|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |

ผู้นำของบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีนและแอฟริกาใต้ ซึ่งเรียกรวมว่ากลุ่มประเทศ BRICS อันเกิดจากการนำตัวอักษรตัวแรกในชื่อของทั้ง 5 ประเทศมารวมกัน จบการประชุมสุดยอดหนึ่งวันที่เกาะไหหลำของจีนเมื่อเดือนเมษายน ด้วยแถลงการณ์ร่วมที่เรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ชนิดที่จะส่งผลกระทบอย่างกว้างไกลต่อระเบียบการเงินและการเมืองโลก
แถลงการณ์ของ 5 ยักษ์ใหญ่ BRICS ระบุว่า โครงสร้างการปกครองของสถาบันการเงินโลก ควรสะท้อนการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจโลกให้มากกว่านี้ ด้วยการให้ประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา มีสิทธิ์มีเสียงและมีตัวแทนของในสถาบันระหว่างประเทศมากขึ้น
แถลงการณ์นี้ยังเรียกร้องให้ปฏิรูปองค์การสหประชาชาติอย่างรอบด้าน เพื่อให้องค์กรแห่งนี้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและสะท้อนการเป็นตัวแทนของโลกที่ดีกว่าเดิม
หนึ่งในบรรดาข้อตกลงที่ชัดเจนที่สุดที่ได้จากการประชุมนี้คือ ทั้ง 5 ประเทศตกลงจะให้ธนาคารเพื่อการพัฒนาในประเทศของตน เปิดวงเงินสินเชื่อระหว่างกันด้วยสกุลเงินท้องถิ่น นี่คือคำเตือนที่มีไปถึงเงินทุนต่างชาติจากประเทศพัฒนาแล้ว ที่เคยไหลเข้าท่วมและทำลายเสถียรภาพของชาติตลาดเกิดใหม่ ทั้ง 5 ชาติยังเรียกร้องให้โลกมีระบบสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศ ที่มีเสถียรภาพและความแน่นอน
ประการหลังสุดมีนัยชัดเจนของการท้าทายคุณค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ในฐานะสกุลเงินสำรองชั้นนำของโลก แท้จริงแล้วแรงผลักดันเบื้องหลังการประชุม BRICS ครั้งนี้ คือการเรียกร้องการจัดระเบียบโลกใหม่ที่ใช้มาตั้งแต่หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นยุคที่สหรัฐฯ ครองโลก
ด้วยจำนวนประชากรที่รวมกันมากถึง 40% ของประชากร โลก และมีผลผลิตทางเศรษฐกิจรวมกันเกือบ 1 ใน 4 ของผลผลิต โลก บวกกับการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มนี้ จะมีสัดส่วนที่สูงในการเติบโตของเศรษฐกิจโลกตลอดหลายทศวรรษข้างหน้า
กลุ่มประเทศ BRICS จึง “ใหญ่” พอที่จะเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงข้างต้นได้
อย่างไรก็ตาม ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่แสดงออก บนเกาะไหหลำนั้นได้ปกปิดความแตกต่างที่ร้ายแรงไว้ แท้จริง แล้ว ประเทศ BRICS ก็พบว่า ไม่ง่ายเหมือนกันที่พวกเขาจะร่วมมือกัน แม้ในระยะสั้น ตัวอย่างเช่นบราซิล เริ่มไม่พอใจการไหลเข้ามาของเงินทุน และสินค้าราคาถูกจากจีน และหัน ไปเข้ากับสหรัฐฯ รวมทั้งชาติร่ำรวยอื่นๆ รุมตำหนิจีนอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับค่าเงินหยวนที่ต่ำกว่าความเป็นจริง
ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอินเดียก็กระทบกระทั่ง กันมายาวนานในหลายเรื่องทั้งการค้า ข้อพิพาทชายแดนและ แรงเสียดสีที่เกิดจากจีนสนับสนุนทั้งทางการเมืองและการทหารแก่ปากีสถาน ศัตรูหมายเลขหนึ่งของอินเดีย การค้าระหว่างจีนกับอินเดียยังมีเพียงน้อยนิด เมื่อเทียบกับความเป็น ยักษ์ใหญ่ของชาติทั้งสอง ซึ่งแต่ละชาติต่างมีประชากรสูงเกินพันล้านคน การค้าระหว่างทั้งสองชาติยังคงน้อยนิด โดยคาดว่าจะอยู่ที่เพียง 100,000 ล้านดอลลาร์เท่านั้นภายในปี 2015 โดยจีนจะยังคงเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าอินเดีย (ปัจจุบันอินเดีย ขาดดุลการค้าให้แก่จีนประมาณ 20,000 ล้านดอลลาร์)
ความเคลื่อนไหวที่สื่ออินเดียลงความเห็นว่าเป็นการตบหน้าจีน คือการที่นายกรัฐมนตรี Manmohan Singh ของอินเดีย ไม่ยอมไปเข้าร่วมประชุม Bo’ao Forum ซึ่งจีนจัดขึ้น ในวันรุ่งขึ้นหลังการประชุมสุดยอด และสถานที่ประชุมก็อยู่ใกล้กับสถานที่ประชุมสุดยอด BRICS
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ จีนและอินเดียได้ถือโอกาสฟื้นความสัมพันธ์ทางการทหารที่หยุดชะงัก ไปตั้งแต่ปีที่แล้ว เนื่องจากอินเดียโกรธที่จีนแสดงความลังเลในการรับรองอธิปไตยของอินเดียเหนือแคว้นแคชเมียร์
ส่วนในประเด็นสหประชาชาติ จีนดูจะไม่รีบร้อนเพิ่มบทบาทของตนบนเวทีนี้ อย่างน้อยก็ไม่ใช่ในระดับสมาชิกถาวร คณะมนตรีความมั่นคง จีนรวมทั้งรัสเซีย ดูเหมือนจะยังคงพึงพอใจกับอำนาจอิทธิพลที่มีอยู่ในกลุ่มประเทศพิเศษที่มีกันอยู่เพียง 5 ชาตินี้ และยังไม่อยากจะสูญเสียมันไป BRICS อาจกล่าวอ้างถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของกลุ่มตน
แต่ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ BRICS ก็ยังไม่ใช่การรวมกลุ่มที่ทุกประเทศเท่าเทียมกัน
แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง ดิ อีโคโนมิสต์
|
|
 |
|
|