|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ระหว่างที่เขียนต้นฉบับนี้อยู่ทางตอนเหนือของรัฐอิลลินอยส์ พายุทอร์นาโดหลายลูกถล่มพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ บริเวณรัฐจอร์เจียและแอละบามา ขณะที่สัญญาณเตือนภัยทอร์นาโดดังขึ้น ในเวลาเดียวกันที่พื้นที่ใกล้วอชิงตัน ดี.ซี.
เนื่องจากพายุกลุ่มเดียวกันนี้กำลังเคลื่อนตัวมุ่งสู่ทิศทางนั้น เหตุการณ์ภัยธรรมชาติครั้งนี้ทำให้เดือนเมษายน 2011 เป็นเดือนที่มีผู้เสียชีวิตจากพายุ ทอร์นาโดมากเป็นอันดับสองในรอบ 40 ปี โดยตัวเลข ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตมากถึงกว่า 282 รายแล้ว ใน 6 มลรัฐที่ถูกพายุถล่มในวันพุธที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา รองจากปี 1974 ที่มีผู้เสียชีวิตจากพายุนี้มากถึง 315 ราย สำหรับภัยพิบัติครั้งนี้เมืองทัสกาลูซา และ บางส่วนของเมืองเบอร์มิงแฮม แห่งรัฐแอละบามาโดนถล่มหนักที่สุด ทำให้มีสูญเสียชีวิตมากถึง 194 คนแล้ว ขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตที่รัฐมิสซิสซิปปีมี 33 ราย ที่รัฐเทนเนสซีจำนวน 33 ราย ที่รัฐจอร์เจีย จำนวน 13 ราย รัฐเวอร์จิเนีย 8 ราย และที่เคนทักกี อีก 1 ราย
จากรายงานของศูนย์พยากรณ์พายุในโอคลา โฮมาระบุว่า เพียงเวลาไม่กี่ชั่วโมงในช่วงบ่ายถึงค่ำของวันพุธที่ 27 เมษายน มีพายุทอร์นาโดเกิดขึ้นมาก ถึง 137 ลูก ซึ่งตามหลักทางภูมิอากาศวิทยา ในสหรัฐอเมริกา ทอร์นาโดจะเกิดเป็นจำนวนมากสุดในเดือนพฤษภาคมของแต่ละปี สำหรับในเดือนเมษายน 2011 ได้เกิดขึ้นเร็วกว่าปกติและได้ทำลาย สถิติของเดือนเมษายนในปีอื่นไปเรียบร้อยแล้ว โดยมีทอร์นาโดเกิดขึ้นติดต่อกันจำนวนเกินว่า 300 ลูกภายในเดือนเดียว โดยเฉพาะตั้งแต่วันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา มีทอร์นาโดเกิดขึ้นเกือบทุกวัน
ทอร์นาโดเป็นมหันตภัยทางธรรมชาติอย่างหนึ่งที่สามารถเกิดได้ทุกหนทุกแห่งบนโลกใบนี้ เพียงแต่ที่ใดจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นได้มากน้อยกว่ากันและ มีระดับความรุนแรงที่ต่างกันไป แม้แต่ประเทศในเอเชียอย่างบังกลาเทศ ญี่ปุ่น และจีน ต่างก็มีรายงาน การเกิดทอร์นาโดมาแล้วทั้งสิ้น สำหรับสหรัฐฯ ดูเหมือนจะเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีสถิติทอร์นาโดเกิดขึ้นมากที่สุด โดยในแต่ละปีมีทอร์นาโดเกิดเฉลี่ย 1,000 ลูกเลยทีเดียว รองอันดับสองเป็นประเทศแคนาดาที่เกิดขึ้นเฉลี่ยปีละ 100 ลูกเท่านั้น ในขณะที่ประเทศอื่นในยุโรปและเอเชียประสบบ้างเป็นครั้งคราว
ลักษณะสำคัญของพายุทอร์นาโดที่สังเกตได้ ชัดเจนส่วนใหญ่จะเกิดในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองรุนแรง มีเมฆคิวมูโลนิมบัสก้อนมหึมา ทำให้อากาศ บริเวณนั้นหมุนวนขึ้นสู่เบื้องบนอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ปรากฏเป็นลมพายุหมุนรูปทรงกรวยคล้ายงวงช้างแตะลงบนผืนดิน อาจจะมีแตะผืนน้ำบ้างเป็น ครั้งคราว แต่ในลักษณะนั้นไม่เรียกว่า ทอร์นาโด จะเรียกว่า Waterspout หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อของ พายุงวงช้าง หรือพายุนาคเล่นน้ำ หรือพวยน้ำ ซึ่งแตกต่างจาก fair-weather waterspout ที่เกิดจาก อากาศหมุนวนบริเวณผิวน้ำแล้วพุ่งขึ้นสู่เบื้องบน ซึ่งปรากฏการณ์นี้ไม่รุนแรงเท่าพายุทอร์นาโดอีกด้วย
พายุทอร์นาโดเกิดขึ้นได้อย่างไร นักอากาศวิทยาจากสหรัฐฯ ยอมรับว่า ยังไม่มีใครทราบสาเหตุ ที่แท้จริง เนื่องจากเป็นพายุที่ซับซ้อนและมีอันตรายสูง การศึกษาทางด้านนี้จึงเป็นไปอย่างจำกัด หากแต่ตามตำรากล่าวไว้ว่า พายุทอร์นาโดเกิดจากมวล อากาศเย็นเคลื่อนตัวเข้าปะทะกับมวลอากาศอุ่นในบริเวณจำกัด และจุดศูนย์กลางมีกระแสลมที่หมุนเร็วมากจนเกิดเป็นลำปล้องจากเมฆบนฟ้าสู่พื้นดิน อาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างถึง 1.5 ไมล์ หรือ 2.4 กิโลเมตรเลยทีเดียว พลังดูดของพายุทอร์นาโดสามารถทำลายบ้านเป็นหลังๆ ให้พังทลายได้ในพริบตา และจากการที่มีลักษณะการเคลื่อนตัวเป็น กรวยเกลียว ลักษณะการถูกทำลายจึงเป็นเฉพาะบนพื้นที่ที่ทอร์นาโดพัดผ่าน ดังนั้นในหมู่บ้านหนึ่ง บ้านหลังหนึ่งอาจจะถูกทำลายพินาศย่อยยับ หากบ้านหลังที่อยู่ติดกันถัดไปอาจเกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อยหรือไม่เสียหายเลยก็เป็นได้
ทอร์นาโดในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เรียกว่า เส้นทางทอร์นาโด หรือ Tornado Alley ประกอบด้วยรัฐที่อยู่ทางใต้ของสหรัฐฯ ตอนกลาง เริ่มคร่าวๆ จากตอนกลาง ของเทกซัส ไล่ไปทางตอน เหนือของไอโอวา และตอนกลางของแคนซัสและทางตะวันออกของเนแบรสกา ไปถึงตะวันตกของโอไฮโอ โดยทอร์นาโดในเขตนี้จะเริ่มฤดูกาลประมาณปลายฤดูใบไม้ผลิ ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน หรือบางครั้งอาจจะเกิดขึ้นในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วงด้วยก็เป็นไปได้ เช่นในเขต Dixie Valley เส้นทางทอร์นาโดที่ครอบคลุมรัฐอาร์คันซอ รัฐมิสซิสซิปปี รัฐหลุยเซียนา ตอนเหนือของรัฐอะแลบามา และรัฐจอร์เจีย ซึ่งตามปกติแล้วทอร์นาโดในเขตนี้จะเกิดมากในช่วงปลายปีประมาณตุลาคมถึงธันวาคม อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ได้เกิดทอร์นาโดจำนวนมากในเขตนั้นแล้ว
ทอร์นาโดที่เกิดขึ้นในเขต Alley เหล่านี้ ส่วนใหญ่มีความรุนแรงตั้งแต่ระดับปานกลาง (EF2) ไปจนถึงรุนแรงมาก (EF5) อย่างไรก็ตาม จากสถิติโดยรวมแล้ว 77% ของทอร์นาโดที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯมีระดับความรุนแรงอ่อนมากจนถึงขั้นไม่รุนแรงหรืออยู่ในระดับ EF0-EF1 เท่านั้น ยิ่งกว่านั้น ประมาณ 95% ของทอร์นาโดที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ มีความรุนแรงไม่เกิน EF3 แต่กระนั้นหากเกิดในเวลาค่ำ หรือศูนย์กลางมีขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่มากก็สามารถก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตและเสียหายเป็นจำนวนมากได้ ดังเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนเมษายนนี้
สำหรับการจัดระดับความรุนแรงของทอร์นาโด ล่าสุด ศูนย์ Wind Science & Engineering แห่งมหาวิทยาลัย Texas Tech ได้ทำการปรับระดับสเกลเดิมของ Fujita Scale (F) ที่กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 1971 มาเป็น Enhanced Fujita (EF) เพื่อ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนในปัจจุบัน เนื่องจากอาคารบ้านเรือนในปัจจุบันก่อสร้างด้วยวัสดุที่มีความคงทนน้อยกว่าอาคารบ้านเรือนในอดีต ดังนั้น จึงไม่ต้องใช้แรงลมมากในการทำลาย พิจารณาได้จากตารางเปรียบเทียบระดับความรุนแรงของพายุทอร์นาโดตาม Fujita Scale (F) ระบบการวัดต้นแบบ และ Enhanced Fujita Scale (EF) ระบบการวัดที่มีการปรับปรุงใหม่
ทอร์นาโดเอาท์เบรค (Tornado Outbreak) หมายถึงการเกิดขึ้นของทอร์นาโดที่ติดต่อกันหลาย ลูกและเคลื่อนผ่านไปในหลายพื้นที่ โดยในปีนี้ ทอร์ นาโดเอาท์เบรคของฤดูกาลนี้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณเดือนมีนาคม ต่อเนื่องมาถึงเดือนเมษายนที่ผ่านมา เป็นการเกิดขึ้นพร้อมๆ กันติดต่อกัน ซึ่งล้วนแต่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล และอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดทอร์นาโดเอาท์เบรคมากมายเช่นนี้ โปรดติดตามในฉบับต่อไป
ข้อมูลจาก www.ncdc.noaa.gov
www.spc.noaa.gov
|
|
|
|
|