Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2554
ถ้าไทยมี “พรประภา” ลาวก็คือ “พิลาพันเดช”             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

สีสันตลาดเกิดใหม่ ธุรกิจรถยนต์ลาว
เมอร์ซิเดส เบนซ์ รถยนต์แบรนด์แรกที่เข้ามาในลาว
RMA Laos สำหรับฟอร์ด ขอแค่ที่ 2
สีเมือง กรุ๊ป โรลส์-รอยซ์คันนี้ ไม่ได้ตั้งใจขาย
มะนียม โอโต กรุ๊ป จากเต็นท์รถมือ 2 สู่ผู้นำเข้าอิสระ

   
search resources

Laos
Automotive
คำใบ พิลาพันเดช
เครือบริษัทเคพี




หากจะนับตัวผู้เล่นในธุรกิจยานยนต์ของลาวแล้ว กลุ่มที่น่าจะเรียกว่าใหญ่และมีบทบาทสูงที่สุด น่าจะเป็นกลุ่มเคพีของตระกูลพิลาพันเดช

“ในลาวจะมีอยู่ประมาณ 5 ตระกูลใหญ่ แบบที่เรียกว่าภาพลักษณ์ดี ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง การศึกษา แล้วก็การทำธุรกิจ ที่โปร่งใส หรือซื่อสัตย์ แล้ว 1 ใน 5 ตระกูลนั้น ก็มีตระกูลพิลาพันเดชเป็นตระกูลใหญ่ตระกูลหนึ่งอยู่ด้วย” นักธุรกิจที่ทำธุรกิจอยู่ในลาวมาช้านานบอก

ทำไมผู้จัดการ 360 ํ จึงนำเรื่องราว ของตระกูล “พิลาพันเดช” ของลาว มาเปรียบเทียบกับตระกูล “พรประภา” ของไทย?

เหตุผลไม่ซับซ้อน เพราะตระกูลนี้ทำธุรกิจอยู่ในลาวมาช้านาน ทำธุรกิจที่หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับธุรกิจรถยนต์

ไม่แตกต่างจากตระกูล “พรประภา” ของไทย ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นตระกูลที่ยิ่งใหญ่ อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ในนามของ “สยามกลการ”

เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการเข้ามาทำตลาดเองของบริษัทแม่ ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์จากญี่ปุ่น ทำให้บทบาทของ “พรประภา” ในอุตสาหกรรมนี้ลดลงไปมากในปัจจุบัน

แต่ใน สปป.ลาว สภาพของตลาดรถยนต์คงไปไม่ถึงจุดนั้น

ปัจจุบันธุรกิจของตระกูลพิลาพันเดชได้เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ รถยนต์ทั้งโตโยต้า และอีซูซุในลาว

โดยเฉพาะโตโยต้า ต้องถือว่าตระกูลนี้เป็นผู้ที่นำรถโตโยต้าเข้ามาเปิดตลาดในลาว เป็นรายแรกตั้งแต่เมื่อ 19 ปีก่อน และก็คงความเป็นตัวแทนจำหน่ายไว้ตลอด ซึ่งเป็นเหตุผล สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้โตโยต้ากลายเป็นรถที่ได้รับความนิยมสูงสุดของคนลาวในปัจจุบัน

ล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว ธุรกิจในเครือของตระกูลพิลาพันเดช ก็เพิ่งเซ็นสัญญากับซูซูกิจากญี่ปุ่น เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ซูซูกิอย่างเป็นทางการใน สปป.ลาว โดยคาดว่า จะนำรถกระบะซูซูกิ แครี่ และรถเก๋งขนาดเล็ก รุ่นเซเรลิโอ เข้ามาทำตลาดเพื่อแข่งกับรถกระบะและรถเก๋งจากจีนและเกาหลีโดยเฉพาะ

นอกจากนี้ ธุรกิจในเครือของตระกูลนี้ยังได้เป็นตัวแทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยี่ห้อยามาฮ่า

นั่นเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจในเครือข่ายพิลาพันเดชที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์โดยตรง

แต่ยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องโดยอ้อมอีก นั่นคือการได้เป็นตัวแทนจำหน่ายยางรถยนต์ยี่ห้อบริดจสโตน ผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องของ ปตท. และการร่วมทุนกับบริษัทไทยสแตนเลย์ ของไทยจัดตั้งบริษัทลาวสแตนเลย์ขึ้น เพื่อขายระบบไฟฟ้ารถยนต์และจักรยานยนต์ รวม ถึงการได้เป็น 1 ในตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตรยี่ห้อคูโบต้าในลาว

ส่วนที่เป็นธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับรถยนต์เลยก็มี นั่นคือการเป็นตัวแทนจำหน่าย และผู้กระจายสินค้าให้กับยูนิลีเวอร์ และคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค รวมถึงน้ำมันพืชมรกต ฯลฯ

“พิลาพันเดช” เป็นตระกูลธุรกิจเก่าแก่ซึ่งทำธุรกิจหลากหลายประเภทใน สปป.ลาว มาตั้งแต่สมัยยังไม่เปลี่ยนแปลงการปกครอง

รุ่นแรกของตระกูลนี้ คือคำใบ พิลาพันเดช ที่เริ่มทำธุรกิจนำเข้าวัสดุก่อสร้างมาจำหน่ายในลาว ต่อมาก็ขยายไปสู่การนำเข้าเครื่องจักรกลการเกษตร ทำโรงเลื่อย และการร่วมทุนกับนักธุรกิจจากญี่ปุ่นทำสวนหม่อนและปลูกฝ้าย

คำใบมีลูกทั้งหมด 12 คน และบุตรบุญธรรมอีก 4 คน เขาเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เพราะเมื่อทำธุรกิจสร้างฐานะขึ้นมาได้ เขาส่งลูกๆ ส่วนใหญ่ไปศึกษาต่อในต่างประเทศ

จนเมื่อคำใบเสียชีวิตลง สปป.ลาวเริ่มเปิดประเทศ ลูกๆ ของคำใบจึงได้ร่วมกันจัดโครงสร้างของธุรกิจในเครือใหม่ มีการจัดตั้งบริษัทเคพี ซึ่งย่อมาจากชื่อของคำใบ พิลาพันเดช ขึ้นมาเป็นโฮลดิ้ง คัมปานี เพื่อลงทุนในการขยายกิจการของเครือออกไปให้กว้างขวางขึ้น ดังได้กล่าวถึง ไปแล้วข้างต้น

ปัจจุบัน บริษัทในเครือเคพีเริ่มเปลี่ยนมือการบริหารมาสู่รุ่นที่ 3 ซึ่งมีอยู่ประมาณ 30 คน ส่วนใหญ่จบการศึกษามาจากต่างประเทศ และมีหัวคิดแบบนักธุรกิจรุ่นใหม่

เรื่องราวการขยายอาณาจักรธุรกิจในกลุ่มเคพีของตระกูลพิลาพันเดช ในอนาคตต่อไป จึงเป็นเรื่องที่น่าติดตาม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us