สุด เป็นจังหวัด อยู่ในกลุ่มยากจนที่สุด (GDP ต่อคน 340 ดอลลาร์ต่อปี)”

อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่า “สิ่งที่สุด เหล่านี้เป็นอุปสรรค แต่ไม่ใช่เป็นข้อที่น่ากลัว โดยต้องมีทฤษฎีเพื่อเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นประโยชน์”

ฟื้นฟูการท่องเที่ยว

หลังจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย ตระเวนตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่จังหวัดห่ายาง ก็ได้มีความคิดเห็นมากมายเพื่อให้ห่ายางเปลี่ยนอุปสรรคต่างๆ ของตนให้เป็นประโยชน์เพื่อการพัฒนา นั่นคือการตั้งเรื่องโดยอ้างอิงหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อร่วมกับแกนนำห่ายางอนุมัติรูปแบบสามเหลี่ยมหัวหอกคือ เศรษฐกิจช่องทาง-อุตสาหกรรม-การท่องเที่ยว

เพื่อพัฒนาห่ายางแบบยั่งยืนได้มีการประเมินค่าทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างให้เห็นความจำเป็นต้องดำเนินการทางด้านการพัฒนา ปฏิสังขรณ์ อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์คุณค่าทางวัฒนธรรม การฝึกอบรมบุคลากร ใช้ประโยชน์สูงสุดจากสิ่งที่สถานที่อื่นๆ ไม่มี

มีการมองว่าการพัฒนาการท่องเที่ยวจะเป็นอันดับที่ 1 เพราะเป็นทิศทางการพัฒนาของห่ายางที่สำคัญที่สุด

เหงียน เซวิน ฟุก รัฐมนตรี และผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาล ให้ความเห็นว่า “ห่ายางเป็นจังหวัดอุดมด้วยศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและการบริการ นอกจากที่ราบสูงหินโด่งวัน กับเอกลักษณ์ผิวพื้นหินปูน ห่ายางยังมีภูมิประเทศมีชื่อเสียงหลายแห่ง และที่เป็นพิเศษ คือเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมมากมายและเฟื่องฟูที่สุดของ 22 ชนเผ่าพี่น้อง ดังนั้นการท่องเที่ยวและการบริการต้องเป็นคานงัดทางเศรษฐกิจ อันหนึ่ง เป็นทิศทางดำเนินการบนหนทางพัฒนาของห่ายางภายในเวลาเร็วที่สุด”

ศ.ดร.หวู มิญ ยางก็ให้ความเห็นว่า ห่ายางต้องใช้ประโยชน์จากบรรดาจุดท่องเที่ยว เช่น อุทยานธรณีวิทยา วังเจ้าแม้ว และวังหลุงกู๊

มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยได้เสนอให้ใช้ประโยชน์สูงสุดจากอุทยานธรณีวิทยา (geo park) ที่ราบสูงหินโด่งวัน ตามมาด้วยทรัพยากรพิเศษจำนวนหนึ่งบนระบบหินปูน

ดูเหมือนห่ายางเป็นพื้นที่ทั้งย่อส่วน และทั้งขยายส่วนของเวียดนาม ซึ่งเป็นชาติ หนึ่งที่มีหลากหลายชนเผ่า ทั่วทั้งประเทศเวียดนามมี 54 ชนเผ่า และเฉพาะห่ายางมี 22 ชนเผ่า เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมหลายชนเผ่า ถ้าได้มองเห็นความสำคัญและปกป้อง ก็จะพัฒนาเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวเมื่อมาถึงห่ายาง ที่สำคัญนั่นเป็น การทำให้มรดกต้นฉบับของห่ายางตื่นขึ้นมา ไม่ว่าสถานที่ใดก็มีเสาธงหลุงกู๊ กลองโบราณทองเหลืองหรือทองแดงหลุงกู๊ หมู่บ้านโลโล วังกษัตริย์เวือง ประตูสวรรค์เกวินบ๊า โฟ้ก๊าว อุทยานรูปสลักถาจเซินเถิ่น และมรดกทางธรณีวิทยานุ้ยวู้นางฟ้า

บรรดานักวิทยาศาสตร์ปรึกษากับแกนนำจังหวัดห่ายางถึงการก่อสร้างประตูสวรรค์กว๋านบะ เป็นช่องทางและจุดหยุดชมวิวแห่งแรกบนเส้นทางท่องเที่ยวไปถึงอุทยานธรณีวิทยาที่ราบสูงหินโด่งวัน

กว๋านบะอยู่ห่าง 40 กิโลเมตรจากนครห่ายาง เหมาะสมกับการหยุดพักของนักท่องเที่ยว เมื่อโครงการสนามบินห่ายาง เพื่อบริการนักท่องเที่ยวได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ที่นี่ ก็จะสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะหยุดพักเพื่อบำรุงกำลังหนึ่งคืน แล้วเดินทางต่อไป

โฟ้ก๊าวประกอบด้วยบ้านโบราณอายุ เกิน 100 ปีกว่า 20 หลังเป็นสถาปัตยกรรม ของชนเผ่าม้ง

โฟ้โก๊โด่งวัน ใจกลางของอุทยานธรณีวิทยา เหมือนหย่อมภูเขาไฟกระจายอยู่บนที่ราบสูง บรรดานักวิทยาศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยให้คำมั่นว่าจะวิจัยต่อไป และเสนอแผนการอนุรักษ์และ พัฒนาคุณค่าของย่านนี้

อุทยานหินสลักถาจเซิน เป็นกลุ่มหิน สลักธรรมชาติหายาก เป็นกลุ่มหินดั้งเดิมของที่ราบสูงหินโด่งวันไม่มีที่ใดมีเช่นนี้

อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าห่ายางต้องการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ห่ายางต้องมีแผนการโดยรวมที่มีลักษณะเชื่อมโยงพื้นที่ทำให้สวยงาม เหมือนเช่นพื้นที่ 6 จังหวัดทิศตะวันออก 8 จังหวัดทิศตะวันตก และเจิววันเซิน มณฑลยูนนาน (จีน)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us