|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แม้การใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงไตรมาสสอง ปี 2554 จะมีแนวโน้มผันผวนไปตามภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้บริโภคยังคงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ขณะที่รายได้ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น แต่ดูเหมือนว่าด้วยปัจจัยสนับสนุนทั้งการแข่งขันที่ทวีความเข้มข้นมากขึ้นของบรรดาผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นดิสเคานท์สโตร์ ห้างสรรพสินค้า และคอนวีเนียน สโตร์ ที่ต่างโหมปรับปรุงสถานที่ และการจัดกิจกรรมทางการตลาดที่ค่อนข้างถี่มากขึ้น รวมทั้งการจัดมหกรรมลดราคาสินค้า การจัดแคมเปญฯ ลุ้นรางวัลต่างๆ น่าจะส่งผลกระตุ้นให้เกิดความต้องการและการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นได้
นอกจากนี้ ช่วงไตรมาส สองของปี 2554 พบว่า มีกิจกรรมที่สำคัญอยู่หลายกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลวันสงกรานต์ และช่วงเวลาเปิด ภาคการศึกษาใหม่ จึงน่าจะกระตุ้นให้สถานการณ์ของธุรกิจ ค้าปลีกเมืองไทยโดยรวมในช่วงไตรมาสสองปี 2554 น่าจะ ขยายตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.0-6.0 ณ ราคาคงที่ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่หากคิดคำนวณมูลค่าธุรกิจค้าปลีก ณ ราคาปัจจุบัน (ซึ่งรวมผลของเงินเฟ้อด้วย) คาดว่า จะขยายตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 8.5-10.0
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 10 จังหวัดภาคใต้ น่าจะส่งผลกระทบต่อยอดค้าปลีกในพื้นที่วงจำกัด กล่าวคือ ธุรกิจค้าปลีกที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมอาจได้รับความเสียหาย รวมถึงผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวน่าจะมีกำลังซื้อที่ลดลง
ในขณะเดียวกันอาจจะส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่อาจจะชะลอการเดินทาง หรือเปลี่ยนเส้นทางไปท่องเที่ยวในจังหวัดอื่นๆ ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม ซึ่งโดยรวมแล้วอาจจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของธุรกิจค้าปลีกของไทยมากนัก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังประเมินว่า ยอดขายค้าปลีกอาจจะได้รับแรงกระตุ้นจากการร่วมกันบริจาคสิ่งของอุปโภคบริโภคที่จำเป็นให้กับผู้ที่ประสบปัญหาอุทกภัยทั้งจากทางภาครัฐและภาคประชาชน รวมทั้งการให้เงินช่วยเหลือในเบื้องต้นกับครอบครัวที่ได้รับความเสียหายจากภาครัฐ ภายหลังจากที่ระดับน้ำลดเป็นปกติแล้ว คาดว่าผู้บริโภคอาจจะกลับมาใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทันที เพื่อซ่อมแซมสิ่งของที่ชำรุดหรือเสียหายจากน้ำท่วม โดยเฉพาะสินค้า ในหมวดอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า และวัสดุก่อสร้าง
ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นธุรกิจค้าปลีกให้ขยายตัวในช่วงไตรมาส 2 อยู่ที่เทศกาลสงกรานต์ ซึ่งมีวันหยุดยาวติดต่อกัน นาน 5 วันโดยหลายพื้นที่ทั่วไทยต่างก็ร่วมมือกันจัดกิจกรรมฉลอง เทศกาลสงกรานต์ จึงมีความเป็นไปได้ว่า ธุรกิจค้าปลีกหลายประเภทน่าจะได้รับอานิสงส์จากเทศกาลสงกรานต์ในปี 2554 ด้วย ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และดิสเคานต์สโตร์ที่นับวันจะมีการทำกลยุทธ์ทางการตลาดที่ค่อนข้างถี่มากขึ้น รวมถึง การสรรหาสินค้าต่างๆ มาให้บริการอย่างครบถ้วนมากขึ้น และขยายสาขาครอบคลุมไปทั่วประเทศ
สำหรับธุรกิจค้าปลีกอีก ประเภทที่น่าจับตามองอย่างมากในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือร้านค้าสะดวกซื้อที่ตั้งอยู่ใน ปั๊มน้ำมัน หรือที่เรียกว่า “จีสโตร์”
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด ว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะทำให้จีสโตร์มียอดขายที่เพิ่มขึ้นกว่าช่วงปกติประมาณร้อยละ 20-30 เนื่องจากจีสโตร์จะได้รับความนิยมอย่างมากจากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวสงกรานต์ในต่างจังหวัด และ ต้องการที่จะแวะพักตามปั๊มน้ำมัน รวมถึงการหาซื้อสินค้าโดยเฉพาะอาหารมารับประทาน ปัจจุบันจีสโตร์ได้มีการขยายสาขาไปตามปั๊มน้ำมันต่างๆ มากขึ้น ซึ่งมีสาขารวมกันทั้งประเทศมาก กว่า 1,000 สาขา
ขณะเดียวกัน เทศกาลเปิดเทอมและกิจกรรมต้อนรับเปิดเทอมของปี 2554 น่าจะเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่กระตุ้นให้บรรยากาศ การจับจ่ายใช้สอยในช่วงไตรมาสสองปี 2554 ส่อแววดี เพราะในช่วงก่อนเปิดเทอม (ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม) บรรดาผู้ปกครองจะพาบุตรหลานไปซื้อสินค้าหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้านักเรียน-นักศึกษา อุปกรณ์การเรียน หรือรองเท้า
ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ว่าปีนี้บรรดาห้างร้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้าหรือดิสเคานท์สโตร์ จะร่วมกับผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้องต่างต้องเร่งจัดแคมเปญเพื่อรองรับความ ต้องการดังกล่าว และช่วงชิงกำลังซื้อของผู้บริโภคให้ได้ก่อนคู่แข่ง เพราะปัจจุบันเป็นยุคที่ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการจับจ่ายพอสมควร
ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในช่วงเทศกาลก่อนเปิดเทอม น่าจะช่วยกระตุ้นยอดค้าปลีกในช่วงไตรมาสสองให้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอยู่หลายประการที่ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในช่วงไตรมาสสองของปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภค สถาน การณ์ทางการเมือง หรือแม้แต่ราคาน้ำมันที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง
นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกในยุคปัจจุบัน ที่จะต้องคิดและวางแผนว่าจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคเกิดการจับจ่ายใช้สอยท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้
|
|
|
|
|